เงินเดือน ผู้ช่วยพยาบาล โรงพยาบาล รัฐ

ตั้งกระทู้ใหม่

ดิฉันจบปวส.มา 2 ปีแล้วค่ะ ปัจจุบันทำงานบริษัทเอกชน แต่ก่อนหน้านี้ เคยทำงานเป็น จพนง.ธุรการ ของ รพ.รัฐ มาก่อนค่ะ...
ตอนนี้กำลังคิดจะเรียน ผู้ช่วยพยาบาล ค่ะ แต่เห็นว่างานหนัก เงินน้อยเอาการอยู่ค่ะ
เลยอยากปรึกษาค่ะว่าเรียนเป็น ผู้ช่วยพยาบาล (PN) จะดีไหมคะ?
โอกาสก้าวหน้าจะมีบ้างหรือเปล่า?
และสายวิชาชีพนี้จะมั่นคงไหม?
ถ้าเรียนไปจะคุ้มค่าไหมคะ?
บางคนบอกว่า ผู้ช่วยพยาบาลก็เหมือนทาสพยาบาล อันนี้จริงหรือคะ?
และเงินเดือนสตาร์ทของ PN ณ ปัจจุบันตอนนี้เป็นอย่างไรคะ? หากรวม OT+ค่าเวรแล้ว ตกเดือนละประมาณเท่าไหร่หรือคะ?

รายชื่อผู้ถูกใจกระทู้นี้ คน

แสดงความคิดเห็น

99 ความคิดเห็น

บทความที่คนนิยมอ่านต่อ

2 ความคิดเห็น

หนูกิฟท์ 16 มิ.ย. 58 เวลา 16:16 น. 1

เป็นผู้ช่วยพยาบาล ทำงานอยู่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุคะ
เริ่มงานเกือบๆ 1 ปี ตอนนี้เงินเดือน 16,000 +OT ตกเดือนละ 3,000-4,000
เรื่องอาหารที่พัก ศูนย์ดูแลให้หมดค่ะ แถมยังได้บุญด้วยน้าา 555

ไว้เป็นข้อมูลเผื่อสนใจนะคะ จบ PN มาเหมือนกัน

0 1

  • แจ้งลบ

กมลทิพย์ พงสปิน 10 พ.ย. 61 เวลา 15:41 น. 1-1

พี่ี่ทำงานที่ไหนค่ะ

0 0

  • แจ้งลบ

กุ๊ก 22 ต.ค. 61 เวลา 18:35 น. 2

หนูคิดว่าจะเรียนPNอยากรู้ว่าเรียนหนักไหมแล้วจบมามีงานรองรับจิงรึป่าวหนูจะจบ ปวช เรียนPNแล้วสมารถเรียนพยาลาบได้รึป่าวพี่ๆช่วยบอกหน่อยน้า

0 3

  • แจ้งลบ

1420 7 พ.ค. 63 เวลา 12:14 น. 2-1

เรียนต่อพยาบาลไม่ได้ค่ะ คนที่เข้าเรียนพยาบาลได้ต้องจบม.ปลาย สายวิทย์-คณิตเท่านั้นค่ะ จบสายอาชีพมาหมดสิทธิค่ะ

0 0

  • แจ้งลบ

Mai 27 มิ.ย. 63 เวลา 09:00 น. 2-2

เรียนใด้บางที่จ้าเท่าที่รู้มี1ที่จ้า วิทยาลัยเวสเทิร์น จ้า เค้ารับวุฒ ปวช ปวส แต่เกรดหน้าจะ3อัพน้าา

0 0

  • แจ้งลบ

ปิ่น 23 มิ.ย. 65 เวลา 19:42 น. 2-3

เเล้วจบสายศิลป์ทั่วไปสามารถสอบพยบาลได้ไหมคะ

0 0

  • แจ้งลบ

รายชื่อผู้ถูกใจความเห็นนี้ คน

แจ้งลบความคิดเห็น

คุณต้องการจะลบความคิดเห็นนี้หรือไม่ ?

Last Updated on April 28, 2022 by

น้องๆ ที่กำลังเลือกสายที่จะเข้าเรียนอยากรู้ว่าเงินเดือนพยาบาลเริ่มต้นอยู่ที่เท่าไหร่ หรือพยาบาลจบใหม่ที่กำลังตัดสินใจเลือกระหว่างทำงานโรงพยาบาลรัฐบาล กับเอกชนว่ามีความต่างกันมากไหมได้เงินต่างกันยังไงบ้าง บทความนี้มีคำตอบให้ครับ

เงินเดือนเริ่มต้นพยาบาลนั้นได้แตกต่างกันออกไป โดยโรงพยาบาลรัฐบาลจะได้เริ่มต้นอยู่ที่ 13,000 – 15,000 บาท ส่วนโรงพยาบาลเอกชนจะได้เริ่มต้นอยู่ที่ 17,000 – 21,000 บาท ซึ่งนอกจากเงินเดือนแล้วรายได้ของพยาบาลยังมีค่าตอบแทนจากส่วนอื่นๆ อีก เช่น ค่า OT, ค่าเวร, ค่าใบประกอบวิชาชีพ, ค่าเฉพาะทางต่างๆ และอีกมากมาย ซึ่งค่าตอบแทนอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเงินเดือน รวมๆ แล้วตกแล้วต่อเดือนก็แตะหลักหมื่นเช่นกัน

ซึ่งค่าตอบแทนต่างๆ นั้นก็จะได้เรทที่ต่างกันออกไป บางอย่างอาจมีเฉพาะแค่โรงพยาบาลรัฐบาล บางอย่างมีเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชน อ่านรายละเอียดกันต่อได้เลย

สารบัญ

  • เงินเดือนเริ่มต้นพยาบาลได้เท่าไหร่? โรงพยาบาลรัฐ/เอกชนต่างกันไหม?
  • พยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาลได้ค่าตอบแทนอะไรบ้าง?
  • พยาบาลโรงพยาบาลเอกชนได้ค่าตอบแทนอะไรบ้าง?
  • สวัสดิการระหว่างโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน

เงินเดือนเริ่มต้นพยาบาลได้เท่าไหร่? โรงพยาบาลรัฐ/เอกชนต่างกันไหม?

เงินเดือนเริ่มต้นของพยาบาลจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกันไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาลรัฐบาล/โรงพยาบาลเอกชน ระดับตำแหน่ง รวมไปจนถึงขนาดของโรงพยาบาลด้วย โดยในส่วนของโรงพยาบาลรัฐบาลจะมีบางแห่งที่จะเปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการเลยซึ่งเงินเดือนจะเริ่มต้นอยู่ที่ 15,000 บาทขึ้นไป และโรงพยาบาลรัฐบางแห่งก็จะเปิดรับเข้าทำงานด้วยสัญญาลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งเดือนจะเริ่มต้นอยู่ที่ 13,000 – 15,000 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบการรับสมัคร ส่วนเงินเดือนเริ่มต้นของโรงพยาบาลเอกชนส่วนมากแล้วจะอยู่ที่ 17,000 – 21,000 บาทครับ

พยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาลได้ค่าตอบแทนอะไรบ้าง?

จากที่บอกไปด้านบนครับว่าโรงพยาบาลรัฐบาล มีการรับสมัครด้วยกันหลายรูปแบบทั้งสอบบรรจุข้าราชการ และสัญญาลูกจ้าชั่วคราว นอกจากนั้นแล้วรูปแบบของโรงพยาบาลที่ต่างกันยังส่งผลต่อรายได้ด้วย เช่น โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.), โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) หรือโรงพยาบาลประจำจังหวัดที่มีแผนกเฉพาะทางต่างๆ มากกว่าโรงพยาลรัฐขนาดเล็ก จึงทำให้มีตำแหน่งและรายได้ที่ต่างกันไปหลากหลาย

ซึ่งค่าตอบแทนของพยาบาลไม่ได้มีเงินเดินเท่านั้นครับ ยังมีค่าตอบแทนอื่นๆ อีกซึ่งเราขอยกตัวอย่างในส่วนของกรณีการสมัครทำงานด้วยสัญญาลูกจ้างชั่วคราว ว่าจะมีค่าตอบแทนโดยประมาณเท่าไหร่

  • เงินเดือนสัญญาลูกจ้างชั่วคราว 13,000 – 15,000 บาท
  • ค่าเวร 240 บาทต่อเวร (1 เดือนอาจได้ประมาณ 2,000 – 3,000บาท)
  • ค่า OT เวรละ 600 – 700 บาท
  • ค่าใบประกอบการตำแหน่งพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข (พ.ต.ส.) 1,000 – 1,500 บาท
  • เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย (สำหรับโรงพยาบาลที่ทุรกันดาร ยิ่งไกลหรือติดชายแดนก็จะได้เงินส่วนนี้มากขึ้น)
    • 1 – 3 ปี 2,200 บาท
    • 3 – 10 ปี 2,800 บาท
    • มากกว่า 10 ปี 3,000 บาท

ซึ่งหลังจากนั้น จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากลูกจ้างสัญญาชั่วคราวมาเป็นพนักงานกระทรวง (พกส.) ซึ่งค่าตอบแทนก็จะไม่ได้แตกต่างจากลูกจ้างชั่วคราวมากนัก แต่จะมีข้อดีตรงที่จะมีการประเมินขึ้นเงินเดือน 2 ครั้ง/ปี คือรอบเมษายนและตุลาคมเหมือนกับข้าราชการ และเมื่อสอบบรรจุเข้าราชการได้เรียบร้อยแล้ว เงินเดือนก็จะเริ่มต้นอยู่ที่ 15,000 บาทขึ้นไปครับ

พยาบาลโรงพยาบาลเอกชนได้ค่าตอบแทนอะไรบ้าง?

ส่วนของโรงพยาบาลเอกชนก็มีค่าตอบแทนที่หลากหลายตามลักษณะของโรงพยาบาลเช่นกัน เพราะโรงพยาบาลเอกชนนั้นมีตั้งแต่โรงพยาบาลขนาดเล็กที่ส่วนใหญ่ไว้รับคนไข้ประกันสังคม ไปจนถึงโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ โดยค่าตอบแทนที่ได้นอกจากเงินเดือนแล้วก็มีหลายประเภทครับ ซึ่งจะแบ่งเป็นส่วนของค่าตอบแทนหลักที่ทุกๆ คนจะได้ และค่าตอบแทนรองที่บางคนเท่านั้นจะได้ในส่วนนี้เพิ่มเติม

ค่าตอบแทนหลัก (ทุกคนต้องได้)

  • เงินเดือนเริ่มต้น 17,000 – 21,000 บาท
  • ค่าใบประกอบวิชาชีพ 5,000 บาท
  • ค่าเวร 200 – 300 บาทต่อเวร
  • ค่า OT 10,000 – 20,000 บาท ต่อเดือน บางโรงพยาบาลจะกำหนดมาให้เลยว่าจะได้อยู่ที่เท่าไหร่

ค่าตอบแทนรอง (ไม่ได้ทุกคนอาจได้เป็นบางแผนกหรือบางบุคคล)

  • ค่าเฉพาะทาง ประมาณ 2,000 บาท (เช่น ทำงานอยู่ในห้องผู้ป่วยวิกฤติ, ห้องผ่าตัด)
  • ค่า Level 1,500 – 3,000 บาท (เมื่อทำงานครบ 1 ปีจะมีให้สอบเพื่อประเมินผลในการเลื่อนขั้น Level ซึ่งบางโรงพยาบาลอาจจะไม่มีในส่วนนี้)
  • ค่าภาษา 2,000 – 5,000 บาท (จะต้องสอบ TOEIC ให้ได้คะแนนมากกว่า 450 คะแนน และอาจจะต้องมีการสอบเฉพาะของทางโรงพยาบาลด้วย เช่นการสอบ Speaking Test)
  • โบนัสไม่ต่ำกว่า 1 เดือน (ขึ้นอยู่กับผลประกอบการรายปี และการประเมินรายบุคคล)

สวัสดิการระหว่างโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน

แม้รายได้ของโรงพยาบาลเอกชนจะได้มากกว่าโรงพยาบาลรัฐ แต่อีกหนึ่งเรื่องที่ควรดูให้ดีก่อนตัดสินใจนั่นคือสวัสดิการต่างๆ ที่จะได้รับนะครับ ลองมาชั่งน้ำหนักดูว่าแบบไหนที่เหมาะกับเราและรู้สึกคุ้มค่ากว่ากัน

แน่นอนว่าโรงพยาบาลของรัฐ ต้องมีความโดดเด่นในเรื่องสวัสดิการเพื่อเป็นตัวช่วยจูงใจให้คนเข้ามาทำงาน ซึ่งในส่วนสวัสดิการของโรงพยาบาลรัฐนั้นมีดังนี้ เบิกค่ารักษาพยาบาล 4 คนและลูกไม่เกิน 3 คน, ค่าเล่าเรียนบุตร 3 คน, ค่าบำเหน็จบำนาญ, ลาได้ 11 ประเภท, สิทธิพิเศษในการกู้เงิน และสหกรณ์/ฌาปนกิจ

ในส่วนของเอกชนนั้นแม้จะไม่มีสวัสดิการรองรับได้มากเท่า แต่ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ดังนี้ ประกันสังคม, วงเงินค่ารักษาพยาบาลของตนเอง, ส่วนลดค่ารักษาพยาบาลของพ่อ แม่ สามี และลูก, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (มีแค่บางโรงพยาบาล), โบนัสประจำปี (มีแค่บางโรงพยาบาล) และประกันสุขภาพ/อุบัติเหตุ (มีแค่บางโรงพยาบาล)

สุดท้ายแล้วควรลองชั่งน้ำหนักในการตัดสินใจทั้งเรื่องค่าตอบแทนที่ได้ สวัสดิการ และที่สำคัญอย่าลืมมองถึงลักษณะนิสัยส่วนตัว และรูปแบบการใช้ชีวิตในอนาคตที่ต้องเจออีกหลายๆ ปีข้างหน้าด้วยนะครับ เพราะโรงพยาบาลรัฐและเอกชนนั้นมีลักษณะงานที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นจำนวน ภาระของงานที่จะได้รับ หากจะพูดง่ายๆ ก็คือโรงพยาบาลรัฐบาลก็แน่นอนว่าจะต้องตั้งรับกับจำนวนงานที่มากและงานหนักเนื่องจากจำนวนคนไข้ที่มีมากทุกวัน

ส่วนในฝั่งของโรงพยาบาลเอกชนก็ต้องดูแลทุกอย่างตามความต้องการของลูกค้า บริการคนไข้แบบสุดๆ กางข้อมูลแบบนี้แล้วคงช่วยให้หลายๆ คนตัดสินใจได้ง่ายขึ้นนะครับ

Gelending.com เว็บไซต์การเงินส่วนบุคคล ทั้งการเงินปัจจุบัน และ Cryptocurrencies ก่อตั้งขึ้นปี 2020 เกี่ยวกับเรา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก