ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ภาษาอังกฤษ

ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกเป็นของท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมแห่งวิชาชีพไว้ให้บริสุทธิ์
      เมื่อได้ยินคำปณิธานนี้  เรา(ดิฉัน)เชื่อว่าพวกเราชาว ม.อ.(ลูกพระราชบิดา) จะระลึกอยู่เสมอว่าตนเองต้องทำแต่สิ่งดีๆเพื่อตอบแทนคุณให้กับแผ่นดินที่เราอยู่ เพราะมหาลัยได้ปลูกฝัง และบ่มเพาะสิ่งเหล่านี้มา ตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามาอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้  เรียนรู้ที่จะเป็นผู้ให้มากกว่าที่จะเป็นผู้รับ รับรู้ถึงความเป็นสงขลานครินทร์โดยการทำความดีเพื่อตอบแทนสังคม คิดถึงเรื่องส่วนรวมก่อน ที่จะคิดถึงประโยชน์ของตัวเองอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้กรอกหูเราทุกวัน จากมาร์ชของมหาลัยที่เปิดทั้งเช้าและเย็น  แต่ปณิธานนี้กลับไม่เคยฝังลึกหรือซึมซาบไปถึงก้นบึ้งของใจ เราก็ยังถือประโยชน์ส่วนตนเป็นกิจที่หนึ่งมาตลอด เป็นระยะเวลา4ปี
   แต่มาวันนี้ เมื่อเราก้าวออกจากรั้วสีบลู(ก้าวออกจากรั้วมหาลัย) ทำให้เรารู้ซึ้งถึงคำปณิธานนี้  เพราะเราต้องทำงานทุกอย่างที่เป็นประโยชน์ส่วนรวม  ทั้งงานราษงานหลวงประเดประดังเข้ามาแบบไม่ได้ตั้งใจ ทั้งค่ายอาสาออกนอกสถานที่ การจัดในสถานที่(ของมหาลัยเอง) ไปเป็นพิธีกรจำเป็นตามกิจกรรมต่างๆ ทั้งในมหาลัย นอกมหาลัย ต้องคอยประสายงานกับอาจารย์ตลอด จนบางครั้งก็อดคิดไม่ได้ว่า นี่คงเป็นผลกรรมแต่ตอนปริญญาตรี ที่ถือประโยชน์ส่วนตนมาโดยตลอด พอได้ออกมาสู่โลกกว้าง จึงได้รู้ว่า การจะอยู่ร่วมกับผู้คนในสังคมได้นั้น บางครั้งก็ต้องสละผลประโยชน์ส่วนตนออกไปบ้าง ถึงจะทำให้เรา อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีสุข


ปล.วันนี้จขกท.มาแนวดราม่าปนซึ้ง55555555555555555 แต่ทั้งหมดออกมาจากใจล้วนๆค่ะ


“ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเปนที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เปนกิจที่หนึ่ง” พระราชปณิธานของพระราชบิดายังดังก้อง / สกนธ์ รัตนโกศล

เผยแพร่: 20 ก.ย. 2559 17:55   ปรับปรุง: 21 ก.ย. 2559 08:21   โดย: MGR Online

 คอลัมน์  :  ดูรูปสวยแถมด้วยเกร็ดความรู้
โดย...สกนธ์  รัตนโกศล
--------------------------------------------------------------------------------

  “สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก” ประชาชนโดยทั่วไปคุ้นเคยกับพระนามว่า “กรมหลวงสงขลานครินทร์” หรือ “พระราชบิดา” ชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า “เจ้าฟ้ามหิดล” และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า “เจ้าฟ้าทหารเรือ” และ “พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย”

 

 ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงพระราชสมภพในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น 3 ค่ำ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2434 และทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2447

 เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงศึกษา ณ โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง และทรงเสด็จไปศึกษาต่อต่างประเทศที่โรงเรียนกินนอนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ และวิชาการทหารเรือในประเทศเยอรมนี เมื่อจบการศึกษาได้รับพระราชอิสริยยศเป็นนายเรือตรีแห่งราชนาวีเยอรมัน และนายเรือตรีแห่งราชนาวีสยาม กระทั่ง พ.ศ.2459 ทรงได้รับพระราชอิสริยยศเป็นนายนาวาเอก และนายพันเอกทหารบก (ราชองครักษ์)

 

 แล้วทรงลาออกจากกองทัพเรือ เพื่อเสด็จไปศึกษาวิชาการสาธารณสุขและวิชาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาด สหรัฐอเมริกา ทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุข และปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต ชั้น Cum Laude และทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมาคมเกียรตินิยมทางการศึกษาแพทย์ อัลฟา โอเมกา อัลฟา ด้วย

 ทรงอภิเษกสมรสกับ นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2463 ณ วังสระปทุม มีพระราชโอรสและพระราชธิดา 3 พระองค์ ได้แก่
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา 
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

 

 วันที่ 24 กันยายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) ขอเชิญผู้มีจิตกุศลมาช่วยกันสานต่อพระราชปณิธานอันล้ำค่าของ “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย” ร่วมเป็นผู้ให้แก่ผู้ป่วยด้อยโอกาส ผ่านทางมูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ บริเวณชั้น 1 อาคารโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ 0-7445-1599, 08-2831-1122

 ดังพระราชปณิธานของพระราชบิดาที่ว่า... 
 
“ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเปนที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เปนกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพย์ไว้ให้บริสุทธิ”

 















 --------------------------------------------------------------------------------

 บรรณานุกรม 

 - www.psu.ac.th/th/mahidol-history
- www.culture.go.th/


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก