โครงสร้างกิจการเจ้าของคนเดียว

รูปแบบของธุรกิจ

Business model

    1. กิจการเจ้าของคนเดียว (proprietorship)

    2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (limited partnership)

    3. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ordinary partnership)       

    4. บริษัทจำกัด (company limited)

    5. บริษัทมหาชนจำกัด (public company limited)

    6. สหกรณ์ (co-operative)

    7. รัฐวิสาหกิจ (state enterprises)

    8. ธุรกิจขนาดย่อม (small business)

 วัตถุประสงค์การเรียนรู้

   1. เข้าใจความหมายของรูปแบบธุรกิจประเภทต่างๆ ได้

    2. อธิบายการจัดตั้งของธุรกิจแต่ละประเภทได้  

    3. บอกข้อแตกต่างของบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดได้

    4. ระบุความสำคัญของสหกรณ์ประเภทต่างๆ ได้

    5. ระบุหลักการเลือกรูปแบบการประกอบธุรกิจได้

รูปแบบของธุรกิจ

         การประกอบธุรกิจการค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบ ทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้

          การที่จะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจเป็นต้น

         ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จนำมาซึ่งผล ประโยชน์และกำไรที่พอประมาณ

1. กิจการเจ้าของคนเดียว(proprietorship)

            ลักษณะของกิจการประเภทนี้คือ การตัดสินใจต่าง ๆ เป็นสิทธิของผู้เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว  คิดคนเดียว ทำคนเดียว 

           ผลดีคือตัดสินใจง่ายและรวดเร็ว   แต่ผลจากการคิดคนเดียว ไม่ว่าจะเป็นผลดี…ได้กำไร หรือเป็นผลเสีย….ขาดทุน ก็รับผลคนเดียวเต็ม ๆ   ซึ่งลักษณะธุรกิจประเภทนี้จะดีมากถ้าเจ้าของไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียน เพราะธุรกิจประเภทนี้ไม่สามารถระดมทุนจากใครได้ โดยมีลักษณะดังนี้

      1. มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ใช้เงินลงทุนน้อย
      2. เจ้าของกิจการมีความรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินของเจ้าของได้ ถ้าทรัพย์สินของกิจการไม่เพียงพอชำระหนี้
      3. เจ้าของกิจการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งผลกำไรและผลขาดทุนเพียงคนเดียว
      4. การควบคุมการดำเนินงานโดยเจ้าของ
กิจการคนเดียว 

 2.ห้างหุ้นส่วน แบ่งเป็น  2 ประเภท

ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ordinary partnership)

             คือ ห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ดังนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงมีสิทธิดำเนินกิจการในนามห้างหุ้นส่วนได้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีสภาพเป็นนิติบุคคล  ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา 

 ห้างหุ้นส่วนจำกัด (limited partnership)

ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน  2  จำพวก  คือ

          หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด  ได้แก่  ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน  ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น

         หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด  ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน 

 3.บริษัทจำกัด (company limited)

            ตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น  แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน  โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ  ซึ่งลักษณะของบริษัทจำกัด  สรุปได้ดังนี้

                แบ่งหุ้นออกเป็นหุ้นละเท่าๆกัน

                ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเพียงเงินค่าหุ้นที่ยังส่งไม่ครบ

                มูลค่าของหุ้นๆหนึ่งนั้น ต้องไม่ต่ำกว่า  5 บาท

                หุ้นหนึ่งนั้นแบ่งแยกไม่ได้ 

       บริษัทจำกัด (company limited)

ตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น  แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน  โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ  ซึ่งลักษณะของบริษัทจำกัด  สรุปได้ดังนี้

                แบ่งหุ้นออกเป็นหุ้นละเท่าๆกัน

                ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเพียงเงินค่าหุ้นที่ยังส่งไม่ครบ

                มูลค่าของหุ้นๆหนึ่งนั้น ต้องไม่ต่ำกว่า  5 บาท

                หุ้นหนึ่งนั้นแบ่งแยกไม่ได้ 

    การจัดตั้งบริษัทจำกัด

       1.1 มีบุคคลอย่างน้อย 7 คน มารวมกันจัดตั้ง บุคคลกลุ่มนี้เรียกว่า "คณะผู้ก่อการ"
      1.2 ทำหนังสือบริคณห์สนธิ
นำหนังสือบริคณห์สนธิไปจดทะเบียนที่กรมการค้า กระทรวงพาณิชย์
      1.3 คณะผู้ก่อการจะต้องทำหนังสือชี้ชวน เพื่อให้มีผู้สนใจมาซื้อหุ้นของบริษัทและจะต้องดำเนินการให้มีผู้มาจองหุ้นของบริษัทจนครบจำนวนหุ้นที่ขอจดทะเบียน

   
 1.4 เมื่อมีผู้จองหุ้นจนครบทุกหุ้นแล้ว บริษัทเรียกผู้จองหุ้นทุกคนประชุมจัดตั้งบริษัท โดยในที่ประชุมจะต้องเลือกตั้งกรรมการบริหารบริษัทอย่างน้อย 1 คน และกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรรมการในการกระทำการแทนบริษัท และดำเนินการเรียกเก็บค่าหุ้นครั้งแรกอย่างน้อย ร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น

       1.5 หลังจากเรียกเก็บค่าหุ้นครั้งแรกแล้ว จึงไปขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเพื่อให้มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยนำสำเนาการประชุม หนังสือบริคณห์สนธิระเบียบข้อบังคับไปขอจดทะเบียน
     
1.6 ต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทจำกัด
      1.7 ต้องมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ภายในราชอาณาจักร

  หนังสือบริคณห์สนธิคืออะไร

 คือหนังสือที่แสดงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัทและร่วมกันลงชื่อไม่น้อยกว่า 7 คน (ผู้เริ่มก่อการ) มีรายละเอียดดังนี้
      1.
ชื่อบริษัทจะต้องมีคำว่า "จำกัด" ไว้ท้ายชื่อนี้ด้วยเสมอไป
      2. สำนักงานของบริษัทซึ่งจดทะเบียนจะต้องอยู่ ณ ที่ใดในพระราชอาณาเขต
      3. วัตถุประสงค์ทั้งหลายของบริษัท
      4. คำแสดงว่าความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นจะมีจำกัด
      5. จำนวนทุนเรือนหุ้นแบ่งออกเป็นหุ้นมีมูลค่ากำหนดหุ้นละเท่าไร
      6. ชื่อสำนักงานและลายมือชื่อของบรรดาผู้เริ่มก่อการทั้งจำนวนหุ้นที่ซื้อไว้แต่ละคน

บริษัทมหาชนจำกัด (public company limited)

 คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน  โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ  และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ

การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด

     1. มีกลุ่มผู้ก่อการเป็นบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป และมีกรรมการตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
      2. มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป โดยผู้ถือหุ้นคนหนึ่งถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 0.6 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายทั้งหมดรวมกัน และไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด ส่วนหุ้นจำนวนที่เหลือบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะถือไว้ได้รายละไม่เกินร้อยละ10
      3. ต้องมีทุนที่ชำระด้วยตัวเงินไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท โดยมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กันและจะต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 20 บาท และไม่เกินหุ้นละ 100บาท

ประเภทของธุรกิจ

    การเลือกประกอบธุรกิจแต่ละประเภทนั้นขึ้นอยู่กับทักษะของผู้ประกอบการที่สามารถจะขับเคลื่อนธุรกิจ  ไปได้  โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น  4 ประเภท  ดังนี้

            1. ธุรกิจการผลิต

            2. ธุรกิจค้าส่ง

            3.  ธุรกิจการค้าปลีก

            4. ธุรกิจบริการ

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 1






กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก