วิธีแบ่ง partition windows 7 โดยไม่ต้องลงวินโดว์ใหม่

วิธีแบ่งพาร์ติชั่น Partition ฮาร์ดดิสก์
-ขั้นตอนนี้แบ่งพาร์ติชั่นเป็น 2 แนวทาง


กรณีที่ 1 คอมพิวเตอร์ไม่เคยติดตั้ง Windows มาก่อน


     คอมพิวเตอร์เครื่องนี้เป็นเครื่องใหม่ ที่ยังไม่เคยติดตั้ง Windows มาก่อน มีพื้นที่ทั้งหมด 50 GB เราสามารถกด Next ได้เลย เพื่อเริ่มติดตั้ง Windows แต่ ... จะให้ดี เรามาจัดแบ่งพื้นที่ 50 GB นี้เป็น 2 ไดร์ฟดีกว่าโดยเราจะแบ่งเป็น ไดร์ฟ C ขนาด 20 GB สำหรับลง Windows 7 ไดร์ฟ D ขนาด 30 GB สำห.รับเอาไว้เก็บข้อมูลต่างๆ
วิธีแบ่งฮาร์ดดิสก์ ระหว่างติดตั้ง Windows 7


1. เลือกที่ Disk 0 คลิก Drive Option

2. คลิก Disk 0 Unallocated Space แล้วเลือก New

 

เราต้องการสร้างไดร์ฟ C ขนาด 20 GB ดังนั้น จึงพิมพ์ตัวเลขว่า 20000 ดังรูป  กด Apply แล้วกด OK


3.เรายังเหลือพื้นที่ว่างอยู่ 30 GB

คลิก Unallocated Space เลือก New แล้วกด Apply

4.Windows จะขอพื้นที่ 100 MB ไว้เก็บไฟล์ระบบ แต่เราไม่อนุญาต ดังนั้น เราจะลบและนำไปรวมกับ Patition 2

คลิก Partition 1 แล้วเลือก Delete


5. คลิก Partition 1 แล้วเลือก New แล้วกด Apply จะได้ดังรูป

6. คลิก Partition 2 แล้วเลือก Delete

7. คลิก Partition 1 แล้วเลือก Extend

8.เลือกที่ Disk 0 Patition 1 แล้วกดสร้าง New  พิมพ์ขนาดที่เหลือทั้งหมด แล้วกด Apply จะได้ดังรูป

คลิก Partition 1 แล้วกด Next เพื่อเริ่มติดตั้ง Windows ได้เลย

กรณีที่ 2 คอมพิวเตอร์มี Windows ติดตั้งอยู่แล้ว


  สมมติว่า เราเคยติดตั้ง Windows ไว้แล้ว โดยเราแบ่งฮาร์ดดิสเป็น 2 ไดร์ว คือ C และ D
และเราลง Windows ที่ไดร์ว C และเก็บข้อมูลสำคัญที่ไดร์ว D

เมื่อเราต้องการลง Windows ใหม่ เราจึงเลือก format ไดร์ว C  (format = ลบข้อมูลทั้งหมด)
โดยที่เราจะไม่แตะต้องไดร์ว D ซึ่งเก็บข้อมูลสำคัญต่างๆของเรา
การ format ไดร์ว C เพื่อลง Windows ใหม่เลยทำดังนี้
1. คลิก Partition 1 แล้วเลือก Format
2. คลิก Partition 1 แล้วกด Next เพื่อเริ่มติดตั้ง Windows ได้เลย

 หมายเหตุ
1. หากไดร์ฟ C มีข้อมูลสำคัญอยู่ ให้ยกเลิกการติดตั้ง
แล้ว copy ข้อมูลสำคัญจากไดร์ฟ C ไปไว้ที่ไดร์ฟ D หรือ External Hard disk
แล้วค่อยมาเริ่มติดตั้ง Windows ใหม่
2. หมายเลขพาร์ติชั่น โดยปรกติแล้ว จะเรียงจาก Partition 1, Partition 2, Partition 3 หมายถึง C, D, E
ในช่อง Total Size คือขนาดของ Partition นั้น
ในบางครั้ง Windows จะเรียงชื่อไดร์ฟผิด เช่น Partition 1 เป็นไดร์ฟ D, Partition 2 เป็นไดร์ฟ C
ดังนั้น ก่อนกด Format หรือ Delete ดูให้แน่ใจว่า Partition ที่เลือกเป็นไดร์วที่เราต้องการจริงๆ
ถ้าเราจำได้ว่า ไดร์ฟ C มีขนาด 20 ไดร์ฟ D มีขนาด 30.5 ก็จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า
Partition ที่มีขนาด 30.5 GB คือไดร์ฟ D แน่นอน

“วิธีการแบ่งพาทิชั่น(Partition) Hard disk”

*ข้อควรระวัง! การแบ่งพาทิชั่น(Partition) ควรทำก่อนที่ท่านจะติดตั้งวินโดว์ หรือ ลงโปรแกรม และการแบ่งพาต์ดิชั่นในขณะที่มีข้อมูลอยู่ เสี่ยงต่อการทำให้ข้อมูลหายได้

การแบ่งพาทิชั่น(Partition) เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่จะจัดการพื้นที่การเก็บข้อมูลใน Hard disk ให้เป็นสัดส่วน และช่วยให้เราสามารถเก็บไฟล์สำคัญๆไว้คนละพาทิชั่น(Partition) กับ Drive ที่เป็น Windows ซึ่งจะทำให้ไฟล์ของเรานั้นยังอยู่และสามารถกู้คืนได้ แม้ Windows จะเสียและจำเป็น ต้องทำการ Format Drive นั้นเพื่อลงใหม่

โดยในขั้นตอนการแบ่งพาทิชั่น(Partition)ในบทความนี้จะสามารถใช้แบ่ง พาทิชั่น(Partition) ด้วยตนเองได้กับระบบปฏิบัติการ Windows 7, Windows 8.1 และ Windows 10

ว่าแล้ว เรามาเริ่มแบ่งพาทิชั่น(Partition)กันเลยดีกว่า โดยมีขั้นตอนดังนี้


1. เริ่มต้น ให้ทำการคลิกขวาที่ไอคอน My Computer จากนั้นเลือกที่เมนู Manage

2. เลือกเมนู Disk Management ก็จะปรากฏหน้าจอดังรูป

3. ให้ทำการคลิกขวาบน Disk ที่เราต้องการจะแบ่งพาทิชั่น(Partition) และเลือกที่เมนู Shrink Volume

4. Total size Before shrink in MB คือ  พื้นที่ทั้งหมดของ Drive ที่เราจะทำการแบ่ง

Size of Available space MB  คือ ขนาดพื้นที่ที่เราสามารถแบ่งได้

Enter the amount space MB คือ ให้ใส่ตัวเลขของหน่วยที่เราจะทำการแบ่ง หน่วยเป็น MB โดยถ้าเราต้องการ 10 GB ก็ให้เอา 10 x 1,024 =  10,240  แต่มีข้อแม้ว่า ต้องห้ามใส่เกินกว่า  Size of Available space MB

Total Size after MB คือ พื้นที่ที่เหลือ

เมื่อใส่ขนาดพาทิชั่น(Partition) ที่เราต้องการแล้ว ก็ทำการกดที่ปุ่ม Shrink

Disk ก็จะถูกทำการแบ่งตามขนาดที่เราต้องการ โดยจะขึ้นเป็น Unallocated

5. ให้เราทำการคลิกขวาบน Drive ที่เราทำการแบ่ง แล้วเลือก New Simple Volume

6. ก็จะปรากฏหน้าต่าง New Simple Volump ให้เราทำการเลือกที่ปุ่ม Next

 

7. ตั้งชื่อ Drive ที่ต้องการแล้วก็เลือกที่ปุ่ม Next อีกครั้ง

8. ใส่ชื่อ Drive ในช่อง Volump label แล้วคลิกที่ Next

9. กด Finish ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการแบ่งพาทิชั่น(Partition)

ทั้งนี้ หากเป็น Hard disk ที่ใช้ร่วมกับการลงระบบปฏิบัติการ ขอแนะนำให้ทำการ แบ่ง พาทิชั่น(Partition) อย่างน้อย 2 Drive เพื่อใช้ 1 Drive สำหรับระบบปฏิบัติการ และอีก 1 Drive สำหรับการเก็บข้อมูลและไฟล์ต่างๆ

หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือมีปัญหาไฟล์หาย ต้องการกู้ข้อมูลสามารถปรึกษาเราได้ฟรี

ติดต่อเราที่ IDR LAB ศูนย์กู้ข้อมูลที่ได้มาตรฐานและพร้อมที่สุดในประเทศไทย ปรึกษาปัญหาและส่งตรวจเช็ค ประเมินก่อนซ่อมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่ Line ID : @idrlab หรือ Hotline สายด่วนตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 094-692-8080, 080-591-3536

+ เพราะเราคือศูนย์กู้ข้อมูลที่มีมาตรฐาน ISO พร้อมด้วยทีมงานระดับมืออาชีพ ปลอดภัย ข้อมูลไม่รั่วไหล
+ หมดความกังวลเรื่องข้อมูลหาย ประเมิณค่าใช้จ่ายฟรี
+ ผู้นำด้านเทคโนโลยี Labดีมีมาตรฐาน บริการด้วยหัวใจ
+ อย่าหมดความหวังในวันที่ข้อมูลหาย ให้ IDR LAB บริการคุณ

“เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ชีวิตดิจิทัลของคุณกลับมามีความสุขดังเดิม”

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก