โรค กล้าม เนื้ออ่อน แรง อันตราย ไหม

กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ (ALS) โรคร้ายที่คาดไม่ถึง ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด พร้อมแนะวิธีเช็ก หากมีอาการที่คล้ายจะเป็นควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยป้องกันโรคไม่ให้ลุกลาม

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ โรคALS เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทในสมองและไขสันหลังที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ มีความผิดปกติทำให้กล้ามเนื้อตามแขนและขาอ่อนแรงลง กลืนลำบาก พูดไม่ชัด หายใจลำบาก โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยโรคนี้มักจะเกิดในกลุ่มผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 – 60 ปี และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้ให้หายขาด

ทางด้าน นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้แต่ต้องกินยาตามแพทย์สั่งตลอดเวลา นอกจากนี้ผู้ดูแลต้องพยายามให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย ทำกิจกรรมสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อลีบแบน เกิดแผลกดทับและการติดของข้อ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความร้อนและความเครียด รับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มและไม่ต้องเคี้ยวมาก นอกจากนี้คนในครอบครัวและญาติต้องให้กำลังใจและอยู่เคียงข้างเพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีความสุขที่สุด

ขณะที่การป้องกัน เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แท้จริง ทำให้ไม่สามารถป้องกันได้ การรักษาทำได้เพียงบรรเทาอาการ และประคับประคองเพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ได้นานที่สุด

สำหรับระยะเริ่มต้น จะรู้สึกว่า มือ เท้า แขนขาอ่อนหรือไม่มีแรง เช่น เดินแล้วล้มบ่อย ยกแขนข้างใดข้างหนึ่งไม่ขึ้น จากนั้นอาการจะเริ่มรุนแรงขึ้นโดยมีอาการกล้ามเนื้อแขนและขาลีบ รับประทานอาหารลำบาก พูดไม่ชัด ระยะที่สอง อาการจะหนักขึ้นจนลามไปถึงระบบหายใจ ทำกิจวัตรประจำวันได้ลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีอาการเหนื่อยง่ายจากกล้ามเนื้อช่วยหายใจอ่อนแรง ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องให้อาหารและน้ำทางสายน้ำเกลือ และอาจเสียชีวิตเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว

ส่วนคำแนะนำสำหรับผู้ป่วย มีดังนี้ ดูแลสุขภาพตนเองให้ดี หากได้รับเชื้อหรือป่วย ควรรีบพบแพทย์ทันที หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป ควบคุมความเครียด หลีกเลี่ยงการรับหรือสัมผัสกับยาฆ่าแมลงหรือพวกโลหะหนักและรังสีรุนแรง ซึ่งจะกระตุ้นทำให้เซลส์เสื่อมสภาพและตาย ที่สำคัญออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

อย่างไรก็ตาม หากสงสัยว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยป้องกันไม่ให้โรคลุกลามต่อไป ทางสถาบันประสาทวิทยาเล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการจัดตั้งคลินิกเฉพาะโรคเอแอลเอส และโรคของระบบเส้นประสาทกล้ามเนื้อ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างต่อเนื่องและครบวงจร รวมถึงสนับสนุนเครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น.

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         อีกหนึ่งอาการผิดปกติที่ต้องระมัดระวัง คือ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งเป็นภัยเงียบที่หลายคนมักมองข้ามอาการเริ่มต้นต่าง ๆ ไป เช่น แขนขาอ่อนแรง สะดุดบ่อย ลุกนั่งลำบาก เพราะเห็นว่าเป็นอาการเหนื่อยล้าปกติ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้กว่าจะมาถึงมือแพทย์ อาการก็ทรุดหนักลงแล้ว

         หลายปีที่ผ่านมา หลายท่านอาจเคยเห็นกระแส Ice Bucket Challenge ที่เอาน้ำแข็งเย็น ๆ ปริมาณมาก ๆ มาราดตัว ซึ่งกิจกรรมนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรค ALS บางท่านอาจสงสัยว่าทำไมถึงต้องเอาน้ำแข็งเย็น ๆ มาราดตัวด้วย? กิจกรรมนี้ทำไปเพื่ออะไร? ALS คืออะไรกันแน่? บทความนี้มีคำตอบค่ะ

สารบัญ

  • อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือโรค ALS เกิดขึ้นได้อย่างไร?
  • ทำไม Ice Bucket Challenge ถึงต้องเอาน้ำแข็งมาราดตัว?
  • อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ของโรค ALS กับโรค MG แตกต่างกันอย่างไร?
  • อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถรักษาให้หายได้ไหม?
  • วิธีลดความเสี่ยงเป็นโรค ALS

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือโรค ALS เกิดขึ้นได้อย่างไร?

         อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic Lateral Sclerosis) หรือที่มักจะเรียกกันว่าโรค ALS เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดกับกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เกิดจากเซลล์ประสาทส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพหรือถูกทำลาย ทำให้กล้ามเนื้อไม่มีเซลล์ประสาทควบคุม จนทำให้เกิดเป็นอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

         ผู้ป่วยโรค ALS กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ไม่ทราบแน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์ประสาทเสื่อมหรือถูกทำลาย แต่มีข้อสันนิษฐานว่าเกิดมาจากปัจจัยเหล่านี้

  1. อายุที่มากขึ้น เซลล์ต่าง ๆ ก็เสื่อมลง รวมถึงเซลล์ประสาทส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อด้วย
  2. เป็นโรคอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคเส้นประสาทอักเสบ ไทรอยด์เป็นพิษ
  3. ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน หรือโปรตีนบางชนิดที่อาจทำให้เซลล์ประสาทเสื่อมหรือถูกทำลาย
  4. ได้รับสารพิษจากดำรงชีวิตหรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง สารโลหะ รังสี หรือการติดเชื้อไวรัสบางชนิด อาจทำให้เซลล์ประสาททำงานผิดปกติ
  5. ผู้ที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรค ALS มาก่อน อาจจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นได้เช่นกัน

อ่านบทความ : โรคเกาต์ และเกาต์เทียม ความเจ็บปวดของวัยเก๋า เลี่ยงได้แค่กินให้ถูก

ทำไม Ice Bucket Challenge ถึงต้องเอาน้ำแข็งมาราดตัว?

         เมื่อหลายปีที่ผ่านมา มีกระแสที่โด่งดังในโซเชียลเกี่ยวกับการเอาน้ำแข็งมาราดตัว ภายใต้กิจกรรมที่ชื่อว่า #Ice Bucket Challenge ซึ่งกิจกรรมนี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก มีนักแสดงและไอดอลต่าง ๆ มากมายออกมาร่วมกิจกรรม บางคนอาจสงสัยว่ากิจกรรมนี้ทำไปเพื่ออะไร? บางคนก็อาจทราบว่าทำไปเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรค ALS แต่ทราบหรือไม่คะว่าทำไมต้องเอาน้ำแข็งมาราดตัว?

         กิจกรรมนี้ถูกริเริ่มโดยพีท ฟราเทส อดีตนักกีฬาเบสบอล ซึ่งป่วยเป็นโรค ALS จุดประสงค์คือเขาต้องการให้กิจกรรมนี้ถูกส่งต่อไปทั่วโลก เพื่อให้ผู้คนรู้จักและตระหนักถึงความอันตรายของโรค ALS โดยกิจกรรมนี้จะทำโดยการเอาน้ำแข็งมาราดตัว แล้วถ่ายคลิปส่งต่อไปเรื่อย ๆ พร้อมทั้งบริจาคเงิน เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและช่วยเหลือผู้ป่วยโรค ALS

สาเหตุที่ต้องเอาน้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัดมาราดตัวนั้น เพื่อให้ทราบถึงความรู้สึกของผู้ป่วยโรค ALS ที่ทุกข์ทรมานกับอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่นเดียวกับการโดนน้ำแข็งราดตัว ทำให้รู้สึกชาและไร้เรี่ยวแรง

วิธีสังเกตอาการของโรค ALS

  1. กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งสามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่มักเกิดกับมือ แขน ขา และเท้า โดยจะเริ่มจะบริเวณใดบริเวณหนึ่ง แล้วลามไปเรื่อย ๆ
  2. กล้ามเนื้อเกร็ง กระตุก ปวด หรือลีบเล็กลง
  3. เดินลำบาก สะดุดล้มบ่อย หกล้มบ่อย หยิบจับของไม่ได้เหมือนเคย
  4. พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง กลืนอาหาร หรือน้ำลายไม่สะดวก จนเกิดการสำลักบ่อย ๆ
  5. เหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเวลานอนราบ ในบางรายมักจะตื่นกลางดึกเพราะหายใจไม่สะดวก
  6. กล้ามเนื้อคออ่อนแรง ไม่สามารถพยุงลำคอได้ ทำให้คอตก

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย


อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ของโรค ALS กับโรค MG แตกต่างกันอย่างไร?

         โรค MG (Myasthenia Gravis) เป็นโรคที่ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเช่นเดียวกับโรค ALS แต่มีความแตกต่างกัน คือ

  • สาเหตุ : โรค ALS เกิดจากเซลล์ประสาทส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพหรือถูกทำลาย แต่โรค MG เกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ โดยการทำลายหรือลดทอนการทำงานของเส้นประสาทบนกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ไม่สามารถกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหดตัวได้ จึงเกิดการอ่อนแรง ซึ่งเป็นโรคที่จัดอยู่ในประเภท Autoimmune disease หรือที่มักจะเรียกกันว่า โรคแพ้ภูมิตัวเอง
  • ปัจจัยเสี่ยง : โรค ALS มีหลายข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท สารเคมี หรือพันธุกรรม แต่โรค MG สันนิษฐานว่ามาจากไวรัสบางชนิด ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายทำลายเส้นประสาทกล้ามเนื้อ

  • อาการ : โรค ALS มักจะเกิดบริเวณกล้ามเนื้อแขนขา มีการเกร็ง กระตุก หรือลีบเล็กลง ส่วนโรค MG มักจะเกิดบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะดวงตา มักจะมีอาการมองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่ง หรือเห็นภาพซ้อน ตาเหล่ หนังตาตก ไม่สามารถยิ้มได้หรือยิ้มแล้วปากเบี้ยว

        สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองโรค คือ สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุก และมักพบมากในผู้สูงอายุเช่นกัน นอกจากนี้อาการอื่น ๆ เช่น การหายใจไม่สะดวก ภาวะกลืนอาหารลำบาก ของทั้งสองโรคจะคล้ายกัน แต่โรค ALS จะมีความรุนแรงมากกว่าโรค MG เนื่องจากเกิดกับระบบประสาทโดยตรง

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถรักษาให้หายได้ไหม?

         ในปัจจุบันโรค ALS ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ค่ะ แพทย์จึงทำได้เพียงชะลอการเสื่อมของเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น และช่วยบรรเทาอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงต่าง ๆ ลง นอกจากต้องป้องกันไม่ให้โรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นด้วย ไม่อย่างนั้น อาการของผู้ป่วยจะยิ่งทรุดหนักลง เช่น

  • โรคซึมเศร้า เกิดจากความเครียด วิตกกังวล หดหู่ เศร้า เสียใจ
  • โรคสมองเสื่อม เนื่องจากเซลล์สมองที่เสื่อมหรือตาย ทำให้มีผลกับความคิด ความจำ และการตัดสินใจ ทำให้อาจมีบุคลิกภาพเปลี่ยนไป หรือไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
  • ปอดบวมหรือระบบหายใจล้มเหลว เพราะเกิดความผิดปกติที่กล้ามเนื้อหัวใจ
  • ภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากผู้ป่วยทานอาหารไม่ได้มากเท่าที่ร่างกายต้องการ
  • แผลกดทับ เพราะในผู้ป่วยบางรายไม่สามารถขยับหรือลุกได้ จะส่งผลให้เกิดแผลกดทับ

         ในผู้ป่วยบางราย สามารถมีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 10 ปี เนื่องจากการปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์และดูแลตนเองควบคู่ไปด้วย ดังนี้

  1. การกินยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
  2. กินอาหารที่มีประโยชน์และมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  3. การทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ ฝึกฝนการพูด การกลืนน้ำลายและอาหาร
  4. ฝึกฝนการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เช่น การอาบน้ำ การแต่งตัว การกินข้าว
  5. มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่ซึมเศร้า

วิธีลดความเสี่ยงเป็นโรค ALS

         ปัจจุบันสาเหตุของโรค ALS ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร จึงยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคนี้ที่แน่นอน แต่สามารถลดความเสี่ยงได้ ดังนี้

  1. ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
  2. ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  3. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติดทุกชนิด
  4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารโลหะ หรือสารเคมีอันตรายต่าง ๆ หากต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสิ่งเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีลดความเสี่ยงต่อไป
  5. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่มีคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรค ALS มาก่อน
  6. หากสงสัยว่ามีอาการเหมือนโรค ALS ให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที

สรุป

         แม้ว่าโรค ALS จะมีผู้ที่เป็นไม่ได้มาก แต่การป้องกันไว้ก่อนเป็นเรื่องที่ดีที่สุด เพราะถ้าหากป่วยเป็นโรคนี้แล้ว จะไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ แต่ถึงอย่างนั้น แม้จะป่วยเป็นโรค ALS ไปแล้ว ก็อย่างเพิ่งถอดใจนะคะ เพราะหากดูแลตนเองดีและปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ผู้ป่วยโรคนี้สามารถใช้ชีวิตได้มากกว่า 10 ปีเลยนะคะ ดังนั้น การดูแลตนเองเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดค่ะ

BED & MATTRESS PRODUCT

จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นยังไง

อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis) อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าและระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการพูดไม่ชัดเสียงขึ้นจมูก เคี้ยวอาหาร กลืนอาหารลำบาก อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนขา เช่น เดินขึ้นบันได หรือยกแขนสระผมลำบาก อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อหายใจ เช่น อาการเหนื่อย

กล้ามเนื้ออ่อนแรงแก้อย่างไร

พักผ่อนให้มาก เพื่อลดการเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หลีกเลี่ยงความร้อนและความเครียด เพราะอาจทำให้อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแย่ลงได้ ติดตั้งราวจับสำหรับผู้ป่วย เช่น ในห้องน้ำ รวมถึงเก็บกวาดบ้านเพื่อป้องกันผู้ป่วยสะดุด เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแทนการออกแรงเอง เพื่อป้องกันอาการเหนื่อยในผู้ป่วย เช่น แปรงสีฟันไฟฟ้า

กล้ามเนื้ออ่อนแรงมีกี่ระดับ

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีทั้งหมด 3 ชนิด SMA Type II : ชนิดรุนแรงปานกลาง แสดงอาการในช่วงหลังจาก 6 เดือน ผู้ป่วยจะยืนและเดินไม่ได้ แต่ยังพอนั่งได้ อัตราการมีชีวิตรอดมากกว่า 4ปี SMA Type III : ชนิดรุนแรงเล็กน้อย แสดงอาการในช่วงหลังจากอายุ 1 ปี ผู้ป่วยจะเริ่มอ่อนแรง เดินไม่ค่อยไหว อาจต้องนั่งรถเข็นในวัยผู้ใหญ่

อาการแขนขาอ่อนแรงเกิดจากอะไร

แขนขาอ่อนแรงนั้น เกิดจากภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง หรือมีเลือดออกและไปเบียดทับเนื้อสมอง ภาวะสมองขาดเลือด ส่วนใหญ่จะเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic stroke) หรือหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) คือผนังหลอดเลือดแตก ทำให้มีเลือดคั่งในเนื้อสมอง โดยโรคนี้ถือว่าร้ายแรงเป็นอย่างมาก เพราะมีโอกาสทำให้เกิด อัมพฤกษ์ อัมพาต ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก