ไทยเวียตเจ็ท โหลดกระเป๋า 2565

ผู้โดยสารแต่ละท่านมีสิทธิ์พกพาของได้หนึ่งชิ้นและ/หรือกระเป๋าโน้ตบุ๊ก 1 ใบหรือกระเป๋าถือ 1 ใบเข้าห้องโดยสารของเครื่อง ของแต่ละชิ้นต้องมีขนาดไม่เกิน 56 ซม. x 36 ซม. x 23 ซม. และห้ามหนักเกิน 7 กก. เมื่อรวมกับสัมภาระพกพาแล้ว นอกจากนี้ สัมภาระดังกล่าวควรจะสามารถเก็บไว้ใต้ที่นั่งด้านหน้าท่านหรือช่องเก็บของเหนือศรีษะได้


2. สัมภาระใต้ท้องเครื่อง

สัมภาระใต้ท้องเครื่องแต่ละชิ้นจะต้องมีขนาดไม่เกิน 119 ซม. x 119 ซม. x 81 ซม. และน้ำหนักไม่เกิน 32 กก.

สัมภาระที่ไม่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่อง

เราขอสงวนสิทธิในการปฏิเสธไม่ให้นำสัมภาระขึ้นเครื่อง หากพบสิ่งของเหล่านี้ในสัมภาระของท่าน

      ·  วัตถุที่ไม่ได้บรรจุในกระเป๋าหรือภาชนะอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับการเดินทางอย่างปลอดภัย

      ·  วัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่อเครื่องบิน บุคคล หรือทรัพย์สินบนเครื่องบิน เช่น วัตถุที่ระบุไว้ในข้อบังคับสินค้าอันตราย ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) และในเงื่อนไขในการเดินทางและเงื่อนไขในสัญญาของเรา

      ·  วัตถุที่ห้ามมีการขนส่งทางอากาศตามกฎหมาย ข้อบังคับที่มีผลบังคับใช้ หรือคำสั่งของประเทศที่ท่านออกเดินทาง ที่เดินทางไปถึง หรือที่จะเดินทางผ่าน

      ·  สัมภาระที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากน้ำหนัก ขนาด รูปร่าง หรือลักษณะของสิ่งนั้น

      ·  วัตถุที่แตกง่ายหรือเน่าเสียได้

      ·  สัตว์ที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต

      ·  ร่างของมนุษย์หรือสัตว์: เราจะอนุญาตให้นำขึ้นเครื่องได้โดยต้องเป็นสัมภาระเช็คอินหรือสัมภาระแฮนด์อิน โดยจะต้องบรรจุอย่างระมัดระวังในภาชนะบรรจุสุญญากาศ ต้องมีใบมรณบัตรและใบรับรองการกักกันป้องกันการแพร่เชื้อประกอบด้วย

      · อาหารที่มีกลิ่นแรง (เช่น ทุเรียน ขนุน น้ำปลา เป็นต้น)

      · อาหารทะเลสดหรือแช่แข็ง หรือเนื้อสัตว์อย่างอื่นที่อาจนำขึ้นเครื่องโดยเป็นสัมภาระไม่ลงทะเบียน เว้นแต่จะแสดงให้เป็นที่พอใจแก่สายการบินแล้วว่าได้บรรจุหีบห่ออย่างเรียบร้อยแล้ว ในกล่องโฟมและ/หรือกล่องเก็บความเย็นซึ่งบรรจุอาหารแห้งหรืออาหารที่ไม่เน่าเสียง่าย สายการบินจะอนุญาตให้ลงทะเบียนสัมภาระได้หลังจากที่ได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว หากผู้โดยสารปฏิเสธการตรวจสอบ เรามีสิทธิปฏิเสธไม่รับสัมภาระดังกล่าวได้

      · อาวุธปืนและยุทธภัณฑ์ วัตถุระเบิด แก๊สที่ติดไฟได้หรือติดไฟไม่ได้ (เช่น สีสเปรย์ แก๊สบิวเทน น้ำมันไฟแช็คชนิดเติม) แก๊สเหลวอุณหภูมิต่ำมาก (เช่น ถังดำน้ำที่มีแก๊สบรรจุอยู่ ไนโตรเจนเหลว) ของเหลวไวไฟ (เช่น สี ทินเนอร์ ตัวทำละลาย) ของแข็งที่ติดไฟได้ (เช่น ไม้ขีดไฟ ไฟแช็ค) สารอินทรีย์ประเภทเปอร์ออกไซด์ (เช่น เรซิ่น) วัตถุมีพิษ สารที่อาจติดเชื้อได้ (เช่น ไวรัส แบคทีเรีย) สารกัมมันตภาพรังสี (เช่น เรเดียม) สารกัดกร่อน (เช่น กรด ด่าง ปรอท เครื่องวัดอุณหภูมิ) สารที่มีลักษณะเป็นแม่เหล็ก สารออกซิไดซ์ (เช่น สารฟอกขาว)

      · อาวุธ เช่น ปืนพกโบราณ ดาบ มีด สายยาง สายไฟ กระบองไฟฟ้า ถุงมือไฟฟ้า ระเบิดแก๊สน้ำตา ปืนแก๊สน้ำตา ปืนแก๊สที่ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ปีนแก๊สพิษ ปืนคลอโรฟอร์ม ปืนกระสุนพลาสติก ปืนกระสุนยาง ปืนเลเซอร์ ปืนยิงตะปู ปืนแม่เหล็กไฟฟ้า ปืนยิงพลุ กุญแจมือโลหะกุญแจมือพลาสติก และวัตถุในลักษณะคล้ายคลึงกัน

สัมภาระที่ไม่อนุญาตให้ลงทะเบียนได้

ท่านไม่สามารถลงทะเบียนทรัพย์สินเป็นสัมภาระที่ต้องลงทะเบียนได้ และท่านต้องรับความเสี่ยงอันอาจเกิดกับทรัพย์สินดังกล่าวเองหากท่านส่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสัมภาระลงทะเบียน ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวรวมถึง เงิน อัญมณี หินมีค่า เครื่องเงิน คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เอกสารที่แลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ หลักทรัพย์หรือของมีค่าอื่นๆ เอกสารทางธุรกิจ หนังสือเดินทาง และเอกสารแสดงตนอื่นๆ หรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันโดยผู้โดยสารจะต้องลงนามยินยอมในเอกสารจำกัดขอบเขตความรับผิดชอบของสายการบิน เมื่อทำการเช็คอิน ณ เค้าท์เตอร์ เพื่อแสดงความยินยอมไม่ทำการเรียกร้องใดๆต่อสายการบิน

สิทธิ์ในการตรวจค้น

ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัยและความมั่นคง สายการบินอาจขอให้ท่านเข้ารับการตรวจค้น เอ็กซเรย์ หรือสแกนด้วยวิธีอื่นเพื่อตรวจสอบตัวท่านหรือสัมภาระของท่าน เราขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจค้นสัมภาระของท่านในขณะที่ท่านไม่ได้อยู่ ณ ที่นั้นได้ เพื่อตรวจสอบว่าสัมภาระของท่านบรรจุสิ่งที่ไม่เป็นที่ยอมรับหรือวัตถุต้องห้ามหรือไม่ หากท่านปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามการตรวจค้นหรือการสแกนดังกล่าว สายการบินขอสงวนสิทธิ์ไม่อนุญาตให้ท่านและสัมภาระของท่านขึ้นเครื่อง โดยสายการบินจะไม่มีการชำระเงินคืนหรือรับภาระผูกพันใดๆ ในกรณีที่การตรวจค้นหรือการสแกนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ท่านหรือสัมภาระของท่าน สายการบินจะไม่รับผิดชอบต่อการเสียหายดังกล่าว นอกเสียจากว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากความผิดหรือความประมาทเลินเล่อของสายการบิน

สัมภาระลงทะเบียน

เมื่อท่านนำสัมภาระมาลงทะเบียนเพื่อยืนยันการเดินทาง สัมภาระนั้นจะอยู่ในความดูแลของสายการบิน ซึ่งสายการบินจะออกป้ายสัมภาระสำหรับสัมภาระแต่ละชิ้นที่ลงทะเบียนแล้ว สัมภาระลงทะเบียนจะต้องมีชื่อของท่านหรือหลักฐานแสดงตนอื่นๆติดไว้อย่างแน่นหนา สัมภาระลงทะเบียนจะถูกขนส่งไปพร้อมกับเที่ยวบินที่ท่านเดินทาง เว้นแต่ว่าสายการบินได้เลือกที่จะขนส่งสัมภาระไปพร้อมกับเที่ยวบินอื่นเพื่อความปลอดภัย ความมั่นคง หรือด้วยเหตุผลในการปฏิบัติงาน หากสัมภาระลงทะเบียนของท่านถูกขนส่งไปกับเที่ยวบินถัดไป เราจะนำสัมภาระดังกล่าวส่งคืนให้แก่ท่านภายในเวลาที่เหมาะสมเมื่อเที่ยวบินนั้นเดินทางถึงที่หมายแล้ว (เว้นแต่กฎหมายที่ใช้บังคับจะกำหนดให้ท่านมาแสดงตนเพื่อขอรับสัมภาระต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร)