อิทธิพลดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

         

ดนตรีในวัฒนธรรมกัมพูชา
ดนตรีในกัมพูชา (music of Cambodia) มีทั้งดนตรีพื้นบ้านที่ได้รับอิทธิพลมาจากจักรวรรดิเขมรและการแพร่ขยายอย่างรวดเร็วของดนตรีตะวันตกในปัจจุบัน

ดนตรีพื้นบ้านและดนตรีคลาสสิก

ศิลปะการดนตรีของกัมพูชาได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมพราหมณ์-ฮินดู มีนาฏกรรมทางศาสนาและเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์ การแสดงบางชนิดใช้วงพิณพาทย์ (pinpeat) ที่ประกอบด้วย ฉิ่ง ระนาด ปี กระจับปี่ ฆ้อง ซอ และกลองหลายชนิด การเคลื่อนไหวแต่ละท่าจะเป็นแนวคิดแทนสิ่งต่างๆ การฟื้นฟูนาฏศิลป์เกิดขึ้นมากในราว พ.ศ. 2493 โดยพระนางสีสุวัตถิ์ กุสุมนารีรัตน์

ดนตรีที่เป็นที่นิยม

ดนตรีสมัยใหม่ในกัมพูชามีสองแบบคือ รำวง และรัมบัจ รำวงเป็นดนตรีช้าๆ ส่วนรัมบัจมีลักษณะคล้ายดนตรีพื้นบ้านของไทยในแถบอีสานใต้ ในจังหวัดเสียมราฐจะนิยมดนตรีที่เรียกกันตรึม ที่เป็นดนตรีพื้นบ้านของชาวเขมรสุรินทร์ และเป็นที่นิยมตามแนวชายแดนไทยและกัมพูชา

นักร้องที่เป็นที่นิยม

นักร้องชาวกัมพูชาที่เป็นที่นิยม ได้แก่ สิน ศรีสมุทร, รส เสรีโสธา (รส สิริสุทธา), ปัน รอน นักร้องในปัจจุบันได้แก่ นอย วันเน็ต เมง แกว ปิเชนดา (น้อย วันเนตร และ เมง แก้ว พิจันทา) และลัวร์ สาริท นอกจากนั้นก็มี เชต โสวัณ ปัญญา และเปรียบ โสวัท (เชต สุวรรณปัญญา และปราบ สุวัติ)

ตัวอย่างเครื่องดนตรีกัมพูชา

พิณน้ำเต้า หรือ กระเเสมูยแบบเขมรอีสานใต้ เป็นเครื่องดนตรีโบราณที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากอินเดีย ปรากฎหลักฐานในภาพจำหลักที่ระเบียงปราสาทหินนครวัดและที่ปราสาทนครธม เรื่องราวของเครื่องดนตรีกระเเสมูยของชาวไทยเชื้อสายเขมรอีสานใต้ที่เคยนำมานำเสนอวารสารเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่น่าสนใจของอีสานใต้พิณน้ำเต้าหรือกระเเสมูยแบบเขมรอีสานใต้ของไทยซึ่งประดิษฐ์ขึ้นใหม่สังเกตที่ปลายเครื่องดนตรีกระเเสมูยของเขมรในกัมพูชาจะทำเป็นรูปพญานาค

พิณน้ำเต้าอีกแบบหนึ่ง และ พิณน้ำเต้าอีกแบบหนึ่งที่ปลายหล่อโลหะทำเป็นรูปพญานาค พิณน้ำเต้าในทางภาคเหนือเป็นพิณชนิดเดียวกันกับกระเเสมูยของเขมรอีสานใต้ สังเกตที่ปลายพิณนิยมหล่อโลหะทำเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ตามความเชื่อของชาวเหนือ

พิณน้ำเต้า หรือ กระเเสมูย

พิณเปี๊ยะทางภาคเหนือที่มีจำนวนสายเพิ่มมากขึ้นมีวิวัฒนาการมาจากพินน้ำเต้าหรือกระเเสมูยของเขมร สังเกตุที่ปลายพิณนิยมหล่อโลหะทำเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ตามความเชื่อของชาวเหนือ

    

นักดนตรีหนุ่มชาวกัมพูชาที่มีความสามารถในการสืบทอดการดีดเครื่องดนตรีที่เรียกว่า "จะเป็ยดองเวง(กระจับปี่)"เครื่องดนตรีชนิดนี้กษัตริย์เขมรทรงถวายแก่กษัตริย์ไทยรัชกาลที่  4  ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ   และในสมัยอดีดกระทั่งปัจจุบันในแถบอีสานใต้ของไทยเครื่องดนนี้ดังกล่าวยังปรากฏการเล่นอยู่น้อยมากมีให้พบเห็นก็เฉพาะการจ้างมาบรรเลงในงานศพเวลาพลบค่ำ  เช่น   ที่บ้านสะอาง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษยังมีผู้ที่สามารถดีจะเป็ยชนิดนี้ได้  ทราบว่างคงเหลือเเค่คนเดียว    และนอกจากนั้นยังพบ ในวงมโหรีของป้าพลอย  ในบ้านสะเดา  อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์   ซึ่งถือได้ว่าเป็นวงมโหรีที่มีลักษณะการประสมวงที่มีความคล้ายกับวงมโหรีของเขมรที่กัมพูชา  โดยเครื่องดนตรีบางชนิดมีลักษณะเหมือนเครื่องดนตรีของเขมร  บางชนิดมีลักษณะเป็นรูปสัตว์ตามชื่อเรียกของดนตรี  เช่น  กระปือ (จะเข้)   ถือได้ว่าเป็นวงมโหรีเขมรในประเทศไทยที่สมบูรณ์ที่สุดที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน

 วงมโหรีของป้าพลอย  ในบ้านสะเดา  อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งมีกระปือ(จะเข้)ทำเป็นรูปตัวจระเข้  ซึ่งไม่เคยพบที่ใดเลย

                    

เครื่องดนตรีในวงมโหรีป้าพลอย ซึ่งประกอบด้วย จะเป็ย(กระจับปี่)  กระปือ(จะเข้)  ซลัย(ปี่)  ตรัวจี้(ซอด้วง)  สะกัวร(กลอง)  กรับ   จีง(ฉิ่ง)  ฉาบ   ซึ่งมีลักษณะคล้ายวงมโหรีเขมรฝั่งกัมพูชา

                 

 จะเป็ย(กระจับปี่)ในวงมโหรีของป้าพลอย ในบ้านสะเดา  อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์  

                 

                            การประสมวงมโหรีของป้าพลอยในวัฒนธรรมเขมรอีสานใต้

ตัวอย่างวีดิโอ วงปี่พาทย์เขมร

    ดนตรีในวัฒนธรรมเวียดนาม

               วัฒนธรรมของประเทศเวียดนามได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นอย่างมาก และรวมถึงประเทศอินเดียด้วย ดังนี้ดนตรีเวียดนามจึงรวมลักษณะของดนตรีจีน และอินเดียบวกกับลักษณะดั่งเดิมของประเทศเป็นลักษณะดนตรีที่ค่อนข้างแตกต่างจากจีน เกาหลี ญี่ปุ่นหรือ มองโกเลีย

         นอกจากดนตรีดั่งเดิมดังกล่าวแล้ว ยังพบดนตรีของชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่บนภูเขาอีก ประมาณ 60 กลุ่ม ในช่วงศตวรรธที่1-10 ที่จีนมีอิทธิพลต่อเวียดนามมากขึ้น วัฒนธรรมจีนได้ครอบคลุมเวียดนามในทุกสาขา ทั้งปรัชญา ศาสนา ภาษา วรรณคดี ศิลปะ ถาปัตยกรรม และดนตรี พุทธศาสนาในเวียดนามเป็นนิกานมหายานเช่นเดียวกับในจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ภาษาที่ใช้สวดมนต์เป็นภาษาจีน-สันสกฤต

การเต้นรำของเวียดนามเหมือนกับการเต้นรำในจีน ละคร Hat Boi ของเวียดนามเหมือนกับละครของจีนรวมทั้งดนตรีที่เล่นประกอบ เครื่องดนตรีหลายชิ้นยังใช้ชื้อจีนแต่เรียกเพี้ยนไปทางภาษาเวียดนาม เช่น ฉินของจีนเรียกเป็น ฉาบ เป็นต้น

      นอกจากประเทศจีนแล้ว ประเทศอินเดียยังเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อเวียดนามข้างต้นแล้ว โดยการติดต่อกับเมืองจำปาของอินเดียแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันยังมีกลองของอินเดียใช้อยู่ในเวียดนาม โดยใช้ชื่อของเวียดนามเอง ดนตรีเยดนามมีลักษณะของดนตรีอินเดียรวมอยุ่ด้วยที่ใช้การพัฒนา Mods มากในเพลง รวมไปถึงการ Improvise และการประดับประดาทำนอง นอกจากนั้นยังมีการใช้การเลียนเสียงกลองในการเรียนการสอนกลอง ซึ่งเป็นลักาณะเดียวกับที่พบในการเรียนการสอนกลองประเทศอินเดีย

เ    ครื่องดนตรีบางชนิดก็ถูกค้นพบขึ้นโดยชาวเวียดนามเองเช่น ซึงสายเดียวเรียก Dan Bau ซึ่งสำหรับประกอบร้องชื่อ Dan Day and Coin Clappers โดยการเล่นที่ได้ดัดแปลงวิธีการเล่นสากล และโมด จากเสียงดนตรีของชาติอื่นๆใฟ้มาเป็นสำเนียงเวียดนาม

ประวัติศาสตร์ทางด้สนดนตรีสามารถแบ่งได้เป็น 4 ช่วง เริ่มจากราชวงค์ดินห์ ค.ศ. 968-980 ในช่วงนี้ไม่มีการบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับดนตรีที่เชื่อถือได้

ศตวรรษที่10-14 เริ่มได้รับอิทธืพลจากแคว้นจำปาของอินเดียกับจีน

1. The First Period

2. The second period

ศตววษที่15-18 อิทธิพลของดนตรีจีนแผ่ขยายมาก ในขณะที่มีคนพยายามอนุรักษ์ของดั่งเดิม

3.The third period

ศตวรรษที่19 ถึงสงตรามโลกครั้งที่ 2 มีการอนุรักษ์ของดั่งเดิมมากขึ้นและได้รับอิทธิพลจากดนตรีตะวันตก

4. The fourth period

ตั้งแต่ ค.ศ. 1945 มีการฟิ้นฟูดนตรีดั่งเดิมให้กลับมาอีกครั้งมีการพัฒนารูปแบบของดนตรีให้ต่มอย่างดนตรีตะวันตก

เครื่องดนตรีเวียดนาม

     เครื่องดนตรีของเวียดนาม จะจัดแบ่งเครื่องดนตรีออกเป็น 8 ประเภท คือ หิน โลหะ เส้นใยไหม ไม้ไผ่ ไม้เนื้อแข็ง หนังสัตว์ น้ำเต้า และดินเผา  มีลักษณะคล้ายกับเครื่องดนตรีของจีน  เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของจีน 

         

เครื่องดนตรีของเวียดนามนั้นประกอบด้วยเครื่องดนตรีหลักๆ5ชิ้นได้แก่Dan nhi เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย(เครื่องสี) มีลักษณะคล้ายซอด้วงของไทยมีเสียงสูงต่ำที่เป็นเอกลัษณ์เฉพาะ Dan nhi มี สาย 2สาย มีลักษณะยาว สายทำมาจากไหมถัก และกล่องเสียงทำมาจากหนังงู ในปัจจุบัน Dan nhi สายมักทำจากลวด และกล่องเสียงทำด้วยไม้

Dan nhi 

            

        

Dan tranh เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย(เครื่องดีด) มีลักษณะคล้ายพิณ มีสายทั้งหมด 16สาความยาวประมาน 100 ซม.เครื่องดนตรีชนิดนี้ ประดิษฐ์ขึ้นโดยจักรพรรดิของจีน Phuc Hi ปัจจุบันDan tranh เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมอย่างมากในหมู่นักเรียนหญิงชาวเวียดนาม

Dan tranh

Kim หรือ Dan nguyet เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (เครื่องดีด)มีลักษณะคล้ายกีต้าร์ แต่มีสายแค่2สาย มีเสียงที่นุ่มนวล

Kim หรือ Dan nguyet

        

เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ และ ขลุ่ยเวียดนาม ปีนั้นมีลักษณะคล้ายปี่ชวาของไทย และ ขลุ่ยเวียดนาม นั้นมีลักษณะคล้ายขลุ่ยจีน มีรู6รู รูเป่าอยู่ด้านข้างคล้ายฟลูท ยาวประมาย 70 ซม

ขลุ่ยเวียดนาม 

Dan bau เป็นพิณน้ำเต้าสายเดี่ยวแบบโบราณ

ตัวอย่างวีดิโอวงดนตรีเวียดนาม

ดนตรีมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยอย่างไร

1. ดนตรีให้ความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด ปลุกเร้าอารมณ์และจิตใจให้มีความสุข มีสุขภาพจิตดี 2. ดนตรีช่วยเสริมสร้างความสามัคคีของคนในสังคมให้มีความรักชาติ ทำให้ชาติเป็นสังคมที่สงบสุข เช่น เพลงปลุกใจ เพลงชาติไทย

อิทธิพลของดนตรีมีอะไรบ้าง

อิทธิพลของดนตรีกับบุคคลและสังคม ดนตรีถูกสร้างมาสนับสนุนการดาเนินชีวิตของมนุษย์ • ดนตรีช่วยจุดประกายแสงสว่างให้แก่เหตุการณ์สาคัญต่างๆ ทั้งในยามสุขและทุกข์ • ดนตรีช่วยให้บุคคลที่มีอารมณ์ตึงเครียดผ่อนคลายลงได้ • ดนตรีช่วยให้บุคคลมีความภาคภูมิใจในความเป็นหมู่คณะและความเป็นชาติของตน

ดนตรีมีอิทธิพลต่อสังคมไทยในด้านใดมากที่สุด

1. ดนตรีให้ความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด ปลุกเร้าอารมณ์และจิตใจให้มีความสุข มี สุขภาพจิตดี 2. ดนตรีช่วยเสริมสร้างความสามัคคีของคนในสังคมให้มีความรักชาติ ทาให้ชาติเป็นสังคมที่สงบ สุข เช่น เพลงปลุกใจ เพลงชาติไทย

วัฒนธรรมทางดนตรีคืออะไร

วัฒนธรรมดนตรี หมายถึง บรรทัดฐาน ทำาเนียมปฏิบัติ ประเพณี บทบาท หน้าที่ และคุณค่าทางดนตรีในสังคม นอกจากการเรียนรู้ทักษะและองค์ความรู้ ทางดนตรีแล้ว ผู้เรียนในระบบดนตรีชุมชนศึกษายังได้เรียนรู้วัฒนธรรมดนตรี ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับคนและวัฒนธรรมในสภาพจริงในชุมชนควบคู่ไปด้วย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก