ภาวะทุพโภชนาการเป็นสิ่งที่ป้องกันได้หรือไม่อย่างไร

ภาวะทุพโภชนาการ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารผิดเบี่ยงเบนไปจากปกติ อาจเกิดจากได้รับสาร อาหารน้อยกว่าปกติ หรือเหตุทุติยภูมิ คือ เหตุเนื่องจากความบกพร่อง ต่างจากการกิน การ ย่อย การดูดซึม ในระยะ 2-3 ปี แรกของชีวิต จะมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและการเรียน ภายหลัง เนื่องจากเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตของสมองสูงสุด ชึ่งระยะเวลาที่วิกฤติต่อพัฒนา การทางร่างกายของวัยเด็กมากที่สุดนั้น ตรงกับช่วง 3 เดือนหลัง การตั้งครรภ์จนถึงอายุ 18- 24 เดือนหลังคลอด เป็นระยะที่มีการสร้างปลอกหุ้มเส้นประสาทของระบบประสาท และมีการ แบ่งตัวของเซลล์ประสาทมากที่สุด เมื่ออายุ 3 ปี มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ถึงร้อยละ 80 สำหรับผลกระทบทางร่างกายภายนอกที่มองเห็นได้ คือ เด็กจะมีรูปร่างเตี้ย เล็ก ซูบผอม ผิวหนังเหี่ยวย่น เนื่องจากขาดไขมันชั้นผิวหนัง นอกจากนี้อวัยวะภายในต่างๆ ก็ได้รับผล กระทบเช่นกัน

1. หัวใจ จะพบว่า กล้ามเนื้อหัวใจไม่แน่นหนา และการบีบตัวไม่ดี

2. ตับ จะพบไขมันแทรกอยู่ในตับ เซลล์เนื้อตับมีลักษณะบางและบวมเป็นน้ำสาเหุตให้ทำงานได้ไม่ดี

3.ไต พบว่าเซลล์ทั่วไปมีลักษณะบวมน้ำและติดสีจาง

4.กล้ามเนื้อ พบว่าส่วนประกอบในเซลล์ลดลง มีน้ำเข้าแทนที่

นอกจากการขาดสารอาหารแล้วการได้รับอาหารเกิน ในรายที่อ้วน ฉุุ ก็ถือเป็นภาวะทุพโภชนาการ เป็นการได้รับอาหารมากเกินความ ต้องการ พลังงานที่มีมาก

นั้นไม่ได้ใช้ไป พลังงานส่วนเกินเหล่านั้น ก็ จะแปลงไปเป็นคลอเรสเตอร์รอล เกาะจับแน่นอยู่ตามส่วนต่างๆ ของ

ร่างกาย และอาจลุกลามเข้าสู่เส้นเลือด ผลที่ตามมาก็คือ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคต่างๆ

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ

1. สาเหตุที่เกิดจากอาหาร

2. สาเหตุที่เกิดจากร่างกาย

ระดับของการเกิดภาวะทุพโภชนาการ

•ระดับที่ 1 เซลล์ และเนื้อเยื่อมีสารอาหารลดต่ำกว่าปกติ แต่ยังไม่เกิดอาการผิดปกติ

• ระดับที่ 2 ปริมาณสารอาหารในเลือดหรือปัสสาวะลดต่ำกว่าปกติ

• ระดับที่ 3 อวัยวะทำงานเปลี่ยนไปจากเดิม

• ระดับที่ 4 มีอาการที่แสดงบ่งชี้ถึงโรคขาดสารอาหารอย่างชัดเจน อาจเป็นอันตรายและทำให้เสียชีวิต

โรคที่เกิดจากภาวะทุพโภชนาการ เช่น โรคเกาต์ โรคเลือดจาง โรคเหน็บชา โรคปากนกกระจอก โรคคอพอก โรค ตาฟาง โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบา

หวาน โรคไต โรคขาดโปรตีน โรคนิ่ว โรคลักปิดลักเปิด โรคหัวใจขาด เลือด โรคกระดูกอ่อน

แนวทางการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการที่มีผลต่อสุขภาพ                                                                                                                                                             

1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่       2. รับประทานอาหารที่สมส่วน            3. รับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรค

ภาวะโภชนาการส่งผลต่ออนาคตของบุคคลนั้น มีผลต่อการเจริญเติบโต ความแข็งแรงของร่างกาย จิตใจ ระดับสติปัญญา และมีผลต่อการทำงาน การสร้างรายได้ของผู้นั้น ด้วยเหตุนี้เองภาวะโภชนาการจึงมีผลต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ และจำเป็นต้องมีการส่งเสริมโภชนการตั้งแต่แรกเกิด เพราะการเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิด – 5 ปี เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาวที่คุ้มค่า

เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะทุพพลภาพที่เกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 65 เมื่อปี 2012 สมาชิกองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรอง WHA Global Nutrition Targets 2025 หรือ เป้าหมายโภชนาการระดับโลก ปีพ.ศ. 2568 ประกอบด้วย เป้าหมาย 6 ตัวชี้วัด ได้แก่

  1. ภาวะเตี้ยแคระแกร็น (stunting)ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ลดลงร้อยละ 40
  2. ภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ลดลงร้อยละ 50
  3. จำนวนเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ลดลงร้อยละ 30
  4. ภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องไม่เพิ่มข้ึน
  5. สัดส่วนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรง เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 50
  6. ภาวะผอม (wasting) ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องไม่เกินร้อยละ 5

ข้อมูลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเฝ้าระวังด้านโภชนาการในระดับประชาคมอาเซียน เมื่อปีพ.ศ. 2562 กรมอนามัยเผยว่า 1 ใน 10 ของเด็กปฐมวัยไทยมีภาวะเตี้ยหรืออ้วน สถานการณ์ปัญหาทุพโภชนาการในไทยพบเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีภาวะเตี้ย อ้วน ผอม ร้อยละ 10.6, 9.1 และ 5.6 ตามลำดับ และเมื่อเด็กเติบโตเข้าสู่วัยเรียนในช่วงอายุ 6 – 14 ปี มีแนวโน้มพบภาวะเตี้ยร้อยละ 8.3 และผอมร้อยละ 4.3 นอกจากนี้ยังพบว่ามีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 13.1 ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มดีกว่าสถานการณ์เฉลี่ยระดับนานาชาติที่พบว่าอัตราเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปีที่ไม่แคระแกร็น อยู่ที่ระดับ 0.89 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานโลกที่กำหนดค่าไว้ในระดับ 0.77

ซึ่งคำว่า ‘ภาวะทุพโภชนาการ’ ได้ปรากฏอยู่ใน #SDG2 เป้าประสงค์ท่ี 2.2 ยุติภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบและแก้ไขปัญหาความต้องการสารอาหารของหญิงวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร และผู้สูงอายุภายในปี พ.ศ. 2573 รวมถึงบรรลุเป้าหมายท่ีตกลงร่วมกันระหว่างประเทศว่าด้วยภาวะแคระแกร็นและผอมแห้งในเด็กอายุต่ากว่า 5 ปี ภายในปี พ.ศ. 2568

By 2030, end all forms of malnutrition, including achieving, by 2025, the internationally agreed targets on stunting and wasting in children under 5 years of age, and address the nutritional needs of adolescent girls, pregnant and lactating women and older persons

SDG Vocab รู้จักคำศัพท์ รู้จัก SDGs

หมายเหตุ – คำอธิบายข้างต้นสรุปโดยทีมงาน เพื่อให้อ่านแล้วทำความเข้าใจง่ายเท่านั้น
ไม่แนะนำให้นำไปอ้างอิงในเชิงวิชาการ

แหล่งที่มา:
รายงาน สกว. สำรวจสถานะ SDGs เป้าหมายที่ 2 (2560)
กรมอนามัย เผย 1 ใน 10 เด็กไทยพบเตี้ย-อ้วน ขานรับชาติอาเซียน เร่งขจัดปัญหาทุพโภชนาการเด็กไทยตามเป้าหมายโลก
แผนปฏิบัติการด้านโภชนาการระดับชาติ 5 ปี พ.ศ. 2562-2566 โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

อ่านเพิ่มเติม:
UNICEF – The state of food security and nutrition in the world 2020 : Transforming food systems for affordable healthy diets

ภาวะทุพโภชนาการเป็นอย่างไร

ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายที่บริโภคอาหารและได้รับสารอาหารไม่เหมาะสมทั้งปริมาณและความครบถ้วนของอาหาร ซึ่งอาจจะได้รับน้อยหรือมากกว่าความต้องการ จึงทำให้ร่างกายเกิดภาวะผิดปกติขึ้น แบ่งออกเป็นภาวะโภชนาการต่ำ (Undernutrition) และภาวะโภชนาการเกิน (Overnutrition) โดยโภชนาการต่ำ หมายถึงสภาวะร่างกาย ...

ภาวะทุพโภชนาการสามารถป้องกันได้หรือไม่ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร

การป้องกันภาวะทุพโภชนาการ รับประทานอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงอย่างผักหรือผลไม้ ข้าว ขนมปัง มันฝรั่ง ธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา ไข่ ถั่ว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีไขมันที่เป็นของแข็ง น้ำตาล และเกลือในปริมาณที่เหมาะสม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง

ภาวะโภชนาการเกินหมายถึงอะไร

ภาวะโภชนาการเกิน เกิดจากการบริโภคอาหารหรือสารอาหารที่เกินกว่าความต้องการของร่างกาย เช่น บริโภคอาหารที่ให้พลังงานเกินกว่าที่ร่างกายจะใช้ ร่างกายจึงเกิดการสะสมพลังงานเหล่านั้นไว้ในรูปของไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน หรือหมายรวมถึงการได้รับวิตามินบางชนิดมากเกินไป จนอาจสะสมและก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน

ภาวะทุพโภชนาการขาดมีอะไรบ้าง

อาการของภาวะทุพโภชนาการ.
ความอยากอาหารลดลง.
อ่อนเพลียและหงุดหงิดง่าย.
ไม่มีสมาธิ.
ร่างกายรู้สึกหนาวบ่อยครั้ง.
ในเด็กร่างกายอาจเจริญเติบโตช้า น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์.
รู้สึกเหนื่อยง่าย.
เกิดความวิตกกังวล.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก