ประเพณีแข่งเรือยาวเกิดขึ้นในฤดูใด

                      ช่วงเวลา          วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
                       ความสำคัญ
                  การแข่งเรือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวฉะเชิงเทรา ซึ่งมีความผูกพันกับแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาแต่โบราณกาล
                       พิธีกรรม
                  การแข่งเรือ นับเป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติการมาเป็นเวลายาวนาน โดยถือกำหนดในวันที่มีการแห่หลวงพ่อโสธรทางน้ำเป็นสำคัญ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี แต่เดิมจัดขึ้นที่บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง หน้าตัวเมือง แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปจัดบริเวณหน้าวัดโสธรวรวิหาร เรือที่เข้าแข่งมีหลายประเภท ตั้งแต่เรือยาวเล็ก เรือยาวใหญ่ เรือเร็วติดเครื่องยนต์ ฯลฯ

���ླ���������Ǩѧ��Ѵ��������� ��ͧ������� �ѧ��Ѵ���������

"�ͧ���� ����ҹ��"

11439

���ླ���������Ǩѧ��Ѵ���������

���ླ���������Ǩѧ��Ѵ���������

���ླ���������Ǩѧ��Ѵ���������

���ླ���������Ǩѧ��Ѵ���������

���ླ���������Ǩѧ��Ѵ���������

���ླ���������Ǩѧ��Ѵ���������

���ླ���������Ǩѧ��Ѵ��������� �ѧ��Ѵ���������

�繧ҹ���ླջ�Шӻ� ��˹��Ѵ��ѹ�����-�ҷԵ���á�ͧ��͹��Ȩԡ�¹�ͧ�ء�� �����Ĵٹ����ҡ��ӹ����� ������ͺ����������Шҡ�ѧ��Ѵ��ҧ � ����������������ͧ�վ�·��ʹ��������˹�ҷ����ҡ�������ʵ֡ �����觢ѹ����������ط��ѡ�����ӹ�����

���ླշ����ʹ� ���ླ���������Ǩѧ��Ѵ���������

���ླ���������Ǩѧ��Ѵ��������� �繧ҹ���ླջ�Шӻ� ��˹��Ѵ��ѹ�����-�ҷԵ���á�ͧ��͹��Ȩԡ�¹�ͧ�ء�� �����Ĵٹ����ҡ��ӹ����� ������ͺ����������Шҡ�ѧ��Ѵ��ҧ � ����������������ͧ�վ�·��ʹ��������˹�ҷ����ҡ�������ʵ֡ �����觢ѹ����������ط��ѡ�����ӹ����� ����л��ըӹǹ��������������¡��� 40-50 �� ����ѧ�բ�ǹ���͵���Ό�է��������

���ླ�������������ʹ����觹�� ����繻��ླշ�ͧ����ѧ��ä�ѹ�����ҵ��Ե�����ѡ������Ҿ���ѧ��ش ����繪����ѧ���ǹ��ǧ˹�觢ͧ�������� �������Ѵ�繧ҹ���ླբͧ�ѧ��Ѵ������ 2529 �繵���

เดือนกันยายของทุกปี เป็นฤดูน้ำหลาก ก็เลยมีโอกาสจะพาท่านผู้อ่านไปเที่ยวการแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดน่าน ซึ่งถือเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมานานหลายชั่วอายุคน

เรือของจังหวัดน่านมีเอกลักษณ์และจุดเด่นที่ไม่เหมือนกับที่อื่นๆ กล่าวคือ ลำเรือ ถูกขุดจากไม้ตะเคียนหรือตะเคียนทองทั้งต้น ด้วยเชื่อกันว่ามีความทนทานและผีนางไม้แรง โดยเฉพาะเอกลักษณ์ตรงหัวเรือหรือโขนเรือ ที่แกะสลักเป็นหัวพญานาคแบบล้านนา กำลังแสยะเขี้ยวแสดงอำนาจ ส่วนท้ายเรือสลักเป็นหางของพญานาค มีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง เชื่อกันว่าพญานาคมีความศักดิ์สิทธิ์ จะดลบันดาลให้ฝนฟ้าอุดมสมบูรณ์ สามารถทำไร่ ทำนาได้ตามฤดูกาล ตามหลักที่เชื่อว่า “น่าน คู่กับ น้ำ”

โดยปกติการแข่งเรือของจังหวัดน่านจะจัดการแข่งขัน 2 นัด (ไม่ใช่กระสุนก็นับเป็นนัดครับ) บริเวณใต้สะพานพัฒนาภาคเหนือ ส่วนอำเภออื่น ก็จะมีแข่งขันกันเป็นระยะ เช่น อำเภอท่าวังผา อำเภอเวียงสา อำเภอปัว หรือแม้แต่ที่อื่น ๆ ของอำเภอเมือง ก็คือ ท่าน้ำบ้านเจดีย์ ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน ส่วนการแข่งขันในระดับจังหวัดก็คือนัดแรก(นัดเปิดสนาม) ประมาณกันยายน ซึ่งจะตรงกับกับเทศกาลทานก๋วยสลากของวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร การแข่งเรือในนัดนี้ไม่มีเรือประเภทสวยงามและการประกวดกองเชียร์ให้เห็น เนื่องจากเป็นการแข่งขันเรือประเภทความเร็วเท่านั้น เรือประเภทความเร็วจะมี 3 ขนาด คือ เรือขนาดใหญ่ (ฝีพาย 41-58 คน สำรอง 20 คน) เรือกลาง (ฝีพาย 31-40 คน สำรอง 15 คน) และเรือเล็ก (ฝีพาย 20-30 คน สำรอง 10 คน)

ซึ่งปีนี้การแข่งขันเปิดสนามตรงกับวันที่ 14-15 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา และนัดแข่งขันชิงถ้วยพระราชทาน ตรงวันที่ 25-27 ตุลาคม 2562 โดยมากแล้วจะจัดการแข่งขัน 3 วัน เนื่องจากมีเรือเข้าแข่งขันจำนวนมาก หากแข่งขันกันวันเดียว คงจะเลิกประมาณเที่ยงคืน

อ้อ การแข่งเรือของจังหวัดน่าน จะยึดตามสโลแกน “ปลอดเหล้า ปลอดเบียร์ ปลอดแอลกอฮอล์” และรวมถึงปลอดยาเสพติดด้วย ​ก่อนการแข่งขันเรือ บางหมู่บ้านก็จะมีการเก็บตัวนักกีฬา(เหมือนโอลิมปิกเลย) เช่น มานอนที่วัด ตื่นเช้ามาก็โด๊บด้วยอาหารเสริมและไข่ลวก วิ่งออกกำลังกาย แล้วไปซ้อมพายเรือ เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียงกันของหมู่คณะ และก็เพิ่มความแข็งแกร่งของร่างกาย บางหมู่บ้านมีเงินทุนสนับสนุน ก็มีจ่ายเบี้ยเลี้ยง กรณีที่ไม่ไปทำงานด้วย ​มหกรรมที่มาพร้อมกับการแข่งขันคือการขายของราคาถูก(บ้างไม่ถูกบ้าง) โดยเฉพาะนัดชิงถ้วยพระราชทาน มีการขายของต่อเนื่องกัน 2 สัปดาห์ ท่านอยากได้อะไร(ยกเว้นเนื้อคู่) สามารถไปได้เลยครับ กะปิ น้ำปลา ของใช้ อาหารการกิน วุ้ย เยอะแยะไปหมด บางครั้งคิดเลยเถิดว่ามหกรรมขายของหรือว่าการแข่งขันเรือประเพณีกันแน่ (คิดคนเดียว)

​รางวัลการแข่งขันเรือนัดเปิดสนาม ก็จะประกอบไปด้วยเงินสดและถ้วยรางวัล แต่นัดชิงถ้วยพระราชทานจะสนุกกว่ามาก หากศรัทธาบ้านไหน ได้ครองแชมป์ 3 ปีติดต่อกันขึ้นไป (ทั้งเรือใหญ่ เรือกลาง และก็เรือเล็ก) ก็จะได้ครองถ้วยพระราชทานไปอย่างถาวร น่าชื่นใจนัก การแข่งขันเรือยาวจังหวัดน่าน จะสนุกมาก เพราะผสมผสานความรัก ความสามัคคี และวัฒนธรรมของเมืองน่านได้อย่างลงตัว

สำหรับท่านที่ต้องการเดินทางไปจังหวัดน่าน ก็มีทั้งทางบก และทางอากาศ แต่ทางรถไฟ คงต้องเดินทางถึงอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ แล้วต่อด้วยรถยนต์อีกที การนั่งเครื่องบินหรือรถยนต์ หากถึงท่าอากาศยานหรือสถานี ขนส่งก็บอกรถวินมอเตอรืไซค์ รถสองแถว หรือสามล้อ (มักไม่ค่อยเห็นแล้ว) ว่าต้องการไปโรงแรมหรือต้องการพักเกสเฮ้าส์นะครับ โรงแรมเมืองน่านประมาณ 1-4 ดาวครับ ราคาไม่แพงมาก หากพักที่เกสเฮ้าส์ ก็คืนละประมาณ 300-500 บาท พักใกล้ตลาดหรือว่าในตัวเมือง สามารถเดินไปหรือปั่นจักรยานเที่ยวได้รอบเมืองน่านก็ดีไม่น้อยครับ ส่วนอาหารเช้าไม่ต้องกังวลนะครับ หากไม่รับอาหารเช้าจากโรงแรม ก็สามารถไปตลาดเช้าได้อย่างง่ายดาย

เมืองน่านเป็นเมืองเล็ก ๆ สบาย ๆ ไม่วุ่นวาย และค่อนข้างมีระเบียบในตัว ฉะนั้นภายในเขตเทศบาลจะไม่เห็นตึกเกิน 5 ชั้น ห้ามมีสถานเริงรมย์(คลับ บาร์ ยกเว้นร้านอาหารทั่วไป) ภายในเขตเทศบาล ปัจจุบันมีร้านสะดวกซื้อผุดขึ้นตามหัวมุมต่างๆ รวมทั้งร้านอาหารที่ถูกรีวิวในสื่อออนไลน์ แต่ที่สำคัญที่สุดคือน่านมีสถานที่ท่องเที่ยวคือวัดวาอารามที่สะอาด สงบ และร่มเย็น อ้อ เมืองน่าน ได้รับรางวัลเมืองที่สะอาดที่สุดของอาเซียน ประจำปี พ.ศ.2561 ด้วยนะครับ

เอ้า จะชวนมาเที่ยวแข่งเรือ กลายเป็นสาธยายเรื่องอื่นๆ การแข่งขันเรือประเพณีจะแข่งบริเวณใต้สะพานพัฒนาภาคเหนือ โดยมีการแข่งขัน 3 เที่ยวต่อ 1 คู่ เรียกว่ามีการเปลี่ยนสายน้ำ เช่น คู่ที่ 1 สลับเปลี่ยนกันระหว่างสายน้ำตะวันตกและสายน้ำตะวันออก หากเสมอกัน ก็จะดำเนินการเสี่ยงดวงในการเลือกสายน้ำ บางคู่แพ้ชนะกันก็เพราะแรงของสายน้ำก็มีเห็นอยู่ร่ำไป แต่บางคู่ไม่ได้เกี่ยวกับสายน้ำเลยก็ยังมี เกี่ยวข้องกับพละกำลัง ความสามัคคี และกำลังใจในการพายเรือด้วย​ ​รอฝนซา จะพาไปเที่ยววัฒนธรรมที่อื่นๆ อีกนะครับ “เมืองไทย ไม่ไป ไม่รู้”

Views: 2,334

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก