หลักการของทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์

ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะ - ดนตรี นาฏศิลป์ และมนุษย์

   พื้นฐานของมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค และธรรมชาติของมุนษย์ยังมีความต้องการ ทางด้านร่างกายและทางจิตใจ ควบคู่กันไป มนุษย์ต้องการมองเห็น การได้ยิน และสัมผัสได้ ภาวะการรับรู้โดยรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแรงเสริมทำให้มนุษย์มีสุนทรียภาพในการรับรู้ในสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นอันได้แก่

       1. การมองเห็น คือการที่มนุษย์ได้มองเห็นภาพต่าง ๆ ของธรรมชาติ เช่น ป่าเขา ลำเนาไพร ธารน้ำตก ท้องทะเลที่กว้างใหญ่สุดตา ความงามของดวงอาทิตย์ยามเช้าและตกจนคล่อย ๆลับขอบฟ้า ท้องทุ่งที่มีดอกไม้หลากสีสวยนานาพันธุ์ สีสรรสวยสดงดงาม เช่น ทุ่งทานตะวัน เป็นต้น ความงดงามของธรรมชาติเหล่านี้ ถ้ามนุษย์ช่วยกันดำรงรักษาทำนุบำรุง ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะอันได้แก่ธรรมชาติก็จะคงอยู่คู่กับมนุษย์ตราบเท่านานแสนนาน

       2. การได้ยิน มนุษย์เรามีการรับรู้ โดยได้ยินเสียงต่างๆ จากธรรมชาติ เช่น เสียงไก่ขันในตอนเช้า เสียงนกร้อง เสียงฝนตก เสียงน้ำตกไหลลงสู่ธารน้ำ เสียงคลื่นลมที่พัดกระทบฝั่ง ลักษณะธรรมชาติเหล่านี้เป็นที่มา ของการเล่านิทานพื้นบ้าน และก่อให้เกิดตำนานเรื่องราวตามความเชื่อ ค่านิยมของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ  และเสียงต่างๆที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติทำให้เกิดการรับรู้ด้วยการได้ยินเสียงที่มีจังหวะคล้ายเสียงดนตรีก่อให้เกิดความสุขเพลิดเพลินและเป็นแรงบันดาลใจทำให้เกิดจินตนาการสร้างสรรศิลปะมาจนทุกวันนี้

     3. ลีลาการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติ ได้แก่การแสดงกิริยาอาการต่างๆของมนุษย์และสัตว์ การเคลื่อนตัวของกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า ลมพัดจน ต้นไม้แกว่งไกว การเคลื่อนตัวของคลื่นในท้องทะเล การเคลื่อนไหวของธรรมชาติ และสิ่งที่กล่าวมา เป็นลีลาที่ทำให้มนุษยสามารถมองเห็นลีลาที่ถ่ายทอดออกมาเป็นความงาม และได้ยินเสียงที่ไพเราะจนสามารถ เกิดความสุข ทั้งนี้ก็เพราะธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์งานด้านศิลปะ และนำ ำศิลปะมาช่วยในการพัฒนาอารมณ์และจิตใจ ของมนุษย์ โดยถ่ายทอดผ่านการรับรู้ ทั้ง3 ด้าน ได้แก่
          1) ศิลปะการมองเห็น ได้แก่ การวาดภาพ การปั้น การแกะสลัก รวมทั้ง สถาปัตยกรรมต่างๆ รวมเรียกว่า "ทัศนศิลป์"


          2) ศิลปะที่แสดงออกทางเสียงได้แก่ "ดนตรี" หรือ "โสดศิลป์" เป็นศิลปะ ดนตรีได้แก่ การบรรเลงที่มนุษย์สามารถชื่นชมความไพเราะได้ด้วยการได้ยินเสียงจากการบรรเลง ดนตรี เป็นต้น

          3) ศิลปะที่แสดงทางลีลาการเคลื่อนไหวหรือที่เรียกว่า "นาฎศิลป์" เป็นศิลปะการแสดงต่างๆ ซึ่งสามารถชื่นชมและมองเห็นด้วยตา ได้แก่ศิลปะการแสดง ระบำ รำ ฟ้อน โขน เป็นต้น

     ธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจ ทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเป็นแม่แบบในการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะ แขนงต่างๆ อันได้แก่ ทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฎศิลป์ ซึ่งเกิดจากระบวนการจดจำ ทำให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดความสัมพันธ์กัน ระหว่างศิลปะ ดนตรี นาฎศิลป์ และมนุษย์ ถ่ายทอดออกมาเป็นศิลปะอันประณีต งดงามที่มีแบบแผนได้พบเห็น อยู่จนถึงทุกวันนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะ - ดนตรี นาฏศิลป์ และ มนุษย์

                                                                    

                 

     พื้นฐานของมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค และธรรมชาติของมุนษย์ยังมีความต้องการ ทางด้านร่างกายและทางจิตใจ ควบคู่กันไป มนุษย์ต้องการมองเห็น การได้ยิน และสัมผัสได้ ภาวะการรับรู้โดยรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแรงเสริมทำให้มนุษย์มีสุนทรียภาพในการรับรู้ในสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นอันได้แก่

 1.  การมองเห็น คือการที่มนุษย์ได้มองเห็นภาพต่าง ๆ ของธรรมชาติ เช่น ป่าเขา ลำเนาไพร ธารน้ำตก ท้องทะเลที่กว้างใหญ่สุดตา ความงามของดวงอาทิตย์ยามเช้าและตกจนคล่อย ๆลับขอบฟ้า ท้องทุ่งที่มีดอกไม้หลากสีสวยนานาพันธุ์ สีสรรสวยสดงดงาม เช่น ทุ่งทานตะวัน เป็นต้น ความงดงามของธรรมชาติเหล่านี้ ถ้ามนุษย์ช่วยกันดำรงรักษาทำนุบำรุง ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะอันได้แก่ธรรมชาติก็จะคงอยู่คู่กับมนุษย์ตราบเท่านานแสนนาน

 2.  การได้ยิน มนุษย์เรามีการรับรู้ โดยได้ยินเสียงต่างๆ จากธรรมชาติ เช่น เสียงไก่ขันในตอนเช้า เสียงนกร้อง เสียงฝนตก เสียงน้ำตกไหลลงสู่ธารน้ำ เสียงคลื่นลมที่พัดกระทบฝั่ง ลักษณะธรรมชาติเหล่านี้เป็นที่มา ของการเล่านิทานพื้นบ้าน และก่อให้เกิดตำนานเรื่องราวตามความเชื่อ ค่านิยมของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ และเสียงต่างๆที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติทำให้เกิดการรับรู้ด้วยการได้ยินเสียงที่มีจังหวะคล้ายเสียงดนตรีก่อให้เกิดความสุขเพลิดเพลินและเป็นแรงบันดาลใจทำให้เกิดจินตนาการสร้างสรรศิลปะมาจนทุกวันนี้

 3.  ลีลาการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติ ได้แก่การแสดงกิริยาอาการต่างๆของมนุษย์และสัตว์ การเคลื่อนตัวของกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า ลมพัดจน ต้นไม้แกว่งไกว การเคลื่อนตัวของคลื่นในท้องทะเล การเคลื่อนไหวของธรรมชาติ และสิ่งที่กล่าวมา เป็นลีลาที่ทำให้มนุษยสามารถมองเห็นลีลาที่ถ่ายทอดออกมาเป็นความงาม และได้ยินเสียงที่ไพเราะจนสามารถ เกิดความสุข ทั้งนี้ก็เพราะธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์งานด้านศิลปะ และนำ ำศิลปะมาช่วยในการพัฒนาอารมณ์และจิตใจ ของมนุษย์ โดยถ่ายทอดผ่านการรับรู้ ทั้ง3 ด้าน ได้แก่

 1)   ศิลปะการมองเห็น   ได้แก่ การวาดภาพ การปั้น การแกะสลัก รวมทั้ง สถาปัตยกรรมต่างๆ รวมเรียกว่า "ทัศนศิลป์"

 2)   ศิลปะที่แสดงออกทางเสียง  ได้แก่ "ดนตรี" หรือ "โสดศิลป์" เป็นศิลปะ ดนตรีได้แก่ การบรรเลงที่มนุษย์สามารถชื่นชมความไพเราะได้ด้วยการได้ยินเสียงจากการบรรเลง ดนตรี เป็นต้น

3)   ศิลปะที่แสดงทางลีลาการเคลื่อนไหว  หรือที่เรียกว่า "นาฎศิลป์" เป็นศิลปะการแสดงต่างๆ ซึ่งสามารถชื่นชมและมองเห็นด้วยตา ได้แก่ศิลปะการแสดง ระบำ รำ ฟ้อน โขน เป็นต้น

   ธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจ ทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเป็นแม่แบบในการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะ แขนงต่างๆ อันได้แก่ ทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฎศิลป์ ซึ่งเกิดจากระบวนการจดจำ ทำให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดความสัมพันธ์กัน ระหว่างศิลปะ ดนตรี นาฎศิลป์ และมนุษย์ ถ่ายทอดออกมาเป็นศิลปะอันประณีต งดงามที่มีแบบแผนได้พบเห็น อยู่จนถึงทุกวันนี้

     นาฎศิลป์ มีความหมายถึง การร้องรำทำเพลง และการให้ความบันเทิง โดยการโน้มน้าวอารมณ์ ความรู้สึก มุ่งเน้นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบดนตรีและการขับร้องเข้าด้วยกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่าทางศิลปะมากขึ้น

     นาฏศิลป์ไทยยังแบ่งออกได้หลายประเภท ดังนี้

 1.   ระบำ   หมายถึง ศิลปะการรำที่มีผู้แสดงพร้อมกันหลายคน (รำพร้อมกันเป็นหมู่) ไม่มีการดำเนินเรื่องราว เพลงที่ใช้บรรเลงมีทั้งเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้อง(มีแต่ดนตรี) การแสดงยึดความพร้อมเพรียงเป็นสำคัญ เน้นความเป็นระเบียบ มีการแปรแถวเป็รรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ระบำโบราณคดี (ทวารวดี ศรีวิชัย สุโขทัย เชียงแสน ลพบุรี ) ระบำศรีชัยสิงห์ ระบำชุมนุมเผ่าไทย เป็นต้น

 2.   รำ   หมายถึง ศิลปะการแสดงประเภทการรำที่เคลื่อนไหวร่างกาย ประกอบเพลงที่ใช้บรรเลงทั้งมีเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้อง การแสดงมีทั้งรำเดี่ยว รำคู่ รำประกอบเพลง รำอาวูธ รำทำบทหรือรำใช้บท โดยยึดท่วงท่าอันงดงามของการร่ายรำ เป็นสำคัญ ได้เแก่ รำฉุยฉาย

         คุณค่าของ ดนตรี - นาฏศิลป์

      ดนตรีและนาฎศิลป์ เป็นวัฒนธรรมที่สำคัญ ซึ่งแสดงถึงความเป็นชาติไทย ที่มีประเพณีตลอดจนแบบอย่างทางศิลปะ การแสดงต่างๆ ที่ถ่ายทอดมาเป็นเอกลักษณะสืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญและ ยังสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวไทยในแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งลักษณะของสังคมไทยที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นไทยและศิลปะประจำชาติจะมองเห็นได้ว่าดนตรีและนาฎศิลป์นั้น์ไม่ได้เป็นเพียงแต่เครื่องช่วยให้เกิดความบันเทิงเท่านั้นแต่ยังมีคุณค่าคือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการประกอบพิธีกรรม ที่สำคัญเกี่ยวข้องกับศาสนาและยังมีอิทธิพลต่อสังคมของคนไทยอีกหลายกลุ่ม และยังจัดเป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดการแสดงออกที่งดงามและมีคุณค่า

        ดนตรี - นาฎศิลป์กับมนุษย์ เป็นศิลปะแห่งความงามมุ่งหมายเพื่อสนองความต้องการทางอารมณ์ สติปัญญา ก่อให้เกิดสุนทรียะแห่งความงาม ความวิจิตรพิสดาร ไม่สูญหายไปจากความจำ เป็นงามศิลปะอมตะ ความงาม ธรรมชาติ ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ เป็นต้นเหตุทำให้การแสดงออกให้ปรากฏของวรรณกรรม ดุริยางคศิลป์และนาฎศิลป์ อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้

        ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะ ดนตรี-นาฎศิลป์ ทำให้พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสามารถ ทั้งยังมาเพิ่มศักยภาพให้สูงขึ้น นำยังความสามารถนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันและประกอบอาชีพได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก