ข่าวสารปนเปื้อนในอาหาร 2565

PPTVHD36

  • หน้าหลัก PPTVHD36
  • สถานีสุขภาพ

    1. หน้าหลักสุขภาพ
    2. ข่าว
    3. เทรนด์
    4. ดูแลกาย
    5. กินดี
    6. ดูแลใจ
    7. รายการสุขภาพ
    8. ประกันสุขภาพ

  • ยานยนต์

    1. หน้าหลักยานยนต์
    2. ข่าว
    3. บทความ
    4. ดูแลรถ
    5. เทคโนโลยี

  • ข่าว

    1. หน้าหลักข่าว
    2. ลงทุนไทยไร้สินบน
    3. รวมเรื่องเด่น
    4. ประเด็นร้อน
    5. ข่าวล่าสุด
    6. วิดีโอ
    7. การเมือง
    8. เศรษฐกิจ
    9. หุ้น-การลงทุน
    10. ข่าวคริปโท
    11. อาชญากรรม
    12. ต่างประเทศ
    13. สังคม
    14. ข่าวบันเทิง
    15. ไลฟ์สไตล์
    16. ยานยนต์
    17. ไอที
    18. ข่าวประชาสัมพันธ์
    19. ไวรัสโควิด-19
    20. Life Story

  • กีฬา

    1. หน้าหลักกีฬา
    2. ข่าวกีฬา
    3. บุนเดสลีกา
    4. ไทยลีก
    5. วอลเลย์บอล
    6. MotoGP
    7. โปรแกรมถ่ายทอดสดฟุตบอล
    8. ช็อตเด็ดกีฬา

  • รายการทีวี

    1. หน้าหลักรายการ
    2. รายการข่าว
    3. รายการวาไรตี้
    4. สารคดี
    5. ละครไทย
    6. ซีรีส์ต่างประเทศ
    7. ดูหนัง

  • ตรวจหวย
  • New Normal
  • อื่นๆ

    1. ผังรายการ
    2. Gallery
    3. เรื่องเล่า36
    4. 36 Influencers
    5. PPSHOP
    6. ติดต่อลงโฆษณา

  1. หน้าหลัก
  2. อาหารทะเลปนเปื้อน

ข่าวเด่นของแท็ก อาหารทะเลปนเปื้อน

Top News

คำยอดนิยม

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ

Skip to content

‘ฉลาดซื้อ’ พร้อมองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง เผยผลทดสอบ ‘วัตถุกันเสียในไส้กรอกในพื้นที่อยุธยา’ จำนวน 17 ตัวอย่าง พบสารอันตรายที่มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขห้ามใช้ หรือใช้เกินปริมาณที่กำหนดในทุกตัวอย่าง ซึ่งสารเหล่านั้นคือ สารไนเตรท และพบสารซอร์บิก เกินมาตรฐาน 1 ตัวอย่าง สารเบนโซอิก พบใน 3 ตัวอย่าง และสารไนไตรท์ แต่ไม่เกินมาตรฐานใน 12 ตัวอย่าง

การทดสอบนี้ สืบเนื่องมาจากกรณีที่พบอุบัติการณ์ เด็กป่วยจากภาวะเมทฮีโมโกลบิน (Methemoglobin) ในเวลาใกล้เคียงกันจากการบริโภคไส้กรอกไม่มียี่ห้อและไม่มีเอกสารกำกับ ใน 5 จังหวัด ช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา จึงเร่งรัดให้มีการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง และเตือนภัยให้รวดเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย

 วันที่ 29 มีนาคม 2565 ภก.สันติ โฉมยงค์ เภสัชกร องค์กรผู้บริโภคภาคกลาง กล่าวว่า การทดสอบครั้งนี้เป็นการสุ่มตัวอย่างจากผลิตภัณฑ์ไส้กรอก 17 ตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ตลาดวังน้อย เมืองใหม่ ตลาดเจ้าพรหม ห้างแม็คโคร อยุธยา และร้านซีพีเฟรชมาร์ท สาขาอยุธยา เดชาวุธ จากนั้นจึงส่งวิเคราะห์หาปริมาณวัตถุเจือปนอาหารประเภทกรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก ไนเตรท และไนไตรท์ ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหารที่ใช้เป็นสารกันเสีย สารคงสภาพของสี รวมถึงใช้เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียบางชนิด ว่าปริมาณสารเหล่านี้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดไว้หรือไม่ (อ่านรายละเอียดในกรอบด้านล่าง)

โดยการทดสอบครั้งนี้เป็นความร่วมมือของ ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กับองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง และโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ สสส.

ทัศนีย์ แน่นอุดร รองผู้อำนวยการ มพบ. และบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า จากผลการทดสอบมีข้อสังเกตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไส้กรอก คือ 1. มีตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไส้กรอก 1 ตัวอย่างที่ตรวจพบทั้งซอร์บิก เบนโซอิก และไนเตรท ได้แก่ ฮอทดอกไก่ (ไส้กรอกไก่) ตราพีแอนด์เจ ซึ่งตามกฎหมายไม่อนุญาตให้ใช้สารกลุ่มซอร์บิกร่วมกับสารกลุ่มไนไตรท์ และไม่อนุญาตการใช้เบนโซอิก เท่ากับว่าผิดมาตรฐานเพิ่ม

และ 2. พบสารไนเตรทในทุกตัวอย่าง ทำให้เกิดข้อสงสัยในการผลิตไส้กรอก เนื่องจากเป็นสารที่ไม่ได้กำหนดมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์ไส้กรอกชนิดสุก หรือก็คือห้ามใช้ หากเป็นไส้กรอกที่ไม่ผ่านการปรุงสุกกำหนดมาตรฐานให้ใช้ในปริมาณไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) แต่กลับพบในทุกตัวอย่าง ทั้งนี้ การปนเปื้อนของไนเตรทอาจเป็นไปได้ว่า ผู้ผลิตอาจจงใจใช้ ทั้งที่กฎหมายห้าม หรืออาจเกิดจากการที่ผู้ผลิตยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนสูตรการผลิต เนื่องจากเดิมเคยอนุญาตให้ใช้ได้ในปริมาณไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งต่อมาปรับเป็นไม่ได้กำหนดให้ใช้ ตั้งแต่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ.2559 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 389) พ.ศ.2561 และประกาศฉบับปัจจุบัน (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2563 หรือการที่พบในปริมาณน้อยอาจเกิดจากการปนเปื้อนที่มาจากวัตถุดิบหรือวัตถุเจือปนอาหารชนิดอื่น ๆ ที่ใช้ร่วมกันในการผลิต

ขณะที่กรรณิการ์ กิจติเวชกุล อนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) กล่าวว่า เมื่อ อย. ทราบเบาะแสแหล่งผลิตอาหารอันตรายต้องไปตรวจค้นและต้องรายงานข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบ ทั้งยี่ห้อ โรงงาน และผลตรวจทันที อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงที่ผ่านมา สอบ.เคยส่งข้อเรียกร้องไปยัง อย. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล และข้อแนะนำไปยังหน่วยงานอื่นและผู้บริโภค เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ ดังนี้ 

1. เรียกร้องให้ อย. ประสานข้อมูลกับพื้นที่และพัฒนาระบบเฝ้าระวังและระบบเตือนภัยให้มีประสิทธิภาพและทันการณ์มากยิ่งกว่านี้ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นซ้ำอีก โดยให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • เชื่อมโยงข้อมูลทั้งระบบเข้าด้วยกัน เพื่อความสะดวกในการส่งต่อข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค นอกจากนี้ ยังต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับสถานพยาบาลที่มักเป็นแหล่งที่มีผู้ป่วยจากการกินหรือใช้ผลิตภัณฑ์อันตรายเข้ารักษาตัวด้วย
  • นำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการทำงานเพื่อให้เกิดระบบการเฝ้าระวังและตรวจจับอัตโนมัติ เพื่อเตือนภัยผู้บริโภคได้ทันเหตุการณ์ หากเจอผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัย
  • สนับสนุนให้ผู้บริโภคและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นเครือข่ายเฝ้าระวัง โดยใช้เทคโนโลยีที่ง่าย ไม่ซับซ้อนและส่งต่อข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ส่งต่อข้อมูลจากสถานพยาบาลไปยังจังหวัดที่พบเด็กป่วยจากการกินไส้กรอก และให้จังหวัดเหล่านั้นตรวจสอบพิสูจน์ต่อว่าโรงงานผลิตไส้กรอกที่มีอยู่ในจังหวัดขออนุญาตถูกต้องหรือไม่ และไส้กรอกที่ผลิตใส่สารกลุ่มไนเตรทหรือไนไตรท์เกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ หากพบว่าผิดกฎหมายจะต้องดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับผู้ผลิต ไม่ควรทำเพียงแค่การตักเตือน เนื่องจากมีผู้ที่ได้รับอันตรายจากการกินอาหารอันตรายเข้าไป

3. ผู้บริโภคจะต้องไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีฉลากระบุอยู่ และต้องให้ข้อมูลหรือส่งต่อข้อมูลให้กับบุตรหลาน และผู้บริโภครายอื่น ๆ อีกทั้ง ยังต้องช่วยกันเฝ้าระวังและส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบติดตาม

และล่าสุดเมื่อ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา องค์กรของผู้บริโภคร่วมประชุมกับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ในประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยมีข้อเสนอ 3 ประเด็น คือ 1. เสนอให้มีระบบการเรียกคืนสินค้าประเภทอาหาร กรณีพบการปนเปื้อนหรือเข้าข่ายอาหารอันตราย 2. มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในกรณีที่พบอาหารไม่ปลอดภัย เพราะจะทำให้สามารถสืบพบต้นตอของปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังลดโอกาสที่ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบจากอาหารไม่ปลอดภัย และ 3. เสนอให้ อย. ยกระดับความสำคัญของกระบวนการตรวจสอบ จัดการปัญหาหลังจำหน่าย หรือโพสต์มาร์เก็ตติ้ง (Post-Marketing) ให้เท่ากับกระบวนการตรวจสอบ อนุญาตให้ผลิตและจำหน่ายสินค้า หรือ พรีมาร์เก็ตติ้ง (Pre-Marketing)

สำหรับข้อแนะนำในการบริโภคนั้น หากผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์แปรรูปประเภทลูกชิ้น หมูยอ หรือไส้กรอกชนิดสุก ในเบื้องต้นอาจสังเกตสีของไส้กรอกที่ไม่สดจัดจนเกินไป เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีเลขสารบบอาหาร 13 หลัก (เลข อย.) สำหรับการซื้อจากร้านค้าที่อาจไม่ทราบว่าไส้กรอกเป็นผลิตภัณฑ์ยี่ห้อใด อาจขอให้ผู้ขายแสดงหีบห่อบรรจุภัณฑ์ของสินค้าที่นำมาขาย เพื่อให้ทราบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเลข อย.หรือไม่

นอกจากนี้ การบริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ควรบริโภคในปริมาณพอเหมาะ ไม่บ่อยครั้งจนเกินไป และผู้ปกครองควรพิจารณาให้เด็กเลือกรับประทานอย่างเหมาะสม เนื่องจากเด็กชอบรับประทานอาหารประเภทนี้ แต่ก็เป็นกลุ่มเสี่ยง คือ มีความไวต่อวัตถุกันเสีย โดยเฉพาะประเภทไนไตรท์

รายละเอียดของผลทดสอบ มีดังนี้

  1. พบสารไนเตรทในทุกตัวอย่าง ปริมาณตั้งแต่ 20.67 – 112.61 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทั้งนี้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2563 ไม่อนุญาตให้ใช้สารไนเตรทในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บดและผ่านกรรมวิธีโดยใช้ความร้อน (ไส้กรอกสุก หมูยอ ไก่ยอ ลูกชิ้น)
  2. พบสารซอร์บิก ปริมาณเกินมาตรฐาน 1 ตัวอย่าง ได้แก่ ฮอตด็อกไก่ (ไส้กรอกไก่) ตราพีแอนด์เจ ปริมาณ 2191.75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเกินมาตรฐานที่กำหนด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2563 ที่อนุญาตให้ใช้กรดซอร์บิก ซึ่งเป็นสารกันเสีย ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บดและผ่านกรรมวิธีได้ไม่เกิน 1500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยกำหนดเงื่อนไขห้ามใช้ร่วมกับสารกันเสียในกลุ่มไนไตรท์
  3. พบสารเบนโซอิก 3 ตัวอย่าง ได้แก่ KFM ไส้กรอกไก่รมควันหนังกรอบ ป๊อบปูล่า ปริมาณ 148.28 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ฮอทดอกไก่ (ไส้กรอกไก่) ตราพีแอนด์เจ ปริมาณ 58.87 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ CFP ไส้กรอกจัมโบ้หมูรมควันหนังกรอบ ปริมาณ 41.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2563 ไม่มีเกณฑ์กำหนดให้ใช้วัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก
  4. พบสารไนไตรท์ใน 12 ตัวอย่าง ไม่พบ 5 ตัวอย่าง ทั้งนี้ ปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (<10.00 – 53.74 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2563 อนุญาตให้ใช้สารกลุ่มไนไตรท์ ในปริมาณไม่เกิน 80 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ผลทดสอบวัตถุกันเสียในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกในพื้นที่จังหวัดอยุธยา จากศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

#สภาองค์กรของผู้บริโภค #ผู้บริโภค

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก