เป็นหนี้จดทะเบียนสมรสได้ไหม

• บิดาหรือมารดาเป็นเจ้าของบัตรเครดิตผู้มีหน้าที่รับภาระต้องเป็น “บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย” เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ชำระหนี้ได้ แต่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่จำเป็นต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน หากไม่มีทรัพย์มรดกตกทอด บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว

• คู่สมรสเป็นเจ้าของบัตรเครดิตกรณีที่มีการจดทะเบียนสมรส และหนี้บัตรเครดิตเกิดขึ้นภายหลังการสมรส สามีหรือภริยาของคู่สมรสที่เสียชีวิต อาจต้องเป็นผู้รับผิดชอบหนี้สิน ก้อนนั้น ๆ หากพิสูจน์ได้ว่า หนี้ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการใช้จ่ายร่วมกันในระหว่างสมรส ซึ่งถือว่าเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภริยา

• เป็นผู้ถือบัตรเสริมเนื่องจากบัตรเสริมและบัตรหลักของบัตรเครดิตนั้น “ใช้วงเงินร่วมกัน” จึงต้องร่วมกันรับผิดชอบหนี้บัตรเครดิตทั้งนี้ หนี้บัตรเครดิต มีอายุความ 2 ปี นับแต่มีการชำระหนี้แก่สถาบันการเงินครั้งสุดท้าย และเป็น “คดีแพ่ง” ไม่ใช่คดีอาญาจึงไม่มีโทษจำคุก แต่หากไม่ชำระหนี้ สถาบันการเงินมีสิทธิบังคับคดีด้วยการยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดหรือหักเงินเดือน

หนี้ เมื่อมีแล้วถือเป็นความรับผิดชอบที่ต้องชดใช้คืน แน่นอนว่าผู้ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงคือผู้กู้ที่มีชื่ออยู่ในสัญญาหนี้ แต่นอกเหนือผู้กู้แล้วจะมีใครที่ต้องร่วมรับผิดชอบบ้าง และต้องรับผิดชอบอย่างไร ไปติดตามรายละเอียดกัน

 

หนี้ คืออะไร?

หนี้ คือ นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป โดยฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ มีหน้าที่ต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้

หนี้เกิดโดยนิติกรรม-สัญญา ที่เมื่อมีการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นจะทำให้เกิดความเป็นเจ้าหนี้-ลูกหนี้ขึ้น โดยลูกหนี้จะหลุดพ้นจากภาระแห่งหนี้ได้นั้นก็ต่อเมื่อชำระหนี้ตามที่ตกลงในสัญญาแล้ว และหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ได้มีความหมายเฉพาะการกู้ยืมเงินเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความผูกพันที่สามารถใช้สิทธิ์เรียกร้องได้ตามกฎหมาย เช่น ภาษีอากร ด้วย

 

เมื่อก่อหนี้แล้ว…ใครต้องร่วมรับผิดชอบ?

1. สามี-ภรรยา

กรณีมีหนี้สินก่อนจดทะเบียนสมรส

ถือเป็นหนี้ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้ กยศ. ซึ่งถือเป็นหนี้ส่วนตัว หากเมื่อจดทะเบียนสมรสในภายหลัง อีกฝ่ายจะไม่ต้องร่วมรับผิดชอบหนี้ หากมีการฟ้องร้องหรือยึดทรัพย์ เจ้าหนี้จะยึดได้แค่ทรัพย์ส่วนตัวของผู้ที่เป็นหนี้ และสินสมรสครึ่งหนึ่ง แต่ไม่มีสิทธิ์ยึดทรัพย์ส่วนตัวของคู่สมรส


กรณีมีหนี้สินหลังจดทะเบียนสมรส

ในทางกฎหมายกำหนดให้สามี-ภรรยารับผิดชอบหนี้ร่วมกัน แม้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีชื่ออยู่ในสัญญาหนี้ก็ตาม แต่ถือว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน โดยมีทั้งหมด 4 ประเภท คือ

1. หนี้เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่สามีหรือภรรยาเท่านั้น แต่รวมถึงบุคคลอื่นในครอบครัวด้วย เช่น ค่าอุปการะเลี้ยงดู การศึกษา การรักษาพยาบาล

2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส เช่น เงินกู้ซ่อมแซมบ้านที่เป็นสินสมรสซึ่งสามีเป็นผู้กู้ แต่ภรรยาต้องร่วมรับผิดชอบด้วย

3. หนี้ที่เกิดขึ้นจากการงานซึ่งสามีภรรยาทำด้วยกัน เช่น สามีภรรยาทำธุรกิจร่วมกันและมีการกู้เงินเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจนั้น ถือว่าต้องรับผิดชอบหนี้ร่วมกัน

4. หนี้ที่สามีหรือภรรยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายให้สัตยาบันว่าจะรับผิดชอบหนี้ร่วมกัน (การให้สัตยาบันจะทำด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้)

 

2. ทายาทมรดกกรณีผู้ก่อหนี้เสียชีวิต

หนี้ ถือเป็นมรดก เพราะมรดก หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้เสียชีวิต ตลอดจนสิทธิหน้าที่ และความรับผิดต่างๆ เช่น หน้าที่ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ซึ่งจะตกทอดแก่ทายาทด้วย

เจ้าหนี้สามารถทวงหนี้กับทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดกของผู้เสียชีวิตได้ แต่จะได้เท่ากับมรดกที่ทายาทได้รับเท่านั้น หากมีหนี้มากกว่านั้นทายาทก็ไม่ต้องชำระ เช่น ทายาทได้รับมรดกจากผู้เสียชีวิตมูลค่า 1 ล้านบาท แต่ผู้เสียชีวิตมีหนี้สินที่ยังชำระไม่หมดอยู่ที่ 3 ล้านบาท ดังนั้นทายาทจะชดใช้หนี้สินในจำนวนไม่เกิน 1 ล้านบาท เท่านั้น ส่วนอีก 2 ล้านบาท ทายาทไม่ต้องรับผิดชอบ

ปัญหาโลกแตกมากสำหรับการเป็นหนี้บัตรเครดิต ปัจจุบันหนี้ที่พุ่งสูงขึ้นก็มาจากหนี้บัตรเครดิตกันทั้งนั้น ซึ่งจะเห็นได้จากเว็บในกระทู้ต่างๆที่มีปัญหาเรื่องหนี้บัตรเครดิต และอีกปัญหาหนึ่งสำหรับคนที่เป็นหนี้ก็คือ เมื่อคนที่เป็นสามีภรรยากัน เวลามีหนี้จะต้องชดใช้ร่วมกันหรือไม่ คำถามต่างๆมากมายเหล่านี้ทำให้คู่รักเลือกที่จะไม่จดทะเบียนสมรสกัน เพราะบางคนมีธุรกิจ มีเงินหมุนเวียน อาจจะต้องมีการกู้หนี้ยืมสินกันมากมาย อาจจะทำให้คู่รักจะต้องเดือดร้อนไปด้วย หากมีฟ้องร้องกัน วันนี้เราจะมีคำตอบของหลายๆคำถามเหล่านี้มาฝากกัน เพื่อที่จะได้มีความเข้าใจกันมากขึ้นเวลาเป็นหนี้บัตรเครดิต


เช็คข้อมูลสินเชื่อรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตทุกธนาคารที่นี่

รับคำปรึกษาเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตได้ที่ Line ของ iMoney


Advertising :


ภรรยาเป็นหนี้บัตรเครดิต

Credit : //pixabay.com

กรณีที่เป็นสามีภรรยา หากคนใดคนหนึ่งเป็นหนี้จะต้องชดใช้แทนหรือไม่

  • กรณีที่แต่งงานกันแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หนี้สินต่างๆก็จะเป็นเรื่องส่วนบุคคล ใครที่เป็นคนสร้างหนี้ก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะถือว่ายังไมเป็นบุคคลเดียวกัน แต่ถ้าแต่งงานจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สินทรัพย์สินต่างๆที่หามาได้หลังจากแต่งงานก็ถือได้ว่าเป็นสินสมรส ทรัพย์สินร่วมกัน หากมีหนี้สินก็จะต้องชดใช้ร่วมกัน ทั้งนี้ การชดใช้หนี้แทนกันก็จะต้องมีขอบเขตของมันด้วยว่าหนี้แบบไหนที่ต้องใช้และหนี้แบบไหนที่ไม่ต้องชดใช้ร่วมกัน

กรณีที่ภรรยาเป็นหนี้บัตรเครดิต จะต้องชดใช้แทนหรือไม่

  • ก่อนอื่นจะต้องรู้เสียก่อนว่าหนี้ของคู่สมรสแบบไหนที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันหรือไม่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เพราะถ้าเป็นหนี้บัตรเครดิตที่เป็นส่วนตัวของภรรยา ใช้เพื่อเรื่องส่วนตัวก็ไม่ถือว่าเป็นหนี้ร่วมกัน ฉะนั้นสามีก็ไม่ต้องชดใช้แทน

หนี้สินอะไรบ้างที่คู่สมรสไม่ต้องชดใช้แทนกันหากอีกฝ่ายเป็นผู้ก่อหนี้

  • หนี้สินที่เกิดจากการค้ำประกันให้บุคคลอื่น
  • หนี้สินที่เกิดจากการพนัก ถ้าอีกฝ่ายไปกู้เงินมาเพื่อเล่นการพนัน โดยที่ไม่ได้นำเงินนั้นมาใช้จ่ายที่เกี่ยวกับครอบครัวเลย
  • หนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืม เพื่อนำไปให้บุคคลที่สามที่ไม่ใช่คนในครอบครัว หรือที่เรียกกันว่า ชู้
  • หนี้สินที่เกิดจากบัตรเครดิต เพื่อนำเงินไปใช้ในเรื่องส่วนตัว

กรณีที่ภรรยาเป็นหนี้บัตรเครดิต แล้วเกิดเสียชีวิต สามีจะต้องชดใช้ให้หรือไม่

  • อย่างที่บอกว่าหนี้บัตรเครดิตไม่ถือว่าเป็นหนี้สินที่จะต้องชดใช้ร่วมกัน แต่ถ้าภรรยาเสียชีวิต สินสมรสทั้งหมดก็จะต้องถูกแบ่งครึ่งตามกฎหมายอยู่แล้ว ฉะนั้นในส่วนที่เป็นทรัพย์สินของภรรยาก็จะต้องนำมาชดใช้หนี้บัตรเครดิตให้กับธนาคาร

สำหรับใครที่แต่งงานแล้วจดทะเบียนสมรสกันนั้นก็ควรจะต้องรู้ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนสมรสไว้บ้างเล็กๆน้อยๆก็ยังดี ว่าแต่งงานกันแล้วมีอะไรบ้างที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน หรือใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับภาระหนี้บัตรเครดิตเยอะ ผ่อนไม่ไหว อยากรวมหนี้ไว้เป็นก้อนเดียวสามารถทำได้ไหม หรือจะรีไฟแนนซ์กับธนาคารไหนดี สามารถหาคำตอบเหล่านี้ได้จากเว็บไซต์ iMoney.in.th ได้เลย ทุกปัญหาเรื่องการเงิน iMoney มีคำตอบ

จดทะเบียนต้องใช้หนี้ไหม

หนี้แบบไหนที่คู่สมรสต้องรับผิดชอบร่วมกัน 1. หนี้จากการใช้จ่ายทั่วไป หนี้ที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายทั่วไป ค่ากิน ค่าเลี้ยงดูบุตร รวมไปถึงค่ารักษาพยาบาลของคนในครอบครัว ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน 2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส

หนี้สินของสามีภรรยาต้องรับผิดชอบด้วยไหม

2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส เช่น เงินกู้ซ่อมแซมบ้านที่เป็นสินสมรสซึ่งสามีเป็นผู้กู้ แต่ภรรยาต้องร่วมรับผิดชอบด้วย 3. หนี้ที่เกิดขึ้นจากการงานซึ่งสามีภรรยาทำด้วยกัน เช่น สามีภรรยาทำธุรกิจร่วมกันและมีการกู้เงินเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจนั้น ถือว่าต้องรับผิดชอบหนี้ร่วมกัน

หนี้สินสมรสคืออะไร

หนี้สินสมรส คือ หนี้ที่สามีภรรยาเป็นหนี้ร่วมกันนั้น ให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภรรยาร่วมกันทำในระหว่างหลังแต่งงานหรือหลังจดทะเบียนสมรส เช่น หนี้เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส ...

จดทะเบียนสมรสยึดทรัพย์ได้ไหม

การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งกฎหมายเปิดช่องเล็ก ๆ ให้ทำได้เฉพาะในคดีที่ฟ้องร้องเพื่อการปฏิบัติหน้าที่หรือรักษาสิทธิระหว่างสามีภริยา หรือสำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าฤชาธรรมเนียมที่ยังไม่ชำระตามคำพิพากษาของศาสนาของศาล หากเป็นหนี้สินประเภทอื่น จะยึดหรือายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ ต่อเมื่อมีการหย่าขาดกัน ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก