แท็ บ เล็ ต ที่ รัฐบาล แจก

วันอังคารที่ผ่านมา ครม.สัญจรภาคอีสาน มีมติเห็นชอบให้ กระทรวงไอซีที และ กระทรวงศึกษาธิการ จัดซื้อคอมพิวเตอร์ “แท็บเล็ต” จากจีนแบบ “จีทูจี” หรือ “รัฐต่อรัฐ” 860,000 เครื่อง มูลค่า 1,900 ล้านบาท เพื่อแจกให้เด็กนักเรียน ป.1 ในปีการศึกษาใหม่ ซึ่งจะ แจกในเดือนพฤษภาคมนี้

คำว่า “จีทูจี” หรือ “รัฐต่อรัฐ” เป็นคำพูดที่ฟังดูดี เหมือนโปร่งใส แต่ในความเป็นจริง รัฐบาลจีนก็ต้องไปซื้อจากบริษัทเอกชนจีน ที่มีสาขาอยู่ในเมืองไทยอยู่ดี และเป็นบริษัทใหญ่พอที่จะให้บริการไปทั่วประเทศไทย บริษัทไหนก็คงเดากันถูกอยู่แล้ว

สิ่งที่น่าห่วงก็คือ การดึงดันเดินหน้า โครงการประชานิยม ของ รัฐบาล นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยไม่มีการศึกษาโครงการให้รอบคอบ และเตรียมความพร้อมของผู้รับ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่มุ่งจะ “ซื้อเร็วแจกเร็ว” โดยไม่คำนึงถึง “ผลเสีย” ที่จะตามมา รวมทั้งการสูญเสียเงินภาษีของประชาชนก้อนโต ที่ละลายไปกับโครงการประชานิยม แต่ไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

การแจกคอมพิวเตอร์ “แท็บเล็ต” ก็เป็นอีกตัวอย่างที่รัฐบาลพยายาม “ซื้อเร็วแจกเร็ว” ทั้งๆที่ยังไม่มีความพร้อมสักอย่าง ไม่ว่าระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบไฟฟ้าในโรงเรียน “ครูผู้สอน” ที่ยังขาดทักษะความรู้ ซึ่งกระทรวงศึกษาฯ จะต้องมีการอบรมให้เรียนรู้เสียก่อน รู้ว่าจะใช้แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า

แม้แต่ “ตัวนักเรียน ป.1” เองก็ไม่มีความพร้อม “ขี้เยี่ยว” เด็กยังต้องให้ครูและพี่เลี้ยงดูแล เพราะเด็กยังช่วยตัวเองไม่ได้ แต่รัฐบาลกลับซื้อแท็บเล็ตแจกให้เด็ก 4–5 ขวบรับผิดชอบคนละ 1 เครื่อง และให้ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนเด็กต้องหอบหิ้วไปมาระหว่างบ้านกับโรงเรียน ต้องคอยเสียบปลั๊กไฟชาร์จแบตเตอรี่ ซึ่งเด็กทำเองไม่ได้ต้องมีคนช่วย การแจกแท็บเล็ตเพื่อใช้เรียนใช้สอนเด็ก ป.1 จึงไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ถูกเวลาในเวลานี้แน่นอน

ถ้าเป็น โรงเรียนที่ห่างไกล ไฟฟ้าไปไม่ถึง แท็บแล็ตก็เป็นเครื่องขยะใช้งานไม่ได้ เหมือนโครงการ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ของ กระทรวงศึกษาธิการ ในอดีต ที่ไปลงทุนสร้างห้องเรียนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนชนบท อ้างว่านักเรียนในชนบทจะได้เข้าถึงอินเตอร์เน็ต เพื่อท่องไปสู่โลกกว้าง สามารถเรียนรู้ทางไกลผ่านทางอินเตอร์เน็ตแต่คอมพิวเตอร์ทั้งห้องเปิดใช้งานไม่ได้ เพราะโรงเรียน ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีอินเตอร์เน็ต

การแจกแท็บเล็ตครั้งนี้ก็ไม่ต่างกัน ผศ.ดร.ศิรินุช เทียนรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่รัฐบาลให้ทดลองเรื่องนี้ โดยใช้ 5 โรงเรียนนำร่อง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีโครงสร้างพื้นฐานพร้อมทุกอย่าง แถมยังส่ง เจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ และ เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา ไปเป็นผู้ช่วยครูด้วย ได้เปิดเผยผลการทดลองว่า

ผลเบื้องต้น (ยังทดลองไม่เสร็จ) ปรากฏว่า หากให้ครูในห้องเรียน ต้องรับผิดชอบแท็บเล็ตคนเดียว 40–50 เครื่อง ครูก็จะไม่มีเวลาไปเตรียมการสอน เพราะครูต้องไปสาละวนอยู่กับการ ชาร์จแบตเตอรี่แท็บเล็ตให้แก่เด็ก เพราะเด็กชาร์จเองไม่เป็น (แถมยังเป็นอันตรายต่อเด็กอีกต่างหาก) ถ้าจะแจกให้เด็กทุกคนใช้แท็บเล็ต ทุกโรงเรียนก็จะต้องมี เจ้าหน้าที่ เพื่อทำหน้าที่เป็น ผู้ช่วยครู ในการดูแลรักษาแท็บเล็ตแทนเด็ก มิฉะนั้นก็จะเกิดปัญหาตามหลัง

แล้วโรงเรียนที่ห่างไกล โรงเรียนชุมชน โรงเรียนยากจน ที่ขาดแคลนครู มีครู 4-5 คนต่อนักเรียน 80-100 คน ต้องทำทุกอย่างตั้งแต่ครูยันภารโรง จะทำอย่างไร ใครจะช่วยดูแลรักษาแท็บเล็ตเป็นร้อยๆเครื่อง ใครจะคอยชาร์จไฟให้เด็ก ใครจะสอนให้เด็กใช้แท็บเล็ตเรียน แท็บเล็ตเสียใครจะซ่อม แท็บเล็ตตกพังใครจะดูแล ฯลฯ
แม้ รัฐบาลจะร่ำรวย มีเงินซื้อแท็บเล็ตแจกหาเสียงเป็นว่าเล่น แต่ก็ต้อง “ใช้สมอง” คิดบ้าง ถ้าสมองมีแต่ “ฟองน้ำ” อย่างน้อยก็ต้อง “มีสติ” บ้าง อย่าให้ประวัติศาสตร์อันน่ารังเกียจในอดีตกลับมาซ้ำรอยในยุคนี้อีกเลยครับ.

คุณภาพชีวิต-สังคม

'ศธ.'แจง'แท็บเล็ตพีซี'เหมาะกับเด็กบางกลุ่ม บางสถานศึกษาเท่านั้น

06 ก.ค. 2564 เวลา 12:20 น.527

'ศธ.' แจง กรณีอดีตนายก ฯ โพสข้อความในโซเชียลมีเดีย เรียกร้องให้นำ 'แท็บเล็ตพีซี' มาใช้ในระบบการศึกษาไทย ย้ำการจัดหา'แท็บเล็ตพีซี เหมาะกับนักเรียนเพียงบางกลุ่มบางสถานศึกษาเท่านั้น

นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยกรณีข้อเรียกร้องที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้นำ แท็บเล็ตพีซี มาใช้ใน ระบบการศึกษา ของไทย โดยโพสข้อความระบุถึงการศึกษาไทยว่าช่วงสถานการณ์โควิด-19 การปรับตัวเพื่อ เรียนออนไลน์ มีความจำเป็นเพื่อความปลอดภัยจากการติดเชื้อและให้การเรียนการสอนดำเนินไปได้โดยไม่ติดขัด

แท็บเล็ตพีซี จึงเป็นอุปกรณ์ทางเลือกที่พัฒนาให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ และแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง พร้อมกับปรับบทบาทครูเป็นผู้อำนวยการสอนเท่านั้น จึงหวังว่ารัฐบาลจะนำนโยบาย แท็บเล็ตพีซี และการ เรียนออนไลน์ เข้ามาใช้ใน สถานศึกษา อย่างจริงจังและลงทุนให้ทุกโรงเรียนของรัฐมีอุปกรณ์การเรียนการสอนทั้งครูผู้สอนและนักเรียน

ปลัด ศธ. กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้จัดซื้อแท็บเล็ตพีซีให้กับนักเรียนชั้น ป.1 ทั่วประเทศ ครั้งแรกในปี 2555 จำนวน 8 แสนเครื่องเศษ โดยในปี 2556 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นผู้จัดซื้อให้ จากบริษัทของประเทศจีนโดยตรง และจัดซื้อครั้งที่ 2 สำหรับนักเรียน ป.1 และ ม.1 ทั้งประเทศ จำนวน 1 แสน 6 หมื่นเครื่องเศษ โดยใช้วิธีการจัดซื้อแบบ e-Bidding ภายในประเทศไทย

ต่อมาในปี 2557 ได้มีการประเมินผลการใช้ Tablet PC ในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียน โดยสรุปคือ

- แท็บเล็ตพีซีมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน

- นักเรียนและครู มีความพึงพอใจสูง ในการใช้ แท็บเล็ตพีซี ในการเรียนการสอน

- แท็บเล็ตพีซี ตอบสนองการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความแตกต่างของบุคคลด้านความพร้อมทางสติปัญญา

- ผลการตอบรับภาพรวมในระดับโรงเรียนเห็นควรดำเนินโครงการ แท็บเล็ตพีซี ต่อเนื่อง

ทั้งนี้ สภาพปัญหาการใช้งาน จนถึงปัจจุบันพบว่า แท็บเล็ตพีซี ยังมีจุดที่ต้องได้รับการพัฒนาหลายส่วน อาทิ

- Spec Tablet PC ในสมัยนั้นค่อนข้างต่ำ การทำงานช้า และอายุการใช้งานสั้นปัจจุบันผ่านมา 8 หมดอายุการใช้งาน ไม่สามารถรองรับ application ในปัจจุบัน

- สื่อ Application มีน้อย ไม่เพียงพอในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน

- ระบบปฏิบัติการ (OS) มีข้อจำกัดในการรองรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ

- มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจำกัด หรือจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อการใช้งาน

- สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เพียงพอสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เป็นต้น

  • งานวิจัยชี้ชัด'แท็บเล็ตพีซี'เหมาะกับเด็กบางกลุ่มเท่านั้น

ในการนี้ได้มี งานวิจัยของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว. ประสานมิตร) เมื่อปี 2555 พบว่า แท็บเล็ตพีซี เหมาะสมสำหรับนักเรียนระดับชั้น ป.4 ขึ้นไป กรณีจะจัดหา แท็บเล็ตพีซี ให้กับนักเรียนในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 เห็นควรจัดหาให้ระดับมัธยมศึกษาก่อนเป็นลำดับแรก เนื่องจากนักเรียนกลุ่มนี้ใช้รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์อยู่เดิมแล้ว

ในส่วนของระดับประถมศึกษายังมีการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย ได้แก่ On - AIR On – Hand On - Demand นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ที่มาช่วยสนับสนุนการเรียนรู้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เนื่องจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้

โดยเนื้อหาปัจจุบันนำเสนอในรูปแบบ New DLTV สามารถเข้าเรียนเมื่อใดก็ได้ เรียนล่วงหน้า ย้อนหลังได้ ผ่านเว็บไซต์ www.dltv.ac.th หรือผ่าน Application DLTV จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เพียงพอสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับ Tablet PC ลำดั

แรกๆ ควรเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาที่ด้อยโอกาสขาดแคลนอุปกรณ์ในการเรียน เช่น นักเรียนในกองทุน กสศ. รวมทั้ง Spec ของ Tablet PC ควรเป็นคุณลักษณะที่ใช้งานได้จริงในปัจจุบันรองรับสื่อ Application ได้ทุกประเภท

สำหรับการจัดหาควรใช้วิธีการเช่า ไม่ควรจัดซื้อ เพราะสามารถใช้งบดำเนินการสำหรับบริหารจัดการได้เลย เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 คลี่คลาย อาจจะไม่ต้องเช่าต่อก็ได้

ปลัด ศธ. กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีความทุกข์ของผู้ปกครอง และนักเรียนจากการศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ สังคมโดยรวม ครอบครัวที่มีลูกส่วนใหญ่ พ่อแม่ก็จะบ่นมากหน่อย มีลูกหลากหลายวัย ปัญหาก็จะแตกต่างกันไปในรายละเอียด ถ้าลูกเล็กก็จะบ่นมากเป็นพิเศษ เพราะแทบจะต้องอยู่กับลูกที่บ้านและเรียนไปพร้อมกับลูก

ถ้าพ่อแม่ทำงานด้วยก็จะมีรายละเอียดของปัญหามากขึ้นไปอีก ส่วนพ่อแม่ที่มีลูกโตก็มีปัญหาไม่น้อยเหมือนกัน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องงานเยอะ การบ้านเยอะ ทำเท่าไหร่ก็ไม่หมด ในขณะที่เด็กระดับมหาวิทยาลัยก็จะออกแนวอยากกลับไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเสียที

ส่วน ครู - อาจารย์ ในทุกระดับ ครูระดับเด็กเล็ก เด็กโต เด็กมหาวิทยาลัย ต่างก็มีปัญหาที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่พูดตรงกันก็คือ การสอนออนไลน์ทำให้แบกภาระหนักขึ้น ต้องเตรียมตัว และหาวิธีการต่าง ๆ รวมถึงเทคนิคการสอนต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้เด็กเรียนด้วย แล้วไหนจะต้องคิดถึงวิธีการประเมินผลอีกต่างหาก สรุปก็คือ อยากกลับไปสอนในสถาบันการศึกษามากกว่าสอนทางออนไลน์

  • ศธ.จัด 'รูปแบบการศึกษา'ใช้ครอบครัวและผู้เรียนเป็นฐาน

ทั้ง ยังมีคุณครูจำนวนมากและโรงเรียนหลายแห่งไม่ได้มีความพร้อมด้านอุปกรณ์หรือทักษะทางดิจิทัล ครูหลายคนใช้โปรแกรมเช่น Google Classroom, Zoom หรือ Teams ไม่คล่อง ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และเมื่อได้พูดคุยด้วยกับเด็กหลากหลายวัย ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากกลับไปเรียนที่โรงเรียน ไม่อยากเรียนผ่านออนไลน์ด้วยสารพัดเหตุผล เช่น เรียนยากขึ้น เรียนไม่รู้เรื่อง งานเยอะ เรียนได้แย่ลง อยากเจอเพื่อน อยากทำกิจกรรม สรุปก็คือ ไม่ว่าจะมีโอกาสได้พูดคุยกับใคร ทุกคนล้วนแล้วไม่อยากอยู่ในสภาพต้องเรียนออนไลน์

ช่วงของสถานการณ์วิกฤติ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการปรับตัวเป็น วิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal) โดยเฉพาะสถาบันทางการศึกษาที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบปกติได้ จึงจำเป็นต้องใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อให้การเรียนรู้ต่อเนื่องการเรียนการสอนแบบออนไลน์มีองค์ประกอบ อาทิ  ผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหา สื่อการเรียนการสอน แหล่งเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้  ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและการประเมินผล ทั้งนี้ บทสรุปก็คือ ตัดสินกันที่การวัดและประเมินผลแบบเดิม 

จากข้อมูลของ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 กระทรวงศึกษาธิการพบว่ามีโรงเรียนที่จัดการเรียนแบบออนไลน์เต็มรูปให้กับนักเรียนจำนวน 7889 โรงเรียนซึ่งคิดเป็นร้อยละ 22.5 ในสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นมีข้อจำกัดจากการใช้ Tablet PC ในหลายมิติ เช่น
1. ครอบครัว ผู้ปกครอง ไม่สามารถจัดหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนออนไลน์อย่างเต็มรูปผ่าน Tablet PC ได้ด้วยสภาพพื้นที่ของที่อยู่อาศัยและ สภาพเศรษฐกิจ
2. ผู้ปกครองต้องออกไปทำงานนอกบ้านนักเรียนต้องอยู่กับพีซี แท็บเล็ตโดยไม่มีผู้ดูแลกระตุ้นเตือนให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้ขาดประสิทธิภาพ
3. ผู้เรียนต้องการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนและ กับครู
4. การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์นั้นจะต้องมีการพัฒนาในองค์ประกอบ 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกายอารมณ์สังคม และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนั้นการใช้พีซีแท็บเล็ต เป็นไปเพื่อช่วยในการเรียนออนไลน์จะมีประโยชน์เกิดคุณค่าต่อการพัฒนาการศึกษาของคนได้เฉพาะบางส่วนจึงไม่เป็นคำตอบสุดท้ายสำหรับการจัดการศึกษาโดยรวม

กระทรวงศึกษาธิการ และสถานศึกษา ได้คำนึงถึงการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบที่ใช้ครอบครัวและผู้เรียนเป็นฐาน รูปแบบการจัดการศึกษาการจัดการเรียนการสอนจึงต้องมีความหลากหลายตามความต้องการจำเป็นทั้งนี้ต้องเลือกที่เหมาะสมกับบริบทของครอบครัวสภาพพื้นที่ สภาพเศรษฐกิจกิจและสังคม รวมถึงศักยภาพของผู้เรียนเป็นหลัก การจัดหา Tablet PC เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนจึงมีความเหมาะสมและจำเป็นกับนักเรียนเพียงบางกลุ่มบางสถานศึกษาเท่านั้น” ปลัด ศธ.กล่าวทิ้งท้าย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก