แม รี กอ ท จิ ว เว ล รี่ Pantip

ปิดโรงงาน แมรีกอท จิวเวรี่ บางปู ยุบรวมโรงงานอยุธยา พนักงานกว่า 2,600 คนตกงาน 

เพจเฟซบุ๊ก “สังคมโรงงาน V.2″ โพสต์ภาพพนักงานโรงงานจิวเวลรี่ขนาดใหญ่ ย่านบางปู ปิดโรงงานวันนี้ (27 มกราคม) ส่งผลให้พนักงานกว่า 2,600 คนต้องตกงาน โดยระบุว่า”

“ปิดตำนานจิวเวลรี่นิคมบางปู”

ย้ายไปรวมสาขาอยุธยา

ขอให้โชคดีนะทุกคน”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โรงงานดังกล่าว คือ บริษัท แมรีกอท จิวเวลรี่ (ประเทศไทย) นิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ โดยเป็นโรงงานเครื่องประดับกายอัญมณีเทียม , ซ่อมแซมชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบเครื่องประดับอัญมณีเทียม สินค้า, บริการประเภทชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบเครื่องประดับอัญมณีเทียม ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับบรรจุสินค้า

สำหรับการปิดโรงงานที่บางปู ครั้งนี้ เป็นการยุบไปใช้โรงงานผลิตที่นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค บางปะอิน อยุธยา แทน เพื่อลดต้นทุน หลังจากยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่อง จากการแพร่ระบาดของโควิด ระลอกใหม่

นอกจากนี้ เพจเฟซบุ๊ก “บริษัท แมรีกอท จิวเวลรี่ (ประเทศไทย) จำกัด” ยังมีพนักงานเข้ามาโพสต์อำลาเพื่อนพนักงาน และส่งกำลังใจให้กัน

“ได้ฟังข่าว #แมรีกอท สมุทรปราการยุบพนักงาน2,600กว่าคนต้องแยกย้าย ฟังแล้วก็หดหู่ใจ ในฐานะคนเคยรวมงานขอให้ทุกคนสู้ๆครับ”

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 บริษัท แมรีกอท จิวเวลรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค บางปะอิน อยุธยา ได้เลิกจ้างพนักงานประมาณ 300-500 คน เนื่องจากผลกระทบจากโควิดระลอกแรก

ข้อมูล/ภาพ : สังคมโรงงาน V.2

อ่านข่าวเพิ่มเติม

  • หลายร้อยชีวิตช็อก!! ถูกเลิกจ้าง โรงงานเย็บผ้าประกาศปิดตัว
  • นิสสัน ปิดโรงงานอินโดนีเซีย ย้ำลงทุนไทย ฐานผลิตใหญ่ในอาเซียน
  • ‘นารายา’ แจงด่วน ปิดโรงงานบุรีรัมย์ 16 ส.ค. เซ่นพิษโควิด ออร์เดอร์หายเกลี้ยง

ค้นหาสถานที่

ขอเส้นทาง

เครื่องมือ

ตัวอย่างการค้นหา
ชื่อสถานที่: บริษัท เมตามีเดีย เทคโนโลยี จำกัด
เขตปกครอง: แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
หมวดสถานที่: tag: ป้ายรถเมล์, tag: ภาพถ่ายทางอากาศ
พิกัด: 13.72264,100.52931 หรือ 665365,1517575,47N

ค้นด้วยไอคอน

สถานที่แก้ไขล่าสุด

  • แผนที่

ปรัชญา กำลังแพทย์ เรื่อง

เมธิชัย เตียวนะ ภาพ

ภาพของพนักงานออฟฟิศบนตึกสูงระฟ้า นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ในสำนักงานที่เปิดแอร์เย็นฉ่ำ ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง คงเป็นภาพที่ชินตาของใครหลายๆ คน

ทว่าในอีกมุมหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมย่านชานเมือง ยังมีภาพของพนักงานโรงงานที่ยืนทำงานหน้าเครื่องจักรอย่างขะมักเขม้นวันละ 8 ชั่วโมง และอาจต้องทำงานล่วงเวลาเป็นครั้งคราว หากบางเดือนรายได้ดูเหมือนจะไม่พอกับรายจ่าย

ภาพพนักงานทั้งสองแห่งต่างมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน เป็นพนักงานเงินเดือนเหมือนกัน คำถามคือ ทั้งคู่ได้รับสวัสดิการที่เหมาะสมเช่นเดียวกันหรือไม่

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสวัสดิการคือสิ่งสำคัญของผู้ที่เป็นพนักงานทุกรูปแบบในทุกระบบเศรษฐกิจ สวัสดิการที่ดีย่อมเป็นจุดเริ่มต้นของการผูกมิตร หรือที่เรียกว่าการ ซื้อใจพนักงาน เพื่อให้พวกเขาทำงานให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรให้ใจกับพนักงงาน พนักงานก็จะให้ใจกลับคืนมา การสร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้มีความผ่อนคลาย และสามารถยืดหยุ่นต่อการทำงานในทุกรูปแบบคือสิ่งสำคัญ

แม้จะเป็นจุดเล็กๆ ของการเป็น ‘happy workplace’ แต่การสร้างบรรยากาศที่ดีภายในองค์กรนั้นส่งผลดีต่อทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เพราะที่ทำงานไม่ควรเป็นแค่สถานที่ที่สแกนนิ้วมือเพื่อเข้าทำงานตอนเช้า แล้วสแกนนิ้วมือออกเมื่อเลิกงานในตอนเย็น ไม่ใช่แค่ที่ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์จนปวดตา หรือที่ที่นั่งถีบจักรเย็บจนปวดหลัง

ในภาพกว้างกว่านั้น คุณภาพชีวิตที่ดีไม่ได้หมายถึงที่ทำงานที่ดีเท่านั้น แต่อาจเริ่มตั้งแต่ครอบครัว หลายคนมีครอบครัวที่ต้องดูแล บางคนรับบทบาทเป็นคุณพ่อ บางคนเป็นคุณแม่ บางคนกำลังสร้างครอบครัว หรือมีลูกเล็กที่ต้องดูแล ดังนั้นเมื่อบรรยากาศที่ทำงานดีแล้ว หากบรรยากาศในครอบครัวดีตามไปด้วย ย่อมช่วยให้เกิดสมดุลในชีวิตและการงานมากขึ้น

คำถามที่ตามมาคือที่ทำงาน สามารถช่วยสนับสนุนในส่วนครอบครัวหรือการมี ‘happy family’ ได้อย่างไรบ้าง?

ปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มเล็งเห็นความสำคัญของประเด็นดังกล่าว ผ่านการพัฒนาสวัสดิการให้กับพนักงานของตนเอง เช่น วันลาคลอด เงินชดเชย วันลาสำหรับพนักงานที่เป็นผู้ชาย หรือ มุมให้นมบุตร ฯลฯ เช่นเดียวกับแนวคิดเรื่อง happy family, happy workplace ที่แพร่หลายมากขึ้นในองค์กรต่างๆ

สิ่งที่น่าสนใจคือการพัฒนาสวัสดิการเหล่านี้ มักปรากฏในองค์กรที่ใหญ่ๆ ตามตึกสูงในเมือง ขณะที่โรงงานตามนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ กลับไม่ปรากฏให้เห็นเท่าที่ควร ทั้งที่พนักงานเหล่านี้ควรได้รับการดูแลไม่ต่างไปจากพนักงงานออฟฟิศ และไม่ควรล่วงหล่นจากการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน

101 พาไปสำรวจบริษัท แมริกอท จิวเวลรี่ โรงงานผลิตอัญมณีในนิคมอุตสาหกรรมย่านชานเมือง ทั้งในมุมของพนักงานว่าพวกเขาได้รับสวัสดิการอย่างไร โดยเฉพาะสวัสดิการที่ส่งเสริมการมีบุตร รวมถึงมุมมองในฝั่งโรงงานว่าอะไรคือแนวคิดเบื้องหลังในการจัดสวัสดิการให้กับพนักงาน

ปรับลักษณะงานให้เหมาะสมกับคุณแม่ตั้งครรภ์

สำหรับพี่ บริษัทก็ให้เราเพียงพออยู่แล้วออม-ณัฐนรี แก้วประกอบ เริ่มต้นประโยคหลังจากที่เราถามถึงสวัสดิการที่บริษัทมีให้กับพนักงาน ปัจจุบันออมมีอายุครรภ์ 8 เดือนเศษ อีกไม่นานเธอจะมีสมาชิกใหม่ของครอบครัว

ออมเป็นคนจังหวัดตรัง เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ อยู่กับสามี และมีลูกทั้งหมด 3 คน หากรวมทารกน้อยที่อยู่ในครรภ์ของเธอที่กำลังจะลืมตามาดูโลกในอีกไม่กี่สัปดาห์ด้วย ก็จะรวมเป็น 4 คน

บริษัทจะมีสวัสดิการให้พนักงานได้ลาคลอด 98 วัน โดยให้เงินเดือน 45 วัน ช่วงก่อนคลอดถ้าพนักงานต้องไปพบหมอตามที่หมอนัด ก็สามารถลาไปได้ออมเล่าให้ฟังถึงสวัสดิการของบริษัทที่มีให้กับคุณแม่ก่อนคลอด

อีกหนึ่งนโยบายที่บริษัทมีให้กับพนักงานหญิงก่อนคลอด คือการปรับเปลี่ยนลักษณะงานให้เหมาะสมกับผู้หญิงก่อนคลอด พนักงานที่ตั้งครรภ์ต้องแจ้งกับหัวหน้างานในหน่วยงานประจำของเรา เพราะว่าเราอยู่ทำงานอยู่กับสารเคมี ถ้าเราอยู่ในแผนกที่มีสารเคมีเจือปน เราต้องแจ้ง แล้วเขาก็จะแยกเราออกมาอีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นแผนกของคนท้อง นั่งทำงานในแผนกบิดห่วง เป็นแผนกที่ไม่มีสารเคมี

เมื่อย้อนถามถึงช่วงระหว่างที่เธอกำลังเลี้ยงลูกคนที่สามขณะที่ทำงานอยู่โรงงานนี้ เธอบอกกับเราว่า ตอนเลี้ยงลูกคนที่สาม บริษัทก็มีโครงการมุมให้นมแม่ โครงการนี้ช่วยประหยัดเงินได้เยอะเลย เพราะถ้าเราซื้อนมให้ลูกกิน จะหมดค่าใช้จ่ายตรงนี้เยอะเหมือนกัน ยิ่งทุกวันนี้เงินมันหายาก นมกล่องหนึ่งนี่ราคาพันกว่าบาท แต่ถ้าเราบีบนมให้ลูกเรากิน เดือนนึงมันก็ช่วยไปได้เยอะเลย

ออม-ณัฐนรี แก้วประกอบ

ถ้าลูกไม่ได้กินนมจากเต้าเราจริงๆ เงินไม่พอหรอก เพราะรายจ่ายแต่ละอย่าง ค่าบ้าน ค่ารถ ที่เราต้องผ่อน ไหนจะค่าน้ำค่าไฟ ค่าผ้าอ้อม และจิปาถะอีก ถ้าได้นมแม่ก็จะประหยัดตรงนี้ไป แล้วรายจ่ายทั้งหมด ลำพังตัวเราคนเดียวมันไม่พอ แต่ยังมีของแฟนเราที่มาช่วยเสริม ก็เลยพอช่วยได้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินคือสิ่งจำเป็นของในการสร้างครอบครัวและมีลูก หลายคนบอกว่า “ยังไม่มีลูกหรอก ขอเวลาให้พร้อมก่อน มีลูกต้องใช้เงินเยอะ” คำถามที่ตามมาคือต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะพร้อม เราคุยกันในครอบครัว ปรึกษากันว่าถ้าเรามีอีกคนหนึ่งเราไหวไหม ถ้าเราไหวก็โอเค มีได้

ก่อนจากกันเราแยบถามเธอว่า ถ้าหากไม่มีสวัสดิการเหล่านี้เข้ามาช่วยเธอ เธอจะเป็นอย่างไร เธอตอบด้วยเสียงหัวเราะว่า ตายอย่างเดียว

ลดรายจ่ายครอบครัวลูกอ่อนด้วยห้องให้นมบุตร

มุก-มุกดา วัจนา และ เรืองบุญเรือง เคนดา เป็นคู่สมภรรยา ทำงานอยู่ที่แมริกอท จิวเวลรี่ ด้วยกัน มุกดาเพิ่งกลับมาทำงานได้ไม่นานมานี้เพราะเธอลาคลอดลูกชายคนสุดท้องเมื่อ 3 เดือนก่อน ในฐานะแม่ลูกอ่อน เธอบอกว่า เรากลัวว่าเรามีลูกแล้วเราจะไม่ไหว ไหนจะค่าเลี้ยงลูก ค่านมลูก ค่านู่นค่านี่ เงินเดือนเราน้อย กลัวไม่พอ” 

เราก็ช่วยกันตัดสินใจ เพราะอายุก็เยอะแล้ว เรืองเขาอยากมีลูกอยู่แล้ว เดี๋ยวค่อยสู้หาเงินไปด้วยกันเธอเล่าพร้อมหันหน้าไปยิ้มให้เรืองที่นั่งอยู่ข้างๆ

เรืองเสริมว่า อยากมีลูกอยู่แล้ว ถ้ามีแล้วเราก็ต้องสู้ เราเห็นพ้องกันว่าเราอยากมีลูก เราก็เลยปล่อยให้มี

เรือง-บุญเรือง เคนดา และ มุก-มุกดา วัจนา

รายได้มันก็ไม่พอเป็นบางช่วง เราอยู่อย่างนี้ก็ต้องเช่าบ้าน มีค่ารถ ค่าอยู่กิน ค่าใช้จ่ายของลูกอีก แล้วถ้าไม่ได้นมแม่ ก็ต้องไปซื้อนมกิน ก็คงจะหนักมากขึ้นไปอีก เพื่อนบางคนบอกว่าแค่ค่านมอย่างเดียวเดือนนึงก็ 4,000 – 5,000 บาท ยังไม่รวมผ้าอ้อม ตีไปเดือนละ 1,000 บาท มุกอธิบายเพิ่มเติม

โรงงานอื่นรอบๆ เขาไม่มี ถ้าเราลาไป 3 เดือน กลับมาทำงาน ลูกก็อาจไม่ได้กินนมแล้ว เพราะบางโรงงานเขาไม่มีห้องให้นมลูก น้อยมากเลยเท่าที่เห็น มันดีตรงที่ว่าเราสามารถลดค่าใช้จ่ายได้เยอะมาก หลังคลอดเขาก็มี gift card ให้ เป็นเงินช่วยให้เราไปซื้อของใช้สำหรับลูกเราได้ด้วย

หลายโรงงานที่ผมเคยอยู่มา ผมไม่เคยเห็น ไม่เคยมีมุมนมแม่ ไม่เคยแยกห้องทำงานคนท้องเรืองพูดในมุมมองของคนที่มีประสบการณ์และผ่านมาหลายโรงงาน

“เรื่องหนึ่งที่โรงงานช่วยสนับสนุนพนักงานได้ คือเรื่องรายรับ โรงงานเราเปิดให้พนักงานมาขายของตอนระหว่างก่อนเข้างานกับพักเที่ยงได้ เราก็เอาของมาขายตลาดนัดโรงงาน มีวันจันทร์ พุธ ศุกร์ ที่ตลาดนัดก็จะมีขายกับข้าว ขายของกิน อยากขายอะไรเขาก็ให้ขาย จะขายตอนเข้าก่อนเข้างาน 8.00 น. แล้วก็พักกินข้าวช่วง 12.00 น. ก็ขาย ถ้าเราไม่มีโอทีเราก็หารายได้เสริมแบบนี้”

แม้ว่าสวัสดิการที่ให้แก่พนักงานที่มุกดาและบุญเรืองได้รับ จะช่วยลดรายจ่ายของพวกเขาไปได้เยอะเมื่อเทียบกับโรงงานอื่นในละแวกที่พวกเขารู้จัก แต่ยังมีนโยบายและสวัสดิการบางอย่างที่พวกเขามองว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวลูกอ่อน

ที่จำเป็นก็คือผ้าอ้อมนี่แหละค่ะ มันมีสองมุมเนอะ บางคนที่อยู่ต่างจังหวัด เขาก็บอกว่าไม่ใช้ก็ได้ แต่ถ้าเราอยู่กรุงเทพฯ ไปจ้างเขาเลี้ยงเด็ก เขาจะมาซักผ้าให้เราเหรอ ไม่ซักหรอก เพราะฉะนั้นก็ต้องใส่แล้วทิ้ง ล้างก้นให้น้องแล้วก็จบ ถ้าบริษัทช่วยสนับสนุนส่วนนี้ให้ก็ดี

พนักงานคือทรัพยากรที่มีค่าขององค์กร

ย้อนไป 30 ปีที่แล้ว นโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการการมีบุตรก็ไม่เหมือนกับปัจจุบันนี้ อย่างมุมนมแม่ เราก็เพิ่งมีเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ประมาณปี 2550 ตอนนั้นเราเริ่มตั้งนโยบายมุมนมแม่ ในช่วงแรก มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย เข้ามาช่วยเราเยอะ เพราะว่าเราไม่มีความรู้ ไม่รู้ว่าแนวทางมันควรจะเป็นยังไง เรามีห้อง เรามีอุปกรณ์ แต่ไม่มีความรู้ ก็ต้องให้มูลนิธิฯ เข้ามาช่วยตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันนี้ แล้วเราก็ให้พยาบาลของเราเป็นคนถ่ายทอดให้กับพนักงาน ตั้งแต่เขาเริ่มตั้งครรภ์

กรรณิกา เซ็นมุกดา รองผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บริษัทแมริกอท จิวเวลรี่ เล่าให้ฟังถึงที่มาของนโยบายการตั้งห้องให้นมของบริษัท ที่เป็นหนึ่งในนโยบายที่พนักงานชื่นชอบมากที่สุด

การจัดตั้งมุมนมแม่ไม่ได้เป็นอะไรที่เพิ่มภาระให้กับทางบริษัท มุมนมแม่เป็นมุมเล็กๆ ตรงไหนก็ได้ แต่สาเหตุที่เราพัฒนามาอย่างในปัจจุบัน เพราะมีพนักงานที่ใช้บริการเยอะ แค่มุมเล็กๆ เริ่มไม่เพียงพอ ตอนแรกเราเริ่มต้นจากเป็นแค่มุมเล็กๆ ในห้องพยาบาล อุปกรณ์ต่างๆ มีครบหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโซฟาที่นั่งบีบนม ตู้เย็น เมื่อเริ่มมีคนมาใช้ ก็มีการประชาสัมพันธ์ไปเรื่อยๆ พนักงานเริ่มเห็นคุณค่าว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์ยังไงบ้างกับลูกของเขา

กรรณิกา เซ็นมุกดา รองผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บริษัทแมริกอท จิวเวลรี่

พนักงานหลายคนหลังจากลาคลอดครบตามกำหนดและกลับเข้ามาทำงานตามปกติอีกครั้ง ได้ฝากลูกให้ญาติที่ต่างจังหวัดเลี้ยง ปัญหาที่ตามมาคือลูกอาจไม่ได้ดื่มนมแม่อีกต่อไป ทำให้บริษัทมีนโยบายเพื่อแก้ปัญหานี้

ปัจจุบันเรามีการส่งเจ้าหน้าที่หรือพยาบาลไปเยี่ยมคุณแม่หลังคลอด ไปเยี่ยมที่บ้านเพื่อจะได้รู้ว่าเขามีปัญหาในการเลี้ยงลูกมั้ย บางเรื่องเขาอาจยังไม่เข้าใจเพราะมีลูกคนแรก เกิดปัญหาแล้วไม่รู้จะแก้ปัญหายังไง

การส่งนมแม่ไปต่างจังหวัดเริ่มตั้งแต่ที่มีมุมนมแม่ใหม่ๆ มีพนักงานที่ต้องการให้ลูกกินนมแม่มากกว่า เขาเลยปรึกษาพยาบาลว่าขอบีบนมแล้วส่งกลับไปบ้านได้ไหม พยาบาลก็เห็นด้วย แล้วก็สอนวิธีการว่าเวลาจะส่งไปต่างจังหวัด วิธีการแพ็คต้องทำอย่างไร แล้วนำไปส่งให้ที่ บขส. ฝากรถไป ซึ่งปัจจุบันทางภาครัฐมีส่วนเข้ามาช่วยสนับสนุนในเรื่องของการขนส่งนมแม่ไปในต่างจังหวัดได้ฟรี”

แม้บริษัทแมริกอตจะมีสวัสดิการเพื่อส่งเสริมการมีบุตรมากกว่าหลายโรงงานโดยเปรียบเทียบ แต่ก็มีสวัสดิการเพื่อส่งเสริมการมีบุตรหลายประการที่อาจต้องพิจารณาเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิคุณแม่ลาได้ 6 เดือน หรือการให้สิทธิพนักงานชายสามารถลาเพื่อเลี้ยงลูกได้

ในส่วนของสวัสดิการด้านอื่นๆ ในภาพรวม กรรณิกาให้มุมมองว่า นโยบายของบริษัทนั้นให้ความใส่ใจกับพนักงาน เพราะมองว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่มีค่าขององค์กร ฉะนั้นเรื่องต่างๆ ก็ควรจะตอบแทนพวกเขา เพื่อให้เขาได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความรู้สึกที่ดี มีทัศนคติที่ดี สุดท้ายสวัสดิการที่เขาได้เพิ่มไปก็มีผลต่อบริษัท ผลผลิตของบริษัทเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพของงานเพิ่มขึ้น อัตราการหยุดงานลดลง ข้อผิดพลาดในการทำงานก็ลดลง ที่สำคัญคือพนักงานมีความสุขกับการทำงาน มีความผูกพันกับองค์กร มีทัศนคติที่ดีต่อผู้บริหาร ต่อบริษัท และพนักงานด้วยกัน มันเป็นความรู้สึกที่ว่าอยากให้เขาอยู่กับเราไปนานๆ 

ทางบริษัทเรายังไม่มีสวัสดิการที่ผู้ชายสามารถลางานได้ เรื่องการลาคลอด 6 เดือน ต้องพิจารณาอีกที ถ้าลา 6 เดือนก็อาจจะเยอะเกินไป เพราะว่างานของเราต้องการกำลังคน แต่ถ้าได้ลาขนาดนั้นก็คงต้องพิจารณากันอีกครั้ง พนักงานของเราเป็นผู้หญิงกว่า 90 % งานจิวเวลรี่เป็นงานที่ต้องการความละเอียด ถ้าลากันขนาดนั้นก็อาจกระทบถึงการผลิตได้เหมือนกัน  แต่ในอนาคตอีก 10 ปี 20 ปี ข้างหน้า ก็อาจเป็นไปได้ เอาจริงๆ เรื่องสวัสดิการตอนนี้ที่เรามี ก็ถือว่าเกินจากที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้วด้วย

ขณะที่หลายองค์กรกลับมาให้ความสำคัญกับความท้าทายในการพัฒนาสวัสดิการเพื่อการมีลูก ซึ่งแสดงผลลัพธ์ผ่านการพัฒนาสวัสดิการที่เพิ่มมากขึ้น เช่น พนักงานชายสามารถลางานเลี้ยงลูกได้ วันลาคลอดลูก 6 เดือนแต่ยังได้เงินเต็มจำนวน เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษาของลูก ฯลฯ

แมริกอท จิวเวลรี่ เป็นหนึ่งในโรงงานตัวอย่างที่มีการจัดสวัสดิการที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงานโดยเฉพาะพนักงานหญิงที่กำลังจะมีลูกและมีลูกเล็ก นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่สามารถเป็นต้นแบบให้กับองค์กรหรือสถานประกอบกิจการอื่นๆ ได้ศึกษาเป็นตัวอย่าง เพื่อประโยชน์ต่อพนักงานและองค์กร โดยสร้างและพัฒนาสวัสดิการ รวมถึงนโยบายใหม่ๆ ได้ในอนาคต

คำถามที่น่าคิดคือ เหตุใดเราถึงต้องรอให้สวัสดิการเหล่านี้เป็นเรื่องของ สิทธิพิเศษแค่เฉพาะบางบริษัทหรือองค์กร ทั้งที่นโยบายหรือสวัสดิการเหล่านี้ต่างสร้างประโยชน์ให้ทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้ประกอบการ และฝ่ายลูกจ้างเองด้วย เราจะทำอย่างไรเพื่อให้สวัสดิการเหล่านี้เป็น สิทธิขั้นพื้นฐานของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมและครอบคลุม

Happy Workplace Happy Family Marigot jewellery สวัสดิการเพื่อการมีบุตร พนักงานโรงงาน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก