การคืนเงิน ค่าธรรมเนียมศาล

วิธีและขั้นตอนดำเนินการทางศาล

ช่วงบ่ายมาขอตรวจกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

กรณีบุคคลทั่วไปไม่สามารถขอตรวจสอบได้ เพราะข้อมูลได้รับความคุ้มครองตามพรบ.ข้อมูลข่าวสาร ยกเว้นโจทก์และทนายความ ที่ชนะคดี ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น เพื่อประโยชน์ในการบังคับคดี อายัดนำออกขายทอดตลาด

การดำเนินการออกหมายบังคับคดี

มาดำเนินการ ยื่นคำขอรับเงินค่าธรรมเนียมศาลคืน

กรณีโจทก์และจำเลยสามารถตกลงกันได้ โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล

ศาลมีคำสั่งคืนค่าธรรมเนียม ประมาณ 7️ ใน 8

เอกสารประกอบการขอรับเงิน

1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2 ชุด

2 สำเนาหน้า Book Bank 2 ชุด

3 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) ปิดอากรแสตมป์ + สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

4 ใบแจ้งความประสงค์ในการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (โดยปกติ ศาลจะสั่งจ่ายเงินคืนเป็นเช็ค)

5 ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน

6 ใบสั่งคืนเงินค่าธรรมเนียมศาล 2 ชุด

รู้หรือไม่ว่า คู่สมรสชาวไทย-ต่างชาติ สามารถจดทะเบียนหย่ากันต่างที่ได้

โดยมีขั้นตอนยื่นคำร้องต่อสำนักงานทะเบียน ดังนี้

1 ให้คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไปยื่นคำร้องที่สำนักงานเขตใดก็ได้ ระบุว่าต้องการหย่าต่างสำนักงานทะเบียน ใช้เอกสารประกอบดังนี้

1.1 บัตรประชาชน

1.2 ทะเบียนบ้าน

1.3 ใบสำคัญการสมรส

1.4 พยาน 2 คน

2 นายทะเบียนจะสอบสวนรายละเอียด เพื่อรวบรวมเอกสาร ส่งต่อไปยัง ที่ว่าการกรุงเทพมหานคร ➡️กระทรวงมหาดไทย➡️กระทรวงต่างประเทศ➡️สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศของคู่สมรสอีกฝ่าย

3 ให้คู่สมรสอีกฝ่ายไปติดต่อยื่นคำร้อง ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศของตน ใช้เอกสารประกอบดังนี้

3.1 Passport พร้อมคำแปลภาษาไทย

3.2 ใบสำคัญการสมรส

4 นายทะเบียนจะออกใบสำคัญการหย่าให้ทั้ง 2 ฝ่าย

ระยะเวลาดำเนินการ 8 - 9 เดือ

คำแถลงขอรับเงินคืนไปจากศาล โดยวิธีการโอนผ่านบัญชีธนาคาร

คำแถลงขอรับเงินคืนไปจากศาล โดยวิธีการโอนผ่านบัญชีธนาคาร

   ข้อ 1. คดีนี้ศาลได้โปรดมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560

   ด้วยศาลได้โปรดมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์แล้ว เป็นเงินจำนวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ปรากฎในสำนวนคดีของศาลแล้วนั้น

   ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิขอรับเงินคืนไปจากศาล จึงขอรับเงินจำนวนดังกล่าวไปจากศาล โดยวิธีการโอนผ่านบัญชีธนาคารกรุงเทพ บัญชีเลขที่ 1234567890 ชื่อบัญชีนายสมใจ บุญดี รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหน้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ ขอศาลได้โปรดอนุญาต                               

         ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

   ลงชื่อ                         โจทก์

คำแถลงฉบับนี้ ข้าพเจ้านายธนู กุลอ่อน ทนายโจทก์ เป็นผู้เรียงและพิมพ์ 

   ลงชื่อ                         ผู้เรียงและพิมพ์

Visitors: 113,235

จำหน่ายคดี ขอคืนค่าขั้นศาล

คำถาม การจำหน่ายคดี โจทก์สามารถขอคืนค่าธรรมเนียมศาลได้ไหม

ตอบ ได้ โดยศาลจะสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา โจทก์จะต้องเขียนคำแถลงขอคืนค่าขั้นศาลเป็นกรณีพิเศษ พร้อมคำแถลงขอรับเงินคืนจากไปศาล ยื่นต่อศาล

อ้างอิงกฎหมาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 151 ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องหรือในกรณีที่มีการอุทธรณ์ หรือฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ ถ้าศาลไม่รับอุทธรณ์หรือฎีกาหรือคำขอให้พิจารณาใหม่ หรือศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์หรือฎีกาโดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ให้ศาลมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด

   เมื่อได้มีการถอนคำฟ้อง หรือเมื่อศาลได้ตัดสินให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่ หรือเมื่อคดีนั้นได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความหรือการพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด หรือบางส่วนแก่คู่ความซึ่งได้เสียไว้ได้ตามที่เห็นสมควร

   ในกรณีที่มีการทิ้งฟ้องหรือศาลสั่งจำหน่ายคดีในกรณีอื่น ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าขึ้นศาลบางส่วนได้ตามที่เห็นสมควร

   ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งให้ส่งสำนวนความคืนไปยังศาลล่างเพื่อตัดสินใหม่หรือเพื่อพิจารณาใหม่ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 243 ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกเว้นมิให้คู่ความต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ หรือในการที่จะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาใหม่ของศาลล่างได้ตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2545

   การที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย โดยมิได้กำหนดไว้ว่าจะให้ศาลสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่คู่ความทั้งหมดหรือไม่คืน หรือคืนแต่บางส่วน อันแสดงว่าในกรณีที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้นอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร ซึ่งต่างจากกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องที่มาตรา 151 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลต้องมีคำสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด หรือในกรณีที่มีการถอนคำฟ้องหรือได้มีการตัดสินให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่หรือเมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความที่มาตรา 151 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนแก่คู่ความได้

   โจทก์ยื่นฟ้องและจำเลยยื่นคำให้การจนถึงได้มีการนัดสืบพยานโจทก์แล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 25 เนื่องจากจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่อาจถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้ตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วมีเหตุให้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์ตั้งแต่ต้นอันจะทำให้ศาลมีคำสั่งคืนค่าธรรมเนียมคือคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคหนึ่งดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ โดยใช้ดุลพินิจให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นพับจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167

Visitors: 113,235

ค่าธรรมเนียมศาล ขอคืนได้ไหม

คำถาม การจำหน่ายคดี โจทก์สามารถขอคืนค่าธรรมเนียมศาลได้ไหม ตอบ ได้ โดยศาลจะสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา โจทก์จะต้องเขียนคำแถลงขอคืนค่าขั้นศาลเป็นกรณีพิเศษ พร้อมคำแถลงขอรับเงินคืนจากไปศาล ยื่นต่อศาล อ้างอิงกฎหมาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

กรณีใดที่ศาลจะต้องคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด

เมื่อได้มีการถอนคำฟ้อง หรือเมื่อศาลได้ตัดสินให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่ หรือเมื่อคดีนั้นได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความหรือการพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด หรือบางส่วนแก่คู่ความซึ่งได้เสียไว้ได้ตามที่เห็นสมควร

ค่าธรรมเนียม ศาลปกครอง ได้ คืน ไหม

1. ศาลมีคาพิพากษา ศาลมีอ านาจสั่งคืนค่าธรรมเนียม ศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของ การชนะคดี (มาตรา 72/1 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542) ศาลไม่มีค าสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาล แต่ศาลมี อ านาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีนั้น รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือให้ คู่ความแต่ละฝ่ายรับผิด ...

ค่าธรรมเนียมศาล คิดยังไง

1. ค่าขึ้นศาลในคดีที่มีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งทุนทรัพย์ 10 ล้านบาท 1. สำหรับทุนทรัพย์พิพาทเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินเสียอัตราร้อยละ 0.1. 1. สำหรับคดีมโนสาเร่ ทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 1,000 บาท อยู่เขตอำนาจศาลแขวง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก