องค์การและการจัดการสมัยใหม่ ใบงาน

ใบงานที่ 6

ชื่อ นางสาวเบญจภรณ์    นามสกุล  น้อยทับทิม   รหัสประจาตัว     5411101027

  1.ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในแต่ละแนวคิดที่ประกอบด้วย 1) แนวคิดการบริหารจัดการในสมัยเดิมหรือยุคคลาสสิก (Classical Perspective) 2) แนวคิดการบริหารจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์(Behavioral Management Perspective) 3) แนวคิดการบริหารจัดการสมัยใหม่(management perspective) 4) แนวคิดการบริหารจัดการยุคโลกาภิวัตน์(Management) มีความแตกต่างกันอย่างไร นักศึกษาคิดว่าแต่ละแนวคิดสามารถนามาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการในชั้นเรียนหรือโรงเรียนได้อย่างไร ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครูจาเป็นต้องเรียนรู้แต่ละแนวคิด นักศึกษาเกิดการเรียนรู้อะไร อย่างไรบ้าง และนักศึกษาคิดว่าจะนาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับหรือประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการในชั้นเรียนหรือโรงเรียนอย่างไรในอนาคตโดยเฉพาะการบริหารจัดการในชั้นเรียนหรือโรงเรียนในยุค Education 4.0 จงอธิบายมาพอสังเขป

     ตอบ แนวคิดทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการในแต่ละยุค

 -ยุคแนวคิดการบริหารจัดการสมัยเดิมหรือยุคคลาสสิกจะเป็นในการแบ่งหน้าที่ในการทำงานจะให้ความสำคัญกับการแบ่งหน้าที่โดยใช้หลักคุณธรรมในการแบ่งงานเป็นสำคัญและเน้นถึงหลักความชำนาญเฉพาะด้านรวมทั้งมีการวัดความสามารถของคนด้วยการสอบนอกจากนี้ยังมุ่งเน้นถึงหลักการควบคุมโดยการออกกฎระเบียบควบคุมบุคลากรอย่างใกล้ชิดเพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ซึ่งสามารถแยกได้เป็นแนวความคิดที่สำคัญ 3แนวคิด คือ

1.แนวคิดการบริหารจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

2.แนวคิดการบริหารจัดการระบบราชการ

3.แนวคิดการบริหารจัดการเชิงกระบวนการ

-ยุคแนวคิดการบริหารจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ในยุคนี้มุ่งการศึกษาในปัญหาด้านการจูงใจ การทำให้คนงานยินยอมปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ ส่วนปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การได้ถูกให้ความสำคัญรองลงมา โดยลักษณะงานสมัยใหม่นี้ในยุคนี้มุ่งการศึกษาในปัญหาด้านการจูงใจ การทำให้คนงานยินยอมปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ ส่วนปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การได้ถูกให้ความสำคัญรองลงมา โดยลักษณะงานสมัยใหม่นี้

-ยุคแนวคิดการบริหารจัดการสมัยใหม่ เกิดแนวความคิดใหม่ขึ้นมาคือ แนวความคิดเชิงระบบและความคิดเชิงสถานการณ์ โดยมองว่าการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดองค์การนั้นควรจะต้องทำการวิเคราะห์ถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ เพื่อที่จะได้ภาพรวมขององค์การที่ถูกต้องไม่ใช่นำแต่ละส่วนแต่ละหน่วยงานในองค์การมาวิเคราะห์แยกกัน นอกจากนี้ยังได้พัฒนาแนวคิดโดยมุ่งเน้นการใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์มาช่วยในการแก้ปัญหาของการจัดการ เรียกว่าเป็นแนวคิดของการจัดการเชิงปริมาณ แนวคิดนี้จะประกอบด้วย

1.แนวคิดทางการจัดการเชิงปริมาณ

2.แนวคิดเชิงระบบ

3.แนวคิดเชิงสถานการณ์

-ยุคแนวคิดการบริหารจัดการยุคโลกาภิวัฒน์แนวคิดนี้จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการดำเนินงานและปฏิบัติที่ถูกต้องโดยนำไปสู่ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและที่สำคัญคือการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่ง จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญของแนวคิดทางการจัดการในยุคนี้ ซึ่งมีแนวทางสำหรับแนวความคิดทางการจัดการยุคโลกาภิวัฒน์ดังนี้

การควบคุมคุณภาพโดยรวม

การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การรื้อปรับระบบ

       แต่ละแนวคิดสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการในชั้นเรียนหรือโรงเรียนได้อย่างไร

 -ยุคแนวคิดการบริหารจัดการสมัยเดิมหรือยุคคลาสสิกจะเป็นแนวคิดที่เน้นการพัฒนาหลักการบริหารที่เป็นสากล สามารถใช้ได้กับสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลายได้ เนื่องจากแนวคิดนี้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความสำเร็จของงาน  มองว่ามนุษย์เป็นเครื่องจักร การบริหารงานมีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ดังนั้น นำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการในชั้นเรียนหรือโรงเรียน โดยการวางกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆไว้ เพื่อให้บุคคลภายในชั้นเรียนหรือโรงเรียนจะมีแรงจูงใจ ตลอดจนวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness)

-ยุคแนวคิดการบริหารจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ เป็นแนวคิดที่เน้นความต้องการของมนุษย์ การทำงานร่วมกันและบทบาทด้านสังคมที่มีผลต่อการทำงานของมนุษย์  ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม (Team work) ใช้กลยุทธ์แรงจูงใจในการบริหารจัดการในชั้นเรียนหรือโรงเรียน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

  -ยุคแนวคิดการบริหารจัดการสมัยใหม่  เป็นแนวคิดที่เน้นการประยุกต์ใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์เพื่อการแก้ไขปัญหาทางการบริหารนำเทคนิคทางคณิตศาสตร์ เช่น ตรรกศาสตร์มาใช้ในกระบวนการตัดสินใจเพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้น มีแนวทางในการแก้ปัญหาหลากหลาย

  -ยุคแนวคิดการบริหารจัดการยุคโลกาภิวัตน์ เป็นแนวคิดที่มององค์การในฐานะเป็น “ระบบ” (System) และแนวคิดในเชิงสถานการณ์เพื่อการปรับตัวขององค์การให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและผันผวนสามารถนำมาปรับใช้กับการบริหารในชั้นเรียนและโรงเรียนโดยการจัดการวางแผนอย่างเป็นระบบ มีผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน มีการแบ่งงานกันทำ ในชั้นเรียนจะมีระบบหัวหน้าห้อง รองหัวหน้าห้อง เป็นต้น ส่วนในระดับโรงเรียน จะมีการบริหารจัดการโดยวางผังองค์กร ตามระดับของผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา

 ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครูจำเป็นต้องเรียนรู้แต่ละแนวคิดนักศึกษาเกิดการเรียนรู้อะไรอย่างไรบ้าง

       นักศึกษาวิชาชีพครูจำเป็นจะต้องเรียนรู้แนวคิดทฤษฏีเพื่อที่จะได้นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ จึงจำเป็นที่จะต้องมีหลักแนวคิดเพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการจัดการที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การในยุคศตวรรษที่21 ซึ่งต้องเผชิญกับ ปัจจัยแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ โลกาภิวัตน์ และเทคโนโลยี ทำให้องค์การต้องมีแนวทางในการจัดการที่ทันสมัยเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้  จึงจำเป็นต้องมีการคิดอย่างเป็นระบบ การศึกษาภาวะผู้นำทางการศึกษา การทำงานเป็นทีม การเรียนรู้วัฒนธรรมในโรงเรียน มนุษยสัมพันธ์ในโรงเรียนและการติดต่อสื่อสาร เพื่อเป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการ และนำสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศสิ่งเหล่านี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่จะเป็นครูในอนาคตเพื่อที่จะได้พัฒนาโรงเรียนได้อย่างมีหลักการและแนวคิด 

   สิ่งที่นักศึกษาได้เรียนรู้

ได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฏีและหลักการบริหารจัดการการคิดอย่างเป็นระบบภาวะผู้นำทางการศึกษา การทำงานเป็นทีม การเรียนรู้วัฒนธรรมโรงเรียน มนุษย์สัมพันธ์ในโรงเรียนและการติดต่อสื่อสารในองค์กร / สถานศึกษาซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการเรียน  เนื่องจากการเรียนในสถาบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการทำงานเป็นทีม หรือเป็นกลุ่มบ่อยครั้ง ทำให้นักศึกษาสามารถปรับเปลี่ยนหรือนำทฤษฎีต่างๆ เหล่านี้ มาปรับใช้ในการทำงานเป็นทีม งานกลุ่ม

      นักศึกษาคิดว่าจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับหรือประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการในชั้นเรียนหรือโรงเรียนอย่างไรในอนาคตโดยเฉพาะการบริหารจัดการในชั้นเรียนหรือโรงเรียนในยุค Education 4.0

          ในยุค Education 4.0 นั้นเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ เพราะ  ในการเรียนการสอนนั้นจะต้องอาศัยแหล่งข้อมูลพื้นฐานทางเทคโนโลยี  โดยไม่ต้องอาศัยครูมาสอนในห้องเรียน โดยมีการเชื่อมต่อเครื่อข่ายเน็ตเวิร์ก การเรียนการสอนออนไลน์ การเรียนรู้เสมือนจริง แต่ในการเรียนนั้นเราจะต้องคิดอย่างเป็นระบบ มีการทำงานร่วมกันในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนเพื่อการทำงานเป็นกลุ่มเด็กก็จะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สร้างวัฒนธรรมองค์กรในชั้นเรียนนั้นจะต้องมีการติดต่อสื่อสารกัน จากสื่อออนไลน์ –นักเรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นดังนั้นในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนเราจึงต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาเพื่อจะได้สอนและบริหารโรงเรียนให้ก้าวหน้าได้      

ข้อ 2

2.1 ถ้าจะให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามภาพนี้นักศึกษาคิดว่าควรมีการบริหารจัดการในชั้นเรียนหรือโรงเรียนอย่างไรจงอธิบายโดยอ้างอิงหลักการแนวคิดทฤษฎีที่เรียนมาพอสังเขป

ตอบ จากภาพนี้เป็นการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งครูกับนักเรียนจะเรียนรู้ไปพร้อมๆกันโดยจะมีหลักในการเรียนรู้ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ Define เป็นการเลือกปํญหาที่เรียนรู้, Plan การวางแผน, Doการลงมือทำ และ Reviewการทบทวน ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้แบบการทำโครงงานเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากเรื่องที่สนใจในป้ญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นเด็กจะได้วางแผนในการทำงาน และเด็กจะได้ลงมือทำด้วยตนเองเพื่อที่เด็กจะได้เกิดการเรียนรู้และแก้ไขปํญหาด้วยตนเอง เมื่อกระทำแล้วเด็กและครูก็จะมีการทบทวนโครงการที่ได้กระทำมาเพื่อจะได้แก้ไขปัญหาและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้มา 

2.2 จากข้อ 2.1 นักศึกษาคิดว่าชุมชนผู้บริหารโรงเรียนครูผู้สอนและนักเรียนควรมีบทบาทอย่างไรในการบริหารจัดการในชั้นเรียนหรือโรงเรียน

ตอบ     ชุมชนมีบทบาทคือ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือแก่โรงเรียนในทุกๆด้านและช่วยส่งเสริมให้โรงเรียนมีการพัฒนาก้าวไกล

                   ผู้บริหารมีบทบาทคือ สนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนการสอนของครูจัดหาเทคโนโลยีต่างๆส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ และสนับสนุนงบประมาณอย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาการศึกษา

                   ครูผู้สอนมีบทบาทคือ จัดกระบานการเรียนการสอนนำกลวิธีการสอนต่างๆมาปรับใช้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากเทคโนโลยี โดยให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติ ทำ วางแผน และทบทวนงานที่ทำเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของงาน และสอนโดยการตั้งคำถามเพื่อฝึกให้เด็กได้ฝึกคิดหาคำตอบ ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก

นักเรียนมีบทบาทคือ จะต้องรู้จักการปฏิบัติลงมือ ทำ วางแผน และทบทวนงานที่ทำเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของงาน และเรียนโดยการตั้งคำถามเพื่อได้ฝึกคิด

2.3 ถ้านักศึกษาเป็นผู้บริหารหรือครูในโรงเรียนแห่งนี้ จะดำเนินการบริหารจัดการให้เกิดการเรียนรู้ตามภาพนี้ นักศึกษาจะวางแผนดำเนินการอย่างไร จะประยุกต์ใช้หลักการ แนวคิด ทฤษฎีอะไรบ้าง จะลงมือดำเนินการอย่างไร จะมีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลอย่างไรบ้าง และ สุดท้าย นักศึกษาคิดว่า สิ่งที่นักศึกษาได้ลงมือทำ จะส่งผลต่อผู้เรียนหรือนักเรียนอย่างไรบ้าง

ตอบ  มีการจัดอบรมให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้เข้าใจในทฤษฎีและหลักการในการเรียนแบบยุคศตวรรษที่ 21 ก่อนและให้มีการเสนอโครงการที่มุ่งเน้นพัฒนาเด็กเป็นสำคัญ เมื่อผ่านการอนุมัติก็ให้จัดทำโครงการนั้นๆกับนักเรียนและมีการจัดนิทรรศการภายในโรงเรียน โดยมีแรงจูงใจด้วยรางวัลต่างๆเพื่อให้เด็กเกิดความกระตือรือร้นและเกิดความสามัคคี ส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ในโรงเรียน และสร้างวัฒนธรรมของการเรียนรู้ที่ดีในโรงเรียน โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกและประเมิน ติดตามผลการทำโครงงาน

            นักเรียนจะได้ฝึกการทำงานเป็นทีม การคิกอย่างเป็นระบบ มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการทำโครงงาน และฝึกทักษะต่างๆ ทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน และการแก้ปัญหา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้จริง โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการบริหารจัดการห้องเรียน พฤติกรรมนิยม และการคิดอย่างเป็นกระบวนการ

ประยุกต์ใช้หลักการ แนวคิด ทฤษฎีอะไรบ้าง

แนวคิด การบริหารจัดการห้องเรียนตามรูปแบบจิตวิทยาตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่าเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อครูข้าใจถึงสาเหตุพฤติกรรมเด็กเข้าใจว่าอะไรเป็นแรงจูงใจทำให้เด็กมีพฤติกรรมเช่นนั้นเข้าใจถึงความคิดความต้องการความเข้าใจ

ทฤษฎี การพฤติกรรมในการบริหารจัดการชั้นเรียนตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าครูสามารถควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นทุกๆอย่างในห้องเรียนด้วยการใช้วิธีการเสริมแรง ครูให้ความสำคัญกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในห้องเรียนว่าเป็นผลจากการกระทำของเด็กการค้นหาสาเหตุ การสังเกต  การควบคุมพฤติกรรม ของเด็ก

ลงมือดำเนินการอย่างไร คือการฝึกใช้แบบการสอนหลายๆครั้ง  การเลือกวิธีการสอนหลากหลายขึ้น 

การติดตาม คือ การติดตามดูผลงานของเด็กว่าเด็กได้รับความรู้หรือไม่อย่างไร เป็นต้น

ประเมินผลอย่างไรบ้าง คือ การสังเกตและทดสอบความรู้ของเด็ก                                                         

  สิ่งที่นักศึกษาได้ลงมือทำ จะส่งผลต่อผู้เรียนหรือนักเรียนอย่างไรบ้าง คือทำให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่กว้างขึ้นและหลากหลายมากขึ้น สามารถที่ก้าวทันต่อโลกในยุคศตวรรษที่ 21 ได้

ข้อ 3. จงวิเคราะห์ความแตกต่างทฤษฎีภาวะผู้นำ 1.) ทฤษฎีลักษณะเฉพาะของผู้นา(Trait Theory) 2.) ทฤษฎีพฤติกรรม(Behavioral Theory) 3.) ทฤษฎีสถานการณ์(Situational Theory) 4.)ทฤษฏีการเปลี่ยนแปลง(Transformational Theory) มาพอสังเขปนักศึกษาคิดว่าทำไมครูผู้สอนต้องมีภาวะผู้นำและการเป็นผู้นำที่ดีควรมีพฤติกรรมอย่างไร

ตอบ  วิเคราะห์ความแตกต่างทฤษฎีภาวะผู้นำ

       1. ทฤษฎีลักษณะเฉพาะของผู้นำ  (Trait  Theory)ทฤษฎีนี้จะมีความแตกต่างจากบุคคลธรรมดาทั่วไปหรือเรียกว่า  “ทฤษฎีมหาบุรุษ”  จะมีลักษณะของความเป็นผู้นำและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  เชื่อว่า  บุคคลบางคนเกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ  และความเป็นผู้นำอาจจะถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม  หรือผู้นำที่ดีจะมีลักษณะทางร่างกายหรือจิตใจแตกต่างจากคนทั่วไป  ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง  หน้าตา  ส่วนสูง  บุคลิกภาพ  ลักษณะนิสัย  และการแสดงออก

      2.  ทฤษฎีพฤติกรรม  (Behavioral  Theory)ทฤษฎีพฤติกรรมเป็นแนวความคิดที่ให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการศึกษาถึงลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูงสุด  ซึ่งโดยมิได้ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์มากนัก  แต่จะให้ความสำคัญต่อการเลือกผู้นำให้ตรงกับสถานการณ์เพื่อให้งานที่ออกมานั้นประสบความสำเร็จ

    3.  ทฤษฎีสถานการณ์  (Situational  Theory)ทฤษฎีนี้จะให้ความสำคัญกับตัวผู้นำค่อนข้างสูง  ไม่ได้ให้ความสนใจกับปัจจัยหรือองค์ประกอบสำคัญ 3  ประการ  ได้แก่  ผู้นำ  ผู้ตาม  และสถานการณ์  ผู้นำคงไม่สามารถแสดงศักยภาพได้หากขาดปัจจัยแวดล้อม  ซึ่งปัจจัยแวดล้อมนี้อาจจะก่อให้เกิดโอกาสหรืออุปสรรคต่อการนำของผู้นำแต่ละคน  ทฤษฎีนี้จึงพิจารณาสถานการณ์เป็นหลัก  เพื่อที่ผู้นำจะเลือกใช้ภาวะผู้นำเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์  โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำ  ได้แก่  ความคาดหวังและความพร้อมของผู้ร่วมงาน  โครงสร้างของงาน  วัฒนธรรมขององค์การ  เป็นต้น

   4.  ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง  (Transformational  Theory)ทฤษฎีนี้มุ่งยกระดับความต้องการ  ความเชื่อ  เจตคติ  คุณธรรมของผู้ตามให้สูงขึ้น  เพื่อให้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงกลุ่มหรือองค์การให้มีประสิทธิผล  แนวคิดนี้จึงมีการนำความคิดของผู้นำและผู้ตามมารวมกัน  ทำให้ผู้นำและผู้ตามมีความคิดตรงกันนำไปสู่การปฏิบัติงานที่บรรลุจุดมุ่งหมาย  จึงเกิดคำกล่าวว่า  “ผู้นำที่ดีจะต้องเก่งทั้งคนและเก่งทั้งงาน”

นักศึกษาคิดว่าทำไมครูผู้สอนต้องมีภาวะผู้นำในยุคปัจจุบันภาระงานด้านการเรียนการสอนสลับซับซ้อนกันมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการปฏิบัติงานทางวิชาชีพที่มีมาตรฐานสูง วิชาชีพครูถือว่าเป็นวิชาชีพหลัก เป็นตัวแทนหลักของการเปลี่ยนแปลงในยุคสังคมฐานความรู้ ถ้าปราศจากครู หรือปราศจากวามสามารถของครูแล้ว สภาพสังคมในอนาคตจะผิดรูปร่างไปจากปัจจุบัน หรือกลายเป็นสังคมที่ไม่พึงประสงค์ เพราะครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและพัฒนาเยาวชนผู้ซึ่งเป็นอนาคตของชาติให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเป้าหมายของการศึกษา โดยเป็นผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามารถปรับตัว แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้นสมควรจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องกระตุ้นให้หน่วยงานทางการศึกษาได้คิดให้ลึกซึ้งมากขึ้นเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางวิชาชีพ องค์ความรู้ทางวิชาชีพ และสถานภาพทางวิชาชีพ ควรจะมีลักษณะอย่างไรสำหรับครูรุ่นใหม่ผู้ที่จะกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับยุคสมัย การสนับสนุนช่วยเหลือให้ครูเรียนรู้อย่างเหมาะสม ครูเหล่านี้ก็จะไปช่วยนักเรียนให้เรียนรู้อย่างเหมาะสมเช่นกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบต่างๆ ที่เป็นส่วนสำคัญของภาวะผู้นำ และเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูด้วยกันเอง (Goodson and Hargreaves,  2005)นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเชิงประจักษ์จากวรรณกรรมด้านการพัฒนาสถานศึกษาให้ดีขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นเช่นเดียวกันว่า การพัฒนาสถานศึกษาสำเร็จได้โดยการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน (Interchange) อยู่ตลอดเวลา มีการเสวนาทางวิชาชีพทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ อีกทั้งยังมีแนวทางการทำงานที่กระตุ้นครูให้ทำงานไปพร้อมๆ กับการนำไปสู่เป้าหมาย และมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าครูทำงานอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด เมื่อได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนครูคนอื่นๆ และทำงานเกี่ยวกับสถานศึกษาในเวลาเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับ Hopkins et al. (1997) ให้ข้อสังเกตว่า สถานศึกษาต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จจะต้องสร้างสภาวะแวดล้อมของการร่วมมือรวมพลัง ซึ่งกระตุ้นการมีส่วนเกี่ยวข้อง การพัฒนาวิชาชีพ การสนับสนุน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการแก้ปัญหาจะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration Learning) เป็นหัวใจสำคัญของภาวะผู้นำครู เนื่องจากการเรียนรู้ร่วมกันเป็นวิธีการที่บุคลากรในสถานศึกษาให้ความร่วมมือรวมพลังในการทำงานเป็นทีม

สรุปได้ว่า แนวคิดของภาวะผู้นำครู จะมุ่งเน้นไปที่การร่วมกันทำงานของบุคลากรครูในสถานศึกษาอย่างร่วมมือรวมพลัง โดยมีการเรียนรู้ร่วมกัน มีความเกี่ยวข้องและความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีการและเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีพลังและทำให้ครูมีแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษา เกิดความผูกพันในการร่วมเรียนรู้ ร่วมสร้างความรู้ และร่วมกันดำเนินงานให้สถานศึกษามีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และมีแนวมาตรฐานตามเป้าหมายการเป็นผู้นำที่ดีควรมีพฤติกรรมดังนี้

1.มีการพัฒนาตนเองและเพื่อนครู ประกอบด้วย มีวิสัยทัศน์พัฒนาตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเองว่าพัฒนาได้ และเป็นครูผู้นำพัฒนาเพื่อนครู

2. เป็นแบบอย่างทางการสอน ประกอบด้วยใช้วิธีสอนที่หลากหลาย ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้

3. มีส่วนร่วมในการพัฒนา ประกอบด้วยมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาร่วมกัน มีการทำงานเป็นทีมและมีเครือข่ายการพัฒนาร่วมกัน

4. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยเป็นผู้นำ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และเป็นผู้ได้รับการยอมรับ

ข้อ 4. หากนักศึกษาเป็นผู้นำในศตวรรษที่ 21 นักศึกษาจะมีวิธีการอย่างไรในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในโรงเรียนนักศึกษาเลือกใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวของกับการสร้างมนุษยสัมพันธ์ใดบ้างอย่างไรเพื่อให้โรงเรียนสามารถขับเคลื่อนสู่เป้าประสงค์กำหนดไว้ได้หรือเป็นโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการในชั้นเรียนหรือโรงเรียนที่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับโรงเรียนอื่นๆได้

ตอบ การสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับตนเอง เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้เกิดความคิดที่มุ่งมั่น ยินดี และเต็มใจที่จะสร้างแต่สิ่งที่ดี ๆ ให้เกิดขึ้น และใช้เทคนิคการสนทนาเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์ การสนทนาที่ดีจะทำให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ใช้หลักการสนทนาเพื่อช่วยเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ทำให้คู่สนทนาเกิดความรู้สึกที่ดี สบายใจ สนุกสนาน และพอใจที่จะสนทนากับเรา มีความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือผู้อื่น มีความสดชื่นรื่นเริง ไม่เห็นแก่ตัว รับฟังผู้อื่นทำตัวง่าย ๆ ไม่เป็นกันเอง  สุภาพอ่อนโยน มีความเมตตากรุณา ทักทายผู้อื่นก่อน มีอารมณ์ขัน มีความจริงใจ

          ทฤษฎีที่เกี่ยวของกับการสร้างมนุษยสัมพันธ์คือ ทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ จะต้องเข้าใจความต้องการและธรรมชาติของมนุษย์ว่า ในแต่ละคนมีความต้องการและธรรมชาติที่ไม่เหมือนกัน จำเป็นต้องศึกษาให้เกิดทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อ 5. “ผู้นำในดวงใจของนักศึกษา คือ ใคร” จงนำเสนอรายละเอียด ภาวะผู้นำ ของบุคคลที่นักศึกษา เลือกมา 1 คน นักศึกษาคิดว่า ผู้นำที่นักศึกษาเลือก เป็นผู้นำลักษณะใด

จากคำกล่าวข้อหนึ่งที่ว่า ผู้นำที่ดีควรมีพฤติกรรม “คิดอย่างเป็นระบบ” นักศึกษามีความคิดเห็น อย่างไร หากนักศึกษาได้มีโอกาสเป็นผู้นำ นักศึกษาจะมีวิธีกาสร้างทีมทางาน(Teamwork)อย่างไรให้ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล บุคคลต่างๆ ในทีมทางานควรมีบทบาทอย่างไรบ้าง จงอธิบายมาพอ สังเขป

    ตอบ ผู้นำในดวงใจคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพราะว่าพระองค์เป็นผู้ที่รู้จักรักษาสมดุลของบทบาทในการมุ่งงาน (Task-Oriented) เน้นการบรรลุเป้าหมาย จัดวางโครงสร้างวิธีการทำงาน และบทบาทในการมุ่งเน้นพัฒนาสัมพันธภาพกับผู้ร่วมงาน (People-Oriented)พระองค์ท่านก็ทรงเป็นเยี่ยงอย่างที่ดีที่เวลาทรงงานก็ทรงงานอย่างหนัก จริงจัง มีวัตถุประสงค์และกระบวนการทำงานที่ ชัดเจนเป็นระบบ มีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่วนในเรื่องของการมี สัมพันธภาพที่ดีกับทีมงานนั้น พระองค์เป็นผู้นำลักษณะผู้นำจริยธรรม (Moral Leadership)ผู้นำที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ตาม ซึ่งผู้นำจะมีความสัมพันธ์กับผู้ตามในด้านความต้องการ (Needs) ความปรารถนา (Aspirations) ค่านิยม (Values) และควรยึดจริยธรรมสูงสุด คือ ความเป็นธรรมและความยุติธรรมในสังคม ผู้นำลักษณะนี้มุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ตอบสนองความต้องการ และความจำเป็นอย่างแท้จริงของผู้ตาม ตัวอย่างผู้นำจริยธรรมที่สำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ท่านทรงเป็นนักวางแผนและมองการณ์ไกล นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง เช่น โครงการอีสานเขียว โครงการน้ำพระทัยจากในหลวง โครงการแก้มลิง เป็นต้น

                  “ผู้นำ” (Leader) กับ “ทักษะการคิด” (Thinking Skill) เกี่ยวเนื่องกันซึ่งทักษะการคิดได้ชื่อว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดที่ช่วยให้คนได้รับความสำเร็จในชีวิต เพราะทักษะการคิดเป็นตัวดึงเอาทักษะด้านความรู้ (Technical Skill) มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์มากที่สุด และทักษะการคิดเป็น “ต้นทาง” ของทักษะด้านคน (Human Skill)

ถ้าผู้บริหารมีทักษะการคิดไปในแนวทางใด การพูดและการกระทำก็จะเป็นไปในแนวนั้น ถ้าการคิดเป็นไปในทางลบ เขาก็จะพูดและตัดสินใจทำอะไรไปในทางลบและบั่นทอน ถ้าคิดไปในทางบวก เขาก็จะพูดและตัดสินใจทำอะไรไปในทางทางบวกและสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งดีงามให้แก่บริษัทและประเทศชาติ ทักษะการคิดจึงสำคัญต่อผู้นำเป็นอย่างมาก

สำหรับการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นการมองแบบองค์รวมเป็นความสามารถในการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบ นอกจากมองภาพรวมแล้วต้องมองรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยในภาพนั้นให้ออกด้วย การคิดอย่างเป็นระบบ ก็คือ การคิดให้ครบองค์ประกอบของระบบให้ครบทุก 4 ด้าน ได้แก่ 

1. คิดให้ลึกเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)

2. คิดให้กว้างอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

3. คิดให้ครบจนจบเรื่อง (Integrated Thinking)

4. คิดในภาพรวมทั้งระบบ (System Thinking)

ดังนั้น ผู้นำที่ดีควรมีพฤติกรรม “คิดอย่างเป็นระบบ”

        นักศึกษาจะมีวิธีการสร้างทีมทำงาน(Teamwork)อย่างไรให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  1. ต้องเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ

สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้การทำงานเป็นทีมไม่ประสบความสำเร็จ คือความจริงที่ว่า สมาชิกในทีมไม่มีทักษะในงานที่ได้รับมอบหมาย ดังนั้นสิ่งที่คุณจะต้องทำคือ เลือกคนให้เหมาะกับงานในแต่ละส่วน และย้ำกับสมาชิกในทีมถึงเหตุผลที่คุณมอบหมายงานชิ้นนั้นๆ ให้พวกเขา เพื่อให้พวกเขารู้ว่าทุกคนต่างเป็นจิ๊กซอว์ที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของทีมด้วยกันทั้งสิ้น คุณอาจต้องจดรายการปัญหาทั้งหมดที่คุณพบ และจับคู่กับทักษะที่สมาชิกในทีมของคุณมี เพื่อให้ได้คนที่มีทักษะเหมาะสมในการจัดการกับปัญหาต่างๆ

  1. ต้องแบ่งงานให้ชัดเจน

อีกสาเหตุหนึ่งของความล้มเหลวของทีม คือ การแบ่งงานที่ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสนในการทำงาน บางงานเกิดการทำซ้ำซ้อน ในขณะที่งานสำคัญกลับถูกลืม คุณต้องแน่ใจว่า ทุกคนเข้าใจวัตถุประสงค์ของทีม และตระหนักในสิ่งที่คุณคาดหวังจากพวกเขา นอกจากนี้คุณควรพบปะกับสมาชิกในทีมเพื่ออธิบายงาน และติดตามผลด้วยการส่งอีเมล์เพื่อยืนยันกับพวกเขาอีกครั้งหากภายในทีมมีการแบ่งลำดับขั้นของสมาชิก คุณต้องมั่นใจว่า ทุกคนชัดเจน และเห็นด้วยกับการแบ่งงานของคุณเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางอำนาจที่อาจเกิดขึ้น

  1. ต้องจัดการกับทีม

ในการดำเนินโครงการใด ๆ ก็ตาม คุณควรมีหลักเกณฑ์ในการวัดความสำเร็จของสมาชิกแต่ละคนด้วย ซึ่งจะทำให้คุณสามารถจัดการกับทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีคนไหนอยู่ต่ำกว่ามาตรฐาน คุณจะได้ดำเนินการสับเปลี่ยนคนอื่นในทีมมาทำงานนั้นแทน เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการได้อย่างราบรื่นต่อไป

  1. ต้องให้คำติชมและแนะนำ

สิ่งสุดท้าย ซึ่งจำเป็นมากที่คุณจะต้องทำ คือ การให้ รับฟัง และแบ่งปันข้อมูล (feedback) ในระหว่างที่โครงการกำลังดำเนินไปและเมื่อโครงการสิ้นสุดลง เพื่อให้สมาชิกในทีมรู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป อย่ากลัวที่จะให้แสดงความคิดเห็นในทางลบ แต่ควรพยายามติดตามด้วยการให้คำแนะนำในเชิงสร้างสรรค์เสมอ

5.ต้องมีมนุษยสัมพันธที่ดี   มีความรับผิดชอบ ต่อการงาน คำพูด คำมั่นสัญญา รักษาเวลา ควบคุมอารมณ์ได้

บุคคลต่างๆในทีมทำงานควรมีบทบาทอย่างไรบ้าง

หัวหน้าทีม

– รับนโยบายจากองค์การ
– กำหนดเป้าหมาย แนวทางและขั้นตอนในการปฏิบัติ
– มอบหมายงานแก่สมาชิก
– สร้างบรรยากาศด้วยการจูงใจ เสริมแรง ให้กำลังใจ
– ใช้เทคนิคเผชิญความขัดแย้งไม่ว่าเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว
– อำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือแก้ปัญหาต่างๆ
– ประเมินผลงานและผู้ร่วมงาน

สมาชิก
– รับมอบหมายงานจากหัวหน้าทีม
– ปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบให้บรรลุเป้าหมายของทีมงาน
– ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาต่างๆ
– เป็นผู้ตามที่ดี
– ตั้งใจจริงในการทำงาน
– คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม
– คำนึงถึงความสำคัญของทีมงาน

เลขานุการ
– รับคำสั่งจากหัวหน้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
– ส่งข่าวสารที่รับมาไปยังบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– ประสานงานระหว่างผู้บังคับบัญชาและถ่ายทอดสิ่งผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอให้นายได้รับรู้
– มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีแบบสร้างสรรค์ต่อทุกๆ คน

ข้อ 6. นักศึกษาคิดว่าวัฒนธรรมโรงเรียนมีองค์ประกอบสำคัญอะไรบ้างแต่ละองค์ประกอบมีพฤติกรรมใดบ้างที่เป็นตัวบ่งชี้สำคัญการเรียนรู้วัฒนธรรมโรงเรียนมีความสำคัญอย่างไรบ้างต่อผู้บริหารครูผู้สอนและบุคลากรของโรงเรียนทำไมครูผู้สอนทุกระดับชั้นจำเป็นต้องมีการกำหนดวัฒนธรรมในชั้นเรียนจงยกตัวอย่างวัฒนธรรมในชั้นเรียนมา 1 ระดับชั้น

ตอบ วัฒนธรรมโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของสังคมจึงเป็นวัฒนธรรมย่อยของวัฒนธรรมและมีลักษณะเหมือนวัฒนธรรมของสังคมทุกประการกล่าวคือมีวิถีแห่งการดำเนินงานในโรงเรียนมีวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุได้แก่อาคารสิ่งก่อสร้างสภาพแวดล้อมในโรงเรียนหลักสูตรการเรียนการสอนนอกนั้นยังมีวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุได้แก่กฎระเบียบหลักเกณฑ์ค่านิยมพิธีกรรมขนบธรรมเนียมประเพณีวิถีทางของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในโรงเรียนสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายของโรงเรียน

วัฒนธรรมโรงเรียนเป็นวิธีการหรือแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ส่วนบุคคล เพื่อไปสู่การเรียนรู้ร่วมกัน โดยในการที่จะพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนจะต้องมีการพัฒนาการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลควบคู่การการพัฒนาการเรียนรู้ของสถานศึกษาด้วยในการเรียนรู้วัฒนธรรมองค์การถือเป็นทักษะสำคัญ ในการที่จะปรับแต่งองค์การให้องค์การเอื้อต่อการก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในอนาคตได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่หัวใจอีกส่วนหนึ่งก็คือ  องค์ความรู้และทักษะเหล่านี้เป็นเรื่องที่บุคคลแต่ละสถานศึกษาจะต้องเรียนรู้ร่วมกัน อาทิเช่น การเรียนรู้เชิงกลยุทธ์การเรียนรู้เชิงระบบ  การเรียนรู้ภาวะผู้นำ  การเรียนรู้กระบวนการคิดวิเคราะห์  การเรียนรู้กระบวนงาน  การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 

          องค์ประกอบของวัฒนธรรมโรงเรียน

            แพทเตอร์สัน (Paterson, 1988, pp.50 – 51 cited in Sergiovanni, 1988, pp.107 – 109)

ได้กล่าวถึงวัฒนธรรมโรงเรียนว่า มีส่วนประกอบ 10 ประการ คือ 

1) วัตถุประสงค์ของโรงเรียน (School Purpose)

2) การให้อำนาจ (Empowerment) 

3) การตัดสินใจ (Decision Making)

4) ความรู้สึกเป็นกลุ่ม (Sense of Community) 

5) ความเชื่อถือ (Trust) 

6) คุณภาพ (Quality) 

7) การยอมรับนับถือ (Recognition) 

8) ความเอื้ออาทร (Caring)

 9) ความมีเกียรติศักดิ์ศรี (Integrity) 

 10) ความหลากหลาย (Diversity)  ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

            1.  วัตถุประสงค์ของโรงเรียน (School Purpose) เป็นลักษณะที่โรงเรียนประชาสัมพันธ์

ชี้แจงวัตถุประสงค์ นโยบาย การตัดสินใจ ให้บุคลากรเข้าใจ เห็นคุณค่าและความสำคัญ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโรงเรียน เพื่อเป็นแนวทางและพื้นฐานในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย และ

เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินผลการทำงาน

            2.  การให้อำนาจ (Empowerment) คือ การที่โรงเรียนเห็นความสำคัญของการให้อำนาจ

ในการตัดสินใจแก่บุคลากรในโรงเรียนเมื่อประสบเหตุการณ์ และเห็นพ้องต้องกันในการตัดสินใจ

พร้อมทั้งให้โอกาสในการรับรู้ข่าวสาร และการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในโรงเรียนอย่างเท่าเทียมกัน

            3.  การตัดสินใจ (Decision Making) เป็นลักษณะที่โรงเรียนเชื่อมั่นว่าจะมีความเป็นไปได้ ในการดำเนินงานและส่งผลโดยตรงกับผลงานที่เกิดขึ้น อีกทั้งมีความเชื่อมั่นว่า การตัดสินใจ

ที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและคุณภาพของงานนั้น ต้องอาศัยการตัดสินใจจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ

ที่รู้ปัญหาจริงโดยไม่คำนึงถึงระดับชั้นการบริหาร

            4.  ความรู้สึกเป็นกลุ่ม (Sense of Community) เป็นลักษณะที่โรงเรียนดำเนินงาน

โดยยึดถือโรงเรียนเป็นหลัก และส่งเสริมบุคลากรในโรงเรียน ให้การช่วยเหลือและพัฒนา

ซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งกระตุ้นให้บุคลากรเห็นความสำคัญของการเป็นเจ้าของโรงเรียนร่วมกัน

มากที่สุด

            5.  ความเชื่อถือ (Trust) เป็นลักษณะที่โรงเรียนให้ความสำคัญในการยอมรับว่า ครู

มีความรู้ ความสามารถ มีความรับผิดชอบ โดยให้โอกาสครูในการทำงาน ให้ความไว้วางใจว่า

ครูสามารถตัดสินใจได้เป็นอย่างดี

            6.  คุณภาพ (Quality) เป็นลักษณะที่โรงเรียนให้คุณค่ากับความคาดหวังต่อมาตรฐาน และคุณภาพในการปฏิบัติงานของครูและนักเรียน มีความเชื่อมั่นว่าครูและนักเรียนมีความสามารถ

ในการปฏิบัติงานของตนเองได้ อีกทั้งให้ความสำคัญต่อความคิดที่กว้างไกล และส่งเสริม

ความเจริญก้าวหน้าของบุคลากร

            7.  การยอมรับนับถือ (Recognition) เป็นลักษณะที่โรงเรียนเปิดโอกาส และยอมรับแนวความคิดที่ดีและแนวคิดใหม่ ๆ ของครู รวมทั้งการยอมรับในความรู้ความสามารถและความสำเร็จของผลงานของครูและนักเรียน เพื่อให้ครูเกิดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน

            8.  ความเอื้ออาทร (Caring) เป็นลักษณะที่โรงเรียนเอาใจใส่ ดูแลความเป็นอยู่เกี่ยวกับ

การปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียน และให้ความสำคัญต่อผลงานของบุคลากร อีกทั้งสนับสนุนให้มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

            9.  ความมีเกียรติศักดิ์ศรี (Integrity) เป็นลักษณะที่โรงเรียนให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของความซื่อสัตย์ในความมานะพยายามของบุคลากรที่ปฏิบัติงานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย

และกำหนดแนวทางให้บุคลากรทุกคนประพฤติปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และให้การยกย่อง

ผู้ที่มีบุคลิกภาพ และจริยธรรมที่สูงเด่น

            10.  ความหลากหลาย (Diversity) เป็นลักษณะที่โรงเรียนเห็นความสำคัญในด้าน

ความแตกต่างระหว่างบุคคล บุคลิกภาพ แนวความคิด ทักษะ วิธีการปฏิบัติงานของบุคลากร

ในโรงเรียน พร้อมทั้งมีความยืดหยุ่น ผสมผสานเชื่อมโยงความแตกต่างในรูปแบบ และวิธีการปฏิบัติที่หลากหลายของบุคลากรในโรงเรียนนั้นให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของโรงเรียน

การเรียนรู้วัฒนธรรมโรงเรียนมีความสำคัญอย่างไรบ้างต่อผู้บริหารครูผู้สอนและบุคลากรของโรงเรียน

ครูใหญ่ ครู และนักเรียนมีการเรียนรู้วัฒนธรรมโรงเรียน คือ มีวิธีการหรือแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ส่วนบุคคล เพื่อไปสู่การเรียนรู้ร่วมกัน โดยในการที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ จะต้องมีการพัฒนาการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลควบคู่การการพัฒนาการเรียนรู้ของสถานศึกษาด้วย เพราะว่าหากในระดับบุคคลไม่มีการเรียนรู้หรือไม่ได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้แล้ว ในการที่จะพัฒนาองค์กรไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันคงเป็นไปไม่ได้เพราะฉะนั้นในการที่จะพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกันนั้นจะต้องเริ่มที่การพัฒนาการเรียนรู้ส่วนบุคคลของบุคลากรในโรงเรียนก่อน

  ตัวอย่างวัฒนธรรมในชั้นเรียน การแบ่งหน้าที่กันทำความสะอาดห้องของชั้นป.3/3 เป็นการแบ่งเวรทำความสะอาดของเด็กนักเรียนในห้อง

ข้อ 7. จากตารางข้างล่างนี้ นักศึกษาคิดว่า เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะแห่งอนาคตใหม่หรือการเรียนรู้ในยุค Education 4.0 รูปแบบการติดต่อสื่อสารในโรงเรียนหรือชั้นเรียน ควรเป็นอย่างไร จงอธิบายโดยอ้างอิงหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่เรียนมาพอสังเขป

ตอบ บทบาทของครูผู้สอนจะเป็นครูที่ชี้แนะแนวทางในการเรียนรู้และค่อยให้คำแนะนำ ในส่วนของนักเรียนจะเรียนรู้โดยการได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง การได้เรียนรู้จากนอกห้องเรียนแล้วมาเสนอความคิดเห็นและข้อสรุปกันในห้องเรียนหรือที่ประชุม ในด้านของสื่อการเรียนและไอที ก็จะมีอินเทอร์เน็ตเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารออนไลน์ เช่น  facebook  line twitter เป็นสื่อที่สามารถติดต่อกันได้และยังสามารถที่จะคุยกันโดยเห็นหน้าและประชุมกันโดยไม่ต้องรอให้มาถึงที่โรงเรียนได้

การติดต่อสื่อสารในโรงเรียนหรือชั้นเรียน จะมีการติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต เช่นเฟชบุ๊ค ทางเมล์ ทางไลน์ เป็นต้น จะใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยเป็นส่วนใหญ่จะทำให้การติดต่อสื่อสารรวดเร็วและทันใจมากยิ่งขึ้นส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านทางเน็ตเวิร์กต่างๆ และผู้เรียนผู้สอนสามารถติ่ต่อกันได้นอกชั้นเรียนอย่างสะดวกมากขึ้น ผู้สอนสามารถสั่งงานไปทางช่องทางต่างๆตามที่ตกลงกับนักเรียนไว้ ทั้งนี้การหาข้อมูลก็งานยิ่งขึ้นเพราะสามารถหาได้จากอินเตอร์เน็ตผ่านบริการต่างๆ และการแชร์ข้อมูลหรือการนำเสนองานยังช่วยฝึกทักษะการใช้ ไอที ได้อีกด้วย ทั้งนี้การใช้ควรเคารพกฎในการใช้บริการต่างๆ การทำงานกลุ่มยังหลากหลาย ทั้งต่อหน้าหรือผ่านทางอินเตอร์เน็ตที่สามารถเปิดกล้องพูดคุยกันได้ และการวัดและประเมินผลที่ทันสมัยจะช่วยให้เกิดความแม่นยำในการคิดคำนวณคะแนนต่างๆและมีอีกหลายระบบที่อำนวยความสะดวกมากขึ้นทั้งการใช้บริการต่างๆ โดยการสแกนบัตรหรือเช็คชื่อโดยการสแกนนิ้วมือ เป็นต้น เพื่อให้ระบบสารสนเทศภายในโรงเรียนเกิดความก้าวหน้าและลดการเสียเวลากับการใช้แรงงานคนแต่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตที่รวดเร็ว และส่งถึงจุดหมายอย่างชัดเจน ซึ่งต้องทั้งทฤษฎีระบบและทฤษฎีข้อมูล ที่ต้องนำมาประยุกต์ใช้ให้ถูกกับสถานการณ์นั้นๆ

ข้อ 8. จงบอกเหตุผลความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้เรื่อง การคิดอย่างเป็นระบบ ภาวะผู้นำทางการศึกษา การทำงานเป็นทีม การเรียนรู้วัฒนธรรมโรงเรียน มนุษยสัมพันธ์ในโรงเรียนและ การติดต่อสื่อสารในชั้นเรียน/โรเรียน ในรายวิชา การบริหารจัดการในชั้นเรียนหรือ เรื่องดังกล่าวสำคัญต่อนักศึกษาสายการศึกษาอย่างไร นักศึกษาได้เรียนรู้อะไรบ้าง และนักศึกษาจะนาไปประยุกต์ใช้อย่างไร จงอธิบายมาพอสังเขป

ตอบ      ความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้เรื่อง การคิดอย่างเป็นระบบ คือการคิดอย่างเป็นระบบจะทำให้เราคิดได้มากกว่า การคิดวิเคราะห์ เพราะการคิดวิเคราะห์เราจะต้องมีสมมุติฐานว่าขณะศึกษานั้น สรรพสิ่งหยุดนิ่งทำให้ถอดองค์ประกอบของสิ่งเราวิเคราะห์หออกได้เป็นชิ้นๆและความสัมพันธ์ระหว่างชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบมิได้เป็นสิ่งสำคัญผลที่จากการคิดอย่างเป็นระบบทำให้มองโลกรอบตัวเป็นองค์รวมมากกว่าจะเห็นเพียงเหตุการณ์หนึ่ง

  ภาวะผู้นำทางการศึกษาเราจำเป็นจะต้องเรียนรู้ในเรื่องของภาวะผู้นำเป็นปัจจัยในการบริหาร  ผู้บริหารทางการศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการบริหารชั้นเรียน โรงเรียน ยุคแห่งการแข่งขันจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีคุณลักษณะมีความสามารถเป็นผู้นำทางการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้มุ่งพัฒนาบุคลากรและพัฒนาตนเอง มีความสำคัญที่จะดึงดูดความรู้ความสามารถต่างๆในตัวผู้บริหารมาใช้ แม้ตัวผู้บริหารมีความรู้และประสบการณ์ต่างๆในเรื่องงานมากมายแต่ถ้าขาดภาวะผู้นำแล้วความรู้ความสามารถก็ไม่ได้ถูกมาใช้ความเป็นผู้นำของแต่ละคนเกิดและได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากตัวตนแต่ละคนทั้งสิ้น

          การทำงานเป็นทีม เราจำเป็นต้องเรียนรู้เพราะการทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้วิชา ความสามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่น การเรียนรู้การทำงานเป็นทีมถือว่าเป็นหัวใจหนึ่งในการทำงานร่วมกัน ถ้าโรงเรียน ชั้นเรียน สามารถสร้างทีม พัฒนาทีม ให้สามารถร่วมกันปฏิบัติงานประสมความสำเร็จ เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของทีม การเรียนรู้การทำงานเป็นทีม เพราะงานบางอย่างไม่สามารถทำสำเร็จได้เพียงคนเดียว ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญจากหลายๆฝ่าย ความสามารถของแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันเป็นการร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน

 การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญในทุกองค์กรการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงานการทำงานเป็น  ทีมมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดี

ทีมที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานคือกลุ่มของบุคคล ที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของ ทีม ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ท่านและเพื่อนร่วมทีมจะต้องยึดถือเป็นกรอบเพื่อทำงาน ร่วมกัน – มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน

          การเรียนรู้วัฒนธรรมโรงเรียนเราจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ เป็นสภาพอันเป็นความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรม เป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรม วาจา ท่าทาง กิจกกรมการเรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยผ่านการคัดเลือกปรับปรุงและยึดถือ การเรียนรู้วัฒนธรรมโรงเรียนมีความสำคัญคือการรู้ถึงวัฒนธรรมของโรงเรียนนั้น เช่นประวัติความเป็นมาของโรงเรียนว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ทำให้ทั้งครูผู้บริหารและบุคลากรในโรงเรียนทราบความเชื่อ ความเข้าใจที่ครูและบุคลากรอื่นๆ การเรียนการสอน ในเรื่องของค่านิยม เป็นสิ่งที่โรงเรียนให้ความสำคัญเกี่ยวกับการประเมินค่าสิ่งต่างๆในเรื่องของบรรทัดฐานและมาตรฐาน เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ สำหรับควบคุมพฤติกรรมของครูอาจารย์ในโรงเรียน และรูปแบบของพฤติกรรม คือสิ่งที่ยอมรับและเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่สม่ำเสมอภายในโรงเรียน จะทำให้ทั้งผู้บริหาร ครูผู้สอนและบุคลากรของโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของวัฒนธรรมโรงเรียนให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

       มนุษย์สัมพันธ์ในโรงเรียนเราจำเป็นต้องเรียนรู้ให้มีความเข้าใจในการสร่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ และมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน รวมทั้งการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นสิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ทักษะในการดำเนินชีวิติประจำวัน และการปฏิบัติงานเพราะคนเราไม่สามารถอยู่โดยลำพังคนเดียวได้ ต้องติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆตลอดชีวิต

การติดต่อสื่อสารใน ชั้นเรียน/โรเรียน เราจำเป็นต้องเรียนรู้เพราะการติดต่อสื่อสารเป็นหัวใจของการทำความเข้าใจระหว่างกันของมนุษย์ในสังคม เราจะทำความเข้าใจกันได้ต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูล ถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเห็นและประสบการณ์ซึ่งกันและกันเพื่อให้ได้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขเราต้องมีความรู้เรื่องการติดต่อสื่อสาร กระบวนการติดต่อสื่อสาร และสามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไปได้

สิ้นสุดการสนทนา

อ้างอิง

“การสร้างมนุษยสัมพันธ์”[ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา //www.l3nr.org/posts/378096 (17 มกราคม 2557)

ประกอบ ใจมั่น. (2556).การบริหารจัดการโรงเรียน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช : คณะครุศาสตร์.

ศิริพงษ์ เศาภายน.  (2548).หลักการบริหารการศึกษา:ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่2).  กรุงเทพฯ:

                บุ๊ค พอยท์.

nahm songmuang. “ความสำคัญวัฒนธรรมโรงเรียน” [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา//www.l3nr.org/posts/513474  (16 มกราคม 2557)

กลวิธีการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ – L3nr

//www.l3nr

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก