แหล่งผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอยู่ในภูมิภาคใด

จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน รัสเซียถือเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันได้มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก จากจำนวนที่ผลิตได้ทั้งหมด 10.7 ล้านบาร์เรล/วัน แบ่งเป็นจำนวนที่ส่งออกถึง 5 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งกว่าครึ่งสถูกส่งออกไปยังยุโรป

โดยในปี 2563 สหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันจากรัสเซียราว 3%

วันนี้ ศูนย์ข่าวพลังงาน Energy News Center มาแบ่งปันความรู้เรื่องพลังงาน เริ่มจากเรื่องง่ายๆ เกี่ยวกับแหล่งผลิตน้ำมันที่ประเทศไทยนำเข้า และตลาดซื้อขายน้ำมันของโลก   

ประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมัน ทั้งน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป โดยนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่า เพื่อนำมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูป

โดยสำหรับน้ำมันดิบ นำเข้าจาก 3 แหล่งผลิตหลัก

- Advertisment -

1. ตะวันออกกลาง (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย การ์ตา คูเวต และอื่นๆ ) ประมาณ 50%

2. ตะวันออกไกล  (อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และอื่นๆ) ประมาณ 16%

3. แหล่งอื่นๆ (สหรัฐอเมริกา แองโกลา สหพันธรัฐรัสเซีย และอื่นๆ) ประมาณ 34%

โดยอ้างอิงราคานำเข้าจาก 3 ตลาดซื้อขายน้ำมันดิบสำคัญของโลก ตามแหล่งผลิต

ส่วนน้ำมันสำเร็จรูป ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ ที่เป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งทำให้ราคาที่ตลาดสิงคโปร์ เป็นราคาอ้างอิงสำหรับการซื้อขายน้ำมันในภูมิภาคนี้

ตลาดซื้อขายน้ำมัน แบ่งเป็น 2 ชนิด

  • ตลาดซื้อขายน้ำมันดิบโลก  มี 3 แห่ง

1. ตลาดน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เป็นน้ำมันดิบจากแหล่งน้ำมันใต้ทะเลทรายในเอเชียตะวันออกกลาง

2.น้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) แหล่งผลิตอยู่ในทะเลเหนือ (North Sea) หรือทะเลที่อยู่ระหว่างเกาะอังกฤษและคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย

3.น้ำมันดิบดับบลิวทีไอ (WTI : West Texas Intermediate) เป็นน้ำมันดิบอ้างอิงที่สำคัญในทวีปอเมริกา

  • ตลาดซื้อขายน้ำมันสำเร็จรูป มีแหล่งสำคัญอยู่ในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย คือ

1.  ตลาด NYMEX (The New York Mercantile Exchange) ในทวีปอเมริกา

2. ตลาด IPE (International Petroleum Exchange) ในทวีปยุโรป

3. ตลาด SIMEX (Singapore International Monetary Exchange) ในเอเชีย

#ENCLiteracy #รู้เรื่องพลังงาน #ENC #CrudeOil #Gasoline #petroleum #ศูนย์ข่าวพลังงาน #น้ำมันดิบ #น้ำมันสำเร็จรูป #ปิโตรเลียม

          ในส่วนของประเทศไทยนั้น BP Statistical Review Of  World Energy 2019 ระบุว่า มีปริมาณน้ำมันสำรองประมาณ 300 ล้านบาร์เรล แต่มีศักยภาพในการผลิตน้ำมันดิบได้เฉลี่ย 228,000 บาร์เรล/วัน ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันสูงถึงราว ๆ 1,478,000 บาร์เรล/วัน เท่ากับว่าไทยผลิตน้ำมันได้เพียง 20% ของปริมาณที่ต้องการใช้ จึงต้องนำเข้าปิโตรเลียมจากต่างประเทศอีกกว่า 80% เพื่อทดแทนส่วนที่ขาดไป ขณะเดียวกัน ก็ยังคงต้องสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต รองรับปริมาณการใช้งานภายในประเทศที่มากขึ้น

ความโกลาหลที่กำลังลุกลามไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ตอกย้ำให้เอเชียตระหนักชัดยิ่งขึ้นว่า ภูมิภาคของตนพึ่งพาน้ำมันจากภายนอกในระดับที่สูงเกินไป  

ความโกลาหลที่กำลังลุกลามไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ตอกย้ำให้เอเชียตระหนักชัดยิ่งขึ้นว่า ภูมิภาคของตนพึ่งพาน้ำมันจากภายนอกในระดับที่สูงเกินไป  

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

ความโกลาหลที่กำลังลุกลามไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ตอกย้ำให้เอเชียตระหนักชัดยิ่งขึ้นว่า ภูมิภาคของตนพึ่งพาน้ำมันจากภายนอกในระดับที่สูงเกินไป และมั่นใจต่อเสถียรภาพของภูมิภาคที่ส่งออกน้ำมันมากเพียงใด

เพราะถึงที่สุดแล้วไม่มีภูมิภาคใดที่จะรักษาความมั่นคงภายในไว้ได้ตลอดกาล แม้กระทั่งประเทศที่ดูเหมือนจะมั่นคงที่สุดอย่างโอมานและซาอุดีอาระเบีย ยังเริ่มเกิดแรงกระเพื่อมภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอมาน ที่ขณะนี้ไฟของความขัดแย้งเริ่มมอดไหม้ในประเทศอย่างรุนแรง

ขณะที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งอาจเหลือเพียงประเทศใหญ่ประเทศเดียวเท่านั้นในภูมิภาค ยังเผชิญกับความท้าทายอย่างไม่ประสบมาก่อน เมื่อนักวิชาการนับร้อยคนยื่นชื่อต่อรัฐบาลขอเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย เรียกร้องให้ยกฐานะของสตรีให้มีบทบาทมากขึ้น

การฝากความหวังไว้ที่ภาพลักษณ์อันสวยหรูของคำว่า “เศรษฐีน้ำมัน” กลายเป็นภาพมายาอย่างรวดเร็ว เพราะเอเชียคิดว่าการเป็นเศรษฐีน้ำมันย่อมหมายถึงความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียมกันของประชาชนและผู้ปกครองประเทศ แต่เหตุจลาจลได้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า ฐานะเศรษฐีน้ำมันมิได้รับประกันว่าจะมีการแบ่งสันปันส่วนความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียมกัน

นี่คือปัญหาที่ซาอุดีอาระเบียกำลังเผชิญอยู่ ด้วยอัตราว่างงานที่สูงถึง 10.5% ยังไม่นับรูปแบบการปกครองที่เป็นอำนาจนิยมเต็มขั้น อีกทั้งสตรียังไม่มีบทบาทในสังคม

ประเด็นเหล่านี้นับเป็นแรงกดดันมหาศาลต่อรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ในช่วงเวลาที่ประเทศรอบด้านเผชิญกับข้อเรียกร้องในทำนองเดียวกัน

หากซาอุดีอาระเบียติดเชื้อความรุนแรงขึ้น อาจถึงเวลาที่เอเชียจะต้องมองหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่อย่างจริงจังมากขึ้น และพยายามพึ่งพาตะวันออกกลางให้น้อยลง ไม่ว่าจะด้วยสถานการณ์เฉพาะหน้าบังคับ หรือเพราะความจำเป็นในระยะยาว

ขณะนี้ระดับการพึ่งพาน้ำมันในรูปของสัดส่วนการนำเข้าจากตะวันออกกลางโดยนานาประเทศในเอเชียอยู่ในระดับที่สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ไม่มีหรือมีทรัพยากรพลังงานเป็นของตัวเองเพียงน้อยนิด ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่นที่ซื้อน้ำมันในสัดส่วนถึง 90% จากภูมิภาคดังกล่าว สิงคโปร์ซื้อเข้าประเทศจากแหล่งเดียวกันที่ 85% และเกาหลีใต้ในสัดส่วนไล่เลี่ยกันที่ 82%

แม้แต่ไทยและอินเดีย ซึ่งมีทรัพยากรไม่น้อยไปกว่าบางประเทศในตะวันออกกลาง ด้วยกำลังการผลิตที่สูงกว่าเยเมนและบาห์เรน ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประเทศที่ต้องนำเข้าน้ำมันในสัดส่วนเกือบ 100%

ปัญหาสำคัญของไทยและอินเดียก็คือ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อประชาชนที่กำลังไม่พอใจกับปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง เฉพาะรัฐบาลอินเดียนั้น ในขณะนี้ไม่เพียงเผชิญกับภาวะขาดดุลอย่างมโหฬาร แต่รัฐบาลยังใช้มาตรการเฉพาะหน้าในการลดกระแสความไม่พอใจของประชาชนต่อราคาเชื้อเพลิงที่แพงขึ้น

ล่าสุดมีรายงานว่า รัฐบาลอินเดียจะลดซื้อขายภาษีน้ำมันดีเซลและเบนซินลง อีกทั้งยังเตรียมลดภาษีนำเข้าน้ำมันจาก 5% เหลือ 7%

น่าสงสัยเหลือเกินว่า ด้วยสภาพทางการเงินที่ย่ำแย่และเงินเฟ้อที่ยิ่งไต่ระดับ รัฐบาลอินเดียจะใช้มาตรการประชานิยมซื้อเวลาไปได้นานสักเพียงไร

ไม่เฉพาะอินเดียเท่านั้นที่ใช้มาตรการขายผ้าเอาหน้ารอด ด้วยการอุดหนุนน้ำมันราคาถูก แต่ยังมีอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พยายามตรึงราคาน้ำมันให้ถูกที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงกระแสความไม่พอใจของประชาชน หลังจากที่เมื่อช่วงปี 2007-2008 รัฐบาลอินโดนีเซียและมาเลเซียต้องประสบกับความสั่นคลอนอย่างรุนแรง หลังจากตัดสินใจระงับมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับ 21 ของโลก ส่วนมาเลเซียอยู่ที่อันดับ 27 ซึ่งทั้งสองประเทศอยู่ในระดับที่สูงกว่าไทย(ที่ 33) แต่ยังไม่อาจหลีกเลี่ยงผลพวงจากราคาน้ำมันแพงได้ นับประสาอะไรกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่มีทรัพยากรด้านพลังงานน้อยกว่า หรือกระทั่งไม่มีเลย อย่างภูมิภาคตะวันออกไกล

โอกาสที่ราคาน้ำมันจะถีบตัวถึง 150-200 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มีอยู่สูงมาก มิใช่เพราะสถานการณ์ในตะวันออกกลาง แต่เพราะน้ำมันเป็นทรัพยากรที่จำกัด และพร้อมที่จะหมดสิ้นไปจากโลกในเวลาใดเวลาหนึ่ง

หากเหตุวุ่นวายในตะวันออกกลางไม่ถึงกับทำให้ราคาน้ำมันทำลายสถิติครั้งแล้วครั้งเล่าในเวลาอันสั้น ก็ยังนับว่าเป็นเคราะห์ดีสำหรับเอเชีย ที่พอมีเวลาจะมองหาแหล่งน้ำมันทางเลือกแทน ก่อนที่สถานการณ์จะเลวร้ายเกินพิกัดจนกำลังการผลิตน้ำมันโลกหายไปเกือบ 2 ใน 4 อีกทั้งยังจะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำมันสำรองเกือบครึ่งของโลก ที่กระจุกตัวในตะวันออกกลาง

ไม่เพียงเท่านั้น การนำเข้าน้ำมันจากตะวันออกกลางยังนับเป็นข้อได้เปรียบสำหรับเอเชีย เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ไม่ไกลนัก สามารถขนส่งน้ำมันได้โดยสะดวกผ่านเส้นทางขนส่งทางเรือเป็นหลัก และมีความพยายามโดยอินเดียที่จะต่อท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากอิหร่านผ่านปากีสถานอีกด้วย แม้จะประสบกับปัญหาขลุกขลักหลายประการ โดยเฉพาะปัญหาทางการเมืองระหว่างอริเก่าที่เป็นเจ้าของเส้นทางท่อส่งน้ำมันร่วมกัน

โจทย์สำคัญก็คือ ในเมื่อตะวันออกกลางเป็นภูมิภาคที่มีปริมาณน้ำมันสำรองและน้ำมันที่ผลิตได้รายวันสูงที่สุดในโลก เอเชียจะแสวงหาแหล่งอื่นที่ทัดเทียมกันได้จากที่ใด?

หากมองไปที่จีน จะพบทางออกชั่วคราวสำหรับปัญหานี้ เพราะในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมาจีนพยายามเจาะเข้าถึงแหล่งพลังงานในเอเชียกลาง หรือกระทั่งเจาะข้ามเอเชียกลางไปถึงภูมิภาคเทือกเขาคอเคซัสใกล้กับรัสเซีย เช่น ในอาเซอร์ไบจาน ซึ่งมีปริมาณน้ำมันมหาศาล จีนยังยอมแม้กระทั่งญาติดีกับรัสเซียซึ่งมีกำลังการผลิตน้ำมันมากที่สุดในโลกที่กว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน และมีน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับ 8 ของโลก ที่ 6 หมื่นล้านบาร์เรล

ทั้งจีนและรัสเซียนี้เคยผิดใจกัน แต่วันนี้ทั้งสองประเทศร่วมมือแข็งขันโดยเฉพาะในด้านพลังงาน

นอกเหนือจากการพัฒนาแหล่งพลังงานภายในเอเชียแล้ว ภูมิภาคนี้ควรกระชับความร่วมมือกับรัสเซียและแถบคอเคซัส เพื่อใช้พลังงานจากแถบนี้รองรับในกรณีที่ตะวันออกกลางเกิดภาวะมิคสัญญียืดเยื้อ

เมื่อหันมาดูที่ยุโรป จะพบว่าพึ่งพาน้ำมันจากตะวันออกกลางมากที่สุด เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ใกล้กับลิเบีย ยุโรปเองก็พึ่งพารัสเซียไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซธรรมชาติที่เป็นพลังงานจำเป็นในฤดูหนาว แต่แล้วรัสเซียมักใช้ก๊าซเป็นตัวต่อรองราคาและอำนาจทางการเมืองกับยุโรป บ่อยครั้งที่มีการปิดวาล์วท่อส่งก๊าซเอาดื้อๆ หากรัสเซียเห็นว่าอีกฝ่ายกำลังเล่นแง่ทางการเมืองกับตน

แม้เอเชียจะมีความเปราะบางสูงจากวิกฤตในตะวันออกกลาง แต่สิ่งที่เอเชียมีอยู่เหนือกว่ายุโรป คือ สถานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงกว่า จะเป็นเสมือนเบาะรองหากเส้นเลือดใหญ่ด้านพลังงานถูกตัดขาดอย่างทันทีทันใด

และด้วยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่คึกคักอยู่ตลอดเวลานี่เอง จะทำให้หลายประเทศในเอเชียเริ่มตระหนักเร็วขึ้นถึงความจำเป็นในการพึ่งพาแหล่งพลังงานจากที่อื่น หรือกระทั่งแสวงหาหนทางที่จะพัฒนาพลังงานทางเลือกเพื่อทดแทน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก