เงินว่างงานเดือนแรกได้น้อย

อย่างไรก็ตาม มีผู้ประกันตนจำนวนมากเสียสิทธิ์นี้ เพราะความไม่รู้ ละเลยไม่ใส่ใจ หรือหลงลืม สำหรับผู้ที่พอมีเงินเก็บออมไว้บ้างอาจไม่ใช่เรื่องน่าห่วง แต่สำหรับผู้ที่ใช้จ่ายชนิดเดือนชนเดือนจนไร้เงินเก็บอาจต้องลำบาก วันนี้จึงขอชวนคุณมาทำความรู้จักกับการรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมกรณีว่างงานและการตรวจสอบเงินว่างงาน

อ่านเพิ่มเติม: โควิด-19 ทำตกงาน ว่างงาน ประกันสังคมจ่าย 50% นาน 6 เดือน

หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมในกรณีว่างงานนั้นจะมีสิทธิเมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย

 

สิทธิ์ที่จะได้รับประโยชน์ทดแทน

 

  • กรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตรา 50 % ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคิดคำนวณจากฐานเงินสมทบประกันสังคมขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบประกันสังคมสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานเดือนละ 5,000 บาท
  • กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา จะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตรา 30 % ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคิดคำนวณจากฐานเงินสมทบประกันสังคมขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบประกันสังคมสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานเดือนละ 3,000 บาท

กรณีว่างงานผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ โดยต้องยื่นสิทธิ์ภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิ์เกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิ์ย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิ์เกินวันที่จะได้รับสิทธิ์นั้นไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

สำหรับขั้นตอนและวิธีการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน เหตุเพราะถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างจะต้องกรอกแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานพร้อมด้วยหลักฐาน ได้แก่

 

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)

จากนั้นกรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานพร้อมแนบหลักฐาน ได้แก่ หนังสือรับรองการออกจากงานหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (ประเภทออมทรัพย์) ซึ่งระบุชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน หลังจากพิจารณาว่ามีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนแล้ว สำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิ์ให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตนเดือนละ 1 ครั้ง จนกระทั่งครบสิทธิ์

     ระบบดังกล่าวเป็นระบบที่ให้บริการแก่คนหางานที่เป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน ซึ่งคนหางานที่จะได้รับสิทธิผู้ประกันตนกรณีว่างงาน จะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน โดยระบบจะอำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนและรายงานตัวของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ให้สามารถขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งข้อมูลของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน จะได้รับการตรวจสอบข้อมูลจากกรมการปกครอง เพื่อยืนยันตัวบุคคลในการใช้บริการในระบบดังกล่าวผ่านอินเตอร์เน็ต และยังสามารถออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันในการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในการขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น

มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้

ต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี
   ทุจริตต่อหน้าที่
   กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
   จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
   ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง
   ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
   ประมาทเลินล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
   ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย

ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39


 
 สิทธิที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีถูกเลิกจ้าง
ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาทกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา 
ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาทเมื่อผู้ประกันตนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (ลาออก) สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยมิต้องเสียค่าใช้จ่าย (กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต)ประโยชน์ทดแทนทุกกรณีเมื่อมีสิทธิต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 1 ปี เว้นแต่ กรณีว่างงานผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

หมายเหตุ ในกรณียื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง หรือเหตุถูกเลิกจ้างและลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน 

 หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน  ขั้นตอนและวิธีการขอรับประโยชน์ทดแทน

ต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักจัดหางาน กรมการจัดหางาน

กรอกแบบฟอร์มใบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้
บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)

กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้
หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการออกจากงาน (สปส 6-09) หรือ หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี

เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการสัมภาษณ์/ตรวจสอบคุณสมบัติและประวัติการทำงาน

เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการเลือกตำแหน่งงานว่างให้เลือก 3 แห่ง ให้ผู้ประกันตนกรณีว่างงานได้พิจารณา

หากยังไม่มีงานที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานจะประสานงานส่งฝึกอบรมแรงงานตามความจำเป็น แต่หากผู้ประกันตนกลับเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือปฏิเสธงานหรือปฏิเสธการฝึกงานที่จัดหาให้และไม่ไปรายงานตัวตามที่กำหนด สำนักงานประกันสังคมจะงดจ่ายประโยชน์ทดแทนทันที

เจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกสถานะผู้ประกันตนกรณีว่างงานเข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง

เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมดึงข้อมูลผู้ประกันตนกรณีว่างงานขึ้นมาวินิจฉัยตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

เมื่อคุณสมบัติครบถ้วน สำนักงานประกันสังคมทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เดือนละ 1 ครั้ง

หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง


 

 สำหรับผู้ประกันตนต่างด้าว

ด้วยสำนักงานประกันสังคม ได้จัดทำแนวปฏิบัติการพิจารณาวินิจฉัยประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานสำหรับผู้ประกันตนต่างด้าว

  

 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขผู้ประกันตนต่างด้าวต้องมีการนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนการว่างงาน ไม่เป็นผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (อายุยังไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์) เป็นผู้ว่างงานเนื่องจากนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามสัญญาสิ้นสุดลง การพิจารณาคุณสมบัติของผู้ประกันตนต่างด้าวตรวจสอบหลักฐานและข้อเท็จจริงการได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เช่น หลักฐานที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย (Visa) วันสิ้นสุดของใบอนุญาตการทำงานหลักฐานใบแจ้งยกเลิกการอนุญาตทำงาน ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานรรับรอง ฯลฯ หากพบว่าผู้ประกันตนไม่ได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย ให้พิจารณาปฏิเสธการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานตั้งแต่วันที่หลักฐานการได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย (Visa) สิ้นสุดลงกรณีที่ได้รับแจ้งจากสำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่/สำนักงานจัดหางานจังหวัด/สาขา ว่าผู้ประกันตนต่างด้าวปฏฺิเสธการทำงานให้พิจารณาปฏิเสธการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานตั้งแต่วันที่นายจ้างแสดงความประสงค์ว่าจ้างให้ผู้ประกันตนต่างด้าวทำงานกรณีผู้ประกันตนต่างด้าวได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ครบถ้วนแล้ว และมีสิทธิได้รรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานแต่ได้เดินทางออกจากประเทศไทย ให้ถือว่าผู้ประกันตนต่างด้าวมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนนั้น ส่วนการสั่งจ่ายเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานให้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของสำนักงานประกันสังคม หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน

หลักฐานการได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย (Visa)

หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน (ถ้ามี)

สำเนาใบแจ้งยกเลิกการอนุญาตทำงาน ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานรับรอง

สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ ซึ่งมีชื่อและเลขบัญชีของผู้ยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ผ่าน 9 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

ยื่นได้ที่กรมการจัดหางานของรัฐที่ไหนก็ได้ที่สะดวก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรสายด่วน 1694 ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น.

เงินคนว่างงานได้เท่าไรต่อเดือน

จะได้รับเงินว่างงาน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลา ไม่เกิน 90 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน 📞 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ทำไมได้เงินว่างงานแต่ละเดือนไม่เท่ากัน

คำตอบ : เงินชดเชยกรณีว่างงานตัดจ่าย แต่ละงวดไม่เท่ากันนั้น จะขึ้นอยู่กับจำนวนวันในรอบ การนัดรายงานตัวของผู้ประกันตน โดยจะจ่ายให้ครบตามสาเหตุที่แจ้งออกของผู้ประกันตน – กรณีลาออก ได้เงิน ชดเชย 90 วัน อัตราร้อยละ 30% – กรณีเลิกจ้าง ได้เงินชดเชย 180 วัน อัตราร้อยละ 50% ตัวอย่างเช่น เริ่มจ่าย สิ้นสุด ให้ตั้ง รายงานตัว ...

ว่างงานได้กี่เปอร์เซ็นต์ 2565

1. กรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินว่างงานในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน จากเดิม กรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วันใน 1 ปีปฏิทิน

ลาออกจากงานประกันสังคมอยู่ได้กี่เดือน

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม แนะว่า หากผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ต้องการรักษาสิทธิประโยชน์ประกันสังคมให้คุ้มครองต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงาน สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยจ่ายเงินสมทบเพียงเดือนละ 432 บาท และยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เหมือนลูกจ้างผู้ประกันตน มาตรา 33 ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก