สัญลักษณ์อินพุต/เอาต์พุต

              อินพุต หมายถึงอุปกรณ์ที่สามารถรับเข้าข้อมูล โปรแกรม หรือคำสั่งต่าง ๆ ส่งไปยังคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งการพิจารณาเลือกใช้อุปกรณ์รับเข้าขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและความเหมาะสมเป็นสำคัญ

               เอาต์พุต หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้โดยทั่วไปคอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลที่รับเข้ามาทำการประมวลผลออก ซึ่งเอาต์พุตแบ่งตามฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และความต้องการของผู้ใช้

          1. แป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์รับเข้าชนิดแรกที่ใช้กับคอมพิวเตอร์และถือเป็นอินพุตหลักของอุปกรณ์ประเภท ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันแป้นพิมพ์ได้เพิ่มปุ่มขึ้นเพื่อ

         2. เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับชี้ตำแหน่ง ใช้ในการควบคุม และเคลื่อนย้ายตำแหน่งบนจอภาพ รวมทั้งการเลือกข้อมูลในคอมพิวเตอร์

           3.ปากกาหรือสไตลัส (Stylus) สไตลัสเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นิยมใช้กับงานด้านการออกแบบกราฟิก ปัจจุบันปากกาสไตลัสนิยมนำมาใช้กับเครื่องพีดีเอ หรือเครื่องปาล์ม

            4. ปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์มีลักษณะเป็นปากกาที่ใช้ชี้ตำแหน่งบนจอภาพแบบพิเศษนิยมใช้กับงานด้านการออกแบบ และงานด้านการแพทย์

            5. จอภาพแบบสัมผัส (Touch Screen) เป็นจอภาพแบบพิเศษที่สามารถเป็นได้ทั้งอุปกรณ์รับเข้าและอุปกรณ์ส่งออก นิยมใช้กับงานธุรกิจร้านค้า โรงแรม สายการบิน และธนาคาร

          6. จอยสติ๊ก (Joy Stick) เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้ในการเล่นเกมส์บนคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้ก้านบังคับที่ใช้ควบคุมทิศทาง และปุ่มฟังก์ชันต่าง ๆ ในเกมส์

          7. สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้เนื่องจากให้ความสะดวกต่อการใช้งานหลาย ๆ ด้าน

     อุปกรณ์ส่งออกหรือแสดงผล               

          1. จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและนิยมใช้เพื่อแสดงผล ในรูปแบบของข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว จอภาพมีหลายชนิดด้วยกัน คือ

                  1. จอภาพซีอาร์ที (Cathode Ray Tube: CRT) เป็นจอภาพสัญญาณแบบอนาล็อก ถูกพัฒนาจากจอภาพโทรทัศน์ การทำงานจะเกิดความร้อนสูง

                  2. จอภาพแบบแอลซีดี (Liquid Crystal Display: LCD) เป็นจอภาพที่ใช้วัตถุแบบผลึกเหลว (Liquid Crystal) แทนการใช้หลอดภาพและใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ใน การผลิแสงสว่าง

         2. เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมาตรฐานชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับพิมพ์ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ลงในกระดาษ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

                  1. เครื่องพิมพ์แบบดอทเมทริกซ์ (Dot Matrix Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หัวเข็มกระแทกผ้าหมึกเพื่อให้เกิดจุดรวมกัน เป็นตัวอักษร ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ประเภทนี้ได้รับความนิยมน้อยลง

                  2. เครื่องพิมพ์แบบบรรทัด (Line Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกับเครื่องพิมพ ์แบบดอทเมทริกซ์ แต่จะพิมพ์เป็นบรรทัด ซึ่งแตกต่างการพิมพ์แบบดอทเมทริกซ์ที่พิมพ์ทีละตัวอักษร      

        3. เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต (Ink Jet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการพ่นหมึก สามารถพิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและรูปภาพ ความเร็วของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้พิจารณาจาก จำนวนแผ่นที่พิมพ์ได้ในเวลา 1 นาที (Page Per Minute : PPM)

       4. เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่นินมใช้กับงานพิมพ์เอกสารทั่วไป สามารถพิมพ์ได้คมชัดและเร็ว หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์คล้ายกับ เครื่องถ่ายเอกสารโดยใช้ผงหมึกที่บรรจุไว้ในตลับ (Toner) ความเร็วของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้ พิจารณาจากจำนวนแผ่นที่พิมพ์ในเวลา 1 นาที (Page Per Minute: PPM)

       5.พล็อตเตอร์ (Plotter) เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในงานด้านกราฟิกสามารถแสดงผลงานกราฟิกทางเครื่องพิมพ์ ์ทำไม่ได้นั้นคืองานที่ต้องใช้กระดาษแผ่นใหญ่ คุณภาพทางกราฟิกซับซ้อน เช่น พิมพ์เขียว แผนผังเมือง แผนผังการเดินสายไฟฟ้าอาคารขนาดใหญ่ ฯลฯ

       6.ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่ใช้แสดงข้อมูลประเภทเสียงจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยต้องใช้คู่กับอุปกรณ์ การ์ดเสียง (Sound Card) เป็นตัวเชื่อมระหว่างลำโพงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำการแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาล็อกไปยังลำโพง

ปัญหาและการแก้ไขปัญหา

            อุปกรณ์ต่อพ่วงมีมากเกินไป ทำให้ข้อมูลหรือจำนวนที่ใช้ในการส่งข้อความมีความแตกต่างกัน และความเร็วแต่ละชนิดมีความเร็วที่แตกต่างกันออกไป  การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ควรแก้ปัญหาโดยใช้  I/O  Modules   

           I/O  Modules   จะใช้การควบคุมสัญญาณ และการกำหนดเวลา และจัดการการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ CPU และจัดการการเชื่อมต่อให้กับอุปกรณ์  I/O เป็นที่พักระหว่างการรับและส่งข้อมูล รวมทั้งตรวจสอบความผิดพลาด

วิธีการรับ ส่งข้อมูล

          วิธีที่ 1  Programmed I/O  คือ CPU  จะควบคุมสัญญาณถามอุปกรณ์ I/O  เพื่อตรวจสอบสถานะการทำงานของอุปกรณ์ I/O   CPU  คอยจนกระทั่ง  I/O  ทำงานสำเร็จก่อน  CPU  ก่อนที่จะไปทำงานอื่นๆ

          วิธีที่ 2 Interrupt Driven I/O ใช้การขัดจังหวะ หรือที่เรียกว่า อินเตอรัพท์ (Interrupt)มาแทนการที่ต้องให้ CPU คอยตรวจสอบสถานะของ  I/O  ว่าพร้อมหรือยัง

        วิธีที่ 3 Direct Memory Access (DAM) ทั้ง 2 วิธีที่ผ่านมา Interrupt driven และ programmed I/O ลัวนเเเล้วต้องใช้ CPU ทั้งสิ้นทำให้อัตราการส่งข้อมูลถูกจำกัดลง

จัดทำโดย

    นางสาว วรรณา  ป้องศรี             5841120056

    นางสาว ปฏิมากร  ธรรมประชา  5841120076

    นางสาว สิริภรณ์  พรรณา            5841120077

  คณะครุศาสตร์

 สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ศึกษา  ชั้นปีที่  2

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก