กระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดิน

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558-2559

ภูมิศาสตร์ประเทศไทย

ภาคเหนือ ลักษณะพื้นที่เป็นทิวเขา ที่ลาดเชิงเขา หุบเขา ประชากรจะตั้งถิ่นฐานหนาแน่นบริเวณที่ราบหุบเขา  เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันมนุษย์เข้าไปปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมดั้งเดิมจนระบบนิเวศที่เคยสมดุลย์ได้สูญเสียไป ป่าไม้สำคัญของภาคคือ ป่าเบญจพรรณ หรือเรียกว่า ” ป่าผสมผลัดใบ” หรือ “ป่าโปร่งผสม” มีถึงร้อยละ 46 ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดของภาค

ภาคตะวันตกมีลักษณะภูมิประเทศคล้ายคลึงกับภาคเหนือ แต่แตกต่างตรงที่ภาคตะวันตกมีที่ราบชายฝั่งทะเล ยาวตั้งแต่เพชรบุรีต่อเนื่องถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ภาคใต้มีภูเขาสูงเป็นแกนกลาง ลาดไปทางตะวันออกคือฝั้งอ่าวไทยเป็นชายฝั่งแบบยกตัว ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นเนื่องจากมีที่ราบมากกว่าชายฝั่งตะวันตก   ส่วนด้านตะวันตกคือฝั่งอันดามัน เป็นชายฝั่งแบบทรุดตัว จะมีชายหาดสวยงาม มีแม่น้ำสายสั้นๆ

ภาคกลาง บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตอนบนพื้นที่สูงกว่าที่ราบภาคกลางตอนล่าง จะมีปัญหาน้ำท่วมรุนแรงทุกปี เหมาะสำหรับปลูกพืชไร่  ส่วนบริเวณที่ราบลุ่มน้ำตอนล่าง เป็นที่ราบน้ำท่วมถึง ที่เรียกว่าดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เป็นดินตะกอนที่น้ำพัดพามาทับถม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เป็นที่ราบสูง และแอ่งที่ราบที่สำคัญคือแอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร  เป็นภาคที่มีปริมาณฝนตกมาก   แต่ดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ  และบางพื้นที่เป็นดินเค็ม

ภาคตะวันออก เป็นเขตทิวเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ  และที่ราบลูกฟูก และที่ราบชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะเป็นเขตอุตสาหกรรมชายฝั่งตะวันออกหรือ อีสเทิร์นซีบอร์ด โดยเฉพาะจังหวัดระยอง เน้นอุตสาหกรรมกลุ่มยานยนต์, โลหะภัณฑ์, พลาสติกและโพลีเมอร์, อิเล็กทรอนิกส์, บรรจุภัณฑ์และสินค้าอุปโภค, อุปกรณ์ก่อสร้าง, โลจิสติกส์และอื่นๆและมีการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรีเป็นท่าเรือพาณิชย์พื้นที่บริเวณแหลมฉบังเป็นพื้นที่เหมาะแก่การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก เนื่องจากอยู่ตอนในอ่าวไทยคลื่นลมน้อย

พายุหมุนเขตร้อน มีอิทธิพลต่อปริมาณน้ำฝนในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกแล้วเคลื่อนสู่ทะเลจีนใต้ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก แล้วเคลื่อนสู่เข้าสู่ประเทศไทย

ลมมรสุมที่มีอิทธิพลต่อประเทศไทย มี 2 ชนิด

  1. ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดพาเอาความหนาวเย็นเข้่าสู่ประเทศไทย
  2. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดพาฝนและความชุ่มชี้นเข้าสู่ประเทศไทย

ภัยพิบัติ

แผ่นดินไหว สาเหตุเกิดจาก การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก การระเบิดของภูเขาไฟ การทดลองนิวเคลียร์ ในส่วนของประเทศไทยจะได้รับผลกระทบของการเกิดแผ่นดินไหวน้อยมากเนื่องจากไม่ได้ตั้งอยู่ในแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก บริเวณที่เกิดบ่อยที่สุดคือรอบมหาสมุทรแปซิฟิกที่เรียกว่าแนววงแหวนแห่งไฟ  ประเทศที่ตั้งหรือมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในแนว “วงแหวนแห่งไฟ” ได้แก่ เบลีซ โบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลัมเบีย ชิลี คอสตาริกา เอกวาดอร์ ติมอร์ตะวันออก เอลซัลวาดอร์ ไมโครนีเซีย ฟิจิ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คิริบาตี เม็กซิโก นิการากัว ปาเลา ปาปัวนิวกินี ปานามา เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน ตองกา ตูวาลู สหรัฐอเมริกา และรวมถึง นิวซีแลนด์

ภูเขาไฟปะทุ หรือ volcano eruption เป็นปรากฎการณ์ที่หินหนืดใต้เปลือกโลกถูกดันให้ปะทุขึ้นสู่พื้นผิวโลก  ผลด้านลบ ทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน เกิดมลพิษทางอากาศ ผลด้านบวกเกิดในระยะเวลายาวนานทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์  ในส่วนของประเทศไทยมีภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วหลายบริเวณเช่นในภาคอีสานบางจังหวัดอาทิเช่นจ.บุรีรัมย์  จ.ศรีสะเกษ เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร

สึนามิ เป็นคลื่นขนาดใหญ่ที่พัดเข้าชายฝั่ง เกิดจากแผ่นดินไหวใต้ท้องทะเล  การปะทุของภูเขาไฟใต้สมุทร และ แผ่นดินถล่มใต้สมุทร รวมถึงการพุ่งชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่ ในส่วนของประเทศไทยเกิดสึนามิครั้งใหญ่เมื่องวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เกิดจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย ขนาด 9.0 ตามมาตราริกเตอร์ ทำให้จังหวัดที่อยู่ฝั่งอันดามันได้รับผลกระทบมากมายและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

อุทกภัย คือภัยจากน้ำท่วม เกิดจากหลายสาเหตุเช่น ฝนตกต่อเนื่องยาวนาน ที่ราบลุ่ม ระยะทางห่างจากแม่น้ำลำคลอง ไม่มีที่รองรับน้ำ มีสิ่งกีดขวางทางน้ำ หลังจากน้ำท่วมผ่านไปสิ่งที่ตามมาคือโรคระบาด โดยเฉพาะพื้นที่ที่น้ำท่วมขังเป็นเวลายาวนาน

แผ่นดินถล่ม สาเหตุเกิดจากธรรมชาติคือฝนที่ตกหนักต่อเนื่องยาวนาน บริเวณที่เสี่ยงคือพื้นที่ลาดชันเช่นไหล่เขา ส่วนสาเหตุจากมนุษย์คือการทำไร่เลื่อนลอย

การกัดเซาะชายฝั่ง สาเหตุจาก ภัยพิบัติ การสร้างสิ่งก่อสร้างริมชายหาด  การเปลี่ยนแปลงของอากาศ บริเวณที่ได้รับผลกระทบหนักจากการกัดเซาะชายฝั้งคือชายทะเลแถบกรุงเทพมหานคร ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลอยู่แล้ว

วาตภัย หรือภัยจากลมสาเหตุมาจาก พายุฝนฟ้าคะนอง พายุหมุนเขตร้อน(ดีเปรสชั่น โซนร้อน ไต้ฝุ่่น ) ลมงวง พายุฤดูร้อน  การเฝ้าระวังภัยจากพายุ ขณะเกิดวาตภัย เช่น ติดตามข่าวสาร อยู่ในที่ปลอดภัย เตรียมอาหาร  ฯลฯ เมื่อพายุสงบแล้วถ้าจะเดินทางต้องรออีกอย่างน้อย3 ชั่วโมงก่อนการเดินทางเพราะอาจมีพายุพัดผ่านมาอีก

ปรากฏการณ์เอลนิญโญ เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่มักเกิดในช่วงปลายเดือนธันวาคม บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ทำให้ลมฟ้าอากาศในพื้นที่ต่างๆแปรปรวนไปจากเดิม อาทิ บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียเคยมีฝนตกชุกกลับแห้งแล้ง   ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกแถบประเทศเปรู ชิลี มีฝนตกหนัก จนน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม

ปรากฎการณ์ลานิญญา เป็นปรากฎการณ์ตรงกันข้ามกับเอลนิญโญ คือจะมีฝนตกหนักกว่าปกติบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย  และเกิดความแห้งแล้วอย่างหนักในทางตอนเหนือทวีปอเมริกาใต้

ปรากฎการณ์ช่องโหว่ของชั้นโอโซน โดยปกติบรรยากาศชั้นโอโซนจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลตส่องมายังผิวโลกในปริมาณที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต จากกิจกรรมบางประเภทของมนุษย์ทำให้ไปทำลายบรรยากาศชั้นโอโซน ผลร้ายที่ตามมา คืิออุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ถ้ามนุษย์โดนแดดมากๆอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรธรรมชาติ คือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต

สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต   สิ่งแวดล้อมมี 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น

ปัจจัยที่่ก่อให้เกิดวิกฤตด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ  การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และการใช้วิทยาการและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า    โดยเฉพาะกิจกรรมบางอย่างของมนุษยฺ์ไปทำลายห่วงโซ่อาหารของมนุษย์เอง เช่น การที่มนุษย์ใช้สารพิษต่างๆในกิจกรรมบางอย่าง   การใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งเป็นการสร้างมลพิษในดิน  การปล่อยของเสียลงแม่น้ำก่อให้เกิดมลพิษในน้ำ  โดยเฉพาะการทิ้งน้ำเสียและขยะของครัวเรือนลงในแหล่งน้ำ  รวมไปถึงการใช้พลังฟอซซิลในทุกกิจกรรมของมนุษย์ พลังงานที่สะอาดคือพลังงานทางเลือก เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ในส่วนภาคชนบทของประเทศไทยพลังงานที่ควรได้รับการพัฒนาคือพลังงานความร้อนใต้พิภพ    พลังงานสะอาดที่น่าสนใจอีกอย่างที่ประเทศไทยควรให้ความสนใจคือพลังงานปรมาณูซึ่งปัจจุบันมีการใช้กันอยู่ในวงการอุตสาหกรรม ทางการแพทย์ ทางการเกษตร

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ต่อ มหาชนมากที่สุด และใช้ได้เป็นระยะเวลานานมากที่สุด ทั้งนี้จะต้องให้มีความสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์น้อยที่สุด  ตัวอย่่างเช่น การใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ควรเลือกตัดเฉพาะต้นขนาดใหญ่เพื่อให้ต้นเล็กๆได้เติบโตอีกจะได้ใช้ประโยชน์ในโอกาสต่อไป ดังสุภาษิตที่ว่า กินน้ำเผื่อแล้ง  นอกจากมนุษย์ต้องใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมแล้วยังต้องดำรงค์ชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เช่นคนในเมืองหนาวต้องใส่เสื่อผ้าหนาๆเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย คนในเมืองร้อนต้องใส่เสื้อบางๆเพื่อทำให้ร่างกายไม่ร้อนตามอากาศ หรือการสร้างบ้านใต้ถุนสูงเพื่อให้ลมพัดผ่าน การทำนาในช่วงที่เหมาะสมก็ต้องทำในฤดูฝน   เป็นต้น

มนุษย์กับการสร้างสรรวัฒนธรรม โดยอิงด้านศาสนาและความเชื่อเข้ามาช่วยเช่น การบวชป่าในภาคเหนือ เพื่อรักษาต้นไม้ไม่ให้ถูกตัดทำลาย ประเพณีบุญบั้งไฟ มีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้วเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจะดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์

การเกิดภูมิสังคมใหม่ จากฝีมือมนุษย์ อาทิเช่นการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ก่อให้เกิดทะเลสาบ เช่นเขื่อนอัสวานในอียิปต์ เกิดทะเสสาบนัสเซอร์   การสร้างโพลเดอร์ในเนเธอร์แลนด์  มีการถมทะเลเป็นรูปเกาะปาล์มในดูไบ

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และให้ประโยชน์ต่อมนุษย์

การจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึงการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรามีผลดีต่อคุณภาพชีวิต

ฉะนั้นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ได้ผลดีก็ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่่วมในการจัดการดูแลรักษา การมีส่วนร่วมมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับการวางแผน กำหนดกรอบนโยบายไปจนถึงการลงมือปฏิบัติ

การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คือการนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ เพื่อให้มีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมนั้นด้วยประสิทธิภาพลง หรือกระทบกระเทือนต่อคนรุ่นหลัง

วิธีหรือมาตรการจัดการโดยตรงเพื่อถนอมรักษา และใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่นิยมใช้มี 7 วิธี คือ  การปฏิเสธการใช้ (R1-Reject)  การนำของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (R2-Reuse)  การใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (R3-Reduce)  การซ่อมแซมฟื้นฟู (R4-Repair)  การนำไปผลิตขึ้นใหม่ (R5-Recycle)  การถนอมรักษา (R6-Recovery)   การเสริมแต่งของเก่า (R7-Renewal)

แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราชดำริ เช่น โครงการแกล้งดิน เพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยว โครงการแก้มลิง เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม  โครงการชัยพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย

หน่วยงานและองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เป็นหน่วยงานหลัก    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนภาคเอกชน เช่น มูลนิธิ สืบ นาคะเสถียร  ธิงค์เอิร์ธ

องค์การในต่างประเทศ  เช่นองค์การUNEPของสหประชาชาติ ได้กำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก  และในประเทศไทยกำหนดให้วันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย
กรีนพีซ เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนนานาชาติทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรฯและสิ่งแวดล้อมโดยไม่มุ่งผลกระกำไรและไม่รับการสนับสนุน
ด้านการเงินจากภาครัฐ
องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก หรือ WWF(World Wide Fund for Nature) เป็นองค์การเอกชนขนาดใหญ่ที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรฯและสิ่งแวดล้อมทั่วโลก
UNESCO เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนมรดกโลก

มาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

ในประเทศไทยมีกฏหมายหลายฉบับอาทิเช่น  พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504   พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2535

ในส่วนของต่างประเทศ อาทิเช่น   Agenda 21 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
อนุสัญญาเวียนนา ป้องกันบรรยากาศชั้นโอโซน
พิธีสารมอนทรีออน ยับยั้งการใช้สารที่ทำลายชั้นโอโซน เช่น สารซีเอฟซี
อนุสัญญาไซเตส ป้องกันพืชป่าและสัตว์ป่าใกล้สูญพันธ์ุ กรณีประเทศไทยคือโครงการป่าชุมชนเป็นรูปแบบการจัดการป่าเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยที่หลากหลายและยั่งยืน
อนุสัญญาบาเซิล ว่าด้วยการควบคุมการขนย้ายกากของเสียอันตรายข้ามแดน
อนุสัญญาแรมซาร์ ว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ในประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญ เช่นพรุควนขี้เสียนทะเลน้อย สงขลา พรุโต๊ะแดง นราธิวาส ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

  1. ภูมิศาสตร์ประเทศไทย

ภาคเหนือ ลักษณะเป็นเทือกเขาสลับกับที่ราบหุบเขา เทือกเขาสำคัญเช่นแดนลาว ธนนธงชัย ผีปันน้ำ เป็นต้น
ภาคใต้ มีทิวเขาภูเก็ต และนครศรีธรรมราช และสันกลาคีรีเป็นแกนกลางในแนวเหนือ-ใต้ และมีที่ราบชายฝั่งทะเล โดยชายฝั่งตะวันออกจะมีพื้นที่ราบมากกว่าชายฝั่งตะวันตก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูง มีขอบทางด้านตะวันตกและด้านใต้เป็นเทือกเขา ตรงกลางเป็นแอ่ง มีการเลี้ยงสัตว์มากเนื่องจากเป็นที่ราบสูงและมีทุ่งหญ้าเป็นบริเวณกว้าง
ภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ เกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาดินตะกอนมาทับถมกันกลายเป็นที่ราบดินตะกอนน้ำพัดพา หรือดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
ภาคตะวันออก เป็นที่ราบลูกฟูกมีเนินเตี้ยๆสลับกับที่ราบแคบๆ
ภาคตะวันตกเป็นเทือกเขาสูงทอดตัวแนวเหนือใต้สลับกับที่ราบหุบเขาแคบๆและมีที่ราบชายฝั่งทะเลแคบๆเป็นชายฝั่งทะเลแบบยกตัว
2.การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของโลก
2.1การเปลี่ยนแปลงจากภายในหรือกระบวนการแปรสัณฐาน (Tectonics)
กระบวนการแปรสัณฐานก่อให้เกิด
1.รอยเลื่อน (fault) ทำให้เกิดรหุบเขาทรุดหรือแอ่งกราเบิน และฮอร์สหรือภูเขาบล็อค
2.การโก่งตัวของเปลือกโลก (fold) การบีบอัดทำให้เปลือกโลกโก่ง พับ งอ เช่นการเกิดเทือกเขา
3.การเกิดภูเขาไฟ (Volcano) เกิดจากหินหนืดในชั้นแมนเทิลซึ่งอยู่ใต้ผิวโลก มีความร้อนและความดันสูงมาก พยายามดันขึ้นมาตามรอยแตกและแทรกตัวขึ้นมาสู่ผิวโลก
4.การเกิดแผ่นดินไหว ความร้อนจากแก่นโลกทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่และยังทำให้เปลือกโลกส่วนล่างขยายตัวได้มากกว่าผิวบน
2.2กระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดิน เรียกว่า “แรงกราเดชั่น”(gradational)
กระบวนการที่ทำให้เกิดการปรับระดับผิวแผ่นดิน มี 4 ตัวการคือ
1.การผุพังอยู่กับที่ ( Weathering)การแตกของหิน
2.การกัดกร่อน ( Erosion )เช่นน้ำตก แก่ง ถ้ำ หุบผาชัน
3.การทับถม (Deposition) เช่นสันดอนปากอ่าวทะเลสาบสงขลา ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
4.การพัดพา (Transportation )ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
การผุพังอยู่กับที่ ( Weathering) ตัวการกระทำคือ
ลมฟ้าอากาศ น้ำฝน อุณหภูมิ ต้นไม้ แบคทีเรีย
การกัดกร่อน เกิดจากตัวกระทำคือ
ลม คลื่น น้ำ ธารน้ำแข็ง
การพัดพาหรือการนำพา ตัวการทำคือ
ลม ฝน คลื่น แม่น้ำ ธารน้ำแข็ง
การทับถม ตัวการกระทำคือ
คลื่น ลม ฝน สายน้ำ
ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการปรับระดับผิวแผ่นดิน
1.น้ำและแม่น้ำ
น้ำตก แก่ง ถ้ำ หุบผาชัน ที่ราบน้ำท่วมถึง เนินตะกอนน้ำพารูปพัด ดินดอนสามเหลี่ยม
ทะเลสาบรูปแอกวัว แคนยอน โกรกธาร แก่ง แอ่ง กุมภลักษณ์/บ่อกลม ลานตะพักลำน้ำ
2.ลม
แอ่งในทะเลทราย เขาโดดในทะเลทราย เนินทรายหรือสันทราย แป้นหินรูปเห็ด
3.ธารน้ำแข็ง
ฟยอร์ด
4.คลื่นและกระแสน้ำ
แหลม หน้าผาริมทะเล ลากูน ถ้ำทะเล ชะวากทะเล (Estuary)
หมายเหตุ ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลแบบลากูน หรือทะเลในคือมีส่วนเชื่อมต่อกับทะเลนอก
3.วิกฤติการณ์ด้านทรัพยากรฯและสิ่งแวดล้อม
สาเหุตสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก
การเพิ่มของประชากร
สาเหุตสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก
การเพิ่มของประชากร
วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลกเกิดจาก
การทำลายระบบนิเวศ
การเกิดมลภาวะหรือมลพิษ
การลดลงของทรัพยากร
ในประเทศกำลังพัฒนาจะประสบปัญหามลพิษในดินและน้ำเพราะมีการส่งเสริมให้มีการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมมาก
จนเป็นผลสืบเนื่องก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา
การส่งเสริมให้มีการลงทุนมากก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจสิ่งที่ตามมาคือการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยภาวะโลกร้อนทำให้น้ำผิวดินเพิ่มขึ้นแต่เป็นน้ำในทะเลซึ่งเป็นน้ำเค็มไม่สามารถนำมาอุปโภคบริโภคได้
ในส่วนของมลพิษทางเสียงก็เป็นปัญหาโดยเฉพาะคนที่มีบ้านอยู่ใกล้สนามบิน เคยมีกรณีชาวบ้านที่อยู่รอบสนามบินสุวรรณภูมิร้องเรียนเรื่องเสียงที่่
ดังมากทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต
4.ภัยพิบัติ
4.1อุทกภัย คือภัยจากน้ำ โดยเฉพาะถ้าเกิดน้ำท่วมขังนานๆอาจก่อให้เกิดโรคระบาดได้ เช่นโรคทางเดินอาหาร ตาแดง
การเกิดพายุหมุนก็อาจทำให้เกิดอุทกภัยได้เช่นกัน ในส่วนของประเทศไทยพายุดีเปรสชั่นเป็นพายุที่พัดเข้าประเทศไทยมากที่สุด
4.2แผ่นดินถล่ม เกิดจากมนุษย์ไปทำกิจกรรมในบริเวณที่ลาดชัน เช่น การการเกษตรในพื้นที่ลาดชันเชิงเขาหรือการทำไร่เลื่อนลอย
4.3แผ่นดินไหว ในประเทศไทยมักเกิดขึ้นน้อยและผลกระทบไม่รุนแรงนักเนื่องจากไม่อยู่ในรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก แต่ก็ไม่ควรประมาท
เพราะปัจจุบันในภาคเหนือของไทยได้รับผลกระทบพอสมควรจากการเกิดแผ่นดินไหว สิ่งที่สำคัญคือจะต้องเตรียมตัวรับมือ ถ้าสร้างบ้านก็ต้อง
รองรับแผ่นดินไหวได้ ถ้าอยู่ในห้องก็ต้องหลบใกล้เสามุมห้อง ถ้ามีโต๊ะที่แข็งแรงก็หลบใต้โต๊ะ อยู่ข้างนอกให้ห่างเสาไฟฟ้า เป็นต้น
4.4ภัยแล้งเกิดจากฝนตกน้อย น้ำไม่พอใช้ ผลกระทบคือไม่มีน้ำกินน้ำใช้คนก้จะอพยพละทิ้งถิ่นฐาน การป้องกันภัยแล้งระยะยาวคือทุกคนต้องช่วยกัน
ดูแลรักษาป่าต้นน้ำ และช่วยกันประหยัดน้ำ
5.การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
5.1องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
องค์การUNEPของสหประชาชาติ ได้กำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก
กรีนพีซ เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนนานาชาติทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรฯและสิ่งแวดล้อมโดยไม่มุ่งผลกระกำไรและไม่รับการสนับสนุน
ด้านการเงินจากภาครัฐ
องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก หรือ WWF เป็นองค์การเอกชนขนาดใหญ่ที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรฯและสิ่งแวดล้อมทั่วโลก
UNESCO เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนมรดกโลก
5.2มาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
อนุสัญญาเวียนนา ป้องกันบรรยากาศชั้นโอโซน
พิธีสารมอนทรีออน ยับยั้งการใช้สารที่ทำลายชั้นโอโซน เช่น สารซีเอฟซี
อนุสัญญาไซเตส ป้องกันพืชป่าและสัตว์ป่าใกล้สูญพันธ์ุ กรณีประเทศไทยคือโครงการป่าชุมชนเป็นรูปแบบการจัดการป่าเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยที่หลากหลายและยั่งยืน
อนุสัญญาบาเซิล ว่าด้วยการควบคุมการขนย้ายกากของเสียอันตรายข้ามแดน
อนุสัญญาแรมซาร์ ว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ในประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญ เช่นทะเลน้อย สงขลา พรุโต๊ะแดง นราธิวาส ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม
5.3 กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ถือได้ว่าเป็นรธน.ฉบับสีเขียวเพราะให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 การกำหนดความผิดและโทษ เช่น ผู้ใดบุกรุกหรือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน500,000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
5.4 การพัฒนาอย่างยั่งยืน หมายถึงการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคตหรือการพัฒนาที่ไม่ก่อ
ให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่คุณภาพสิ่งแวดล้อม
การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีวิธีการคือ การควบคุม การดูแลรักษา และการพัฒนา
การดูแลโลกตามหลัก 3 R คือ Reduce, Reuse และ Recycle
เครื่องหมายฉลากเขียว เป็นฉลากที่ให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน
เยอรมันเป็นประเทศแรกที่เริ่มใช้ฉลากเขียวเป็นเครื่องมือทางการตลาดเพื่อช่วยป้องกันรักษาธรรมชาติผ่านทางการผลิตและการบริโภคของผู้ผลิตและประชาชนทุกคน
ถังขยะ
1.สีเขียว คือ ถังขยะที่ย่อยสลายได้
2.ถังขยะ สีเหลือง คือ ถังขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มีสัญลักษณ์เป็นรูปลูกศรสามดอก หัวลูกศรหมุนตามเข็มนาฬิกา
3.ถังขยะ สีน้ำเงิน คือ ถังขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้
4.ถังขยะ สีแดง คือ ถังขยะที่เป็นพิษ

การเกิดภูมิประเทศแบบต่างๆเกิดจากกระบวนการอะไรบ้าง

การกระทำของคลื่นและกระแสน้ำที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ การกร่อน การพัดพา และการทับถม ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ เช่น 1. แหลม cape และอ่าว bay ส่วนหินแข็งที่ยื่นออกไปในทะเล เรียกว่า แหลม ส่วนบริเวณที่ถูกกัดเซาะเว้าเข้าไปในแผ่นดิน เรียกว่า อ่าว

การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของภูมิประเทศเกิดจากกระบวนการสำคัญอะไรบ้าง

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ 1. พลังงานภายในเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกผันแปร บีบอัดให้ยกตัวสูงขึ้น กลายเป็นภูเขาที่ราบสูง หรือทรุดต่ำลง เช่น เหว แอ่งที่ราบ 2. ตัวกระทำทางธรรมชาติภายนอกเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกเกิดการสึกกร่อนพังทลายหรือทับถม ได้แก่ ลม กระแสน้ำ ธารน้ำแข็ง

กระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดินกระบวนการใดที่มีการกระทำของต้นไม้และแบคทีเรียเข้ามาเกี่ยวข้อง

Q. กระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดินกระบวนการใดที่มีการกระทำของต้นไม้และแบคทีเรียเข้ามาเกี่ยวข้อง การกร่อน

ภูมิประเทศที่เกิดจากการทับถม มีอะไรบ้าง

1. ภูมิประเทศที่เกิดจากการตกตะกอนทับถม มักจะเกิดขึ้นในบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีน้ำตื้น ลักษณะชายฝั่งราบเรียบและลาดเทลงไปสู่ก้นทะเล ทำให้ความเร็วของคลื่นและกระแสน้ำลดลง เมื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่ฝั่ง การกระทำจึงเป็นในรูปแบบของการตกตะกอนทับถมเกิดเป็นภูมิประเทศลักษณะ ต่างๆ เช่นสันทราย (Berm) สันดอน (Bar) และทะเลสาบที่มีทางน้ำไหล ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก