บัตรบันทึกข้อมูล มี อะไร บาง

การจดบันทึกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. การจดบันทึกจากการฟัง
2. การจดบันทึกจากการอ่าน
3. การทำบันทึกย่อจากบันทึกการฟังและบันทึกการอ่าน
การจดบันทึกจากการฟัง
การฟังคำบรรยายและการจดบันทึกเป็นของคู่กัน บันทึกคำบรรยายคือ ผลของการสื่อสารระหว่างผู้บรรยายกับผู้ฟัง คำบรรยายเป็นเสมือนคำสนทนาของผู้พูดกับผู้ฟัง ผู้สอนกับผู้เรียน ผลการสนทนาจะประสบผลสำเร็จเพียงใด จะดูได้จากบันทึกที่จด ถ้าผู้ฟังหรือผู้เขียน เข้าใจเรื่องที่ฟังดี บันทึกก็จะดีไปด้วยการที่ผู้ฟังจะเข้าใจในเรื่องที่เรียนได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ หลายประการ อาทิเช่น ความสนใจในเรื่องที่บรรยาย รูปแบบของการบรรยาย ความพร้อมของผู้ฟัง
นอกจากเรื่องการฟังแล้วผู้เรียนจะต้องรู้วิธีการจดบันทึกอย่างมีประสิทธิภาพ คือ รู้แนวทาง ในการจดและวิธีการจดด้วย

การจดบันทึกจากการอ่าน
เป็นการจดบันทึกที่ง่ายกว่าการจดบันทึกจากการฟัง เพราะมีเล่มหนังสือหรือสื่อต่าง ๆ ให้ดูตลอดเวลา จะอ่านซ้ำกี่เที่ยวก็ได้ จึงสามารถจดรายละเอียดได้ดีกว่า วิธีจดมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเนื้อหา วิธีดังกล่าว ได้แก่ การจดแบบย่อความ การจดแบบถอดความ การจดแบบอัญญพจน์ การจดแบบโครงเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจดแบบใดควรจดเนื้อหาลงบัตรคำดีกว่าจด ลงสมุด เพราะสะดวก ในการจด สะดวกในการเก็บและนำมาใช้ สะดวกในการพกพา ขนาดบัตรที่นิยมใช้กันคือ ขนาด 3x5 นิ้ว และ 4x6 นิ้ว ควรจะใช้บัตรขนาดเดียวกันเพื่อสะดวกในการเก็บ บัตรคำที่ใช้อาจจะไม่ต้องไปซื้อหามา ให้ตัดจากกระดาษสมุดที่ใช้เหลือ ๆ ก็ได้ ข้อความที่อยู่ในบัตรคำได้แก่ หัวเรื่องหรือคำสำคัญซึ่งจะใส่ไว้มุมบนขวาของบัตรบรรทัด ต่อมาคือรายละเอียดทางบรรณานุกรม ของสื่อสิ่งพิมพ์ แล้วจึงตามด้วยข้อความที่จด
แนวทางในการจดบันทึกคำบรรยาย
สมุดจดบันทึกเป็นสิ่งหนึ่งที่มีคุณค่าที่สุดในการเรียนผู้เรียนควรศึกษาเทคนิคหรือแนวทางในการจดบันทึกอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียน แนวทางดังกล่าว ได้แก่
1. เตรียมพร้อมที่จะจดบันทึก เริ่มตั้งแต่เตรียมใจรับข่าวสารโดยการอ่านหนังสือมาล่วงหน้า ศึกษาประเด็นสำคัญเพื่อ เป็นพื้นฐานก่อนเข้าเรียน หรือทบทวนคำบรรยายเก่า บันทึกที่จดจากการอ่าน หรือคำวิจารณ์เพิ่มเติมที่จดไว้ในตำราของเรา
2. ใช้อุปกรณ์การจดบันทึกที่เหมาะสม อาทิ สมุดจดบันทึกมาตรฐานขนาด "8.5x11" ชนิดที่มีห่วงกลม ๆ ยึด สามารถเติมหรือถอด กระดาษเข้าออกได้ สะดวกในการปรับเปลี่ยนหน้า เก็บการบ้านหรือเนื้อหาที่ค้นคว้าเพิ่มเติมมา ควรจดบันทึกหน้าเดียว อีกหน้าหนึ่งเว้น ไว้เพื่อเพิ่มเติมเนื้อหา ข้อคิดเห็นและเพื่อสะดวกในการทบทวน ในการจัดเรียงเนื้อหา ก่อนจดบันทึกแต่ละครั้งควรจดหัวข้อที่จะบรรยาย ชื่ออาจารย์ ชื่อวิชา วัน เดือน ปี ทุกครั้ง ผู้เรียนควรมีเครื่องเขียนให้พร้อม อาทิ ปากกาสีปลายสักหลาด สำหรับเน้นหัวข้อ หรือประเด็น สำคัญ
3. จดคำบรรยายด้วยภาษาของตนเอง การจดคำบรรยายด้วยภาษาของตนเอง จะอ่านเข้าใจได้ดีกว่า จำง่ายกว่า เพราะเป็นการเรียบเรียงความคิดที่เกิดจากความเข้าใจในคำบรรยาย แต่ถ้าเป็นคำจำกัดความหรือสูตรต่าง ๆ ข้อเท็จจริงที่เฉพาะเจาะจง เราก็สามารถคัดลอกมาใส่ในบันทึกได้
4. กำหนดคำย่อในการจดบันทึก ถ้าเราใช้คำย่อในการจดบันทึกจะช่วยให้จดเร็วขึ้น ได้เนื้อหามากขึ้น คำย่อที่ใช้อาจจะสร้างขึ้นมาเองและควรจะใช้อย่างสม่ำเสมอจนคุ้นเคย เพื่อจะได้ไม่สับสนและอ่านง่าย คำย่อที่ใช้อาจตัดมาจากคำต้นของคำต่าง ๆ คำย่อมาตรฐาน หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ
5. จดบันทึกให้สมบูรณ์ ควรจดบันทึกให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญทุกประเด็น ผู้ที่จดบันทึกสมบูรณ์ มักจะเป็นผู้ที่สอบได้คะแนนดี เพราะเขาสามารถระลึกถึงเรื่องที่เรียนมาได้อย่างครบถ้วน ถ้าเราไม่แน่ใจหรือไม่เห็นด้วย กับประเด็นสำคัญที่อาจารย์สอน เราก็ควรจด บันทึกไว้ก่อน แล้วจึงค่อยกลับมาพิจารณาหรือ ตีความเนื้อหาตอนนั้นใหม่ ควรจดบันทึกให้มากไว้ก่อนดีกว่าที่จะตัดทิ้งไป
6. จัดระเบียบบันทึก ในการจดบันทึกควรจัดระเบียบเนื้อหาให้เป็นลำดับขั้นตอน ให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อความ โดยจดประเด็น หลักลงไปก่อนแล้วจึงตามด้วยข้อความสนันสนุน
7. จดบันทึกอย่างมีตรรก ควรจดบันทึกให้มีระเบียบ มีตรรก คือ มีเหตุมีผล ใช้คำที่แสดงการเชื่อมโยงและการต่อเนื่องของ ความคิด เช่น ประการแรก ประการที่สอง ประการที่สาม ใช้คำที่แสดงความคิดเห็นตรงกันข้าม เช่น "ในทางตรงกันข้าม" ใช้คำที่แสดงข้อยกเว้น เช่น "ถึงอย่างไรก็ตาม" ใช้คำที่แสดงการเพิ่มเติมเนื้อหา เช่น "นอกจากนี้" ใช้คำที่แสดงการจบ ของเนื้อหา เช่น "สุดท้ายนี้" คำดังกล่าวนี้ เป็นสัญญาณที่อาจารย์ใช้เพื่อแสดงการเป็นเหตุเป็นผลของเนื้อหาที่สอน
8. จดบันทึกละเอียดในเรื่องที่ไม่คุ้นเคย ในการจดบันทึกคำบรรยายเรื่องที่ไม่คุ้นเคย ไม่มีความรู้มาก่อน ควรจะจดให้ละเอียดสมบูรณ์แจ่มแจ้ง เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด เมื่อมาอ่านภายหลังสำหรับเรื่องที่เคยเรียนมาแล้ว เราอาจจะจดอย่างย่อก็ได้
9. จงระวังการเลือกจำ การจดบันทึกคำบรรยายในเรื่องที่เรามีความคิดเห็นขัดแย้งเรื่องที่ไม่ตรงกับความต้องการ เรื่องที่เราไม่มีความเชื่อถือ ผู้เรียนมักจะจดไม่ตรงประเด็น ไม่สมบูรณ์ คือเลือกจดหรือเลือกจำตามความพอใจ ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะจะไม่เป็นผลดีใน การระลึกถึงเรื่องที่ฟังมาขณะสอบ เพราะอาจจะไม่ถูกต้องและไม่สมบูรณ์
10. อย่าหยุดจดบันทึกถ้าจดไม่ทัน การจดบันทึกคำบรรยาย บางครั้งเราอาจจะสับสนหรือฟังเรื่องที่อาจารย์บรรยายไม่ทัน อย่าหยุด จดและถามเพื่อนที่นั่งข้าง ๆ เพราะจะทำให้จดไม่ทันทั้งสองคน ให้ใส่เครื่องหมาย "?" ลงแทน เพื่อกันลืมและ จดเรื่องอื่นต่อไปทันที เมื่อหมดชั่วโมงหรือช่วงเวลาที่อาจารย์เปิดโอกาสให้ซักถามจึงค่อย ถามอาจารย์หรือถามเพื่อน
11. ทบทวนบันทึกทันทีเมื่อจบการบรรยาย ควรทบทวนบันทึกทันทีที่จบคำบรรยาย ใช้เวลาสั้น ๆ เพียง 5 นาทีก็พอ คงจำกันได้ว่าการลืมจะเกิดขึ้นทันทีหลังจากการเรียนรู้ และจะมีอัตราสูงด้วย ดังนั้น ถ้าเราได้ทบทวนทันทีจะช่วย ให้เราไม่ลืมหรือลืมน้อยลง

          //oknation.nationtv.tv/blog/Duplex/2009/02/18/entry-2

การบันทึกข้อมูลลงในบัตรบันทึกข้อมูลมีกี่แบบ

บันทึกข้อมูลที่ต้องการจากหนังสือหรือสิ่งพิมพ์โดยทั่วไป นิยมจดบันทึก 3 แบบ ดังนี้ 3.1 แบบสรุปความ (Summary note) 3.2 แบบถอดความ (Paraphrase note) 3.3 แบบอัญพจน์(Quotation note)

บัตรบันทึกข้อมูลมีประโยชน์อย่างไร

บัตรบันทึกความคิดเห็น เป็นบันทึกที่ผู้ผลิตผลงานทางวิชาการได้บันทึก ข้อคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้ การบันทึกนี้จำเป็นอย่างยิ่งหากไม่บันทึกไว้อาจหลงลืม และคิดไม่ออกได้ ดังนั้นหากคิดอะไรออกขึ้นมาจึงต้องรีบบันทึกไว้บนหัวบัตรด้วย

รูปแบบการบันทึกข้อมูลมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

๑. บันทึกย่อเรื่อง ๒. บันทึกรายงาน ๓. บันทึกความเห็น ๔. บันทึกติดต่อและสั่งการ

บันทึกทั่วไปคืออะไร

การจดบันทึก แบ่งได้ 2 แบบหลัก ๆ คือ 1. บันทึกทั่วไป เป็นการจดบันทึกเรื่องราวจากการอ่าน บันทึกการฟัง บันทึกเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ไดอารี่ บันทึกนัดหมาย บันทึกเรื่องราวสำคัญต่าง ๆ เป็นต้น 2. บันทึกทางธุรกิจ บันทึกที่ใช้สื่อสารในองค์กร โดยแต่ละที่อาจจะมีรูปแบบหรือแบบฟอร์มของตัวเอง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก