พัฒนาการมนุษย์ยุคประวัติศาสตร์ในดินแดนไทย สมัยอยุธยา

สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ดำรงชีวิตกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ล่าสัตว์ จับสัตว์น้ำ และเก็บพืช ผัก ผลไม้ เป็นอาหาร เร่ร่อนอพยพไปตามแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ อาศัยอยู่ตามถ้ำและเพิงผาที่ใกล้แหล่งน้ำ หลักฐานของมนุษย์ยุคหินเก่าที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบในประเทศไทยเป็นเครื่องมือหินกะเทาะที่เขาป่าหนามบ้านแม่ทะและบ้านดอนมูล จังหวัดลำปาง และฟันของมนุษย์ที่ถ้ำวิมานนาคินทร์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ แหล่งโบราณคดีที่สำคัญของมนุษย์หินเก่า ได้แก่ ถ้ำหลังโรงเรียน จังหวัดกระบี่ แหล่งโบราณคดี ถ้ำพระ จังหวัดเชียงราย ซึ่งนักโบราณคดีชาวสวิส “นายฟริทซ์ สารสิน” เรียกเครื่องมือหินเหล่านี้ว่า Siamian Culture”หรือ วัฒนธรรมสยาม แหล่งโบราณคดีที่แควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งนายแวน ฮีกเกอเร็น นักโบราณคดีชาว   เนเธอร์แลนด์ เรียกเครื่องมือหินที่พบว่า “ฟิงนอยเอียน : Fingnoian culture”หรือวัฒนธรรมแควน้อย

            ในยุคหินกลางที่เครื่องมือหินมีขนาดเล็กลง มีหลายรูปแบบ และใช้งานเฉพาะด้านได้ดีกว่ายุคแรก เรียกเครื่องมือแบบนี้ว่า เครื่องมือแบบฮัวบินเนียน (Hoabinhian) ตามแหล่งโบราณคดีที่พบที่เวียดนาม ในยุคนี้ได้พบโครงกระดูกมนุษย์ในเขตอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีการประกอบพิธีกรรมในการฝังศพและพบเครื่องปั้นดินเผาผิวเกลี้ยง ขัดมัน มีลายเชือกทาบ แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ เช่น ถ้ำหลังโรงเรียน และถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่ ถ้ำผีแมน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถ้ำไทรโยคและถ้ำองบะ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น การดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคหินกลางยังคงเป็นแบบยุคหินเก่า คือไม่ตั้งถิ่นฐานที่แน่นอน ยังเร่ร่อนไปตามแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์

            ในยุคหินใหม่เป็นช่วงสมัยที่มนุษย์มีความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่  จากเดิมที่เคยอาศัยบนที่สูงตามถ้ำและเพิงผา มาอยู่บริเวณที่ราบใกล้แหล่งน้ำรวมอยู่เป็นกลุ่ม ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งและทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องปั้นดินเผา ที่สำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาสามขา คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมก่อนหลงชานในจีน นอกจากนี้ยังมีการทำเครื่องจักสานและทอผ้า แต่การล่าสัตว์และจับสัตว์น้ำยังคงมีอยู่ เครื่องมือหินที่ใช้เรียกว่า ขวานหินขัด ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น ขวานมีบ่า สิ่ว ผึ่ง หรือ ขวานถาก แหล่งโบราณคดีของยุคหินใหม่พบอยู่ทุกภาคของไทย ที่สำคัญ เช่น บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี โคกเจริญ จังหวัดลพบุรี โคกพนมดี จังหวัดชลบุรี โนนนกทา จังหวัดขอนแก่น ในยุคหินใหม่มีการตั้งถิ่นฐานถาวร ทำการเพาะปลูก  ชุมชนจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการแบ่งงานกันทำตามความสามารถเฉพาะด้าน และมีการติดต่อแลกเปลี่ยนค้าขายระหว่างชุมชน

            ในยุคโลหะ เป็นช่วงสมัยที่มนุษย์พัฒนาเครื่องมือที่ทำจากหินเป็นโลหะ ในระยะแรกเป็นสำริด ซึ่งเกิดจากการหลอมรวมทองแดงและดีบุก ต่อมาคือการถลุงเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธ รวมทั้งเครื่องประดับ เช่น กำไร ตุ้มหู ลูกปัด เครื่องมือโลหะดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องมือหิน ช่วงสมัยนี้เป็นช่วงสมัยที่บางชุมชนได้พัฒนาเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ที่ประดิษฐ์อักษรสื่อสารกันได้ บางชุมชนก็ยังคงเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์อยู่แต่พัฒนาวิถีชีวิตดีขึ้น มีการอยู่รวมเป็นชุมชน มีระบบการปกครอง มีผู้นำเป็นหัวหน้า มีการแบ่งชนชั้นในสังคม  มีการติดต่อกับชุมชนอื่นที่อยู่ห่างไกลและมีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ ดังที่ได้พบ หลักฐานเป็นกลองมโหระทึกสำริด ซึ่งใช้ในพิธีกรรมขอฝนหรือพิธีศพ เรียกวัฒนธรรมนี้ว่า “วัฒนธรรมดองซอน” (Dong Son Culture) ตามแหล่งที่พบครั้งแรกที่เวียดนาม นอกจากนี้ยังมีการนำหินมาตั้งเป็นแนวเพื่อแสดงขอบเขตของพิธีกรรม เรียกวัฒนธรรมนี้ว่า“วัฒนธรรมหินใหญ่” (Megalithic Culture) เช่น ที่ป่าสะเลียม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ บ้านหินตั้ง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา แหล่งโบราณคดียุคโลหะที่สำคัญ เช่น บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี (แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม) บ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น โคกพนมดี จังหวัดชลบุรี บ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

            การตั้งถิ่นฐานในระยะแรกเป็นการรวมตัวเป็นชุมชนขนาดเล็ก เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะ  ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น การแลกเปลี่ยนค้าขายกับดินแดนทั้งใกล้เคียงและห่างไกลเพิ่มขึ้นด้วยเป็นผลให้  ชุมชนขยายเติบโตขึ้น เกิดการขยายอำนาจไปยังชุมชนใกล้เคียง มีการรวมตัวกันสร้างคันดิน ขุดคูน้ำ เพื่อป้องกันการรุกรานจากชุมชนอื่นๆ ซึ่งแสดงถึงระบบของการควบคุมกำลังคน เพื่อทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ส่วนรวม บางชุมชนได้ขยายตัวกลายเป็นบ้านเป็นเมือง ซึ่งเริ่มเมื่อประมาณ 2,500 ปีมานี้เอง


การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมักเริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบัน พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[1] ตลอดจนหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณเป็นจำนวนมาก

ภูมิภาคสุวรรณภูมิเคยถูกชาวมอญ เขมรและมาเลย์ปกครองมาก่อน ต่อมา คนไทยได้สถาปนาอาณาจักรของตนเอง เช่น อาณาจักรสุโขทัย ไล่เลี่ยกันกับอาณาจักรล้านนา อาณาจักรเชียงแสน และอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาค่อนการตั้งถิ่นฐานและการดำรงชีวิตของมนุษย์ในดินแดนไทยพัฒนาการของมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนไทยข้างสั้นประมาณ 200 ปี ก็ถูกผนวกรวมกับอาณาจักรอยุธยา

อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่ง เป็นศูนย์กลางการค้าระดับนานาชาติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครอง ซึ่งบางส่วนใช้สืบมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังทรงตราพระราชกำหนดศักดินา ทำให้อยุธยาเป็นสังคมศักดินา อยุธยาเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกเมื่อ พ.ศ. 2054 หลังโปรตุเกสยึดครองมะละกา หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2112 กรุงศรีอยุธยาตกเป็นประเทศราชของราชวงศ์ตองอูแห่งพม่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีให้หลัง อาณาจักรอยุธยาเจริญถึงขีดสุดหลังจากนั้น ทั้งความสัมพันธ์กับต่างประเทศก็รุ่งเรืองมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมลง จนล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงใน พ.ศ. 2310

พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมายังกรุงธนบุรี รัชสมัยของพระองค์ถือเป็นช่วงเวลาของการทำสงครามและการฟื้นฟูความเจริญของชาติ อาณาจักรธนบุรีมีพระมหากษัตริย์ปกครองพระองค์เดียว กินระยะเวลาเพียง 15 ปี แล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 กรุงรัตนโกสินทร์ยังเผชิญกับภัยคุกคามจากประเทศเพื่อนบ้าน กระทั่งรัชกาลที่ 4

การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการยกดินแดนให้ฝรั่งเศสและอังกฤษหลายครั้ง แต่สยามไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร อันทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ และนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น แต่ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา มีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค

หลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และมีการสืบทอดอำนาจรัฐบาลทหารผ่านรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก