ขั้นตอนของการวางแผนกลยุทธ์

1. การวางแผนเชิงกลยุทธ์

1.1 ความหมายของการวางแผนเชิงกลยุทธ์

          การวางแผนเชิงกลยุทธ์ คือ การวางแผนที่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ มีการกำหนดเป้าหมายระยะยาวที่แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ที่ต้องการระบบการทำงานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง สำหรับการทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต้องการระบบการทำงานที่คล่องตัว ต้องการดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงในการนำสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อให้หน่วยงานมีความอยู่รอด ได้ในอนาคต

1.2 ความแตกต่างของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ กับการวางแผนทั่วไป

          การวางแผนทั่วไป เป็นการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้หน่วยงานบรรลุผลสำเร็จในการดำเนินงานทั่วไป ส่วนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ เป็นการวางแผนเพื่อนำหน่วยงานไปสู่ภาพลักษณ์ใหม่ก้าวสู่วิสัยทัศน์ที่ต้องการในอนาคต

1.3 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ จะต้องตอบคำถามหลัก 3 ประการ

          การจะดำเนินการกิจกรรมใดๆ ก็ตามเปรียบเสมือนการขับรถมุ่งไปที่ใดที่หนึ่ง ก่อนที่เราจะทำการสตาร์ทเครื่องยนต์เราต้องตอบคำถามต่างๆ ในใจก่อน คือ
          1. หน่วยงานของเราตอนนี้อยู่ตรงไหน?
          2. เป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมคืออะไร?
          3. จะใช้วิธีไหนจึงจะบรรลุเป้าหมาย?

          คำถามทั้งสามข้อนำมาซึ่งกระบวนการที่เรียกว่าการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategy Planning) ซึ่งจะเป็นคำตอบของคำถามทั้ง 3 ข้อ
          1. หน่วยงานของเราตอนนี้อยู่ตรงไหน? เป็นคำถามที่ต้องการวิเคราะห์ถึงสภาวการณ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยต่อความสำเร็จตามเป้าหมาย คำถามข้อนี้จะช่วยให้วิเคราะห์ถึงความพร้อมก่อนที่จะตัดสินใจเริ่มการดำเนินการ ซึ่งคำตอบสามารถหาได้โดยการวิเคราะห์ SWOT
          2. เป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมคืออะไร? เป้าหมายของการดำเนินการใดๆก็ตามจะต้องกำหนดให้ชัดเจน ซึ่งสามารถทำได้โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และพันธกิจ (mission)
          3. จะใช้วิธีไหนจึงจะบรรลุเป้าหมาย? คำตอบของคำถามข้อนี้คือการกำหนด เป้าหมาย (goal), วัตถุประสงค์ (objective), กลยุทธ์ (strategy), ทรัพยากร (resources) และแผนงาน (planning) ให้ชัดเจน

1.4 ขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์

ขั้นตอนของการวางแผนกลยุทธ์

          จากแผนภาพขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์มีขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอนดังนี้
          1. กำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ของการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดความชัดเจนของสิ่งที่จะทำ
          2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบ ซึ่งสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ SWOT
          3. การกำหนดแผนและกลยุทธ์ หลังจากการวิเคราะห์ SWOTเสร็จสิ้นเราจำเป็นจะต้องมีการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์เพื่อกำจัดหรือลดผลกระทบจากปัจจัยทางด้านลบและใช้โอกาสจากปัจจัยทางด้านบวก
          4. นำแผนและกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
          5. ควบคุมและประเมินผล ในขั้นตอนนี้จำเป็นจะต้องมีตัวชี้วัด (Indicator) เพื่อเป็นตัวใช้วัดผลถึงประสิทธิภาพของกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ถ้าพบว่ายังมีข้อบ่งพร่องของกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติ สามารถกลับไปที่ขั้นตอนที่ 2 เพื่อวิเคราะห์หาข้อบกพร่องหรือรายละเอียดที่ยังขาดหายไปและนำไปปรับปรุงกลยุทธ์ต่อไป

2. การบริหารเชิงกลยุทธ์

          การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้นักบริหารกำหนดทิศทางขององค์กร วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์กร ช่วยกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กร เพื่อที่จะนำกลยุทธ์เหล่านั้นไปประยุกต์ปฏิบัติ และควบคุมประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรได้ ทั้งนี้ไม่จำกัดเฉพาะแต่องค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชนแต่อย่างใด
          กลยุทธ์ขององค์กรจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรได้ การทำความเข้าใจและการพยายามศึกษาองค์กรที่ประสบผลสำเร็จในการใช้กลยุทธ์เพื่อการจัดการ จะทำให้นักบริหารได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของกลยุทธ์ ที่จะช่วยสนับสนุนองค์กรให้ประสบความสำเร็จ และจะต้องมีการพิจารณาเลือกกลยุทธ์และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร
          การบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นการบริหารอย่างมีระบบที่ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กรเป็นส่วนประกอบ และอาศัยการวางแผนอย่างมีขั้นตอน เนื่องจากการบริหารกลยุทธ์เป็นการบริหารองค์รวม ผู้นำที่มีความสามารถจะต้องอาศัยกลยุทธ์ในการจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับองค์กร และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงไม่ล้มเหลว เนื่องจากกลยุทธ์ที่ดีแต่ล้มเหลวจะไม่สามารถนำความสำเร็จมาสู่องค์กรได้ ดังนั้นทั้งกลยุทธ์และนักบริหารที่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกใช้กลยุทธ์และนำ   กลยุทธ์ไปปฏิบัติจึงมีความสำคัญเท่าเทียมกัน

2.1 ความหมายเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์

          การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) โดยทั่วไป หมายถึงการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Goal) ขององค์กรในระยะสั้นและระยะยาว จากนั้นจึงวางแผนทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินงานตามพันธกิจ อันนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจก่อให้เกิดโอกาส หรืออุปสรรคแก่องค์กรได้ องค์กรจึงจำเป็นต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมภายในขององค์กร เพื่อหาจุดแข็งหรือจุดอ่อนในการที่จะสามารถหลีกเลี่ยงจากอุปสรรคหรือใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่นั้นได้ ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นการบริหารโดยคำนึงถึงลักษณะการดำเนินงานขององค์กรในอนาคต สภาพแวดล้อม การจัดสรรทรัพยากร การปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์

2.2 หลักการสำคัญของการบริหารเชิงกลยุทธ์

          การบริหารเชิงกลยุทธ์จะนำไปสู่การเพิ่มโอกาสของความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การได้อย่างไรนั้นมีหลักสำคัญดังนี้
          1. การบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง ภารกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างเป็นระบบ ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางขององค์กร และช่วยให้นักบริหารปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงนั้น ทำให้นักบริหารสามารถกำหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงได้
          2. การบริหารเชิงกลยุทธ์ยังนำไปสู่การจัดการความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เนื่องจากมีการเตรียมรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงไว้แล้ว ทำให้องค์กรค้นหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุดต่อองค์กร ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้เนื่องจากการบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิธีการหรือแนวทางในการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้
          3. การบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นการนำแนวทางในการดำเนินองค์กรที่คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้น และนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักบริหาร
          4. การวางแผนกลยุทธ์เป็นหน้าที่หลักของนักบริหาร เนื่องจากต้องวางแผนประยุกต์ใช้ และกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์กร การจัดทำและปฏิบัติให้สอดคล้องตามแผนกลยุทธ์จึงมีความสำคัญโดยเฉพาะในระยะยาว ดังนั้นความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ของนักบริหาร และความสามารถในการควบคุมให้การปฏิบัติเป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ได้ จะเป็นสิ่งสะท้อนศักยภาพและและสะท้อนของผู้บริหารได้เป็นอย่างดี
          5. การบริหารเชิงกลยุทธ์ จะช่วยสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพให้แก่องค์กร และเสริมสร้างการพัฒนาขีดความสามารถทางการบริหารของนักบริหาร รวมทั้งช่วยเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรที่อยู่ภายในองค์กร เนื่องจากการพัฒนาเชิงกลยุทธ์จะต้องมีการสร้างความเข้าใจและแนวทางในการเตรียมพร้อม เพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นของสภาพแวดล้อม นอกจากนี้แล้วการจัดการเชิงกลยุทธ์ยังช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์กรเข้าใจในภาพรวม โดยเฉพาะเป้าหมายในการดำเนินงานทำให้สามารถจัดลำดับการดำเนินงานตามลำดับความสำคัญเร่งด่วนได้
          6. การบริหารเชิงกลยุทธ์ช่วยให้การทำงานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากมีการกำหนดกลยุทธ์ การประยุกต์ใช้ และการตรวจสอบควบคุมไว้อย่างชัดเจน ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันและเกิดความร่วมมือ โดยเฉพาะความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์กร อีกทั้งจะช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการบริหารองค์การในส่วนต่างๆ

2.3 องค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์

          การบริหารเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยพื้นฐาน 5 ประการ คือ

          1. การกำหนดทิศทาง (Direction Setting)
          ในการกำหนดทิศทางขององค์การจะประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision ) และการกำหนดภารกิจ ( Mission ) หรือ กรอบในการดำเนินงานที่ชัดเจนจะช่วยให้องค์การสามารถกำหนดทิศทางในระยะยาว อีกทั้งยังแสดงถึงความตั้งใจในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย

          2. การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning)
          ในการประเมินสภาพแวดล้อมขององค์การนั้นจะประกอบไปด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก และการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค หรือโดยทั่วไปจะเรียกว่าการวิเคราะห์ตามตัวแบบ SWOT Analysis ได้แก่

          « การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength –S) : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์กรที่มีสมรรถนะเหนือกว่า
          « การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness –W) : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์กรที่มีสมรรถนะด้อยกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
          การวิเคราะห์โอกาส (Opportunity –O) : การผสมผสานระหว่างเหตุการณ์ เวลา สถานที่ ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร มาทำให้องค์การมีสมรรถนะที่จะดำเนินการบางอย่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง
          « การวิเคราะห์ภาวะคุกคาม (Threat- T) : เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และถ้าเกิดขึ้นก็จะทำความเสียหายให้แก่องค์การ

          3. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
          การกำหนดกลยุทธ์ เป็นการพัฒนาแผนระยะยาวบนรากฐานของโอกาสและอุปสรรค ที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก และการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนที่ได้จาการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน โดยองค์กรจะต้องกำหนดและเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับองค์กรที่สุด ผู้บริหารต้องพยายามตอบคำถามว่าทำอย่างไรองค์กรจึงจะไปถึงเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีทฤษฎีที่ว่าด้วยกลยุทธ์ที่สามารถนำมาพิจารณาใช้ได้มากมาย  แต่ย่อมไม่มีทฤษฎีหรือแนวทางจัดการใดใช้ได้กับทุกสถานการณ์ ดังนั้นจึงไม่มีสูตรสำเร็จในการกำหนดกลยุทธ์และสร้างกลยุทธ์ที่สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์ แต่อย่างน้อยในการกำหนด กลยุทธ์นั้นควรจะได้พิจารณาเกณฑ์ต่อไปนี้ประกอบด้วย เช่น เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ในระยะยาว เป็นกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสม เป็นกลยุทธ์ที่เป็นไปได้

กระบวนการด้านการวางแผนกลยุทธ์ 5 ขึ้นตอน มีอะไรบ้าง

กระบวนการการวางแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning Processes) มีขันตอนดังต่อไปนี 1) กําหนดวิสัยทัศน์ (Vision) 2) กําหนดภารกิจหรือพันธกิจ (Mission) 3) กําหนดเป้าประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเพือการพัฒนา (Goal) 4) กําหนดประเด็นยุทธศาสตร์หรือยุทธศาสตร์ (Strategy) 5) กําหนดกลยุทธ์หรือแนวทางการพัฒนา

แผนกลยุทธ์มีอะไรบ้าง

เป็นการพิจารณากาหนดรายละเอียดซึ่งเป็นส่วนประกอบของแผนยุทธศาสตร์ซึ่งประกอบด้วย 1. วิสัยทัศน์ (Vision) 2. พันธกิจ (Mission) 3. ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issue) 4. เป้าประสงค์ (Goal) 5. ตัวชี้วัด (KPI) 6. เป้าหมาย (Target) 7. แผนงานโครงการ (Initiative)

การวางแผนกลยุทธ์องค์กรนั้นเป็นการวางแผนระยะใด

การกำหนดกลยุทธ์ เป็นการพัฒนาแผนระยะยาวบนรากฐานของโอกาสและอุปสรรค ที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก และการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนที่ได้จาการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน โดยองค์กรจะต้องกำหนดและเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับองค์กรที่สุด ผู้บริหารต้องพยายามตอบคำถามว่าทำอย่างไรองค์กรจึงจะไปถึงเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ...

แผนกลยุทธ์ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ อะไรบ้าง

กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision).
กำหนดภารกิจหลักหรือพันธกิจ (Mission).
กำหนดเป้าประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา (Goal).
กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์หรือยุทธศาสตร์ (Strategy).
กำหนดกลยุทธ์หรือแนวทางการพัฒนา.