วิธี ขับรถเกียร์ ออ โต้ ขึ้นเขา ลงเขา

เทศกาลวันหยุดยาวต่อเนื่อง หลายคนคงมีแผนการเดินทางกลับภูมิลำเนา บ้างก็ไปเที่ยวพักผ่อนตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ หรือภาคอื่นๆ ที่มีภูเขามากมาย เส้นทางขับรถก็จะมีทั้งภูเขาหรือทางลาดชัน บางคนอาจไม่คุ้นเคยหรือยังไม่มีประสบการณ์กับเส้นทางที่จะไป แต่ไม่ว่าจะไปไหนก็แล้วแต่ สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือการเตรียมยานพาหนะให้พร้อม และศึกษาเส้นทางให้ดีก่อนการเดินทาง ที่สำคัญควรศึกษาเทคนิคการขับรถให้เป็นอย่างดีเช่นกัน เพราะเส้นทางส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นเส้นทางที่ขึ้น-ลงเขา จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมากที่เราจะต้องรู้ หากไม่มีความชำนาญในเส้นทาง อันตรายก็อาจมาเยือนได้ทุกเมื่อ มาดูกันเลยว่า..."เมื่อผู้ขับขี่รถลงจากทางลาดชันหรือภูเขาจะต้องปฏิบัติอย่างไร ?"

1. ห้ามใช้เกียร์ว่าง

การขับรถลงทางลาดชัน หรือภูเขา “ห้าม” ใส่เกียร์ว่าง ปล่อยรถให้ไหลโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เสียการทรงตัว เนื่องจากรถนั้นมีน้ำหนักมาก ถ้าผู้ขับขี่ปล่อยรถที่เกียร์ว่าง รถจะพุ่งลงเขาด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามแรงโน้มถ่วงโลก อาจเกิดอันตรายได้ ทางที่ดีควรใช้แรงฉุดจากเครื่องยนต์ (ENGINE BRAKE) ในการช่วยเบรค ด้วยการลดเกียร์ลงครั้งละ 1 จังหวะ ตามแต่ความเหมาะสม โดยต้องเปลี่ยนให้สัมพันธ์กับความเร็ว ซึ่งมีผลให้รอบเครื่องยนต์เพิ่มสูงขึ้น แต่ความเร็วของรถจะลดลงอย่างรวดเร็ว ช่วยให้สามารถควบคุมรถได้

2. ห้ามเหยียบคลัทซ์

คลัชทำหน้าที่เชื่อมต่อแรงฉุดจากเครื่องยนต์ผ่านเกียร์ไปยังล้อรถ ดังนั้นขณะรถวิ่ง และยังคาเกียร์อยู่ แรงฉุดจากเครื่องยนต์ จะถ่ายทอดกำลังไปกดที่ล้อรถ เมื่อรถกำลังแล่น และไปเหยียบคลัชเข้า จะทำให้แรงกดถนนจากเครื่องยนต์ถูกตัดขาด รถจะไม่เกาะถนน ยิ่งหากถนนลื่นหรือมีการหักเลี้ยว รถจะเสียการทรงตัวหมุนทันที ฉะนั้ยผู้ที่เคยชินกับการเบรคโดยการเหยียบคลัชไปด้วย ทำให้รถพุ่งไปข้างหน้าเร็วขึ้น เนื่องจากแรงฉุดจากเครื่องยนต์ถูกตัดขาด การเบรคและการบังคับรถจะทำได้ยากขึ้น ลองมาฝึกเหยียบคลัชต่อเมื่อจะเปลี่ยนเกียร์ หรือขับช้าๆ กันดีกว่า ***ห้ามวางเท้าไม่ว่าจะเบาๆ หรือหนักๆ บนคลัทช์เป็นอันขาด เพราะหากวางท่านก็จะเผลอเหยียบด้วยความเคยชิน***

3. ห้ามใช้เบรคตลอดเวลา

ขณะขับรถลงเขาหรือทางลาดชันให้แตะเบรคช่วยเป็นระยะๆ ใช้เกียร์ต่ำช่วย ห้ามใช้เบรคตลอดเวลา เพราะการใช้เบรคมากหรือเบรคแช่ตลอดเวลา จะทำให้เบรคเกิดความร้อน ผ้าเบรคอาจจะไหม้ และทำให้เบรคไม่อยู่ ข้อนี้ควรตระหนักไว้มากๆ เพราะอันตรายถึงแก่ชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุก็เป็นได้ ทางที่ดีควรแตะเบรคในจังหวะจำเป็นเท่านั้น และควรตรวจสอบเบรกรถยนต์ก่อนออกเดินทาง ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและพร้อมใช้งาน

4. ห้ามแซงทางโค้ง

โดยเฉพาะโค้งช่วงที่เรามองไม่เห็นรถสวนจากข้างหน้า ค่อยๆ ขับตามอย่างระมัดระวัง "มองให้ไกล" เพื่อประเมินเส้นทางเบื้องต้น เมื่อปลอดภัย และเลยโค้งแล้วค่อยหาจังหวะแซง

5. ใช้เกียร์ต่ำ

การใช้เกียร์ต่ำขณะขึ้น-ลงเขา หรือทางลาดชัน เป็นตัวช่วงส่งกำลังเพื่อทะยานสู่เนินได้อย่างมั่นใจ และช่วยต้านไม่ให้รถไหลลงเร็วเกินไปจนเสียการควบคุม

6. ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย

ขับรถชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถหรือเส้นหรือแนวที่แบ่งทางเดินรถเป็นหลัก

7. ควรให้เสียงสัญญาณเตือนรถที่อาจสวนทางมา

โดยเฉพาะช่วงทางโค้ง ที่มุมอับสายตาควรให้สัญญาณเตือนเตือนรถที่สวนทาง

ที่มาบทความ autoinfo.co.th

          แนะเทคนิคการขับรถขึ้น-ลงเขายังไงให้ปลอดภัย ทั้งรถเกียร์ออโต้ และเกียร์ธรรมดา ใครที่อยากรู้ว่าขับรถขึ้นเขาต้องใช้เกียร์อะไร แบบไหนเป็นวิธีที่ถูกต้องมาดูกัน

ช่วงวันหยุดยาวเชื่อว่าหลายคนน่าจะมีแพลนออกเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อนตามสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคเหนือ หรือตามยอดดอย-ภูเขาสูง ซึ่งการจะเดินทางต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการขับขี่ เนื่องจากเส้นทางมักมีความลาดชันและคดเคี้ยว หากไม่ระมัดระวังหรือใช้ความเร็วมากเกินไปก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้

          ทั้งนี้ใครที่มีประสบการณ์ขับรถขึ้นเขามาแล้วก็อาจไม่เป็นปัญหามากนัก แต่สำหรับมือใหม่หัดขับหรือคนที่ขับรถอยู่แต่ในเมือง อยากจะไปเที่ยวภูเขาบ้าง อาจจะมีความกังวลรวมถึงข้อสงสัยต่าง ๆ เช่น การขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร วันนี้เราลองมาดูวิธีการขับรถขึ้น-ลงเขาที่ถูกต้อง และปลอดภัยกันว่าควรทำอย่างไร

ขับรถขึ้นเขาเกียร์ธรรมดา หรือ เกียร์ออโต้ แบบไหนยากกว่ากัน

จริง ๆ แล้วชนิดของเกียร์ทั้งสองแบบนั้นก็มีความยากง่ายที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวผู้ขับขี่เองว่ามีความชำนาญกับระบบเกียร์แบบไหนมากกว่า นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเรื่องของเส้นทางนั้น ๆ ด้วยว่าสูง ชัน หรือคดเคี้ยวมากน้อยเพียงใด

ขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร

เชื่อว่าหลายคนน่าจะพอทราบกันอยู่แล้วว่าการขับรถขึ้น-ลงเขาหรือบนถนนที่มีความลาดชันนั้น ควรใช้เกียร์ต่ำเป็นหลัก เพราะจะเป็นเกียร์ที่ให้พละกำลังสูง ช่วยในการเร่งหรือออกตัวได้ดี เราควรใช้เกียร์ต่ำเมื่อใด หรือจังหวะไหนบ้างนั้นมาดูกัน

  • ขับรถขึ้นเขา เกียร์ธรรมด

          สำหรับในรถเกียร์ธรรมดานั้นการขึ้นเขา ส่วนใหญ่จะใช้เกียร์ 1-2 เป็นหลัก อาจมี 3 บ้างขึ้นอยู่กับเส้นทางนั้น ๆ และควรรักษาความเร็วให้สม่ำเสมอ

  • ขับรถขึ้นเขา เกียร์ออโต้

          ในการขับรถเกียร์ออโต้ขึ้นเขาส่วนใหญ่ใช้แค่เพียงเกียร์ D ก็เพียงพอที่จะสามารถขับขี่ได้อย่างสบาย เว้นแต่กรณีที่เจอทางลาดชันมาก ๆ หรือเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก เช่น เครื่องยนต์ 1,200 ซี.ซี. หากเร่งไม่ขึ้นหรือมีกำลังไม่มากพอควรเลื่อนตำแหน่งเกียร์มาที่ D2, D1, 2 หรือ L (ขึ้นอยู่กับรถแต่ละรุ่น) เพื่อช่วยเพิ่มพละกำลังให้กับเครื่องยนต์

ข้อควรระวังในการขับรถลงเขา

  • ห้ามเหยียบเบรกตลอดเวลา  

          หากเปรียบเทียบกับการขับรถขึ้นเขาแล้ว การขับรถลงเขานั้นถือว่ามีความยากและอันตรายกว่ากันมาก เพราะรถจะเคลื่อนที่ได้เร็วตามความลาดชันของถนน ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องเหยียบเบรกเพื่อชะลอรถ แต่การเหยียบเบรกมากไป ก็อาจทำให้เบรกไหม้หรือเบรกแตกได้ เราจึงไม่ควรเหยียบเบรกแช่ไว้เป็นเวลานาน ๆ ควรใช้การแตะแล้วปล่อย ๆ

  • ใช้เกียร์ต่ำทุกครั้งที่ลงเขา

          การขับรถลงเขานั้นควรใช้เกียร์ต่ำเป็นหลัก เกียร์ธรรมดา คือ เกียร์ 1-2 เกียร์ออโต้ คือ เกียร์ D2, D1, 2 หรือ L เพราะการใช้เกียร์ต่ำ เครื่องยนต์จะมีแรงฉุด แรงดึงของเครื่องยนต์ หรือที่เรียกกันว่า Engine Brake เป็นตัวช่วยในการลดความเร็ว และลดการใช้เบรกได้อีกด้วย

  • ไม่ควรเหยียบคลัตช์

          ในรถเกียร์ธรรมดาขณะขับลงเขาไม่ควรเหยียบคลัตช์ค้างไว้ เพราะการเหยียบคลัตช์นั้นเหมือนเป็นการเข้าเกียร์ว่าง จะทำให้กำลังแรงฉุดของเครื่องยนต์หายไป รถจะมีความเร็วเพิ่มมากขึ้นเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้

  • ไม่ควรใช้เกียร์ว่างลงเขา

          สำหรับในรถเกียร์ธรรมดา และรถเกียร์ออโต้ การใช้เกียร์ว่าง หรือเกียร์ N ลงเขาถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะรถจะไม่มีแรงฉุดหรือแรงดึงจากเครื่องยนต์ ทำให้รถไหลลงเขาด้วยความเร็วสูง อาจเบรกไม่อยู่และเกิดอุบัติเหตุได้

อย่างไรก็ตาม การขับรถขึ้นหรือลงเขาไม่ได้ยากอย่างที่คิด ขอเพียงแค่รู้เทคนิคการใช้งานเกียร์ และไม่ใช้ความเร็วสูงเกินไป แต่ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นเกียร์แบบไหนตัวผู้ขับขี่เองควรศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทาง หากดูแล้วภูเขาที่จะไปมีความลาดชันมาก และเส้นทางค่อนข้างอันตราย ควรหลีกเลี่ยงการขับรถขึ้นไปเอง และใช้บริการรถของคนในพื้นที่เพื่อความปลอดภัย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก