อริยสัจ 4 ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน

��繷���Һ�ѹ�������ѡ����������稾�����������ط���ҷç���������ѹ���Ң�٪ҹ����� ��ѡ�����Ѩ 4 ��ѡ������ԧ 4 ��С�� ���������ͧ�ء�� �˵���觷ء�� �����Ѻ�ء�� ��� ˹�ҧ��������Ѻ�ء�� ������Ҩй���ѡ�����ç���任�Ժѵ�㹪��Ե��Ш��ѹ�ͧ������ҧ����Ф�



��ء�� : ����դ����ء��

�ء��ͧ��Ǥ��������ç����ô��Թ���Ե��Ш��ѹ������ջѭ�Ҥ�� �Ңͧ����ͧ���������� ��ͧ�����Թ�������� ���ǡ��Ѻ������ ���ͺҧ���駡��������¡�����§ҹ���� �ٴ�������� �����Թ������������¤��駵�����¤����ҡ��¤��


��ط�� : ���˵آͧ����շء��
���ҧ���͡令�� ��Ǥ��������� �����ء����ͧ ���˵آͧ��������Թ��������� �Դ�ҡ��â������ͧ����ͧ����ͧ���


���ø​ : ��ôѺ�ء��
�ҡ���˵آ�ҧ�� ��觷�������¤�����÷��ҡ����ش���͵�ͧ��ԡ�������������

���ä : ˹�ҧ��觡�ôѺ�ء��
�����¤�����ͧ��䢡�â������ͧ����ͧ������� ��觡�â�������������ͧ����������ö�Ǻ����� �� ��è��ѹ�֡���觷���ͧ�ӷء��ҡ�͹��������Թ�Ԩ�������� ������ú��ا��ͧ �ҹ��������ú 5 ���� �ѡ��м�����������Ҵ ���� ������ҧ���������ç�����ʹ���� �������ҧ������ç �����ӡ�д�仴��¤��


㹰ҹз�������˹��㹾ط���ʹԡ�� �������������Ѵ�Ӻح���ͧ��ѹ���Ң�٪ҹ��ѹ�Ф�

���͡�����Թ��ҷӺحhtmlentities(' >')> ����� ����¤��

��ҹ�����Ѩ 4 �Ѻ��ô��Թ���Ե��Ш��ѹ �������htmlentities(' >')> ��������

Create Date :18 ����Ҥ� 2561 Last Update :18 ����Ҥ� 2561 12:57:38 �. Counter : 15337 Pageviews. Comments :0

  • twitter
  • google

  • Comment
    * blog ��� comment ��੾����Ҫԡ

การนำเสนอหลักอริยสัจ 4 ที่ได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักศึกษาวิชชาราม ที่ได้มานำเสนอการบ้านหน้าชั้นเรียนวิชาอริยสัจ 4 ในห้องเรียนวิชชารามออนไลน์ ช่วงวันที่ 28 มีนาคม – 18 เมษายน พ.ศ. 2564

เรื่องที่ได้รับคัดเลือกมาเผยแพร่กันในบทความนี้ เป็นเรื่องที่ได้รับคะแนนนิยมสูงสุด 5 อันดับ ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยคะแนนนิยมนั้นได้มาจากการโหวตโดยสมาชิกนักเรียนและคุรุที่เข้าร่วมชั้นเรียนออนไลน์ในวันนั้น ๆ โดยมี 5 เรื่อง ดังนี้

  1. ห่างไกลคนพาล (9.7)
  2. เครื่องบดอาหาร หรือ บดเรา (9.3)
  3. น้องไม่ได้ดั่งใจ (9.3)
  4. ไม่เปิดใจ (8.3)
  5. กังวล (8.2)

การนําอริยสัจ 4 ไปปรับใช้ในชีวิตประจําวัน ของนักศึกษาวิชชาราม

28 มีนาคม – 18 เมษายน พ.ศ. 2564

1. ห่างไกลคนพาล (9.7)

เคยตั้งจิตทำมงคลชีวิตข้อแรกให้ดี เพราะรู้ว่าเมื่อไกลคนพาลก็จะไกลภัยด้วย ปฏิบัติมาสักพักก็หยุดกาย วาจาได้สบาย แต่ใจก็ยังมีปรุงอยู่ข้างใน แต่ปรุงแล้วก็เลิก ก็ยังเสียเวลา ยังกวนใจอยู่ ยังเป็นรูปภพอยู่ ยังลำบาก ก็เลยตั้งอธิศีลเพิ่มพากเพียรจนวิบากคลาย ได้รับความรู้

ทุกข์ : ความหงุดหงิด กวนอยู่ภายในใจ
สมุทัย : ความอยากให้เกิดดีกว่าความเป็นจริง (ความโลภ = ผิดศีลข้อ 2)
นิโรธ : ยอมรับด้วยความยินดีเบิกบานใจว่า สิ่งดีจะเกิดก็ได้ ไม่เกิดก็ได้ ไม่เอาใจไปผูกพัน ไม่เอาความคาดหวังไปผูกไว้
มรรค : ปฏิบัติมาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์มาโดยลำดับ ก็เจริญขึ้นโดยลำดับ ลึก ๆ ก็รู้อยู่ในใจว่าการยังปล่อยให้จิตปรุงวนเวียนอยู่ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้นั้น เป็นวิบากร้าย เช่น คิดจะไปจัดการคนพาล ให้คนพาลเข้าใจความพาล ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ คนพาลไม่เข้าใจสิ่งที่ถูกก็ถูกแล้ว ต้องคิดผิด พูดผิด ทำผิด ก็ถูกต้องแล้ว

จนมาฟังอาจารย์ช่วงก่อนหน้านี้ที่ท่านอ่านชาดก เจอประโยคถูกจริตเช่น “เราไม่มีกำลังก็หามิได้ เราจะทำลายเขาให้เป็นจุลก็ได้ แต่เรารักษาศีลของเรา เราไม่รักษาชีวิตของเรา” ตรงจริตเพราะตนเองก็รู้ว่ามีกำลังมากพอที่จะปรุงสิ่งที่จะทำลายเขาได้ เพราะรู้จุดอ่อนเขานั่นแหละ แต่แล้วยังไงล่ะ ทำไปแล้วก็ผิดศีล ปรุงไปแล้วก็ผิดศีล ฟังแล้วก็รู้ว่าสิ่งที่ดีกว่าการไปยุ่งกับคนพาล คือรักษาศีล คือห่างไกลคนพาล แม้ใจก็ยังห่างไกล ศีลข้อนี้ก็แข็งแรงขึ้น เป็นสมาธิมากขึ้น ลดการปรุงลงได้มากขึ้น

มาชัดขึ้นอีกตรงได้เห็นคลิปกวางที่ชนกันแล้วเขาติดกัน อีกตัวตายไปหลายวันจนขึ้นอืดแล้ว ตัวที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ติดอยู่อย่างนั้น ทั้งสยองทั้งอันตราย คือต้องอยู่กับศัตรูของเราที่ตายไปแล้วอย่างนั้น อันตรายคือถ้ามีภัยเข้ามาก็หนีไม่ได้

จึงชัดเจนเรื่องห่างไกลคนพาลเลยว่า อย่าไปสู้ แม้จะชนะก็อย่าไปสู้ มันจะติดบ่วงแบบกวาง เอากาย วาจา ใจ ไปผูกไว้ก็เป็นแบบกวางนั่นแหละ เน่าเหม็น อันตราย ห่างไว้ดีกว่า แต่ก่อนภาพมันไม่ชัด เรามองโทษภัยไม่ออก มองไม่ชัด มันเลยไม่เต็มใจจะห่างถึงใจ แต่ตอนนี้มีภาพชัด ๆ เห็นกันชัด ๆ ก็เลยชัดแจ้งในสภาวะไปด้วยว่าการไปใกล้คนพาลมันจะมีภัยต่อชีวิตอย่างนี้

ตอนนี้เลยมีอธิศีลที่ยิ่ง ๆ ขึ้นให้ปฏิบัติคือ มีภาพกวางชนกันเขาติดแล้วอีกตัวนึงตายมาเทียบกับการห่างไกลคนพาลนี่แหละ ชัดเจนดี สำหรับเรื่องนี้ก็ใช้คำสอนอาจารย์ที่ว่า “ทำความผาสุกที่ตน ช่วยคนที่ศรัทธา” เป็นกรรมฐานช่วยกำกับไว้ด้วยเช่นกัน

2. เครื่องบดอาหาร หรือ บดเรา (9.3)

มีพี่น้องที่คบคุ้นกันเล่าให้ฟังว่ามีเครื่องบดอาหารยี่ห้อหนึ่ง(มีชือเสียงทางการค้าพอสมควร)มาลงจำหน่ายที่ซูเปอร์มาเกตแห่งหนึ่ง และซูเปอร์มาเกตนี้มีสาขาอยู่ห่างจากบ้านเราเพียงสองร้อยเมตรเอง เราก็ได้ตรวจใจเห็นความหวั่นไหวอยากจะได้เครื่องบดอาหารมาเพิ่ม(มีอยู่แล้ว หนึ่งอัน ใช้งานมานานหลายปีตรงข้อต่อกับอุปกรณ์บดเริ่มหลวมแล้ว)

ทุกข์ : หวั่นไหวใจส่ายแส่ไปกับข่าวว่ามีเครื่องบดอาหารยี่ห้อหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาจำหน่าย

สมุทัย : อยากได้เครื่องบดอาหารยี่ห้อนี้ สุขใจที่จะมีเครื่องบดอันใหม่ยี่ห้อนี้ ยึดดีว่าถ้าเราได้เครื่องบดยี่ห้อที่มีชื่อเสียงจะสุขใจ ชอบใจ ถ้าไม่ได้มาครอบครองจะทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ(ชอบก็อยากได้มา)

นิโรธ : จะมีเครื่องบดอาหาร ยี่ห้อมีชื่อเสียง หรือยี่ห้อไม่มีชื่อเสียงก็ไม่ทุกข์ใจ

มรรค : พิจารณาว่าเครื่องบดอาหารอันเก่าที่เรามีอยู่ก็ยังใช้งานได้ ถึงแม้จะใช้งานมานานหลายปีแล้ว มีช่วงข้อต่อเริ่มหลวมนิดหน่อยแต่ถ้าระมัดระวังในการใช้ก็พอไช้ได้ พิจารณาอย่างนี้ใจก็คลายลงไปบ้าง

มาร : ซื้อมาไว้สำรองไว้ก่อนก็ดีกว่านะ นะ อ้อน นิด ๆ

พุทธะ : เอาไว้พังจริง ๆ ค่อยซื้อก็ได้ เดี๋ยวกีมีมาขายเรื่อย ๆ แหละ

มาร : ซื้อไปฝากน้องชายที่กำลังมีลูกเล็ก ๆ เผื่อเค้าเอาไว้บดอาหารให้ลูกเค้า (น้องชายอยู่ไทย เราอยู่เยอรมนี )

พุทธะ : ที่เมื่องไทยก็มีเครื่องบดอาหารขาย เมื่อไหร่จะได้กลับไทยก็ยังไม่รู้ และจะแบกเครื่องบดอาหารไปไทยเนี่ยะนะ หนักกระเป๋าเปล่า ๆ

มาร : เผื่อไว้ใช้เวลามีงานเลี้ยงที่ต้องบดอาหารเยอะ ๆ (มารอ้อนต่อ)

พุทธะ : ตอนนี้ Lockdown อยู่ จะมืงานเลี้ยงอะไร ! โควิด19ยัง ไม่อนุญาตให้จัดงานอะไรทั้งนั้นเดี่ยวเชื้อโรคแพร่กระจาย !

มาร : ยี่ห้อนี้ดีนะมีคุณภาพ ซื้อไว้เถอะไม่รู้ว่าจะมีสินค้ามาลงขายอีกเมื่อไหร่( มารรู้จุดอ่อน)

สรุปพิจารณาอยางนี้ประมาณสองชั่วโมง เมื่อถึงเวลาซูเปอร์มาเกตเปิด เราก็เดินไปซูเปอร์มาเกตและได้ซื้อเครื่องบดอาหารยี่ห้อใหม่นี้มา ได้พิจารณาต่อว่าวันนี้เราแพ้เธอนะมารเธอเอายี่ห้อมาหลอก แต่ก็ขอบคุณเธอนะที่ทำให้เรารู้ว่าเรายังมีกิเลสตัวนี้อยู่

เราจึงได้พิจารณาต่อในการตั้งอธิศีลเรื่องไม่ยึดติดในยี่ห้อสินค้าใด ๆ ไม่ว่าจะมีชื่อเสียงหรือไม่มีชื่อเสียง และวางใจต่อว่า แม้เครื่องบดอาหารยี่ห้อมีชื่อเสียงนี้ก็อาจจะใช้งานได้ไม่ดี เท่าอันที่ไม่มีชื่อเสียงก็ได้ ผลจะเป็นอย่างไรก็จะไม่ทุกข์ใจไม่คาดหวังในชื่อเสียงของยี่ห้อ

ขอบพระคุณ เหตุการณ์ที่มาเป็นผัสสะให้เห็นตัวติดจะกลายเป็นกิเลส แม้น้อยนิดก็เป็นสิ่งน่ากำจัดออกไปจากใจตามที่ครูบาอาจารย์ได้สอนไว้ ข้าพเจ้าจะขอพากเพียรล้างต่อไปค่ะ สาธุ

3. น้องไม่ได้ดั่งใจ (9.3)

จะต้องขนของย้ายออกจากร้านที่เช่า ก็ทยอยเก็บของขนของเท่าที่ทำได้ แต่ก็จะมีของใหญ่ ๆ ที่ต้องใช้คนช่วย ซึ่งก่อนหน้านี้น้องชายอยากให้คืนร้านที่เช่าอยู่แล้วและบอกว่าให้คืนร้านเถอะแล้วจะมาช่วยขนของ แต่พอถึงเวลาที่จะขนย้ายของจริง ๆ น้องก็ไม่ได้ช่วยอย่างเต็มที่ นัดกันว่าจะมาวันศุกร์ ก็มาถึงในช่วงตอนเย็นซึ่งก็ไม่ทันจะทำอะไรมาก และในวันเสาร์ก็จะกลับในช่วงเที่ยง สรุปคือมาได้ทำงานนิดหน่อยแล้วก็กลับ งานก็ยังไม่จบ ไม่เหมือนที่เขาเคยพูดไว้

ทุกข์ : ไม่ชอบใจ หงุดหงิดใจ
สมุทัย : ชอบให้ได้ดั่งใจ ชอบให้น้องมาช่วยอย่างเต็มที่ ชังที่ไม่ได้ดั่งใจที่น้องมาช่วยไม่เต็มที่
นิโรธ : ไม่ไปเอาความได้ดั่งใจเป็นเงื่อนไขให้ใจเป็นทุกข์ จะได้ดั่งใจหรือไม่ได้ดั่งใจก็ได้ น้องเป็นมาช่วยน้อย หรือมาช่วยช้า ก็ไม่ทุกข์ใจ

มรรค : การที่เราไปอยากได้อยากให้คนอื่นเป็นอย่างใจเรา มันผิดศีลนะ ไปเอาในสิ่งที่เขาไม่ให้ ไปเอาดีเกินจริงมันผิดศีลมันโลภ คิดแบบนี้มีแต่สร้างเงื่อนไขให้ใจเป็นทุกข์ สร้างวิบากบาป หากเกิดได้ดั่งใจเราก็จะสะสมความได้ดั่งใจ เป็นกิเลส พอไม่ได้ดั่งใจก็ทุกข์หนัก เปลี่ยนมาทำที่ตัวเองดีกว่า ไม่ไปเอาอะไรจากใครให้ได้ ใครเขาจะเป็นอย่างไรไม่สำคัญเท่าเราล้างทุกข์ในใจให้ได้ งานก็ทำเท่าที่ทำได้ เพราะจริง ๆ เขาแวะมาก็ดีมาแล้ว เป็นดีที่สังเคราะห์กัน ได้แค่ไหนก็เท่านั้น ไม่ไปโลภเอามากว่านั้น อย่าโง่สิ

จากเหตุการณ์นี้ได้พิจารณาในศีลข้อ 2 ละเอียดมากขึ้น แค่ความอยากจะให้ได้ดั่งใจก็ร้ายมาก เป็นบาปมาก พิจารณาแล้วก็คลายทุกข์ใจได้ เบิกบานดีกว่า

4. ไม่เปิดใจ (8.3)

พี่น้องฝึกภาษาอังกฤษกัน อย่างสนุกสนาน แต่ฟังไม่รู้เรื่อง ตอนแรกๆก็นั่ง ดูใจ ไม่เป็นอะไรและภาวนาไป ผ่านไป 20 นาที มีความรู้สึกว่าใจอึดอัด แน่นๆในอกและมึนหัว ถามตัวเองว่าเรานี่มานั่งทำอะไร ก็นั่งฟังพี่น้องต่อ เมื่อเห็นว่าใจยิ่งแน่นและอึดอัดมากขึ้น จึงบอกพี่น้องว่ามันคงมากไปสำหรับพี่ คงจะเรียนไปไม่ได้ พี่น้องหยุดพูดกัน และหันมาบำเพ็ญชี้แนะ บอกกับข้าพเจ้าว่า อย่าปิดกั้นตัวเองและอย่าพูดว่าทำไม่ได้ ให้เปิดใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆพี่น้องยกตัวอย่าง ว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เราเริ่มต้นมันยากทุกอย่างแหละ แต่พอเราฝึกซ้ำๆทำบ่อยๆก็จะทำได้ ถึงแม้จะฟังไม่รู้เรื่องและยังพูดไม่ได้แค่เข้ามาร่วมก็ดีแล้ว ฟังพี่น้องหมู่กลุ่ม พร้อมกับน้อมจิตคิดตามรับฟังมองเห็นความเป็นจริง เห็นใจว่าเพราะเรา ปิดใจไม่ยอมรับที่จะเรียนคิดแต่ว่ามันยาก จนทำให้ใจมันแน่นอึดอัดและปวดหัว ก็เริ่มปรับใจใหม่ ที่นิ่งฟังพี่น้องฝึกพูดกันไป ความอึดอัดแน่นในอกเริ่มคลายเบาลง จึงเริ่มจะถามพี่น้องว่าคำนี้ออกเสียงยังไงฝึกไปทีละคำ พอเราเปิดใจยินดีที่จะเรียน ก็เริ่มสนุกและกล้าจะพูดออกไปแม้จะยังไม่มั่นใจว่าถูกต้องหรือเปล่า แต่ก็เรียนกับพี่น้องด้วยสนุกสนาน

ทุกข์ : ทางใจอึดอัด แน่นในอก ทางกายมึนหัว

สมุทัย : ชอบ ที่จะไม่อึดอัด แน่นในอก ฟังรู้เรื่อง ไม่ชอบ ที่ใจอึดอัด แน่นในอก ฟังไม่รู้เรื่อง

นิโรธ : แม้จะ ฟังไม่รู้เรื่องอึดอัดแน่นในอกก็ไม่ทุกข์ใจ ค่อยๆฝึกฝนเรียนรู้ไปไม่เร่งตัวเองว่าจะฟังรู้เรื่องและพูดได้ในเร็ววัน

มรรค : พิจารณา เห็นใจเราไม่อยู่กับปัจจุบัน
และสะกด ปิดกั้นตัวเองบอกว่า”ยาก /-ทำไม่ได้”มันมากเกินไปจึงทำให้ปิดหูปิดใจตัวเอง
จนทำให้เกิดมีอาการทางกายแน่นในอก อึดอัด
กราบขอโทษ ขออภัย ขออโหสิกรรมต่อตัวเอง
และสะกดจิตตัวเอง ไม่ยอมเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ
บอกตัวเองค่อยๆฝึกฝนไปอย่างช้าๆ ไม่เร่งผลไม่เปรียบเทียบกับใคร

กราบขอบพระคุณพี่น้องที่มาชี้ขุมทรัพย์ทำให้มองเห็นอัตตาของตัวเอง เมื่อน้อมจิตตามจึงเห็นว่าความอึดอัด อาการแน่นๆในอกคลายเบาลง
เปิดใจ ยินดีที่จะฝึกฝนไปพร้อมกับพี่น้องด้วยความยินดีและเบิกบานใจ
ระลึกถึงบททบทวนธรรมข้อ 63 ยินดี พอใจ ไร้กังวล . ทำให้มี ความสนุกสนานกับการเรียนภาษาและเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งเห็นผลชัดเจนในนาทีนั้นเลยและถ้าทำตรงกันข้ามไม่มีความยินดีไม่มีความพอใจมีแต่ความกังวลทำให้โง่ วิบากจึงปิดกั้นทั้งหู -ใจ
ข้าพเจ้า ขอปรับใจใหม่ยินดีที่จะเรียนรู้และรับสิ่งใหม่ๆ และทำเพื่อตัวเองด้วยความยินดี พอใจ ไร้กังวล.

สรุปวิชาอังกฤษเป็นภาษาที่ข้าพเจ้ามองผ่านไม่เคยสนใจที่จะเรียน แต่พอข้าพเจ้าเปิดใจ มีความยินดี ที่เรียนรู้ฝึกฝนภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่น่าสนใจมาก จึงเรียนด้วยความยินดี เบิกบานใจ สาธุค่ะ

5. กังวล (8.2)

เมื่อสัปดาห์ก่อน ทีมคุรุเฉลยผลสอบ เกิดกิเลสตัวเป็นห่วงว่าพี่น้องในหมู่บางท่านจะได้รับคะแนนไม่ยุติธรรมเนื่องจากทางคุรุอาจขาดข้อมูลบางส่วนไป เช่น การเข้าหมู่ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมในหมู่ย่อย ยึดว่าเราควรดูแลพี่น้องในหมู่ให้ทั่วถึง และพอดีมีพี่ในกลุ่มอีกท่าน ก็มีส่วนร่วมใกล้เคียงกัน ในบางมุมอาจจะมีส่วนร่วมน้อยกว่าท่านแรกด้วยซ้ำ แต่ปรากฏว่าคะแนนที่ออกมา กลับมากว่าท่านแรก จึงได้บอกคุรุไปตามความเห็นของเราว่า ถ้าในส่วนของการมีส่วนร่วมกับหมู่ ท่านแรกน่าจะมีมากกว่า แต่คุรุก็บอกว่า มีอะไรให้ไปคุยกันในคลาสเรียน พี่น้องจะได้ร่วมเรียนรู้ไปด้วย เราจึงคิดว่ายังไงก็จะไปพูดในคลาสเรียนอยู่แล้ว เพื่อความโปร่งใส เพื่อไม่ให้เป็นการไปพูดลับหลังพี่น้องในหมู่ จึงพิมพ์แจ้งพี่น้องในกลุ่มย่อยไปด้วย ว่าเรามีความเห็นอย่างไร แต่คำที่เราสื่อออกไปมันก็ต้องไปกระทบกับพี่อีกท่านไปด้วย เนื่องจากเพื่อให้เห็นภาพชัด เราได้ยกกรณีของพี่เขาขึ้นมาเปรียบเทียบกับพี่ท่านแรกด้วย แต่หลังจากที่ได้แจ้งพี่น้องไป ก็รู้สึกกังวลว่าที่เราพูดไปแบบนั้น มันแรงไปหรือเปล่า จะเบียดเบียนหรือทำให้อีกท่านไม่สบายใจไปไหม

ทุกข์ : กังวลใจ ห่วงว่าสิ่งที่พูดไป จะแรงไป จะทำให้พี่น้องอีกท่านเกิดความไม่สบายใจ

สมุทัย : เกรงว่า พี่เขาจะรับไม่ไหว จนกระเด็นออกจากหมู่กลุ่มไป ตีตัวเองซ้ำว่า ถ้าพี่เขาออกจากหมู่ไปจริง ๆ ก็เพราะเราเป็นต้นเหตุ เราเป็นคนผิด ที่ไม่รู้จักประมาณในการพูดให้ดี

นิโรธ : ถ้าพี่เขารับได้ และยังอยู่บำเพ็ญร่วมกับหมู่ต่อได้ เป็นเรื่องที่ดี แต่หากพี่เขา หลุดออกจากหมู่กลุ่มไป เราก็ไม่ควรทุกข์ใจ

มรรค : การทำผิดแล้ว มีสัญชาตญาณแห่งคนตรง
รู้จักยอมรับผิด สำนึกผิด ขอโทษ ขอขมา ขออโหสิกรรม และพร้อมปรับปรุงแก้ไขเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่ควรทำทุกข์ทับถมตนด้วยการโทษตัวเอง

เข้าใจเรื่องกรรมให้ชัดว่า ทุกอย่างเป็นไปตามธรรม
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากพลังวิบากดีร้ายของเราและของท่านสังเคราะห์กัน ธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นมูล คนเราจะมีโอกาสได้ทำดีร่วมกัน ก็เท่าที่เคยมีกุศลร่วมกันมาเท่านั้น หากท่านเห็นว่าหมู่กลุ่มไหนอยู่แล้วรู้สึกสบายใจ ได้ประโยชน์ ท่านก็จะอยู่ หมู่กลุ่มไหนอยู่แล้วไม่สบายใจ ไม่ได้ประโยชน์อะไร ท่านก็จะไป เป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่แต่ล่ะชีวิตก็จะแสวงหาสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด ที่จะทำให้ตัวเองได้เจริญในธรรมที่สุดให้กับชีวิตตัวเอง

สรุป : เมื่อพิจารณาดังนี้ ความกังวลใจก็คลายลง วางใจ ทำในยอมรับได้ด้วยใจไม่ทุกข์ ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร สาธุ

อริยสัจ 4 ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างไร

กิจในอริยสัจ 4 ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมาย

ประโยชน์ของอริยสัจ 4 มีอะไรบ้าง

ความทุกข์เหล่านี้ ย่อมเกิดแก่ทุกชีวิต ทั้งปุถุชนทั่วไป และผู้ทรงศีลที่ยังไม่เข้าถึงพระนิพพาน สำหรับปุถุชนทั่วไป คือ ฆราวาสผู้รักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 แนวทางแห่งอริยสัจ 4 นี้ จะมีประโยชน์ต่อการดับทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต อาทิ ความทุกข์จากความยากจน ความทุกข์จากถูกดุด่า ความทุกข์จากการสูญเสีย เป็นต้น

อริยสัจ 4 ตรงกับวันอะไร

9.อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องในวันสำคัญใดทางพระพุทธศาสนา วันวิสาขบูชา 10.ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ที่ประกอบด้วย ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ มรรค ซึ่งหลักธรรมนี้มีชื่อว่าอะไร

อริยสัจ 4 คือ อะไร มี อะไร บ้าง

1) ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์ 2) สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์ 3) นิโรธ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์ 4) มรรค คือความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก