การปกครองส่วนภูมิภาคสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นอย่างไร การปกครองส่วนภูมิภาคสมัยอยุธยาตอนต้นในตำแหน่งเจ้าเมืองปกครองหัวเมืองชั้นในเรียกว่าอะไร ข้อใดเป็นลักษณะการปกครองในสมัยอยุธยาตอนปลาย การปกครองส่วนกลางสมัยอยุธยาตอนกลางแบ่งการปกครองเป็นแบบใด การปกครองส่วนภูมิภาคสมัยอยุธยา สมัยอยุธยาตอนต้น การปกครอง ส่วนภูมิภาค สมัยอยุธยาตอนปลาย แผนผังการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย การปกครองส่วนภูมิภาคสมัยอยุธยา สมัยอยุธยาตอนกลาง สมัยอยุธยาใช้ระบอบใดในการปกครอง การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลายแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ แผนผังการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น

การปกครองส่วนภูมิภาคสมัยอยุธยา

          3. ��û�Ѻ��ا��û���ͧ��ǹ��ͧ��� ��кҷ���稾�Ш�Ũ���������������Ƿç�Ѵ����ա�ú����çҹ�Ҫ�����ǹ��ͧ�����ٻ�آ��Ժ�� �����˹�ҷ�������Ⱥ��㹻Ѩ�غѹ �����á����� �.�. 2440 ���ô����� ����� �.�.�.�آ��Ժ�š�ا෾� �.�. 116 (�.�. 2440) ��鹺ѧ�Ѻ��㹡�ا෾� �����������价���ҩ��� ��кҷ���稾�����خ���������������ô��������� �.�.�.�آ��Ժ�� �.�. 2448

ผู้บังคับบัญชาควบคุมไพร่  หรือเจ้าสังกัดของไพร่  ไพร่ในสมัยอยุธยาเป็นกลุ่มคนที่เป็นกำลังของบ้านเมือง   เป็นชนชั้นที่อยู่ใต้อำนาจการปกครองหรือถูกปกครอง  มีอิสรเสรีภาพตามข้อกำหนดของกฎหมาย  มีหน้าที่รับผิดชอบต่อบ้านเมือง    คือ  ต้องเป็นทหารออกสู้รบในยามสงคราม  ในยามปกติจะต้องถูกเกณฑ์มาเข้าเวรช่วยราชการ   สร้างสิ่งสาธารณะประโยชน์พัฒนาบ้านเมืองโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือค่าแรง  เมื่อพ้นกำหนดการเข้าเวรแล้วจะกลับไปอยู่กับครอบครัว  ประเกอบอาชีพของตนโดยอิสระ

การปกครองของกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาแห่งการเป็นราชธานีอันยาวนาน  มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแตกต่างกันแต่ละยุคแต่ละสมัย  ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบการปกครองได้เป็น 3 ช่วง  คือ  สมัยอยุธยาตอนต้น  สมัยอยุธยาตอนกลาง  และสมัยอยุธยาตอนปลาย

สมัยอยุธยาตอนกลาง
ช่วงเวลาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 1991 – 2231)  สมัยนี้เป็นสมัยที่อาณาจักรอยุธยามีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น  และเริ่มเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่  มีอำนาจทางการเมืองการปกครองเจริญรุ่งเรืองสูงสุด  รวมทั้งมีสภาพทางเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง  มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ
ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้มีการจัดระเบียบการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง  เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของอาณาจักรอยุธยาในขณะนั้นที่ขยายดินแดนกว้างออกไป
สาเหตุที่ทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูปการปกครองอาณาจักรอยุธยา  มีดังนี้
1.  สืบเนื่องจากการที่อยุธยาได้ขยายดินแดนออกไปกว้างขวาง  และได้รวมเอาดินแดนของอาณาจักรสุโขทัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร  จึงจำเป็นต้องขยายอำนาจการปกครองออกไปให้ควบคุมดินแดนท้งหมดไว้ได้
2.  เกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงของอาณาจักร  จากการที่เมืองหน้าด่านมีกองกำลังป้องกันเมืองจึงมีอำนาจมาก  ทำให้เกิดการชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง
3.  ทรงต้องการปรับปรุงระเบียบการปกครองที่มีมาแต่เดิม  เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น

1.1  การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ทรงจัดแบ่งขุนนางและไพร่พลทั่วราชอาณาจักรใหม่  โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย  คือ  ฝ่ายพลเรือน  และฝ่ายทหาร
ในยามที่บ้านเมืองสงบสุข  หน้าที่ของฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารจะแยกจากกัน  เพื่อรับผิดชอบบริหารบ้านเมืองตามที่ได้รับมอบหมายให้มีประสิทธิภาพ  แต่เมื่อยามเกิดสงคราม  ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องรวมกำลังกัน  เพื่อต่อสู้ข้าศึกศัตรูและป้องกันประเทศให้มั่นคงปลอดภัย
ฝ่ายทหาร  มีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาดูแลราชการฝ่ายทหารทั่วราชอาณาจักร  เพื่อเตรียมไพร่พลและกำลังอาวุธไว้ให้พร้อมเพรียง  สามารถสู้รบในยามเกิดสงครามได้
ฝ่ายพลเรือน  มีสมุหนายกเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาดูแลรับผิดชอบงานฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร  และคอยกำกับดูแลการทำงานของเหล่าเสนาบดีจตุสดมภ์เดิม  ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเปลี่ยนชื่อ  และปรับปรุงหน้าที่ของหน่วยงานทั้ง 4 ใหม่  โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารราชการแผ่นดินแตกต่างกันไปตามที่ทรงมอบหมาย  ดังนี้
กรมเวียง  (นครบาล) มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง  และรักษาความสงบสุขของราษฎรในเขตราชธานี
กรมวัง  (ธรรมาธิกรณ์)  มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับราชสำนัก  งานราชพิธี  และพิพากษาคดีความของราษฎร
กรมคลัง  (โกษาธิบดี)  มีหน้าที่ดูแลรายรับรายจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์  จัดเก็บอากรค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
กรมนา  (เกษตราธิการ)  มีหน้าที่ดูแลส่งเสริมให้ราษฎรทำไร่  ทำนา  เก็บข้าวขึ้นฉางหลวง  เพื่อใช้เป็นเสบียงในยามศึกสงครามหรือยามเกิดข้าวยากหมากแพง

 1.2  การปกครองส่วนภูมิภาค
                         สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการปกครองส่วนภูมิภาคให้มีลักษณะแบบเดียวกันกับส่วนกลาง  และได้ยกเลิกเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านทั้ง 4 ทิศ  โดยแบ่งเขตของการปกครองเป็น 3 เขต  ดังนี้
1)  หัวเมืองชั้นใน  ได้แก่  เมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี  เช่น  ราชบุรี  เพชรบุรี  ชัยนาถ  นครสวรรค์  สุพรรณบุรี  ชลบุรี  เป็นต้น  เมืองเหล่านี้มีฐานะเป็นเมืองจัตวา  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางไปปกครอง  ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า  ผู้รั้ง
2)  หัวเมืองชั้นนอก  ได้แก่  เมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีออกไป  แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามขนาดและความสำคัญของแต่ละเมือง  ดังต่อไปนี้
–  เมืองชั้นเอก  เป็นเมืองใหญ่  มีประชาชนมาก  เช่น  พิษณุโลก  นครศรีธรรมราช
–  เมืองชั้นโท  เป็นเมืองที่สำคัญรองลงมา  เช่น  สุโขทัย  กำแพงเพชร  สวรรคโลก
–  เมืองชั้นตรี  เป็นเมืองที่ขนาดเล็ก  เช่น  ไชยา  ชุมพร  นครสวรรค์
3)  หัวเมืองประเทศราช  ได้แก่  เมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา  เช่น  ปัตตานี  มะละกา  เชียงกราน  ทวาย  ผู้ปกครองต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ  ต้นไม้เงิน  ต้นไม้ทอง  มาถวายกษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยา  โดยมีข้อกำหนด 3 ปีต่อหนึ่งครั้ง  และต้องส่งกองทัพมาช่วยสู้รบกับข้าศึกศัตรูเมื่อเมืองหลวงเกิดมีศึกสงครามขึ้น  วิธีการปกครองยังคงใช้วิธีเดียวกับสมัยอยุธยาตอนต้น

1.3  การปกครองส่วนท้องถิ่น
                         สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้การปกครองดูแลได้ทั่วถึงมากขึ้น  โดยเริ่มจากหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล  ตำบลมีกำนันดูแล  แขวงมีหมื่นแขวงดูแล  และเมืองมีเจ้าเมืองดูแล  การปกครองท้องถิ่นดังกล่าวได้ใช้สืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

แบ่งปันสิ่งนี้:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

การปกครองส่วนภูมิภาคสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นอย่างไร

1. สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. 1893 – 1991 ) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ได้ทรงวางระบอบการปกครองส่วนกลางเป็นแบบ จตุสดมภ์ ตามแบบ ขอม มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้อำนวยการปกครองสูงสุด และมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง (เวียง) ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ช่วยดำเนินการเกี่ยวกับกิจการทั้ง 4 คือ

การปกครองส่วนภูมิภาคสมัยอยุธยาตอนต้นในตำแหน่งเจ้าเมืองปกครองหัวเมืองชั้นในเรียกว่าอะไร

2.2 การปกครองส่วนภูมิภาค สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ยกเลิกการปกครองแบบเมืองลูกหลวงหลานหลวง ที่เคยใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเป็นดังนี้ 1) หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองจัตวามีผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง เขตเมืองจัตวาได้แก่ ทิศเหนือจดชัยนาท ทิศตะวันออกจด ปราจีนบุรี ทิศตะวันตก จดสุพรรณบุรี และทิศใต้จดกุยบุรี

ข้อใดเป็นลักษณะการปกครองในสมัยอยุธยาตอนปลาย

สมัยอยุธยาตอนปลาย(พ.ศ.2231-2310) 1.การปรับปรุงการปกครองสมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2231 - 2301) เกิดขึ้นในสมัยพระเพทราชา โดยให้คงการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตั้งไว้ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลง ทรงแบ่งอำนาจของอัครเสนาบดีเสียใหม่ เพื่อถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ได้แก่

การปกครองส่วนกลางสมัยอยุธยาตอนกลางแบ่งการปกครองเป็นแบบใด

1.1 การปกครองส่วนกลาง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงจัดแบ่งขุนนางและไพร่พลทั่วราชอาณาจักรใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก