การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย10ข้อ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการดำเนินงานในทุกสาขาอาชีพ ทำให้ทึกคนในสังคมต้องมีการปรับตัว และพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมีทั้งคุณและโทษนักเรียนต้องศึกษาเพื่อใช้งานได้อย่างรู้เท่าทัน และสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัยในสังคมปัจจุบัน นอกจากนนี้ยังต้องสามารถเลือกและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์และมีจริยธรรม

บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์

    1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น เช่น ไม่ควรโพสต์ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นในเว็บบอร์ดให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ไม่ควรโพสต์รูปอนาจาร

    2. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่น เช่น เปิดฟังเพลงด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ เล่นเกมรบกวนผู้อื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

    3. ต้องไม่เปิดดูไฟล์ของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต เช่น แอบเปิดอ่านอีเมลของเพื่อน

    4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูล ข่าวสาร เช่น การแอบเจาะระบบเพื่อขโมยข้อมูลการค้าของบริษัท ขโมยรหัสผ่านบัตรเครดิต

    5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานเท็จ เช่น การแอบเจาะระบบเพื่อเปลี่ยนแปลงคะแนน

    6. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการคัดลอก หรือ ใช้โปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น ดาวน์โหลดโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์มาใช้ โดยมีโปรแกรมแก้ไขเพื่อให้ใช้งานได้

    7. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการ ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ เช่น ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ หรือ ไม่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ในการเข้าใช้

    8. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อนำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

    9. ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากโปรแกรมที่ตัวเองพัฒนาขึ้น

    10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์ โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมารยาทของสังคมนั้น

อ้างอิง

“การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย” จากเว็บไซต์ //www.168training.com/e-learning_new/tc_co_m1_2/more/IPST06.php

ยงยุทธ ชมไชย, “ผลกระทบอินเทอร์เน็ต”, จากเว็บไซต์ //sites.google.com/site/kruyutsbw/5-5-phlk-ra-thb-cak-kar-chi-internet สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562

วันนี้ทีมงาน TechTalkThai ขอนำเสนอทิปง่ายๆ ที่ช่วยให้รู้เท่าทันเทคนิคใหม่ๆของผู้ไม่ประสงค์ดี ไม่ว่าจะเป็นพวกแฮ็คเกอร์ หรือนักต้มตุ๋นหลอกลวงทั้งหลาย รวมทั้งแนะนำวิธีหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงความบนโลกออนไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกคนสามารถเล่นอินเตอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัยและไร้กังวลกันนะครับ

1. รู้จักแฮ็คเกอร์ พยายามอ่านบทความ ติดตามข่าวสาร IT ใหม่ๆตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันนี้มีให้ติดตามหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Thai Cert, Blognone, Daily Gizmo หรือแม้แต่เว็บไซต์ดีๆอย่าง www.techtalkthai.com เอง ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการต้มตุ๋น หลอกลวงใหม่ๆ รวมทั้งวิธีการหลีกเลี่ยงกลวิธีเหล่านั้นได้

2. คิดก่อนกด อย่ากดลิงค์ใดๆที่ส่งมาจากคนที่คุณไม่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็นบน Email, Facebook หรือช่องทาง Chat ต่างๆ ลิงค์เหล่านี้อาจนำไปสู้เว็บไซต์ที่หลอกล่อให้คุณเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว หรือดาวน์โหลดมัลแวร์ไปติดตั้งไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณได้ โดยเฉพาะอีเมลล์ ควรสังเกตอีเมลล์ผู้ส่งให้ดีว่าเป็นคนที่คุณรู้จักจริงหรือไม่ เนื่องจากแฮ็คเกอร์อาจปลอมอีเมลล์ให้คล้ายคลึงกับคนที่คุณรู้จักก็ได้

 3. อ่านให้ดีๆ ระมัดระวังเว็บไซต์ปลอมต่างๆ เว็บไซต์เหล่านี้มักมีชื่อเว็บไซต์หรือ URL ใกล้เคียงกับเว็บไซต์ของจริง แต่อาจมีการสะกดผิดไปจากเดิมเล็กน้อย ซึ่งถ้าเจอเว็บไซต์ที่มีการสอบถามข้อมูลส่วนตัวเมื่อไหร่ ให้ลองกลับไปดูที่ URL อีกทีเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าถูกต้องเว็บไซต์ และตรวจสอบให้มั่นใจว่าเว็บไซต์ไม่ถามข้อมูลที่ไม่ควรจะถาม คุณอาจจะลองใช้งาน McAfee SiteAdvisor ซอฟต์แวร์ฟรีที่ช่วยตรวจสอบและป้องกันคุณจากพวกเว็บไซต์อันตรายหรือ Web Phishing ทั้งหลายก็ได้

4. ช็อบปิ้งให้ปลอดภัย อย่าซื้อของออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ที่ไม่ใช่ HTTPS และไม่มีรูปแม่กุญแจอยู่ฝั่งซ้ายหรือขวามือของ URL โดยเด็ดขาด รวมทั้งป้องกันตัวคุณเองโดยการใช้บัตรเครดิตในการซื้อของแทนที่จะใช้บัตรเดบิต เนื่องจากบริษัทบัตรเครดิตส่วนใหญ่จะคืนเงินให้เมื่อคุณเผลอถูกหลอก

5. ตั้งรหัสผ่านให้แข็งแกร่ง หลีกเลี่ยงการตั้งรหัสผ่านง่ายๆ เช่น “password” หรือ “123456” และเพิ่มความแข็งแกร่งให้รหัสผ่านโดยการใส่อักษรพิมพ์ใหญ่, อักขระพิเศษ และตัวเลขลงไปด้วย เช่น “T3chta|kth@!” หรือสร้างข้อความสั้นๆที่สามารถจำได้ง่ายๆ เช่น “orange eagle key shoe” (ดูคำแนะนำการตั้งรหัสผ่านได้ที่ //www.techtalkthai.com/stanford-university-password-policy/)

6. ปกป้องข้อมูลส่วนตัว สำรองข้อมูลบนเครื่องของคุณ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์, สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต เนื่องด้วยถ้าเกิดกรณีอุปกรณ์สูญหาย, มีปัญหา หรือถูกขโมย สามารถย้อนข้อมูลกลับคืนมาได้ รวมทั้งตรวจสอบ Statement การเงินต่างๆไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต, Amazon, eBay อย่างสม่ำเสมอ

7. ดูแล Wi-Fi ของตน ป้องกันระบบเครือข่ายของตนโดยเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นต่างๆให้แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นรหัสผ่าน admin, หมายเลข IP ที่ใช้ (ส่วนใหญ่จะเป็น 192.168.1.xxx), รหัสผ่านในการเชื่อมต่อ Wi-Fi รวมถึงตั้งค่าการเข้ารหัสแบบ WPA2-AES เสมอ

8. ติดตั้งไฟร์วอลล์ ไฟร์วอลล์เป็นเกราะป้องกันที่ยอดเยี่ยมสำหรับรับมือกับอาชกรรมบนโลกไซเบอร์ ถึงแม้ว่าหลายๆ OS จะมีไฟร์วอลล์ติดตั้งมาให้อยู่แล้ว แต่ไฟร์วอลล์เหล่านั้นส่วนใหญ่มักทำงานได้ดีในระดับหนึ่งเท่านั้น สำหรับผู้ที่ต้องการความปลอดภัยระดับสูง แนะนำให้ติดตั้งไฟร์วอลล์อื่นเพิ่มเติม เช่น McAfee LiveSafe™ เป็นต้น

9. อัพเดทอุปกรณ์สม่ำเสมอ ซอฟต์แวร์ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ควรตั้งให้อัพเดทโดยอัตโนมัติเมื่อมีแพทช์ใหม่ออกมา เนื่องจากแพทช์เหล่านี้จะช่วยอุดช่องโหว่และแก้ไขบั๊คต่างๆภายในเครื่องของคุณ รวมถึงโปรแกรมแอนตี้ไวรัสก็ควรตั้งค่าให้อัพเดทฐานข้อมูลสม่ำเสมอและตรวจสอบไวรัสบนคอมพิวเตอร์อย่างน้อยทุกๆสองสัปดาห์

10. ใช้หัวสักนิด คุณไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ ก็รู้ได้ว่าเป็นเรื่องไม่ฉลาดเลยที่จะเปิดไฟล์หรือกดลิงค์ “Claim Your Reward!” เพียงแค่ใช้ Common sense ในขณะที่เล่นอินเตอร์เน็ตก็ช่วยป้องกันคุณจากแฮ็คเกอร์ผู้หิวโหยได้แล้ว

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก