การเรียน รู้ ทักษะใหม่ new skills

หลายคนเห็นความสำคัญของการ "Reskill" และ "Upskill" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของ New Normal ยุคสมัยที่มีความเปลี่ยนแปลงรอบตัวอย่างรวดเร็ว เกิดความปกติใหม่ทั้งในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ดังนั้นทักษะอะไรบ้างที่เราจำเป็นต้องมี เพื่อให้สามารถเอาตัวรอด ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ และแน่นอนว่าทักษะต่างๆ ที่จำเป็นนั้น ไม่ได้มีการกำหนดตายตัวไว้ให้เหมาะสมกับทุกๆ คน คอร์สเรียนนี้จึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการวิเคราะห์ปัจจัย ต้นทุนเดิมทั้งภายในตัวเราเองและภายนอก เพื่อให้สามารถคัดเลือกทักษะที่มีความจำเป็น มีช่องว่างสำหรับการพัฒนา เพื่อให้เราได้เป็นเจ้าของกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อพัฒนาตนเองอย่างได้ผล

เนื้อหาหลักภายในคอร์ส
- อะไรคือ New Skills ที่ต้องมี?
- 8 Job Skills To Succeed In A Post- Coronavirus World
- 5 Essential Skills To Expand Your Job Prospects After Coronavirus
- ทักษะของมนุษย์เพื่อทำงานร่วมกับ A.I.
- การวิเคราะห์ Human Performance Improvement (HPI)

คอร์สเรียนนี้เหมาะสำหรับ
- ผู้บริหาร หัวหน้าทีม ผู้ฝึกอบรม พนักงาน และบุคคลทั่วไปที่ต้องการพัฒนาตนเองอย่างเหมาะสมในยุค New Normal

บทความนี้เป็นบทความสรุปจากคุณ Danny Forest ในบทความชื่อว่า Learn New Skills in 15 Hours: The Essential Guide

เป้าหมายของบทความนี้คือเราจะต้องวิเคราะห์ทักษะย่อยจากทักษะที่ต้องการจะเรียนรู้ได้ สามารถลองคิดเองก่อนหรือคิดหลังจากอ่านบทความนี้จบก็ได้เช่นกัน

7 เหตุผลสำหรับการเรียนรู้ทักษะใหม่

สำหรับการเรียนรู้ผู้เขียนเองจะใช้วิธีที่เรียกว่า SkillUp Method เพื่อเรียนรู้ 3 ทักษะใหม่ในแต่ละเดือน โดยใช้เวลาเพียง 30 นาทีต่อวันซึ่งจะอธิบายวิธีการใช้งานอีกทีท้ายบทความ ในหัวข้อนี้จะเล่าถึงสาเหตุที่กระตุ้นเราให้เกิดการเรียนรู้ มี 7 ข้อด้วยกันดังต่อไปนี้

  1. เรียนรู้เพราะว่ามีประโยชน์
  2. เรียนรู้เพราะว่าสนุก

2 เหตุผลนี้เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่กระตุ้นเรียนเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ผู้เขียนใช้วิธีการแบบ SkillUp Method ทำให้เรียนรู้ได้ดีในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งผลลัพธ์ของการเรียนรู้ที่ได้จะคล้ายกับกับกฎ 5 ชั่วโมงของคุณ Michael Simmons ที่ไม่ได้ต่างกับ SkillUp method มากเท่าไหร่

3. เรียนรู้เพราะว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ

เหตุผลข้อนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างบังเอิญ แต่ความรู้ที่ได้กลับมานั้นดีเหมือนเหตุผลข้ออื่นๆ ยิ่งเราเรียนรู้หลากหลายทักษะมากเท่าไหร่ สิ่งเหล่านั้นจะทำให้เราเรียนรู้สิ่งอื่นๆได้ดีมากขึ้นเท่านั้น

หลังจากที่ผู้เขียนลาออกจากอาชีพ Software Engineer ผู้เขียนได้เจอเพื่อนใหม่ๆหลายวงการ จากการใช้ทักษะอาชีพของเขาไม่ว่าจะเป็นผู้คนจากด้าน eCommerce, video editing, photography, drawing/art, Spanish conversations, music compistion, web development, และอีกหลายๆทักษะ

14 เดือนก่อนเขียนบทความนี้ ผู้เขียนเคยเป็นวิศวกรและนักพัฒนาเกมที่เป็นคนขี้อายและชอบเก็บตัว แต่วันนี้ไม่ได้เป็นอย่างนั้นแล้ว…

ถ้าจะถามว่าการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นเป็นเรื่องที่แย่ไหม ผู้เขียนจะรีบตอบกลับมาทันทีว่า “ทำไมเราถึงไม่อยากสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น?”

4. การเรียนรู้ทำให้เรียนรู้ได้ไวขึ้น

อีกสิ่งที่หนึ่งที่น่าแปลกใจสำหรับผู้เขียนเองก็คือ ยิ่งเรียนมากเท่าไหร่ การเรียนรู้จะทำได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น ยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงของผู้เขียนซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส เมื่อเขารู้จักภาษาโรมานซ์ (Romance Language) ภาษาอื่นๆก็จะเรียนได้ง่ายมากขึ้น เช่นภาษาสเปน ชาวฝรั่งเศสจะเรียนรู้ภาษาสเปน (Spanish Language) ได้ง่ายมากกว่าภาษาอังกฤษ (English Language) เพราะว่าภาษาโรมานซ์กับสเปนมาจากรากศัพท์เดียวกันนั่นคือภาษาละติน (Latin)

5. การเรียนรู้ทำให้เรามีแรงขับเคลื่อน

เมื่อเราพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องจะทำให้เรามีความก้าวหน้า และความก้าวหน้านั้นจะทำให้เรารู้สึกดี

ยิ่งเรามีความสำเร็จมากเท่าไหร่สารโดพามีนจะหลั่งออกมามากขึ้นเท่านั้น โดพามีนคือปัจจัยทำให้เราพึงพอใจในชีวิต ถ้าเราพอใจในชีวิตมากเท่าไหร่แรงขับเคลื่อนก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น (โดพามีนคือสารที่ทำให้มีความสุขภายในสมอง: อ่านเพิ่มเติม)

5. การเรียนรู้ทำให้เรามีพลัง

สาเหตุที่ทำให้เราอยากทำอะไรต่างๆมากมายมาจากชอบส่วนตัวของตัวเอง

การพัฒนาฝีมือเป็นสิ่งที่สนุก อย่างตัวผู้เขียนไม่เคยคิดว่าจะชอบการเต้นแบบ Salsa (การเต้นเพื่อความเพลิดเพลินเพื่อพบปะผู้คน) เพราะว่าการเรียนรู้ในช่วงเช้าทำให้เรามีพลังในการเรียนรู้มาก

อีกกรณีนึง ถ้าเราได้เรียนรู้ทักษะที่ไม่มีความจำเป็น เราต้องค้นหาความสนุกจากมันให้ได้ และถ้าเราไม่สามารถหาความสนุกได้ ให้คิดถึงสิ่งที่เราจะได้หลังจากเรียนรู้สิ่งนั้น

7. การเรียนรู้ทำให้เราเติบโตมากขึ้น

“The future belongs to those who learn more skills and combine them in creative ways.” — Robert Greene, Mastery

ประโยคข้างต้นอธิบายได้ว่า “อนาคตของเราขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราเรียนรู้และการใช้งานสิ่งเหล่านั้น”

ผู้เขียนชอบประโยคคำคมข้างต้นมากเพราะว่ามันเป็นเรื่องจริง ส่วนตัวผู้เขียนเองได้รับโอกาสมากมายตั้งแต่ได้เป็นพหูสูต (Polymath) ยิ่งเรามีตัวเลือกมากเท่าไหร่ เราจะยิ่งทำสิ่งเหล่านั้นได้มากขึ้นเท่านั้น

ตอนนี้ผู้เขียนเองสามารถทำงานที่ไหนเมื่อไหร่อย่างไรก็ได้

เตือนไว้สิ่งหนึ่งว่าการเติบโตขึ้นไม่ได้มาจากการมีความอิสระเท่านั้น เพราะว่าแต่ละคนนิยามการเติบโตไว้ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะหมายถึงการมีสุขภาพชีวิตที่ดี, การเงินที่ดี, ความรักที่ดี, หรือแม้กระทั่งความสุขที่ดี

4 ขั้นตอนเรียนรู้สิ่งใหม่ภายใน 20 ชั่วโมง

ผู้คนส่วนมากคิดว่าการเรียนรู้จะเป็นแบบกราฟข้างล่างนี้

หรืออาจจะเป็นแบบนี้

จากกราฟแรกนั้นเป็นเรื่องที่ผิดถนัดเลย ส่วนกราฟที่สองเป็นไปได้บ้างแต่ก็ยังผิดอยู่ดีเพราะว่าความจริงแล้วกราฟจะเป็นแบบข้างล่างนี้

ผู้คนส่วนมากจะอยู่ในบริเวณช่วงต้นของเส้นกราฟ (เรียกว่า Plateaus) เพราะเป็นบริเวณที่ขีดจำกัดของการเรียนรู้ถูกหยุดมากที่สุด

ความจริงมีอยู่ว่า ขีดจำกัดของเราขึ้นอยู่กับความคิดของเรา เราสามารถทำได้มากกว่าสิ่งที่เราคิด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยก็คือการแข่งกีฬาหรือกีฑา บางคนทำสถิติที่ดีที่สุดได้แล้ว ก็จะมีอีกหลายๆคนพยายามทำลายขีดจำกัดของคนๆนั้นเสมอรวมถึงของตัวเองด้วย

ในอดีตมีหลายๆคนคิดว่า การวิ่ง 1 ไมล์ภายใน 4 นาทีเป็นไปได้ แต่ Roger Bannister ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นไปได้ และหลังจากนั้นไม่นานมีอีกมากกว่า 26 นักวิ่ง ที่วิ่งได้เหมือน Roger

1. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

Photo by Tachina Lee on Unsplash

เมื่อตอนเด็กๆในโรงเรียนจะป้อนความรู้ที่จัดระเบียบ Roadmap ให้เรามาเรียบร้อยพร้อมใช้งาน แต่ในโลกของความจริงเรามักจะค้นหาความรู้ในอินเตอร์เน็ต ซึ่งจริงบ้างไม่จริงบ้าง แต่ถึงอย่างนั้น นั่นก็ยังไม่ใช่วิธีการเรียนที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนรู้ เพราะว่า วิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสำหรับทุกคน

วิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการใช้ทักษะที่เรามีมาช่วยขยายการเรียนรู้ของเรา ซึ่งสามารถทำได้ง่ายโดยใช้ SkillUp Trees ซึ่งจะอธิบายไว้ในหัวต่อไป

ก่อนที่เราจะไปข้อต่อไปนั้น เราต้องมาวางแผนสำหรับการเรียนรู้กันก่อนและลองตั้งคำถามกับตัวเองต่อไปนี้

  • จุดประสงค์การเรียนรู้สิ่งนี้คืออะไร?
  • เราสามารถแบ่งทักษะนี้ออกเป็นทักษะย่อยได้หรือเปล่า?
  • เราจะหาแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ได้จากที่ไหนได้บ้าง?
  • เราจะประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีไหน?
  • เราจะมุ่งมั่นเรียนรู้อย่างตั้งใจได้ยังไร?

ผู้เขียนได้แนะนำว่านอกจากคำถามข้างต้นแล้ว ให้เราลองตั้งคำถามกับตัวเองให้ได้มากที่สุด และปรับการเรียนรู้ให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับจุดแข็งและจุดอ่อนของทักษะของเรา พยายามนึกถึงสิ่งที่เป็นไปได้และลดขอบเขตเรียนรู้ลงเมื่อจำเป็น (ผู้แปล: การตั้งคำถามของเราควรจะวัดผลได้เสมออย่างเช่นการวัดผลแบบใช้ OKR อ่านต่อ)

2. สร้าง SkillUp Trees

Semi-complete SkillUp Tree of sub-skills I needed to learn to become good in Portrait Photography

ในบทความก่อนหน้าของผู้เขียน ได้พูดถึงเรื่องหัวใจสำคัญของ SkillUp Tree ซึ่งเป็นพลังที่สำคัญในการขับเคลื่อนทักษะปัจจุบันของเราให้ไปได้ไกลขึ้น

และเพื่อที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆภายใน 20 ชั่วโมง เราต้องรู้ความสามารถของเราและวิเคราะห์ว่าเราจะต้องรู้ว่าควรจะเรียนอะไรเพิ่ม เพราะว่า ภายใน 15 ชั่วโมงเราไม่สามารถถ่ายรูปแนว Portrait ได้แน่นอน ถ้าเราไม่เคยจับกล้องมาก่อน (ผู้แปล: การเขียนโปรแกรมเองก็เช่นกัน)

ผู้เขียนจะยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

  • การเดิน: เริ่มจากการนั่ง — ยืนสองขา — ย้ายขาขณะยืน — ปรับสมดุลร่างกาย

หลังจากที่เราเดินได้แล้วนั้นเราสามารถเรียนรู้สิ่งต่อไปนี้ได้

  • การวิ่ง: เริ่มจากการเดิน —ปรับแขนขาให้สอดคล้องกัน — บังคับขา— ปรับสมดุลร่างกาย
  • การกระโดด: เริ่มจากการเดิน — เกร็งขา — บังคับขา — ปรับสมดุลร่างกาย
  • การปั่นจักรยาน: เริ่มจากการเดิน — นั่งบนจักรยาน — ถีบบันไดจักรยาน — ควบคุมล้อหน้า — บังคับแขนขาให้สอดคล้องกัน — ทรงตัว — เและอื่นๆ

ผู้เขียนทิ้งสรุปท้ายที่โดนใจมากๆเลยคือคำว่า “มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะวิ่งโดยที่ยังเดินไม่เป็น”

3. ประเมินผลการเรียนรู้

Photo by Corey Motta on Unsplash

เมื่อเรารู้สิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้และมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว ถึงเวลาที่จะต้องเรียนรู้อย่างจริงจัง ผู้เขียนเองไม่สามารถประเมินระดับความเครียดของการเรียนรู้แต่ละอย่างได้ เพราะว่า “ยิ่งเราเรียนรู้มากเท่าไหร่ การสร้างการเชื่อมต่อในสมองจะเกิดมากขึ้นเท่านั้น” ความเครียดของเราจะน้องลงเท่านั้น

There is no shortcut. To learn a new skill, you can’t avoid deliberate consistent practice. — ไม่มีทางลัดสำหรับการเรียนรู้เราต้องตั้งใจฝึกฝนเท่านั้น

วางแผนขั้นตอนที่ 1 ภายใน 1 อาทิตย์เพื่อทำให้เราวิเคราะห์การเรียนรู้อะไรคือสิ่งที่ถูกและอะไรคือสิ่งที่ผิด ปรับให้เข้ากับตัวเรา และประเมินผลลัพธ์จากการเรียนรู้อยู่เสมอ หรือจะใช้ SkillUp Journal ในการประเมินก็ได้

เมื่อเราทำอะไรครั้งแรกในชีวิต มักจะได้ผลลัพธ์ที่ไม่ค่อยดี เป็นเรื่องปกติ แต่ยิ่งเมื่อเราเรียนรู้จากความผิดพลาดมากเท่าไหร่จะทำให้เราเก่งขึ้นมากเท่านั้น อะไรที่ทำให้เราไม่ตายจะทำให้เราโต

อัปเดต SkillUp Tree อยู่เสมอเมื่อเราได้เรียนรู้สิ่งนั้นๆแล้ว เพื่อที่จะได้รู้ว่าเรากำลังเรียนถึงจุดไหนอย่างไรบ้าง

Whatever you do, don’t stop when it hurts. That’s when the learning truly happens. — เมื่อเราได้รับบทเรียนการเรียนรู้จะเกิดขึ้น

4. พัฒนาความจำ

ในหัวข้อนี้เราจะว่ากันด้วยเรื่องของความจำซึ่งเป็นสิ่งที่เราจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ของเรา

1. สร้างความจำระยะยาว

ในสมองของเราจำจะสร้างความจำออกเป็นสองประเภทได้แก่ ความจำระยะสั้นและความจำระยะยาว โดยความจำระยะสั้นจะทำงานอยู่ที่สมองกลีบหน้าผากของเรา (เรียกว่า pre-frontal lobe)

Source

ส่วนความจำระยะยาวนั้นจะถูกเก็บไว้ใน ฮิปโปแคมปัส (เรียกว่า Hippocampus)

Source

ทุกความจำในสมองจะเริ่มจากความจำระยะสั้นกลายมาเป็นความจำระยะยาวเหมือนรูปข้างล่างนี้

Source

ความจำระยะสั้นจะกลายมาเป็นความจำระยะยาวก็ต่อเมื่อ “จำได้” หรือ “ระลึกได้” (Recollection) ยิ่งเราจำได้มากเท่าไหร่ข้อมูลเหล่านั้นจะเก็บไว้ในฮิปโปแคมปัสมากขึ้น ทำให้เกิดการสร้างความจำระยะยาว

ถึงแม้ว่าสมองจะสร้างความจำระยะยาวได้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีโอกาสอีกเล็กน้อยที่ความจำระยะยาวจะเกิดการสูญหายได้ (เราจะลงลึกอีกทีในข้อ 7)

Paper: Reconsolidation of Human Memory: Brain Mechanisms and Clinical Relevance

ข้อมูลหาใหม่จากผู้แปล: Consolidation คือการรวบรวมความจำเมื่อเราได้สร้างข้อมูลขึ้นมาจากนั้นจะถูกเก็บไว้ในฮิปโปแคมปัส เมื่อเกิดการ Reactivation/Retrieval รื้อฟื้นความจำขึ้นมาจะมีโอกาสที่จะเกิดการ Reconsolidation เปลี่ยนแปลงและสร้างความจำใหม่บางส่วน ยกตัวอย่างเช่นเมื่อในวัยเด็กเราเคยปั่นจักรยานเป็น จากนั้นโตมาไม่ได้ปั่นจักรยานอีกเลย แต่ก็ยังสามารถปั่นจักรยานได้เพราะว่าเรามีความจำระยะยาวอยู่ทำให้เกิดการ Reconsolidation และ Reactivation ทันที

2. สร้างเทคนิคการจดจำ

รูปภาพด้านล่างเป็นสุดยอด 7 เทคนิคการสร้างการจดจำ

ข้อมูลเพิ่มเติม:

  • TinyCard app
  • How to build a memory palace

3. ฝึกการจดบันทึก

ข้อนี้อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากสำหรับใครหลายๆคน แต่ถ้าทำข้อนี้ได้ขึ้นมาผลลัพธ์จะช่วยให้เราสร้างความจำได้ดีขึ้น

การจดบันทึกเป็นเทคนิคง่ายๆที่ทุกคนรู้จักกันดีแต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ อย่างเช่นการจดระหว่างอ่านหนังสือหรือดูวิดีโอ ถึงอย่างนั้นการจดบันทึกในฉบบับผู้เขียนเองไม่ได้สื่อความหมายว่าคือการขีดเขียนไฮไลท์ เพราะว่าการขีดไฮไลท์ตัวหนังสือจะส่งผลลบกับการเรียนรู้ของเรา (อ่านเพิ่มเติม Dr. Barbaba Oakleyz) โดยให้เหตุผลว่าการจดบันทึกจะทำให้เราจำได้มากกว่าการไฮไลท์ เพราะว่าเมื่อเราพยายามตั้งใจจดบันทึก สมองของเราจะสร้างความจำโดยที่เราไม่ได้รู้สึกตัวว่ากำลังพยายามจำอยู่

ฉะนั้นถ้าอยากสร้างความจำในช่วงเวลาสั้นๆให้ได้นั้น เขียนและจดบันทึกจะทำให้เราจำสิ่งนั้นได้ดี

4. นึกถึงอยู่เสมอ

การนึกถึงสิ่งนั้นอยู่บ่อยๆ ทำให้เราสร้างความจำระยะยาวได้ดีที่สุด แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ว่า “เราควรจะทบทวนและนึกถึงสิ่งที่เราพยายามจะจำที่ไหนและเมื่อไหร่?”

ที่ไหน

ส่วนมากแล้วเราจะ “เรียนรู้” จากสภาพแวดล้อมที่เหมือนๆกันเช่นเรียนรู้ในห้องนั่งเล่นหรือในห้องเรียนซึ่งไม่ได้ทำให้เราจดจำได้มากเท่าไหร่เพราะว่า สมองของเราจะรื้อฟื้นความจำได้ก็ต่อเมื่อนึกถึงสภาพแวดล้อมที่เราได้เรียนมา ลองตอบคำถามนี้ก็ได้ “เราจำข้อสอบตอนนั่งสอบในห้องเรียนได้หรือเปล่า?”

ต้นเหตุที่เราจำไม่ได้เป็นเพราะว่าเราเรียนรู้มาจากที่ๆเดียว ผิดกับคนที่เรียนรู้สิ่งนั้นจากหลายๆที่ซึ่งจะจำได้ดีกว่า เรียนในห้องนอน เรียนในห้องนั่งเล่น เรียนในร้านกาแฟ เรียนในห้องเรียน เรียนในห้องสมุด เรียนพร้อมกับฟังเพลง เรียนในห้องอากาศเย็นๆหรือร้อนๆ เป็นต้น เหมือนกับการสอบที่ลองสอบใน “ห้องเรียน, ร้านกาแฟ, ห้องครัว, ห้องนอน”

ยิ่งเราเรียนรู้จากหลายๆสภาพแวดล้อม สมองของเราจะสร้างจุดเชื่อมต่อมากขึ้นซึ่งส่งผลดีกับการสร้างการจดจำในระยะยาวของเรา ถ้าเราฝึกการปีนผาที่โรงฝึกที่เดิมกับคนเดิมบ่อยๆ เราจะเก่งกว่าคนที่ฝึกหลายๆที่และแต่ละที่ฝึกกับอีกหลายๆคนได้ยังไง

ฉะนั้นแล้วถ้าเราเริ่มเรียนรู้อะไร พยายามเรียนรู้สิ่งๆนั้นจากหลายๆที่จะทำให้สมองเราสร้างการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

เมื่อไหร่

จากคำว่า “ที่ไหน” มาต่อกันด้วยคำว่า “เมื่อไหร่” โดยมีคำถามอยู่ว่า เราเคยพยายามจำเนื้อหาภายใน 2 ถึง 3 วันหรือเปล่า ทุกครั้งที่เราพยายามจะจำแต่ก็จำไม่ได้สักที

ผู้เขียนบอกว่า “ถูกต้องแล้ว เพราะสมองของเราไม่ได้ทำงานแบบนั้น”

มาอีกคำถาม เราเคยหรือเปล่าเมื่อก่อนที่จะสอบในห้องเรียน เราอ่านหนังสือจำได้ทุกตัวอักษรแต่หลังจากนั้นไม่กี่วันก็ลืมไปหมด

ผู้เขียนก็ยังยืนยันว่า “ถูกต้องแล้ว เพราะสมองของเราไม่ได้ทำงานแบบนั้น”

ในสองกรณีที่ได้ยกไปข้างต้นทำให้เรารู้ว่าเราไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยเพราะเกิดจากการทบทวนในช่วงเวลาที่ไม่ถูกวิธี

การเว้นช่วงการเรียนรู้ คือคำตอบของเรา สังเกตได้จากรูปภาพข้างล่างนี้

Source

ถ้าเราเคยใช้แอป Duolingo หรือ Memrise ในการเรียนภาษา ตัวแอปเองจะคำนวณผลลัพธ์การเรียนรู้มาให้เราทันทีซึ่งไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ แต่ถ้าเราเรียนคอร์ดกีต้าร์ตัวใหม่ และเรียนอีกทีหลังจาก 24 ชั่วโมง 7 วันต่อมา 1 เดือนต่อมา หรือ 1 ปีต่อมา “เราจะจำคอร์ดนั้นได้”

สมองของเราทำงานเหมือนกันในทุกๆการเรียนรู้ ฉะนั้นแล้วทุกๆการเรียนรู้ของเรา เราควรจะเขียนไว้ในปฏิทินว่า วันไหนที่ควรจะจำและวันไหนที่ควรจะลืม

5. ลืมให้หมด

จดแล้วต้องลืมให้ได้ การเรียนรู้ที่จะลืมเป็นสิ่งที่หนึ่งที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้ จะยกตัวอย่าง 2 เหตุผลว่าทำไมการลืมและการหยุดเรียนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์

อย่างแรกเลยก็คือในช่วงของการเรียนรู้ เราจะไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่เราได้รับเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดเพราะว่าเราเรียนรู้โดยการรวบรวมความรู้มาทั้งหมดโดยยังไม่กลั่นกรองอย่างเต็มที่ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการจำแนกข้อมูลเพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่เราเรียนรู้นั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจถูกหรือเป็นสิ่งใดเข้าใจผิด

อย่างที่สองคือการลืมจะช่วยเพื่อให้เรียนทักษะใหม่ได้ดีขึ้น

“Our work shows that an unstable memory is a key component of the mechanism for learning transfer. An unstable memory prevents learning from being rigidly linked to one task; instead, it allows learning to be applied flexibly.” — Professor Edwin Robertso

โดยสรุปแล้วการลืมบางสิ่งบางอย่างไปจะทำให้สมองของเรามีการเรียนรู้ได้หลากหลายมากขึ้น

6. นอนให้เพียงพอ

Photo by bruce mars on Unsplash

การเชื่อมต่อภายในสมองจะเกิดขึ้นภายในจิตใต้สำนึกของเราตลอดเวลาเมื่อเราไม่ได้กำลังเรียนรู้ ดังนั้นการวิ่ง การทำสมาธิ และการอาบน้ำจะทำให้เราดูดซึมข้อมูลและกลั่นกรองได้ดีขึ้น ส่วนการนอนหลับคือลัพธ์ที่ดีที่สุดที่จะทำให้เรากลั่นกรองข้อมูลได้ดีที่สุด

ในขณะที่เรากำลังนอนหลับ ร่างกายจะปฏิเสธสิ่งแปลกปลอมและดูดซึมอาหารที่เราทานก่อนที่จะนอนหลับ ถ้าเราอยากมีเรื่องไม่เข้าใจในตอนกลางวัน ลองทำความเข้าใจกับสิ่งนั้นก่อนเข้านอน จะทำให้เราเข้าใจได้ดีมากขึ้นในเช้าของวันต่อมา

ถ้าหากว่าเราต้องการจะเข้าใจสิ่งนั้นเลยทันที การงีบสักพักก็สามารถช่วยได้ ตัวอย่างเช่น Einstein, Dali, Edison และอีกหลายๆคนก็ใช้วิธีนี้ในการปิ๊งไอเดียบ่อยๆ

Source

อย่างไรก็ตามร่างกายและจิตใจที่ได้รับการพักผ่อนที่ดีนั้นเปิดกว้างต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ทำให้รู้สึกถึงข้อมูลที่มาจากสมองได้ง่ายขึ้น

7. ภาวะความยืดหยุ่นตัวของสมอง (Neuroplasticity)

Neuroplasticity หรือ Brain plasticity เป็นกระบวนการที่ระบบประสาทและเซลล์ประสาทของสมองของถูกเปลี่ยนแปลงเนื่องจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมพฤติกรรมและระบบประสาท

Neuroplasticity เป็นวิธีการที่สมองของปรับสมดุลเองอย่างมีประสิทธิภาพ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีคนทำให้สมองของเราเสียหาย, Neuroplasticity จะสั่งให้สมองกู้คืนข้อมูลทันทีหรือเพิ่มการทำงานของสมองด้วยการสร้างวงจรประสาทขึ้นมาใหม่และอนุญาตให้สมองส่วนที่ไม่ได้รับความเสียหายเข้ามาแทนที่ส่วนที่เสียหาย

Source

Source

Sourceเราควรตั้งเป้าหมายให้เก่งหรือไม่?

Drawing of Leonardo Da Vinci, arguably history’s greatest polymath: Photo Source.

Jack of all trades, master of none — รู้หลายอย่างแต่ไม่เก่งสักอย่าง (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม)

The jack of all trades myth

สำนวนที่แปลว่า การรอบรู้ทุกด้าน ไม่ใช่สิ่งที่เป็นได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้

ยิ่งเราเรียนรู้มากเท่าไหร่ จะทำให้เราเรียนรู้ได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น

เนื่องจากสิ่งที่เราเรียนรู้มาก่อนหน้า จะทำให้จิตใจของเราบอกกับสมองให้สร้างจุดเชื่อมต่อได้มากขึ้น อย่างเช่น การเรียนรู้การเล่นเปียโน กีตาร์ ไวโอลิน และทูบาในเวลาเดียวกันจะสามารถช่วยเพิ่มความเชี่ยวชาญทางด้านดนตรีได้

ที่กล่าวมาข้างต้นถึงแม้เราจะไม่ได้เก่งทุกอย่างแต่เราก็เก่งบางอย่าง แต่เราจะเรียนรู้ได้ไวและดีขึ้นถ้าหากเราเรียนทักษะคล้ายคลึงกันมากกว่าการเรียนตรงกันข้ามกัน

เราจะรู้ได้ยังไงว่าเรียนพอแล้ว เพื่อจะได้เรียนสิ่งใหม่ต่อไป?

Photo by Christophe Hautier on Unsplash

เป็นคำถามที่ดีมากจากสมาชิก SkillUp คุณ Joshua Galinato

อะไรคือจุดสมดุลระหว่างกำลังเรียนรู้กับเรียนรู้มากไป?

ในความจริงแล้วมันขึ้นอยู่กับความตั้งใจของแต่ละคนในการเรียนรู้ ถ้าเรียนรู้เพื่อทำเป็นอาชีพ เราไม่ควรที่จะหยุดเรียนรู้และต้องเรียนรู้สิ่งนั้นให้ดีที่สุด

แต่เมื่อเราต้องการเรียนรู้ทักษะใหม่ กำหนดให้ชัดเจน เรียนรู้ทักษะย่อยของทักษะนั้นหรือเรียนรู้ทักษะย่อยของทักษะย่อย เพราะวิธีการเดียวที่จะหยุดการเรียนรู้คือเมื่อเราเรียนรู้ทักษะย่อยของทักษะนั้นหมดแล้ว

ส่วนตัวผู้เขียนเองเรียนรู้จากทักษะย่อยให้แน่นให้มากที่สุด ด้วยการฝึกฝน 30 นาทีต่อวัน ด้วยการใช้วิธีการทำแบบ SkillUp แต่ก็อาจจะลองทำวันละ 5 ชั่วโมงก็ได้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน

การเรียนรู้แบบแบ่งทักษะย่อยทำให้เราเรียนรู้ได้ง่ายมากขึ้นเพราะว่าการมีพื้นฐานที่แน่นจะทำให้การต่อยอดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

3 ทางเลือกหลังจากเรียนรู้โดยใช้วิธี SkillUp Method

เรียนรู้สิ่งนั้นต่อไป, find a complementary skill, or learn something new.

1. เรียนรู้สิ่งนั้นต่อไป

เราสามารถพัฒนาตัวเองขึ้นได้จากการลงมือทำ เร่งการเรียนรู้ให้มากขึ้นเพื่อที่จะเป็นสุดยอดของศาสตร์นั้น ตัวอย่างเช่น Erik Harmre ที่ผลักตัวเองให้เรียนครบ 100 ชั่วโมง แล้วเก่งในแต่ละสิ่งที่เขาเรียนรู้มา

2. เรียนรู้ทักษะใกล้เคียง

เราสามารถเรียนรู้ทักษะใกล้เคียงกันได้โดยการเรียนรู้จากจุดเชื่อมต่อทักษะระหว่างทักษะ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้แกรมม่า คำศัพท์ หรือการเรียนรู้ Photoshop และ Machine Learning เป็นต้น

3. เรียนรู้ทักษะใหม่

เราควรจะฝึกทักษะย่อยให้ชำนาญ เพื่อที่จะเรียนได้หลากหลายที่สามารถใช้ได้ สมองจะเปิดโอกาสให้เรารับความรู้มากขึ้น เมื่อเราเรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างมากขึ้น

เราต้องทำให้ได้

หลายคนอ่านบทความ หนังสือ คอร์ส วิดีโอ Youtube มามากมายแต่ไม่ได้ลงมือทำ มีเพียง 7% ของคนเรียนรู้ในออนไลน์เท่านั้นที่จะเรียนจบ ซึ่งเป็นอะไรที่พลาดโอกาสอย่างมาก

กระบวนการเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ 7 ข้อข้างล่างต่อไปนี้

สมองของเราจะไม่สร้างจุดเชื่อมต่อกันถ้าหากไม่ได้มีการฝึกฝนหรือลงมือทำ ผู้เขียนแนะนำให้ Bookmark จดจำสิ่งนั้นไว้และทบทวนบ่อยๆ ถึงแม้ว่าเรามีอะไรต้องจำมากมายแต่ก็ไม่ควรจำในทีเดียว

วันนี้หรือสัปดาห์นี้ เขียนรายการทักษะที่อยากจะพัฒนาเรียนรู้ หาข้อมูลของแต่ละทักษะ สร้างแบบประเมินผลลัพธ์ที่วัดผลได้หลังจากจากการฝึกฝน 15 ชั่วโมง

สำหรับทักษะที่ซับซ้อนแล้ว ผู้เขียนเองบางทีใช้เวลาถึง 8 ชั่วโมงในการวางแผนการเรียนรู้ ส่วนคำว่า “รอบคอบ” บางครั้งไม่ได้ช่วยเราให้ทำได้ดีที่สุดเสมอไป แต่จำไว้ว่าสิ่งที่เราเรียนรู้ทั้งหมดจะดีสำหรับตัวเองเราเอง

สรุปบทความ

ด้วยระบบการเรียนที่ดี การเรียนรู้ทักษะใหม่จะไม่ยากอย่างที่คิด และการเรียนรู้ทักษะที่หลากหลายจะเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เราเรียนรู้ได้ไวขึ้น ถ้าเราเริ่มฝึกฝนการเรียนรู้ตอนนี้นอกจากจะพิสูจน์ตัวเองแล้วยังจะได้อะไรมากกว่านั้น

ขอบคุณสำหรับการอ่าน การแชร์ และการติดตามของทุกคน

ภาคผนวก A: ตัวอย่าง

วิดีโอข้างล่างนี้คือการเรียนรู้ของผู้เขียนเมื่อ 14 เดือนที่แล้ว โดยผู้เขียนใช้เวลาฝึกเพียง 18 ชั่วโมงในการเต้น Salsa