กฎหมาย การ นํา เข้าสินค้า จีน

" ส่งออกสินค้าไทยไปจีน " เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่ผู้ประกอบการไทยจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันกำลังให้ความสนใจ สิ่งสำคัญอันดับแรกคงไม่ใช่ว่าจะขายไปให้ใครหรือจะขายได้ปริมาณเท่าไร แต่ควรเป็นการสำรวจก่อนว่า ตัวเราได้ทำการบ้านเตรียมพร้อมสำหรับการส่งออกสินค้าไปจีนได้เพียงพอแล้วหรือยัง? 

        ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีนขอเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานสนับสนุนผู้ประกอบการไทยที่กำลังสนใจจะส่งออกสินค้าไปจีน ด้วยการถ่ายทอดข้อมูล "ปูพื้นฐานความพร้อม" ก่อนการส่งออกสินค้าไปยังจีนผ่านบทความ How to export to China ซึ่งครอบคลุมข้อมูลตั้งแต่การตรวจสอบกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของทั้งไทยและจีนรวมถึงการเตรียมพร้อมในตัวสินค้า เอกสารที่ต้องใช้ในการส่งออก และการติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก เป็นต้น

บทความในตอนแรกจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถสำรวจว่า สินค้าของตนมีความพร้อมสำหรับส่งออกไปจีนหรือไม่ โดยจะแนะนำข้อมูลกฎระเบียบของจีนเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศว่า สินค้าใดนำเข้าได้บ้าง มีข้อจำกัดอย่างไร ต้องมีมาตรฐานระดับไหน และมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะได้รับหรือไม่ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยแน่ใจว่าสินค้าที่ตนมีอยู่พร้อมที่จะส่งออกไปจีนได้โดยจะไม่ติดอุปสรรค ณ ปลายทาง ซึ่งมีรายละเอียดที่ควรพิจารณาแบ่งเป็น 3 ประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่ 1 : ตรวจสอบประเภทสินค้านำเข้าตามกฎระเบียบจีน

รัฐบาลจีนได้มีกฎระเบียบกำหนดประเภทสินค้าที่จะนำเข้ามายังจีน เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าและความมั่นคงของประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

2.    สินค้ามีโควต้าการนำเข้าหรือมีโควต้าภาษี

3.    สินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้า และ

o    อาวุธ กระสุนปืน ระเบิด

o    ต้นไม้ เมล็ดพันธ์ต้นอ่อน

o    เงินตราปลอม หลักทรัพย์ปลอม

o    ปุ๋ย สารปรุงแต่ง สารหรือยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการเพาะปลูก

o    สารกัมมันตรังสีหรือขยะอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม

o    เสื้อผ้าเก่าที่ใช้แล้ว ชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ที่ถูกใช้แล้ว ซากรถยนต์

o    สินค้าอาหารที่มีส่วนผสมของสีหรือสารปรุงแต่งอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขสั่งห้ามนำเข้า

o    ยาพิษที่ทำให้ถึงแก่ความตาย ยาเถื่อนที่ผิดกฏหมาย อาหารและยาหรือวัตถุอื่นใดที่นำมาพื้นที่ที่มีโรคระบาด

o    สิ่งพิมพ์ (ทั้งข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบดิจิทอล ฟิลม์ ภาพถ่าย) ที่เป็นอันตรายต่อสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม และศีลธรรมอันดีงามของจีน รวมถึงหนังสืออนาจาร

*** แหล่งข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานยุทธศาสตร์การพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ //otp.moc.go.th ***

หน่วยงาน National Development and Reform Commission (www.ndrc.gov.cn) จะร่วมกับกระทรวงพาณิชย์จีนในการกำหนดปริมาณการนำเข้าสินค้ารายปีจากต่างประเทศ และจะจัดสรรโควต้าดังกล่าวให้แก่ภาค เอกชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ของจีน เพื่อดำเนินการนำเข้าต่อไป ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจดังกล่าวจะเป็นผู้บริหารจัดการโควต้าที่ได้รับจากรัฐบาลจีน โดยอาจเป็นผู้นำเข้าเองหรือรับซื้อสินค้าจากภาคเอกชนรายย่อยอื่นๆ

สินค้าที่จีนจำกัดโควต้าการนำเข้าจะมีการอัพเดทรายการและปริมาณเป็นระยะๆ โดยสามารถดูรายชื่อสินค้าได้จากประกาศในเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานยุทธศาสตร์การพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ //otp.moc.go.th โดยรายการสินค้าที่จีนกำหนดโควต้านำเข้าจากไทยในปัจจุบัน ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว ฝ้าย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดเรพ (Rapeseed) น้ำมันปาล์ม น้ำตาล และขนแกะ (wool และ wool tops)

(1) ในกรณีที่ผู้ส่งออกไทยอยู่ระหว่างการติดต่อซื้อขายสินค้าที่มีโควต้ากับคู่ค้าจีน ควรสอบถามคู่ค้าดังกล่าวว่าได้รับสิทธิโควต้าการนำเข้าสินค้าตามที่กำหนดจากรัฐบาลจีนแล้วหรือไม่ หรือโควต้าการนำเข้าที่ได้รับอนุญาตยังมีปริมาณเหลืออยู่เพียงพอหรือไม่ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหา ณ ด่านปลายทางที่จีน

(2) National Development and Reform Commission และกระทรวงพาณิชย์จีนอาจพิจารณาอนุญาตให้ภาคเอกชนจีนสามารถนำเข้าสินค้าบางรายการเกินโควต้าที่กำหนดได้ โดยสินค้าดังกล่าวจะถูกกำหนดภาษีนำเข้าในอัตราที่ค่อนข้างสูง

3) สินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้า

ทางการจีนได้กำหนดให้นิติบุคคลจีนเท่านั้น (บริษัทที่จดทะเบียนในประเทศจีน) ที่จะสามารถยื่นเรื่องเพื่อขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้า 3 หมวดหลักที่ต้องขออนุญาตก่อนการนำเข้าจริง ซึ่งประกอบด้วย 1) ผักสดและผลไม้ 2) ยางพารา และ 3) สินค้าหมวดพิเศษอื่นๆ

ผู้นำเข้าต้องขอใบอนุญาตนำเข้าจากกระทรวงพาณิชย์จีน โดยปกติขั้นตอนการขออนุญาตจะใช้เวลาประมาณ 30 วันทำการ และใบอนุญาตมีอายุ 6 เดือน โดยหากต้องการนำเข้าอย่างต่อเนื่อง จำเป็นจะต้องยื่นขอใบอนุญาตใหม่ต่อไปเรื่อยๆ

** ผลไม้สด 22 ชนิดที่จีนอนุญาตให้นำเข้าจากไทยในปัจจุบัน ได้แก่ กล้วย ขนุน เงาะ ชมพู่ ทุเรียน น้อยหน่า ฝรั่ง มะขาม มะพร้าว มะเฟือง มะม่วง มะละกอ มังคุด ลองกอง ละมุด ลำไย ลิ้นจี่ ส้ม ส้มเขียวหวาน ส้มโอ สับปะรด เสาวรส

ใช้ระบบการอนุญาตการนำเข้าโดยอัตโนมัติ (Automatic Import Permit) ซึ่งมีเงื่อนไข ดังนี้

14.    ใช้สัญญาการซื้อขายและหลักฐานการจดทะเบียนของบริษัทผู้นำเข้าจีน เป็นเอกสารประกอบการขออนุญาตนำเข้าในแต่ละครั้ง

15.    ผู้นำเข้าในจีนต้องเป็นบริษัทที่รัฐบาลจีนกำหนด หรือเป็นบริษัท ร่วมทุนต่างชาติที่นำเข้ามาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตของบริษัท

16.    ผู้นำเข้ายางพาราในจีนต้องขอ Automatic Import Permit ก่อนการนำเข้าจริง (ระยะเวลาในการขออนุญาตประมาณ 10 วันทำการ)

17.    ใบอนุญาตอัตโนมัติสามารถใช้งานได้ไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ได้รับอนุมัติการนำเข้า

กระทรวงพาณิชย์จีน กรมศุลกากรจีน และสำนักงานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบและกักกันโรคแห่งประเทศจีน (AQSIQ) ได้กำหนดรายการสินค้าอื่นๆ ที่ต้องขอใบอนุญาตนำเข้าจากทั้ง 3 หน่วยงานก่อน โดยแบ่งเป็น 12 หมวดหลัก ได้แก่

20.    เครื่องจักรทางวิศวกรรม

21.    อุปกรณ์การยกเคลื่อนย้าย

23.    อุปกรณ์พลังงานไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

24.    อุปกรณ์บรรจุและแปรูปอาหาร

25.    เครื่องจักทางเกษตรกรรม

26.    เครื่องจักรการพิมพ์

** ข้อมูลเพิ่มเติมที่หมายเหตุ (2) **

(1) หากผู้ส่งออกไทยอยู่ระหว่างการติดต่อซื้อขายกับคู่ค้าจีน ควรสอบถามคู่ค้าดังกล่าวว่าได้รับใบอนุญาตนำเข้าสินค้ารายการที่กำหนดอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ เพื่อมิให้เกิดปัญหา ณ ด่านปลายทางที่จีน (แต่ละรายการสินค้าจะมีใบอนุญาตนำเข้าแยกกัน เช่น มีใบอนุญาตนำเข้ามะม่วง ก็สามารถนำเข้ามะม่วงได้อย่างเดียว ไม่สามารถนำเข้าทุเรียนได้ เป็นต้น)

(2) สินค้าหมวดพิเศษอื่นๆ จะประกาศใหม่ทุกๆ ปี ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์จีน เช่น รายการสินค้าหมวดพิเศษอื่นๆ ประจำปี 2556 สามารถดูได้ที่ //wms.mofcom.gov.cn/accessory/201212/1356596816159.xls (ข้อมูลเป็นภาษาจีน)

สินค้าที่อยู่นอกเหนือจาก 3 รายการแรกล้วนถูกจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าทั่วไป ซึ่งไม่มีข้อจำกัดด้านปริมาณและการขออนุญาตนำเข้า สามารถนำเข้ามาในจีนได้อย่างเสรีภายใต้กฎระเบียบการนำเข้าจีนตามประเภทของสินค้าที่รัฐบาลจีนได้กำหนดไว้ 

ประเด็นที่ 2 : ตรวจสอบกฎระเบียบด้านมาตรฐานสินค้านำเข้าของจีน

หลังจากตรวจสอบแล้วว่าสินค้าชนิดใดสามารถส่งออกไปจีนได้ ก่อนการส่งออกควรตรวจสอบกฎระเบียบการนำเข้าสินค้านั้นๆ ของจีน เพื่อเตรียมความพร้อมและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง โดยทั่วไปกฎระเบียบการนำเข้าจะมุ่งเน้นควบคุมด้านมาตรฐานสินค้า ความปลอดภัย และสุขอนามัยของสินค้าเป็นหลัก โดยข้อกำหนดบางรายการเกี่ยวข้องตั้งแต่ในขั้นตอนการผลิตและจัดเตรียมสินค้าด้วย

ทั้งนี้ กฎระเบียบและมาตรการการนำเข้าของจีนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ผู้ที่ต้องการส่งออกสินค้าไปจีนจึงจำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลกฎระเบียบกับหน่วยงานจีนหรือหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้จัดเตรียม สินค้าให้ถูกต้องตามข้อกำหนด และหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นเมื่อสินค้าถึงจีนได้ โดยข้อกำหนดมาตรการการนำเข้าตลอดจนมาตรฐานสินค้านำเข้าของหน่วยงานจีนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

สำหรับสินค้าผักและผลไม้ ภายใต้การควบคุมโดยสำนักงานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบและกักกันโรคแห่งประเทศจีน (AQSIQ) www.aqsiq.gov.cn

2) มาตรการสุขอนามัยสัตว์น้ำ

สำหรับผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอาหารทะเลสด/แช่แข็ง ภายใต้การควบคุมโดย สำนักงานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบและกักกันโรคแห่งประเทศจีน (AQSIQ) www.aqsiq.gov.cn และกรมประมงจีน www.agri.gov.cn

3) มาตรการความปลอดภัยด้านอาหาร

สำหรับสินค้าประเภทเครื่องดื่ม นม อาหารเด็ก อาหารบำรุงร่างกาย อาหารรมควัน เครื่องปรุงแต่งอาหาร น้ำมันสำหรับปรุงอาหาร อาหารกระป๋อง ถั่ว สุรา ธัญญาหาร เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้เห็ด ภายใต้การควบคุมโดย State Administration for Industry and Commerce (SAIC) www.saic.gov.cn และสำนักงานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบและกักกันโรคแห่งประเทศจีน (AQSIQ) www.aqsiq.gov.cn

4) มาตรฐานยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางค์

สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ภายใต้การควบคุมโดย State Food and Drug Administration (SFDA) www.sfda.gov.cn

5) มาตรการความปลอดภัยด้านอาหาร สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารและเกษตรอินทรีย์

ภายใต้การควบคุมโดยหน่วยงาน China Organic Food Development Center (OFDC) www.ofdc.org.cn

6) มาตรการการบรรจุภัณฑ์และหีบห่อของผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป

สำหรับสินค้าอาหาร ภายใต้การควบคุมโดยสำนักงานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบและกักกันโรคแห่งประเทศจีน (AQSIQ)www.aqsiq.gov.cn และกระทรวงพาณิชย์จีน www.mofcom.gov.cn

7) ข้อกำหนดการจัดการติดฉลาก อาหารนำเข้า-ส่งออก

สำหรับสินค้าอาหารและ Pre-packaged food ภายใต้การควบคุมโดยสำนักงานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบและกักกันโรคแห่งประเทศจีน (AQSIQ) www.aqsiq.gov.cn

8) มาตรฐานการจัดการวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้

ภายใต้การควบคุมโดยสำนักงานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบและกักกันโรคแห่งประเทศจีน (AQSIQ) www.aqsiq.gov.cn

9) มาตรฐานการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่มีการตัดต่อพันธุกรรม GMOs

ภายใต้การควบคุมโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จีน www.moa.gov.cn

10) การกำหนดปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit: MRLs)

ภายใต้การรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุขจีน (MOH) www.moh.gov.cn และ Standardization Administration of China (SAC) www.sac.gov.cn

11) ข้อกำหนดการรับรองความปลอดภัยและสุขอนามัยของคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ธรรมชาติ ด้วยเครื่องหมาย CCC Mark

สำหรับสินค้า 10 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมไฟฟ้า การสื่อสารโทรคมนาคม อุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย รถยนต์ วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ยางพารา เครื่องจักรกลการเกษตร กระจกนิรภัย เครื่องดนตรี ของเล่น/เกม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ภายใต้หน่วยงาน China Quality Certification Center –CQC (www.cqc.com.cn) และ China Certification Center for Electromagnetic Compatibility – CEMC (www.cemc.org.cn)

หมายเหตุ : นอกจากติดตามตรวจสอบมาตรการและข้อกำหนดการนำเข้าของทางการจีนจากหน่วยงานจีนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าข้างต้นแล้ว ยังสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

30.    สำนักมาตรการทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ของไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย (www.dft.go.th)

31.    มาตรการด้านสุขอนามัยของพืชและสัตว์ระหว่างจีนและอาเซียน //www.chinaaseansps.com

32.    กฏระเบียบการนำเข้าผลไม้ในจีน โดยสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตร ณ กรุงปักกิ่ง //www.thaifruits-online.com

ประเด็นที่ 3 : ตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านภาษีนำเข้าสินค้าของจีน

ปัจจุบันจีนและอาเซียนมีข้อตกลงเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ซึ่งทำให้สินค้าที่ซื้อขายระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนและจีนได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีนำเข้า โดยข้อตกลงดังกล่าวแบ่งสินค้าเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ สินค้ารายการปรกติทั่วไป (Normal Track) ซึ่งมีอัตราภาษีนำเข้าสุดท้าย คือ 0% รายการสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track) และสินค้าอ่อนไหวสูง (High Sensitive Track) ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องการความคุ้มครองและจะมีระยะเวลาการลด/เลิกภาษีนานกว่าสินค้าปกติ โดยผู้ส่งออกสามารถตรวจสอบอัตราภาษีนำเข้าของสินค้าที่ส่งออกไปจีนได้จากแหล่งข้อมูล ดังนี้

1) เว็บไซต์กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

o    หน้า FTA China-ASEAN //www.thaifta.com

o    สินค้ารายการปรกติทั่วไปที่ส่งออกไปจีน //www.thaifta.com/trade/china/china-2010-2012.xls

o    รายการสินค้าอ่อนไหวของจีน //www.thaifta.com/trade/china/sensitive_list.pdf

o    รายการสินค้าอ่อนไหวสูงของจีน //www.thaifta.com/trade/china/highly_senlist.pdf

2) เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์จีน

o    หน้าโปรแกรมคำนวณอัตราภาษีอัตโนมัติ (FTA Tariff Calculator) //ftanew.mofcom.gov.cn/ftaEn/FTABrowser.jsp

o    หน้าตารางการลดภาษีของจีนที่จีนลดให้กับประเทศในกลุ่ม FTA China-ASEAN //www.asean-cn.org/Item/3254.asp

o    หน้า //fta.mofcom.gov.cn/dongmeng/dm_guanshui.shtml

หมายเหตุ : สินค้าบางรายการแม้ว่าจะมีศักยภาพส่งออกไปจีน แต่เมื่อนำเข้าไปแล้วต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงจนทำให้ไม่สามารถแข่งขันในตลาดจีนได้ ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยควรตรวจสอบอัตราภาษีนำเข้าจีนล่วงหน้า เพื่อใช้ในการวางแผนคำนวณต้นทุนสินค้า และเป็นข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกส่งออกสินค้าไปจีน ทั้งนี้ การใช้สิทธิการลดภาษีการนำเข้าตามข้อตกลง FTA จีน – อาเซียน ผู้ส่งออกต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) ประเภท Form E ใช้ประกอบในเอกสารการส่งออกด้วย ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความตอนต่อๆ ไป   

สำหรับบทความในตอนแรกนี้ น่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะส่งออกสินค้าไปจีนมีความชัดเจนในเบื้องต้นแล้วว่า สินค้าที่มีอยู่สามารถส่งออกไปจีนได้หรือไม่ และจะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องมาตรฐานสินค้าตามกฎระเบียบจีนอย่างไร รวมถึงทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในเบื้องต้น โปรดติดตามบทความตอนต่อไป ซึ่งจะแนะนำถึงการเตรียมตัวเป็นผู้ส่งออกของไทย เร็วๆ นี้

  •     ตอนที่ 2 : ศึกษาเตรียมตัวเป็นผู้ส่งออกไทย

How to export to China? มารู้จักขั้นตอนส่งออกสินค้าไปจีนกันเถอะ!!

จากบทความตอนแรกที่ได้กล่าวถึงกฎระเบียบของจีนเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าสู่จีนและสิทธิประโยชน์ทางภาษีนำเข้าที่จะได้รับ ซึ่งเป็นข้อมูลให้ผู้ส่งออกของไทยใช้พิจารณาว่าสินค้าของตนเองมีความพร้อมที่จะส่งออกไปจีนหรือไม่ หากว่าสินค้ามีความพร้อมตามข้อกำหนดของทางการจีนและประเมินว่ามีโอกาสเติบโตในตลาดจีนแล้ว สิ่งสำคัญลำดับต่อไป คือ การศึกษากฎระเบียบในส่วนของไทย

ทั้งนี้ จำเป็นต้องศึกษาว่าไทยอนุญาตให้ส่งออกสินค้าประเภทใดบ้าง และสินค้าแต่ละประเภทมีข้อกำหนดและขั้นตอนการขออนุญาตส่งออกอย่างไร ตลอดจนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นผู้ส่งออกสินค้าของไทย ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความชุดเรื่อง How to export to China? มารู้จักขั้นตอนส่งออกสินค้าไปจีนกันเถอะ!! ทั้ง 4 ตอน จะมีส่วนช่วยเพิ่มพูนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อส่งออกสินค้าจากไทยไปจีนให้กับผู้ประกอบการไทยที่สนใจตลาดจีน ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจมีคำถามเพิ่มเติมประการใด ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีนทั้ง 9 แห่งมีความยินดีและพร้อมให้บริการข้อมูลทุกท่านเสมอ

นํา เข้าสินค้าจากจีน ผิดกฎหมาย ไหม

ในการฝากหิ้วสินค้าหรือลักลอบนำเข้าสินค้าจากจีน เข้าประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะการฝากหิ้วหรือผู้ที่ลักลอบนำสินค้าเข้าประเทศไทย ส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงกรมศุลกากร หรือหลีกเลี่ยงการชำระภาษีอากร เป็นส่วนมากเพื่อลดต้นทุนของสินค้า ซึ่งผู้ที่หลีกเลี่ยง ผู้ใดที่กระทำความผิดอยู่นั้น ตามกฎหมายมาตรา 202 จะถูก ...

นำเข้าสินค้าจากจีนต้องทำอย่างไร

4 ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าจากจีน พร้อมเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับพิธี....
ยื่นเอกสารข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ... .
ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบ ... .
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลสินค้าพร้อมแจ้งรายละเอียดเงื่อนไขภาษีอากร ... .
เจ้าหน้าที่ทำการตรวจและปล่อยสินค้า.

นำเข้าสินค้าจากจีนต้องเสียภาษีไหม

นำเข้าสินค้าจากจีนทุกครั้ง ทางผู้นำเข้าต้องมีการเสียภาษีและค่าอากรนำเข้าตามกฎหมาย ซึ่งมูลค่าของทั้งภาษีและอากรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับมูลค่าสินค้าที่นำเข้ามา

สินค้านำเข้ามี อย ไหม

โดยสินค้าดังกล่าว อาจมีความเสี่ยงต่อการบริโภค และใช้งาน รวมทั้งอาจเป็นอันตรายหากเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม หากมีการนำเข้าสินค้าดังกล่าวโดยไม่มีใบอนุญาต อย.มาแสดงนั้น จะไม่สามารถนำเข้ามาในเมืองไทยได้ ทำให้ต้องถูกริบของ และถูกปรับตามกฎหมาย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก