หากไม่มีทิศแสดง

บทความก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงสัญลักษณ์บนแผนที่และการแสดงข้อมูลประกอบการออกแบบแผนที่กันไปแล้ว ส่วนในบทความนี้เรายังอยู่ในเนื้อหาการออกแบบแผนที่ ซึ่งวันนี้เราจะมาต่อกันที่องค์ประกอบของการออกแบบแผนที่ และความสำคัญของการออกแบบแผนที่ เพราะการออกแบบแผนที่ย่อมมีส่วนประกอบต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการวางองค์ประกอบแผนที่ รวมไปถึงความสำคัญของการออกแบบแผนที่ ที่ต้องมีหลักการต่าง ๆ ร่วมด้วย

ในส่วนของวันนี้ เราจะพาไปดู ส่วนที่เหลือของการออกแบบแผนที่กันต่อ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย !

องค์ประกอบของการออกแบบแผนที่

เริ่มจากการกำหนดขนาดแผนที่ แล้ววางองค์ประกอบของแผนที่คล้ายกับการวางแบบจัดหน้าของนักหนังสือพิมพ์ จึงมักเรียกว่า การวางแบบแผนที่ (Map layout) โดยมีขั้นตอนของการออกแบบแผนที่ ดังนี้

  • กำหนดสื่อที่จะใช้นำเสนอ เช่น แผนที่บนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์
  • เลือกมาตราส่วน และชนิดของเส้นโครงแผนที่ โดยเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์แผนที่
  • วิเคราะห์เนื้อหาแผนที่ และการให้สัญลักษณ์ ต้องเลือกให้เหมาะสมและสามารถสื่อให้เข้าใจได้ง่าย
  • กำหนดการวางแบบและองค์ประกอบแผนที่ ตามหลักการและวิธีการออกแบบแผนที่

การวางองค์ประกอบแผนที่

การวางองค์ประกอบแผนที่จะต้องพิจารณาองค์ประกอบของแผนที่ว่าเหมาะสมกับแผนที่ชนิดนั้นหรือไม่ ซึ่งในบางกรณีอาจยกเว้นไม่จำเป็นต้องแสดงให้ครบถ้วน โดยการวางองค์ประกอบแผนที่มีรายละเอียด ดังนี้

sites.google.com

  • เนื้อหาของแผนที่ (Map content) คือ ข้อมูลหลักของแผนที่ จัดอยู่ในความสำคัญอันดับแรก เนื้อหาแผนที่มักวางไว้ตรงกลางจุดศูนย์กลางเชิงทัศน์ (Visual center) ของระวางแผนที่ หรือขอบเขตกระดาษทำแผนที่ เนื้อหาแผนที่ต้องโดดเด่นมากที่สุดและครอบคลุมพื้นที่แผนที่มากที่สุดด้วย
  • ขอบระวางแผนที่ (Neat line) มักจะเป็นเส้นบาง และอาจมีเส้นขอบนอกล้อมรอบ ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นหนากว่าขอบระวาง เรียกว่า เส้นขอบระวาง (Border line) ข้อมูลตัวเลขค่าพิกัดแผนที่บอกเนื้อหาแผนที่ โดยวางอยู่ระหว่างขอบระวางและเส้นขอบระวาง
  • ชื่อแผนที่ (Title) จัดอยู่ในความสำคัญอันดับสอง การตั้งชื่อแผนที่ควรกระชับและได้ความหมายตามเนื้อหาของแผนที่ ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ถ้าหากเนื้อหาแผนที่แสดงวันเวลาเฉพาะ ให้ระบุไว้ในชื่อแผนที่ด้วย หรือถ้าชื่อแผนที่ยาวมากอาจแบ่งชื่อแผนที่ เป็นชื่อหลัก และชื่อรอง การแสดงชื่อรองให้แยกเป็นอีกบรรทัดและจัดวางไว้กึ่งกลางของชื่อหลัก
  • คำอธิบายสัญลักษณ์ (Legend) จัดอยู่ในความสำคัญอันดับสาม คำอธิบายสัญลักษณ์ จะประกอบไปด้วยรูปสัญลักษณ์ และคำอธิบายความหมายของสัญลักษณ์ หากมีหัวเรื่องที่ต้องการขยายความมาจากชื่อแผนที่ ให้นำมาเป็นชื่อหัวเรื่องแทนที่คำว่า คำอธิบายสัญลักษณ์ โดยพื้นที่ในส่วนของคำอธิบายสัญลักษณ์ทั้งหมดอาจมีเส้นขอบล้อมรอบคำอธิบายสัญลักษณ์ หรือไม่มีก็ได้
  • แหล่งที่มาของข้อมูล (Data source) มีความสำคัญอันดับรอง โดยแหล่งที่มาต้องมีผู้จัดทำแผนที่ และวันที่ทำแผนที่ ควรแสดงไว้ เพราะทำให้สามารถอ้างอิงที่มาของข้อมูลได้ วางไว้ที่ขอบระวางแผนที่ และตัวอักษรมีขนาดเล็ก
  • มาตราส่วนแผน ที่ทำได้โดยระบุเป็นตัวเลข และกราฟิกของมาตราส่วนเส้นบรรทัด มีความสำคัญอยู่ในลำดับหลัง โดยมาตราส่วนของแผนที่โลกที่แปรเปลี่ยนตามละติจูด ให้ใช้มาตราส่วนชนิดแปรตาม (Variable scale) แต่ซอฟต์แวร์บางชนิดไม่มีลักษณะมาตราส่วนนี้ ก็ควรละเว้นการแสดงมาตราส่วนไว้ การวางมาตราส่วนไม่ควรวางไว้โดดเด่นเกินไป แต่ก็ไม่ควรมีขนาดเล็กเกินไปเพราะจะใช้ประโยชน์ยาก
  • เครื่องหมายทิศ มีความสำคัญลำดับรอง ถ้ามีแผนที่ที่ไม่มีเครื่องหมายทิศกำกับ แสดงว่านักแผนที่กำหนดให้แผนที่นั้นวางตัวชี้ไปทางทิศเหนือ แต่ถ้าขนาดของเนื้อหาแผนที่ไม่เหมาะสมกับการวางตัวในทิศเหนือ ก็สามารถเปลี่ยนไปทิศอื่น ๆ ได้ แต่ต้องมีเครื่องหมายทิศเหนือกำกับด้วยเสมอ ดังนั้นการออกแบบเครื่องหมายทิศจึงไม่ควรโดดเด่นมากลวดลายมากเกิน หรือมีขนาดใหญ่เกินไป

ความสำคัญของการออกแบบแผนที่

การออกแบบแผนที่ที่ดีควรออกแบบให้มีความชัดเจน ในขั้นแรก คือ การสร้างความชัดเจนของแนวคิดมีความเข้าใจปรากฏการณ์เชิงพื้นที่อย่างชัดเจน แล้วคัดเลือกข้อมูลที่สำคัญที่เป็นตัวแทนของลักษณะพื้นที่ ซึ่งหมายถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาแผนที่ให้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์แผนที่ ความชัดเจนในขั้นต่อมา คือ การสร้างสัญลักษณ์แผนที่ให้ชัดเจน เมื่อแทนสภาพจริงด้วยสัญลักษณ์แผนที่ จะต้องเลือกใช้สัญลักษณ์ที่เหมาะสม วางตำแหน่งสัญลักษณ์ได้ถูกต้อง ตัวอักษรไม่ซ้อนทับกัน ทำให้มองเห็นง่าย อ่านตัวอักษรได้ง่าย และไม่แสดงข้อมูลมากเกินความจำเป็น เพื่อให้สังเกต แล้วดึงข้อมูลสำคัญได้อย่างรวดเร็ว และสามารถจดจำลักษณะของข้อมูลบนแผนที่ได้ง่าย

pinterest.com

หลักการออกแบบแผนที่

1. ภาพ-พื้น (Figure-Ground) หมายถึง การเน้นภาพหลักออกแบบมาเป็นจุดสนใจหลัก ภาพหลักต้องดูสำคัญและโดดเด่นออกจากพื้นหลัง โดยการใช้ความแตกต่างของสี ความสว่าง ความเข้ม หรือลวดลาย ภาพ คือ ตัวเนื้อหาหลักแผนที่ พื้น คือ เนื้อหาประกอบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาหลัก โดยไม่รบกวนเนื้อหาหลัก

2. ความสมดุลเชิงทัศน์ (Visual balance) หมายถึง การวางองค์ประกอบแผนที่ให้สมดุลมีรูปแบบของความสมดุล 2 ประเภท คือ

  • ความสมดุลเป็นทางการ(Formal balance) หมายถึง การวางองค์ประกอบแผนที่ให้อยู่กึ่งกลางแผนที่ และวางให้สมมาตรกัน เช่น วางชื่อแผนที่ และเนื้อหาแผนที่ให้อยู่ตรงกลาง ในส่วนข้อมูลองค์ประกอบ ลำดับต่ำกว่าวางไว้ชิดซ้าย และชิดขวา ส่วนใหญ่ใช้กับการออกแบบแผนที่ชุด เช่น แผนที่ภูมิประเทศ เป็นต้น
  • ความสมดุลไม่เป็นทางการ (Non-formal balance) หมายถึง การวางองค์ประกอบแผนที่ให้อยู่กระจายตามบริเวณที่ว่างที่มีอยู่ แต่เมื่อวางทุกองค์ประกอบแล้ว แผนที่ยังมีความสมดุล ส่วนใหญ่ใช้กับแผนที่ที่เนื้อหาแผนที่ ไม่ใช่รูปทรงเรขาคณิต เช่น พื้นที่จังหวัด พื้นที่ลุ่มน้ำ และเป็นแผนที่มาตราส่วนขนาดเล็ก

3. ความเปรียบต่าง (Contrast)  หมายถึง การตัดกันของรูปลักษณ์แผนที่หนึ่งกับรูปลักษณ์อื่น ทำให้เห็นความแตกต่างของแต่ละรูปลักษณ์ โดยการออกแบบลักษณะของสัญลักษณ์หรือตัวแปรเชิงทัศน์ เช่น สี ลวดลาย รูปร่างและเงา ให้สามารถแยกแยะความแตกต่างแต่ละรูปลักษณ์ได้ และยึดตามการวิเคราะห์ข้อมูลตามจุดประสงค์หลักแผนที่ การออกแบบให้รูปลักษณ์ที่สำคัญโดดเด่น จะทำให้มีลำดับเชิงทัศน์ หรือเป็นจุดความสนใจอยู่ในลำดับแรกๆ

4. ลำดับเชิงทัศน์ (Visual hierarchy) หมายถึง การวางสัญลักษณ์ และองค์ประกอบแผนที่ให้เป็นไปตามความสำคัญในบริเวณที่มองเห็นเด่นชัดที่สุดเป็นลำดับไป ข้อมูลแผนที่ควรวางตามลำดับความสำคัญ ซึ่งมี 2 องค์ประกอบ คือ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก