ประเด็นปัญหา วิชา is1 ตัวอย่าง

Posted by iscps2013.

ตัวอย่างหัวข้อ IS1

ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี
แหล่งพลังงานในครัวเรือน
ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
ปริมาณการใช้น้ำประปา
ผลผลิตต่อไร่ของข้าวพันธุ์ กข.6
การใช้ห้องสมุดของนักเรียน
วิชาที่ฉันชอบ
การเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียน
มอเตอร์ไซค์กับชีวิต
ค่าใช้จ่ายในการการดำรงชีพ
หินและหยกในแม่สาย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ของบ้านเพื่อนฉัน
การใช้คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์
พลอยลูกครึ่ง
อุณหภูมิเฉลี่ยของบ้านปูน
บ้านไม้กับความเปลี่ยนแปลงของอากาศ
ตลาดบานเช้าของแม่สาย
สถานแห่งศรัทธาแม่สาย
วิถีแหล่งธรรม
เส้นทางแห่งอัญมณี
ต้นไม้ใหญ่ในแม่สาย
สมุนไพรพื้นบ้าน
หมอเมือง
เครื่องจักสาน
อุปกรณ์จับสัตว์น้ำ
เครื่องใช้พื้นบ้าน
อุปกรณ์ไม้ไผ่
จากหญ้าสู่หลังคา
ทานาคากับหน้าใส
วัยรุ่นกับการเจริญวัย
เท้าเบอร์ไหน
สัดส่วนร่างกาย
ข้าวแรมฟืน
ความร้อนจากถ่านไม้ชนิดต่างๆ
แมลงหน้าดิน
ความเป็นกรดเบสของน้ำจากบ่อ
ฮวงจุ้ยของบ่อน้ำ
ความกว้างของประตูรั่วบ้าน
ความสนใจของวัยรุ่น
อาชีพในดวงใจ
//topnorth.wordpress.com

Posted by iscps2013.

IS 1 ม.2

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้(Research and Knowledge Formation)รหัสวิชา I22201

กลุ่มสาระการเรียนรู้……………………………..                                           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

เวลา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน  จำนวน 1 หน่วยกิต                        ภาคเรียนที่ 1

ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกทักษะตั้งประเด็นปัญหา/ตั้งคำถามในเรื่องที่สนใจโดยเริ่มจากตนเอง เชื่อมโยงกับชุมชน ท้องถิ่นและประเทศ ตั้งสมมติฐานและให้เหตุผลโดยใช้ความรู้จากศาสตร์สาขาต่างๆค้นคว้าแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสมมติฐานที่ตั้งใจไว้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ออกแบบวางแผนรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการที่เหมาะสม ทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายในกรอบการดำเนินงานที่กำหนด โดยการกำกับดูแล ช่วยเหลือของครูอย่างต่อเนื่อง สังเคราะห์สรุปองค์ประกอบความรู้และร่วมกันเสนอแนวคิด วิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วยกระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติและกระบวนการกลุ่มในการวิพากษ์

เพื่อให้เกิดทักษะในการค้นคว้าแสวงหาความรู้ เปรียบเทียบเชื่อมโยงองค์ความรู้ สังเคราะห์ อภิปราย เพื่อให้ประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

ผลการเรียนรู้

  1. ตั้งประเด็นปัญหา โดยเลือกประเด็นที่สนใจ เริ่มจากตนเอง ชุมชนท้องถิ่น ประเทศ
  2. ตั้งสมมติฐานประเด็นปัญหาที่ตนเองสนใจ
  3. ออกแบบ วางแผน ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่เลือก จากแหล่งเรียนรุ้ที่หลากหลาย
  5. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูลได้
  6. วิเคราะห์ข้อค้นพบด้วยสถิติที่เหมาะสม
  7. สังเคราะห์สรุปองค์ความรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม
  8. เสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
  9. เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

1. ตัวอย่างการจัดโครงสร้างและหน่วยการเรียนรู้ในรายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้
(Research and Knowledge Formation: IS1)

1)   ตัวอย่างโครงสร้างรายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 

หน่วยที่

ชื่อหน่วยการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้

สาระสำคัญ

เวลา

ชม.

น้ำหนักคะแนน

1

ประเด็นที่ฉันสนใจ 1. ตั้งประเด็นปัญหา โดยเลือกประเด็นที่สนใจ เริ่มจากตนเอง ชุมชน ท้องถิ่น ประเทศ

2. ตั้งสมมติฐานประเด็นปัญหา
ที่ตนเองสนใจ

3. ออกแบบ วางแผน ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

– การตั้งประเด็นปัญหา

และการตั้งคำถาม

-การตั้งสมมติฐาน

-กระบวนการรวบรวมข้อมูล

10

30

2

ไปแสวงหาคำตอบ 4. ศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่เลือกจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

5. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูลได้

6. วิเคราะห์ข้อค้นพบด้วยสถิติ
ที่เหมาะสม

– การศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้

-การตรวจสอบ
ความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล

– การวิเคราะห์ข้อมูล

20

40

3

รอบรู้และเห็นคุณค่า 7. สังเคราะห์สรุปองค์ความรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม

8. เสนอแนวคิด การแก้ปัญหา
อย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ

9. เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

-การสังเคราะห์ข้อมูล – การสรุปองค์ความรู้

– การแสดงความคิด และการแก้ปัญหา

– คุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

10

30

รวม

40

100

 2)  ตัวอย่างการออกแบบหน่วยการเรียนรู้  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 

ชื่อหน่วยการเรียนรู้ประเด็นที่ฉันสนใจ   รายวิชาเพิ่มเติม  การศึกษาค้นคว้าและการสร้างองค์ความรู้

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น         เวลา 10 ชั่วโมง

เป้าหมายการเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้)

1. ตั้งประเด็นปัญหา โดยเลือกประเด็นที่สนใจ เริ่มจากตนเอง ชุมชน ท้องถิ่น ประเทศ

2. ตั้งสมมติฐานประเด็นปัญหาที่ตนเองสนใจ

3. ออกแบบ วางแผน ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

ความเข้าใจที่คงทน (สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด)

การตั้งประเด็นปัญหาที่ชัดเจนโดยเลือกประเด็นที่สนใจ เริ่มจากตนเอง ชุมชน ท้องถิ่น ประเทศ การตั้งสมมติฐาน
โดยใช้ความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ และออกแบบ วางแผน ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้การศึกษา ค้นคว้า แสวงหาคำตอบประสบผลสำเร็จ

คำถามสำคัญ

– จะตั้งประเด็นปัญหาที่สนใจได้อย่างไร

-การตั้งสมมติฐานประเด็นปัญหาที่สนใจมีวิธีการอย่างไร

– การออกแบบ วางแผน และใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลมีวิธีการอย่างไร

ผู้เรียนรู้อะไร (สาระการเรียนรู้)

-การกำหนดประเด็นความรู้

-ธรรมชาติของความรู้

-ลักษณะของความรู้

– แหล่งเรียนรู้

-วิธีการสร้างความรู้

1) การสร้างความรู้จากความรู้สึก

2) การสร้างความรู้จากภาษา

3) การสร้างความรู้จากเหตุผล

4) การสร้างความรู้จากอารมณ์

-ทฤษฎีของกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ

-ศาสตร์/สาขาวิชาของความรู้

-นักคิด/บิดาศาสตร์ของแต่ละสาระการเรียนรู้

-หลักการตั้งวัตถุประสงค์และสมมุติฐาน

– วิธีการนำเสนอ

ผู้เรียนทำอะไรได้ (ทักษะ / กระบวนการ)

– ตั้งประเด็นปัญหา โดยเลือกประเด็นที่สนใจ เริ่มจากตนเอง ชุมชน ท้องถิ่น ประเทศ

– ตั้งสมมติฐานประเด็นปัญหาที่ตนเองสนใจ

– ออกแบบ วางแผน ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

-การคิดเชื่อมโยง

– กระบวนการปฏิบัติ

-กระบวนการกลุ่ม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

การออกแบบการวัดผลประเมินผล

ภาระงานรวบยอด / ชิ้นงาน

โครงร่างการศึกษาค้นคว้า

เกณฑ์การประเมินภาระงาน / ชิ้นงาน (ระบุประเด็นประเมิน)

1. มีองค์ประกอบครบ (ขอบเขตของข้อมูล แผนการจัดเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล)

2. มีความสัมพันธ์กันอย่างสมเหตุสมผลระหว่างขอบเขตของข้อมูล แผนการจัดเก็บข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

ร่องรอยการเรียนรู้อื่นๆ การตอบคำถาม

การวางแผนการเรียนรู้

กิจกรรมการเรียนรู้

 นักเรียนจะ

1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่สนใจ ข้อสงสัย หรือเรื่องที่นักเรียนยังไม่ทราบคำตอบ และถามคำถามว่า “นักเรียน
จะตั้งประเด็นปัญหาที่สนใจได้อย่างไร” นักเรียนตอบคำถามวิธีการตั้งประเด็นปัญหาของตนเอง

2. นักเรียนศึกษาตัวอย่างประเด็นความรู้จากสาระการเรียนรู้ที่เป็นรายวิชาพื้นฐานและช่วยกันวิเคราะห์ประเด็นความรู้

3. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปวิธีการตั้งประเด็นปัญหา

4. นักเรียนฝึกการตั้งประเด็นปัญหาในเรื่องที่สนใจ โดยเริ่มจากตนเอง ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ ครูและนักเรียนช่วยกันตรวจสอบการตั้งประเด็นปัญหา

5. ครูถามคำถาม “การตั้งสมมติฐานประเด็นปัญหาที่สนใจมีวิธีการอย่างไร” นักเรียนตอบคำถามและฝึกตั้งสมมติฐาน
และข้อสันนิษฐานของประเด็นความรู้

6. ครูใช้การตั้งคำถามกระตุ้นให้นักเรียนให้เหตุผล ความคิดต่างมุม เพื่อแก้ไขปัญหาโดยใช้สาขาวิชาต่างๆโดยใช้วิธีการโต้แย้งสนับสนุนและโต้แย้งคัดค้าน

7. ครูและนักเรียนช่วยกันตรวจสอบการตั้งประเด็นปัญหา

8. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มศึกษาใบความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประเด็นต่อไปนี้

-การกำหนดประเด็นความรู้

-ธรรมชาติของความรู้

-ลักษณะของความรู้

– แหล่งเรียนรู้

-วิธีการสร้างความรู้

1) การสร้างความรู้จากความรู้สึก

2) การสร้างความรู้จากภาษา

3) การสร้างความรู้จากเหตุผล

4) การสร้างความรู้จากอารมณ์

-ทฤษฎีของกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ

-ศาสตร์/สาขาวิชาของความรู้

-นักคิด/บิดาศาสตร์ของแต่ละสาระการเรียนรู้

-หลักการตั้งวัตถุประสงค์และสมมุติฐาน

– วิธีการนำเสนอ

9. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการศึกษาใบความรู้และร่วมกันอภิปรายสรุปความรู้

10. ครูถามคำถาม “การออกแบบ วางแผน และใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลมีวิธีการอย่างไร” นักเรียนตอบคำถาม และแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มฝึกตั้งประเด็นปัญหา ตั้งสมมติฐานประเด็นที่สนใจ และออกแบบ วางแผน ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูล เพื่อหาคำตอบของประเด็นปัญหาที่สนใจและค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้ตามสาขาวิชาต่าง ๆ

11. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอโครงร่างการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ สมมติฐาน และวิธีการรวบรวมข้อมูล

12. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับแผนการศึกษาค้นคว้า และช่วยกันปรับปรุงโครงร่างฯ ให้สมบูรณ์

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. ตัวอย่างประเด็นความรู้

2. ใบความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การกำหนดประเด็นความรู้  วิธีการสร้างความรู้ หลักการตั้งวัตถุประสงค์และสมมุติฐาน ฯลฯ

3. แหล่งการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต ฯลฯ

 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 

ชื่อหน่วยการเรียนรู้ไปแสวงหาคำตอบรายวิชาเพิ่มเติม  การศึกษาค้นคว้าและการสร้างองค์ความรู้

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น                     เวลา 20 ชั่วโมง

เป้าหมายการเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้)

4. ศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่เลือกจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

5. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูลได้

6. วิเคราะห์ข้อค้นพบด้วยสถิติที่เหมาะสม

ความเข้าใจที่คงทน (สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด)

การศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่ศึกษา
จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย การตรวจสอบ
ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสม
ในการวิเคราะห์จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ

คำถามสำคัญ

– การศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้มีวิธีการอย่างไร

– การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลมีวิธีการอย่างไร

– จะเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้อย่างไร

ผู้เรียนรู้อะไร (สาระการเรียนรู้)

-ทฤษฎีของกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ

– วิธีการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย

– การตรวจความน่าเชื่อถือของข้อมูล

การใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้เรียนทำอะไรได้ (ทักษะ / กระบวนการ)

– ค้นคว้าความรู้ในประเด็นที่ศึกษาจากแหล่งการเรียนรู้
ที่หลากหลาย

– ทำงานร่วมกับผู้อื่นตามกระบวนการกลุ่ม

-ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้า

– วิพากษ์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล

– กระบวนการวิเคราะห์

ใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มีวินัย

2. ใฝ่เรียนรู้

3. มุ่งมั่นในการทำงาน

การออกแบบการวัดผลประเมินผล

ภาระงานรวบยอด / ชิ้นงาน

แฟ้มสะสมผลงานที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้

เกณฑ์การประเมินภาระงาน / ชิ้นงาน (ระบุประเด็นประเมิน)

– ความหลากหลายของแหล่งข้อมูล

– กระบวนการรวบรวมมีระบบชัดเจน สะดวกต่อการใช้ ตรวจสอบได้

– ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลที่สืบค้น

– ความถูกต้อง / ครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูล

ร่องรอยการเรียนรู้อื่น ๆ

– การตอบคำถามและการอภิปราย

– แบบบันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล

– แบบบันทึกการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล

– แบบบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน

– แบบบันทึกการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

  การวางแผนการเรียนรู้

กิจกรรมการเรียนรู้

 นักเรียนจะ

1. นักเรียนทบทวนเกี่ยวกับโครงร่างการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ สมมติฐาน และวิธีการรวบรวมข้อมูล

2. ครูถามคำถามว่า “การศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้มีวิธีการอย่างไร” และ “การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลมีวิธีการอย่างไร” นักเรียนตอบคำถาม

การวางแผนการเรียนรู้ (ต่อ)

3. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มศึกษาวิธีการค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่ศึกษาวิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ

4. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปวิธีการศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้และวิธีการตรวจสอบข้อมูล

5. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มฝึกทักษะการตรวจสอบข้อมูล / สารสนเทศ

6. นักเรียนแต่ละคนวางแผนจัดเก็บข้อมูลในประเด็นที่ศึกษาและดำเนินการเก็บข้อมูลในประเด็นที่สนใจ

7. นักเรียนตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลและรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เตรียมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์

8. ครูถามคำถาม “จะเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างไร” นักเรียนตอบคำถาม และแบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาสถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลและตัวอย่างการเลือกสถิติพื้นฐานที่เหมาะสมกับข้อมูลที่วิเคราะห์ ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปวิธีการเลือกใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล

9. นักเรียนเลือกสถิติพื้นฐานที่เหมาะสมกับข้อมูลที่วิเคราะห์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

10. ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบผลการวิเคราะห์ข้อมูล และวิพากษ์ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจสอบ

11. นักเรียนนำผลการวิเคราะห์และวิพากษ์ข้อมูลมาปรับปรุงข้อมูลของตนเอง

12. นักเรียนรวบรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยจัดทำเป็นแฟ้มสะสมผลงานที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้เพื่อนำไปสังเคราะห์สรุปเป็นองค์ความรู้

สื่อ / แหล่งเรียนรู้

1. ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ

2.แหล่งค้นคว้าอ้างอิง เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ บุคคล ฯลฯ

3. เครื่องคอมพิวเตอร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

ชื่อหน่วยการเรียนรู้รอบรู้และเห็นคุณค่า  รายวิชาเพิ่มเติม การศึกษาค้นคว้าและการสร้างองค์ความรู้

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น                      เวลา 10 ชั่วโมง   

เป้าหมายการเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้)

7. สังเคราะห์ สรุปองค์ความรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม

8. เสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ

9. เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

ความเข้าใจที่คงทน (สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด)

การสังเคราะห์และสรุปองค์ความรู้จากประเด็นปัญหา
ที่สนใจจะช่วยให้ได้ข้อสรุปของประเด็นปัญหาที่สนใจ และช่วยในการเสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
จากองค์ความรู้ที่ค้นพบ และช่วยให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

คำถามสำคัญ

– การสังเคราะห์ สรุปองค์ความรู้มีวิธีการอย่างไร

– การเสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมีวิธีการอย่างไร

– การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมีประโยชน์และมีคุณค่าอย่างไร

ผู้เรียนรู้อะไร (สาระการเรียนรู้)

-ทฤษฎีของกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ

– การเปรียบเทียบ / เชื่อมโยงองค์ความรู้

– การสังเคราะห์ สรุปองค์ความรู้

– การเสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบจาก
องค์ความรู้ที่ค้นพบ

– ประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง

ผู้เรียนทำอะไรได้ (ทักษะ / กระบวนการ)

– เปรียบเทียบ / เชื่อมโยงองค์ความรู้ สังเคราะห์ และสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการค้นพบ

– เสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบจาก
องค์ความรู้ที่ค้นพบ

– สรุปประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้า
ด้วยตัวเอง

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. วินัย

2. ใฝ่เรียนรู้

3. มุ่งมั่นในการทำงาน

การออกแบบการวัดผลประเมินผล

ภาระงานรวบยอด / ชิ้นงาน

– แผนผังความคิด (Mind Map)สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าและประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

– รายงานการนำเสนอแนวคิด การแก้ปัญหาจากการศึกษาค้นคว้า

เกณฑ์การประเมินภาระงาน / ชิ้นงาน (ระบุประเด็นประเมิน)

– ความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูล / สารสนเทศ

– กระบวนการรวบรวมมีระบบชัดเจน

ร่องรอยการเรียนรู้อื่นๆ

– การตอบคำถามและการอภิปราย

– แบบบันทึกการตรวจสอบคุณภาพงานเขียน

– แบบบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน

การวางแผนการเรียนรู้

กิจกรรมการเรียนรู้

 นักเรียนจะ

1. ครูถามคำถาม “การสังเคราะห์ สรุปองค์ความรู้มีวิธีการอย่างไร” และ “การเสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมีวิธีการอย่างไร” นักเรียนตอบคำถาม ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มศึกษาวิธีการสรุปองค์ความรู้ และวิธีการเสนอแนวคิด
การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ

2. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการสรุปองค์ความรู้ และวิธีการเสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

3. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสังเคราะห์และสรุปองค์ความรู้

4. ครูถามคำถาม “การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมีประโยชน์และมีคุณค่าอย่างไร” นักเรียนตอบคำถาม และแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มจัดทำแผนผังความคิด (Mind Map) เกี่ยวกับประโยชน์และมีคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

5. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน ครูและนักเรียนอภิปรายสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ประโยชน์และมีคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

สื่อ / แหล่งเรียนรู้

-แหล่งค้นคว้าอ้างอิง เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต หนังสือ บุคคล ฯลฯ

– เครื่องคอมพิวเตอร์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก