แผนการ สอน วิชา งานช่าง ม. 2

Skip to content

แผนการจัดการเรียนรู้การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3

ผู้จัดทำนายวุฒิชัย  แม้นรัมย์

ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ตามนวัตกรรมการสอนวัยฒิชุด MODEL


ดาวนโหลดแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อุปกรณ์และเครื่องมือช่างพื้นฐาน –>.doc

อ่านบทความรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามนวัตกรรมการสอนวัยฒิชุด MODEL

You May Also Like

แผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี

โรงเรียน............................................................ภาคเรียนที่ …/…….. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 งานช่างพื้นฐาน                                          เวลา 20 ชั่วโมง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานในงานช่าง                    เวลา 2 ชั่วโมง

สอนวันที่.... เดือน ............... พ.ศ. ………..                               เวลา ………………… น.

                                                                     ดำเนินการสอนโดย นายยุทธิพงษ์  เรือเสาร์

***********************************************************************************************************************************************************************************************

มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด

          มาตรฐาน ง 1.1 ม.5/2, ม.5/3, ม.5/4

          มาตรฐาน ง 4.1 ม.5/1, ม.5/2 ม.5/3 ม.5/4

สาระสำคัญ

          ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานช่างเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประกอบ เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบ ในการปฏิบัติงานทางด้านช่าง ได้แก่ ความหมาย ความสำคัญของงานช่างพื้นฐาน ประโยชน์ของงานช่างพื้นฐาน ลักษณะของงานช่างพื้นฐาน และ ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานช่าง

จุดประสงค์การเรียนรู้

เมื่อนักเรียน เรียนเรื่องงานช่างพื้นฐานแล้วนักเรียนสามารถ

1. ผู้เรียนบอกความหมาย ความสำคัญของงานช่างได้

2. ผู้เรียนบอกประโยชน์ของงานช่างได้

3. ผู้เรียนสามารถบอกความปลอดภัยจากการปฏิบัติงานได้

4. ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

สาระการเรียนรู้

          1.ความหมายและความสำคัญของงานช่างพื้นฐาน

          2.ประโยชน์ของงานช่างพื้นฐาน

          3.ลักษณะงานของงานช่างพื้นฐาน

          4.ความปลอดภัยของงานช่างพื้นฐาน

กระบวนการจัดการเรียนรู้

กิจกรรมครู

กิจกรรมนักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้

1.ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่องความรู้พื้นฐานในงานช่างพื้นฐานจำนวน 20 ข้อ

2.ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง ความหมายความสำคัญประโยชน์ของงานช่างพื้นฐานและหลักความปลอดภัยในงานช่างพื้นฐาน 4 ข้อ

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน   

3.ครูสนทนาซักถามนักเรียนว่างานช่างพื้นฐานมีส่วนในการดำเนินชีวิตของเราอย่างไร

4.ครูสนทนา ซักถามนักเรียนว่านักเรียนมีคนรู้จักหรือญาติพี่น้องเป็นช่างหรือไม่

ขั้นการสอน

5.ครูอธิบายความหมายของงานช่างพื้นฐาน

6.ครูอธิบายความสำคัญของงานช่างพื้นฐาน

7.ครูอธิบายประโยชน์ของงานช่างพื้นฐานว่ามีกี่ประเภท

8.ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานช่าง

ขั้นสรุป

9.ครูสรุปเนื้อหาทุกหมดที่สอนให้นักเรียนฟัง

10.ครูแจกใบความรู้ที่ 1 เรื่อง ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของงานช่างพื้นฐานและความปลอดภัยในงานช่าง                                                     

ขั้นวัดและประเมินผล

11.ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่ 1 เรื่องความหมาย ความสำคัญประโยชน์ของงานช่างพื้นฐานและความปลอดภัยในงานช่าง                                                     

1.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องความรู้พื้นฐานในงานช่าง จำนวน 20 ข้อ

2.นักเรียนรับทราบจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ครูแจ้งเรื่องความหมายความสำคัญประโยชน์ของงานช่างพื้นฐานและหลักความปลอดภัยในงานช่างพื้นฐาน 4 ข้อ

3.นักเรียนสนทนาและตอบคำถามครูว่ามีส่วนมากในการดำเนินชีวิตของเรา เช่น การซ่อมแซม ปรับปรุง แก้ไข

4.นักเรียนสนทนาและตอบคำถามครูว่ามี ญาติที่เป็นช่างอยู่ 1 คน คือ พี่

5.นักเรียนรับทราบความหมายของงานช่างพื้นฐาน

6.นักเรียนรับทราบความสำคัญของงานช่างพื้นฐาน

7.นักเรียนรับทราบประเภทของงานช่างพื้นฐานว่ามีกี่ประเภท

8.นักเรียนสนใจและช่วยครูตอบคำถาม

9.นักเรียนช่วยครูสรุปเนื้อหาที่เรียนทั้งหมด

10.นักเรียนรับใบความรู้ที่ 1 เรื่องความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของงานช่างพื้นฐานและความปลอดภัยในงานช่าง                                                     

11.นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่1 เรื่องความหมาย ความสำคัญประโยชน์ของงานช่างพื้นฐานและความปลอดภัยในงานช่าง                                                     

ห้องเรียน

-

-

-

-หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน งานช่าง

กระดานดำ

-ภาพประกอบเรื่อง ความหมายความสำคัญและประโยชน์ของงานช่างพื้นฐาน

กระดานดำ

-ใบความรู้ที่ 1 เรื่องความหมาย ความสำคัญและประเภทของงานช่างพื้นฐาน

-แบบฝึกหัดที่ 1 เรื่อง ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของงานช่างพื้นฐานและความปลอดภัยในงานช่าง                                                     

สื่อ/แหล่งเรียนรู้

          1. ห้องเรียน

          2. ภาพประกอบเรื่อง ความหมายความสำคัญประโยชน์และความปลอดภัยของงานช่างพื้นฐาน

          3. ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง ความหมาย ความสำคัญประโยชน์และความปลอดภัยของงานช่างพื้นฐาน

          4. แบบฝึกหัดที่ 1 เรื่อง ความหมาย ความสำคัญประโยชน์และความปลอดภัยของงานช่างพื้นฐาน

การวัดและประเมินผล

สิ่งที่ต้องวัด

เครื่องมือวัด

วิธีการวัด

เกณฑ์การวัดผล

1.นักเรียนสามารถอธิบายความหมายและความสำคัญของงานช่างพื้นฐานได้

1.แบบฝึกหัด ที่ 1 เรื่อง ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของงานช่าง ความปลอดภัยในงานช่างพื้นฐาน

1.ตรวจแบบฝึกหัด ที่ 1 เรื่องความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของงานช่าง ความปลอดภัยในงานช่างพื้นฐาน

1.นักเรียนต้องทำแบบฝึกหัดให้ได้ 10 ใน 20 ข้อ จึงจะถือว่าผ่าน

2.บอกประโยชน์ของงานช่างพื้นฐานได้

2.แบบฝึกหัด ที่ 1 เรื่องความหมาย ความสำคัญและประเภทของงานช่างพื้นฐาน

2.ตรวจแบบฝึกหัด ที่ 1เรื่องความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของงานช่างพื้นฐาน

2.นักเรียนต้องทำแบบฝึกหัดให้ได้ 10 ใน 20 ข้อ จึงจะถือว่าผ่าน

3.นักเรียนเข้าใจถึงความปลอดภัยในงานช่างพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง

3.แบบฝึกหัด ที่ 1 เรื่องความหมาย ความสำคัญประโยชน์และความปลอดภัยของงานช่างพื้นฐาน

3.ตรวจแบบฝึกหัด ที่ 1เรื่องความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของงานช่างพื้นฐาน

3.นักเรียนต้องทำแบบฝึกหัดให้ได้ 10 ใน 20 ข้อ จึงจะถือว่าผ่าน

4.เรียนรู้ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

4.แบบประเมินพฤติกรรม

4.สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนและการงาน

4.นักเรียนจะต้องผ่านเกณฑ์ในระดับ 2 ขึ้นไปจึงจะถือว่าผ่าน

บันทึกผลการจัดการเรียนรู้

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………......................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
......................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
......................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
......................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
......................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
......................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
......................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
......................................................................................................................................................

ปัญหา/อุปสรรค ……………………………………………………………………………………………………………..........................................................................................................................................................................................…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

แนวทางแก้ไข ……………………………………………………………………………………………………………………......................................................................................................................................................................................…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….........................................................................................................................................................…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….........................................................................................................................................................

                                                                                                                               ลงชื่อ…………………………………ผู้สอน

                                                                                                                              (นายยุทธิพงษ์ เรือเสาร์)

                                                                                                                                วันที่............/................../...................

ข้อเสนอแนะผู้อำนวยการโรงเรียน

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
........................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................

                                                                                                                ลงชื่อ..............................................                                                                                                                                      (.....................................................)

                                                                                                                       ผู้อำนวยการโรงเรียน

                                                                                                                                                                                                วันที่............/................../..............

แผนคำถาม  คำตอบ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

โรงเรียน…………………………………………                    ภาคเรียนที่…../………ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
               หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  งานช่างพื้นฐาน                                                 เวลา  20  ชั่วโมง               
                      แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานงานช่าง                             เวลา    ชั่วโมง                      
                                                               วันที่.......เดือน……………………..………….                                      เวลา .........................น.                                                                ดำเนินการสอนโดย นายยุทธิพงษ์  เรือเสาร์

***********************************************************************************************************************************************************************************************                                                                    

คำถาม

คำตอบ

ขั้นนำ

1. ครูและนักเรียนกล่าวทักทายสวัสดี จากนั้นครูสนทนาซักถามนักเรียนว่างานช่างพื้นฐานมีส่วนในการดำเนินชีวิตของเราอย่างไร

1.คำตอบขึ้นอยู่กับนักเรียน

ขั้นการสอน

2.ครูอธิบายความหมายของงานช่างพื้นฐาน

3.ครูอธิบายความสำคัญของงานช่างพื้นฐาน

4.ครูอธิบายประโยชน์ของงานช่างพื้นฐานว่ามีกี่ประเภท

5.ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานช่าง

2. ฟังครู/จดบันทึก

3. ฟังครู/จดบันทึก

4. ฟังครู/จดบันทึก/ปฏิบัติ

5. นักเรียนอภิปราย

ขั้นสรุป

6. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหา เพื่อทบทวนความรู้

ใบความรู้

เรื่อง ความรู้พื้นฐานในงานช่าง

1.    ความหมายและความสำคัญของงานช่างพื้นฐาน

ความหมาย

          ช่าง  หมายถึง  ผู้ชำนาญในการฝีมือ หรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง

          งานช่าง  หมายถึง  การทำงานของช่าง หรือสิ่งที่เกิดจากการทำงานของช่าง  ผู้ที่เป็นช่างมักมีคำต่อท้าย  เพื่อบอกประเภทหรือสาขาของงานที่ทำ  เช่น  ช่างไฟฟ้า  ช่างประปา ช่างไม้ ช่างสีเคลือบผิว ช่างปูน ช่างโลหะ ช่างออกแบบเขียนแบบ เป็นการนำความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ  วิธีการทำงาน  ตลอดจนกระบวนการทางเทคโนโลยี  สิ่งแวดล้อมมาใช้ในการบำรุงรักษา  ซ่อมแซม  ติดตั้งเครื่องมือ เครื่องใช้ อย่างเป็นระบบที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเอง  ส่วนใหญ่เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมสิ่งของเครื่องใช้ที่ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน  หรือลงทุนสูง

   ความสำคัญ

          ความสำคัญของงานช่าง    เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้งานช่างในแต่ละสาขา   และได้ทดลองปฏิบัติเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำได้ด้วยตนเอง  ซึ่งได้แก่ งานซ่อมแซม บำรุงรักษาเครื่องใช้บางอย่างภายในบ้าน เช่น ซ่อมโต๊ะ เก้าอี้ ซ่อมไฟฟ้าภายในบ้าน ซ่อมผนังรั้ว เป็นต้น    หากได้ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญก็สามารถ นำความรู้ไปประกอบเป็นอาชีพต่อไปได้

         ชนิดของงานช่างพื้นฐาน

                            ลักษณะงานช่างพื้นฐานแบ่งออกเป็น  5  กลุ่มใหญ่  คือ
        1. งานโลหะ
               
เป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะ  แรงกาย  ความอดทน  ความละเอียด  ประณีต  ในการทำงาน  โดยการประดิษฐ์ของใช้
เหล่านี้จะมีโครงสร้างเป็นโลหะเป็นส่วนมาก
  ทำให้อุปกรณ์มีความคงทนถาวรสูง        2. งานไม้และงานพลาสติก
      
        งานไม้เป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะในการทำงานโดยอาศัยไม้เป็นโครงสร้างแกนหลัก  ซึ่งต้องมีความสวยงาม 
มีความคิดสร้างสรรค์ ในการนำไม้มาประดิษฐ์เป็นของใช้ได้อย่างเหมาะสม
  และในปัจจุบันนี้ไม้มีราคาแพงและหาได้ยากขึ้น  
ทำให้พลาสติกซึ่งเป็นวัสดุสังเคราะห์ มีบทบาทมากขึ้นแทนงานไม้
        3. งานปูนและงานสุขภัณฑ์
    
           เป็นวัสดุงานที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ทั้งที่อยู่อาศัย สำนักงานต่างๆ  โดยเฉพาะในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
มีความจำเป็นต้องซ่อมแซม บำรุงรักษาสุขภัณฑ์ ตลอดจนการเลือกใช้ชนิดของปูนซีเมนต์ การผสม การก่ออิฐถือปูน
 
การซ่อมรอยแตกร้าว ห้องน้ำ
  และสุขภัณฑ์        4. งานสีและงานเคลือบผิว
              
เป็นงานขั้นสุดท้ายในการตบแต่งชิ้นงานให้สวยงาม เป็นที่ต้องตาต้องใจของผู้ใช้  โดยที่วัสดุบางชนิดถูกอากาศ
แล้วจะทำปฏิกิริยากับอากาศ ทำให้เกิดการสึกกร่อน ชำรุด ผุพัง
 ได้ง่าย        5. งานไฟฟ้าและงานอิเล็กทรอนิกส์
               
เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ ในการนำเอาพลังงานไฟฟ้ามาใช้ ในลักษณะพลังงานแสงสว่าง 
พลังงานความร้อน
  และพลังงานกล และต้องใช้ได้อย่างปลอดภัย  โดยเน้นในการบำรุงรักษา ความปลอดภัย  
มีอายุการใช้งานยืนนาน เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าเหมือนเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญในชีวิตประจำวันซึ่งจะขาดไม่ได้

2.    ประโยชน์ของงานช่างพื้นฐาน

          สามารถใช้เครื่องมือ เครื่องใช้สอยได้อย่างถูกต้อง เข้าใจ คุณสมบัติของวัสดุช่วยทำให้เกิดความประหยัด ทำให้ยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือ เครื่องใช้ บางครั้งสามารถใช้ความรู้ซ่อมแซมแก้ไข ข้อขัดข้องที่เกิดกับอุปกรณ์ได้ ตรวจสอบความบกพร่อง ของอุปกรณ์ หากเราพัฒนาฝีมือความรู้จนเกิดความชำนาญ ก็ยังสามารถที่จะเพิ่มรายได้ ให้กับตนเอง โดยประกอบเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักเพื่อเพิ่มรายได้ต่อไป ลักษณะของงานช่าง

          งานช่างจำแนกตามลักษณะงาน ได้ ดังนี้

1. งานเขียนแบบ เป็นการถ่ายทอดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ของวิศวกรหรือ นักออกแบบ ให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่างบนกระดาษ รูปร่างที่เกิดขึ้นจากการลากเส้นหลาย ๆ อย่าง เช่น เส้นดิ่ง เส้นโค้ง เส้นเอียง เส้นนอน มาประกอบกันเกิดเป็นรูปร่างเรียกว่าแบบ หรือ แบบงาน สามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น สิ่งของอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องจักรต่าง ๆ เป็นต้น

2. งานไฟฟ้า ชีวิตประจำวันของมนุษย์ จะเกี่ยวข้องกับของใช้ที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ความสะดวก ความสุขสบาย อย่างไรก็ตาม หากใช้ไม่เป็นหรือใช้ไม่ ถูกต้อง ก็ย่อมมีโทษเช่นกัน การใช้จึงต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย ความประหยัดและอายุการ ใช้งาน งานไฟฟ้าที่เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของการนำเอาพลังงานไฟฟ้า มาใช้ ในลักษณะของการเปลี่ยนเป็นรูปอื่น ๆ เช่น แสงสว่าง ความร้อน พลังงานกล งานไฟฟ้าใน งานช่างพื้นฐาน สามารถปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง เพราะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ซึ่ง จะต้องรู้จักเครื่องมือเครื่องใช้ วิธีใช้การเก็บบำรุงรักษา ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ สามารถจัดหาและ นำมาใช้ได้อย่างประหยัดและปลอดภัย

3. งานโลหะ งานโลหะเป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะ แรงกาย ความอดทน ความประณีต และบางครั้งต้องใช้ เทคนิค วิธีการและประสบการณ์ในการท างานค่อนข้างสูง ผลงานจึงจะมี คุณภาพและมีความปลอดภัยในการท างานส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือน อุปกรณ์เครื่องใช้ ภายในบ้านหลายชนิด ทำด้วยโลหะ หรือโลหะเป็นส่วนประกอบ เช่น รางน้ำ ลูกกรง ประตู หม้อ กระทะ ถังน้ำ เครื่องเรือน เป็นต้น เครื่องใช้แต่ละอย่างใช้โลหะต่าง ๆ กัน เช่น ทองแดง ทองเหลือง เหล็ก อะลูมิเนียม มีรูปแบบต่าง ๆ กันตามลักษณะของการใช้งาน เครื่องใช้โลหะทุกอย่าง เมื่อใช้ นานวันย่อมมีการชำรุดเสียหายต้องบำรุงรักษา เพื่อให้ใช้งานต่อไปได้อีก งานช่างโลหะบางชนิด เช่น งานช่างโลหะแผ่น สามารถนำมาสร้างสรรค์เป็นเครื่องใช้เครื่องตกแต่งภายในบ้านได้

4. งานประปา ระบบประปาและระบบการระบายน้ำเสียในอาการบ้านเรือน เป็น สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชีวิตประจำวัน ระบบประปาและระบบการระบายน้ำโสโครกที่มี ประสิทธิภาพมีผลต่อสุขภาพและอนามัยของผู้อาศัย งานประปาจึงมีความสำคัญและเป็นงานที่ เกี่ยวข้องกับการวัด การตัดต่อท่อ ข้อท่อ มีความสามารถในการซ่อมแซม แก้ไขปัญหาที่อาจจะ เกิดขึ้นในระบบประปาและระบบการระบายน้ำต่าง ๆ

5. งานไม้งานไม้เป็นงานช่างที่ใช้ฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ ช่างไม้ต้องมีความ อดทน ขยัน มีความรับผิดชอบสูง สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นไม้มาประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมทั้งนี้จะต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือและวัสดุ จึงจะสามารถปฏิบัติได้ทั้งชาย และหญิง เช่น การซ่อมบำรุงรักษาเฟอร์นิเจอร์หรือส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือน เป็นต้น

6. งานปูน เป็นงานหลักในงานก่อสร้าง อาคารสมัยก่อน งานก่อสร้างจะใช้ไม้เป็น หลัก ปัจจุบันไม้มีจำนวนน้อย ราคาสูง นอกจากนี้ยังช่วยในการต่อเติมซ่อมแซมสิ่งก่อสร้าง เหมาะ สำหรับงานที่ไม่ใหญ่นัก เช่น การก่ออิฐ ท าขอบไม้ การเทปูนทางเดิน เป็นต้น

7. งานสี สีเป็นงานขั้นสุดท้ายของงานช่างหลายแขนง เช่น งานไม้ งานปูน และงาน โลหะ เป็นต้น เพื่อตกแต่งงานที่สำเร็จแล้วให้ดูเรียบร้อยสวยงาม และยังช่วยให้งานแต่ละชิ้นมีความ คงทนถาวรยิ่งขึ้น ยืดอายุการใช้งานให้ยาวนาน งานสีมีหลักวิธีการของเครื่องมือเครื่องใช้ และวัสดุ ที่ต้องศึกษาจึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นงานที่ทำได้ทั้งชายและหญิง

3.    ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานช่าง

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงาน สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ความปลอดภัย เพราะหากเกิด อันตรายจากการปฏิบัติงาน ผลเสียที่เกิดขึ้นอาจจะนำความเดือนร้อนทั้งต่อตนเองหรือต่อผู้อื่น 4 บางครั้งหากเกิดความรุนแรง ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจถึงทุพพลภาพ หรือถึงแก่ชีวิตฉะนั้น ผู้ปฏิบัติงานควรให้ความสำคัญและคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก

             1.  สาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายจากการทำงาน  หลักใหญ่ของสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายจากการทำงาน สามารถแบ่งออกได้ 4 ประการ ดังนี้   

          -  เกิดจากผู้ปฏิบัติเองเช่น การแต่งกายของผู้ปฏิบัติงานไม่รัดกุม  ชายเสื้อรุ่มร่าม      สวมใสเครื่องประดับ ร่างกายของผู้ปฏิบัติงานไม่ปกติ มีความเครียด อ่อนเพลีย เจ็บป่วย

          -  เกิดจากเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์เช่น เครื่องมือ หรือ เครื่องจักรที่ใช้มีสภาพไม่พร้อมจะใช้งาน ชำรุด หรืออุปกรณ์บางอย่างหมดอายุ

          -  เกิดจากการจัดระบบงานเช่น ระบบงานอาจวางแผนไว้ไม่ดี

          -  เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น พื้นที่บริเวณปฏิบัติงานไม่เหมาะสม  มีแสงสว่างไม่เพียงพอ

          2.   แนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

          -  ในการปฏิบัติงานต้องมีสติระลึกไว้เสมอว่า คิดก่อนทำและปลอดภัยไว้ก่อน

          -  โต๊ะบริเวณที่ปฏิบัติงานจะต้องสะอาด

          -   เก็บเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ให้เป็นสัดส่วนเพื่อสะดวกในการหยิบใช้งาน

         -   อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องมีการต่อสายดินเพื่อป้องกันไฟรั่ว

         -   อย่านำเครื่องมือที่มีคมใส่กระเป๋าเสื้อหรือกางเกงขณะปฏิบัติงาน

          -   อย่าใช้ไขควงแทนสิ่วหรือสกัด

          -   อย่าใช้ค้อนหรือตะไบที่มีด้ามหลวมหรือแตก และ อย่าใช้ตะไบแทนค้อน

          -   ก่อน หลัง ปฏิบัติงานควรตรวจสภาพเครื่องมืออุปกรณ์และทำความสะอาดทุกครั้ง

          3.  การป้องกันอุบัติเหตุ  อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเวลา  วิธีการที่ดีที่สุด คือ การป้องกันก่อนที่จะเกิดขึ้นโดยการลดหรือป้องกันอุบัติเหตุ สามารถกระทำได้ดังนี้

          -   ตรวจสอบเครื่องมือเครื่องใช้และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

          -   มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ของร่างกายขณะปฏิบัติงาน

          -   จัดบริเวณปฏิบัติงานให้เรียบร้อย ไม่มีสิ่งกีดขวางหรือบดบังแสงสว่าง   

          -   ขณะปฏิบัติงานในที่สูง ต้องมีเครื่องป้องกัน เช่น เข็มขัดนิรภัย

          -   หากปฏิบัติงานใกล้ วัตถุไวไฟ ควรมีอุปกรณ์ เช่น ถังดับเพลิงวางไว้ใกล้ ๆ

            หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน     การปฏิบัติงานเราควรยึดหลัก 5 ส. อันได้แก่  สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย

          4.   การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในงานช่าง

            การปฐมพยาบาล  (First Aid)  หมายถึง การให้ความช่วยเหลือต่อผู้บาดเจ็บ  ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่หาได้ ก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล ควรมีความรู้พอสังเขป ดังนี้

            การช่วยเหลือผู้ได้รับเศษวัสดุหรือสารแปลกปลอมเข้าตา

            กรณีสารพิษเข้าตา ซึ่งจะทำได้เกิดระคายเคืองของเยื่อตา อาจมีผลทำให้ตาบอดได้

                 -   ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ นาน ๆ

                 -   ให้ผู้บาดเจ็บนอนตะแคง เอาตาข้างที่ถูกสารพิษลงข้างล่าง

                 -   เปิดเปลือกตาแล้วเทน้ำจากหัวตามาด้านหางตา (อย่าให้น้ำกระเด็นเข้าอีกข้างหนึ่ง)

                -   ห้ามขยี้ตา ปิดตาด้วยผ้าสะอาดแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

            การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก

            แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกคือแผลที่ถูกความร้อนจากไฟหรือน้ำร้อน เกิดขึ้นใน 3 ลักษณะ

                 -   ทำลายเฉพาะหนังกำพร้าผิวหนังจะแดงไม่พองและหายเองได้ภายใน  2 – 3 วัน

                 -   ทำลายหนังกำพร้าหนังแท้เกิดบวมแดงปวดแสบปวดร้อน มีตุ่มพองมี น้ำเหลือง

                 -   ทำลายเนื้อถึงกระดูก เกิดการทำลายเนื้อแผลอย่างรุนแรง ต้องปฐมพยาบาล ดังนี้

                   1. ใช้น้ำแข็งหรือความเย็นประคบ    ปิดแผลด้วยผ้าสะอาด

                   2.  ห้ามเจาะตุ่มพองและห้ามใส่ยาลงในแผล

                   3.  ถ้าเป็นแผลบริเวณแขนหรือขาให้ยกอวัยวะนั้นให้สูงเพื่อลดอาการบวม

                   4.  ถ้าแผลพุพองแดงให้ทำความสะอาดบาดแผลเหมือนวิธีการทำแผล

หนังสืออ้างอิง

วรรณา แต้.(2547). งานช่างพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร:พงษ์วรินการพิมพ์.

ดร. อมรรัตน์  เจริญชัย. ( 2546 ).งานช่างพื้นฐาน.กรุงเทพมหานคร:วัฒนาพาณิช.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก