หากนักเรียนอาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิดภูเขาไฟปะทุควรปฏิบัติตนอย่างไร ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับบริเวณที่เกิดภูเขาไฟปะทุควรปฏิบัติตนอย่างไร หากเกิดแผ่นดินไหวขณะอยู่ในบ้านควรปฏิบัติอย่างไร เพราะเหตุใดเมื่อเกิดแผ่นดินไหวจึงห้ามใช้ลิฟท์ ขณะเกิดเหตุแผ่นดินไหวนั้น ถ้านักเรียนนั่งอยู่ในห้องทํางานควรปฏิบัติอย่างไร ขณะเกิดแผ่นดินไหวนั้น ถ้านักเรียนอยู่ภายนอกอาคารควรปฏิบัติอย่างไร เพราะเหตุใด ขณะเกิดแผ่นดินไหวจึงห้ามใช้ลิฟต์ หลังเกิดภูเขาไฟปะทุ ควรทําอย่างไร สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว สาเหตุ และการป้องกัน แผ่นดินไหว สัญญาณ ก่อนเกิด แผ่นดินไหว

บุคคลที่อยู่บริเวณจุดเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวควรปฏิบัติอย่างไร

ข้อควรปฏิบัติขณะเกิดแผ่นดินไหว

ก่อนเกิดแผ่นดินไหว

บ้านพักอาศัย

      1. ควรเตรียมกล่องพยาบาลและอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ พร้อมแจ้งให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวทราบแหล่งที่เก็บ และวิธีใช้
      2. ควรรู้วิธีเปิด-ปิดสวิตช์ไฟ แก๊ส และน้ำประปา
      3. ควรจัดวางของในบ้านที่ตั้งอยู่ในที่สูงให้มั่นคง ตู้ต่าง ๆ ควรใส่กุญแจปิดล็อกให้แน่น
      4. ไม่ควรวางของหนักไว้บนที่สูง ของใช้ในบ้านที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากควรติดตั้งให้มั่นคง
      5. ควรศึกษาและเตรียมจุดหลบภัยภายในบ้านให้พร้อมเสมอ

ห้องทำงานและแหล่งสาธารณะ

      1. ควรตรวจเช็คอุปกรณ์ดับเพลิงเป็นประจำ
      2. ควรจัดทำแผนการฉุกเฉิน และแจ้งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทราบถึงหน้าที่ของแต่ละคนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

ขณะเกิดแผ่นดินไหว

ภายในอาคาร

      1. ตั้งสติและรีบปิดสวิตช์ไฟ แก๊ส และน้ำประปาทันที
      2. เปิดประตูทางเข้าออก พยายามหาสิ่งของ (เบาะที่รองนั่ง) เพื่อใช้ป้องกันศีรษะ พยายามหลบใต้โต๊ะหรือใต้อุปกรณ์เครื่องใช้ที่แข็งแรง หรือยืนใกล้กำแพงที่อยู่ตรงกลางของตึกอาคาร
      3. ห้ามอยู่ใกล้หน้าต่างเด็ดขาด เนื่องจากกระจกหน้าต่างอาจจะแตก
      4. ห้ามวิ่งออกนอกอาคารโดยตื่นตกใจ

ภายนอกอาคาร

      1. ควรยืนอยู่ในที่โล่งหรือฟุตบาท ห้ามวิ่งเข้าไปในอาคารโดยตื่นตกใจ
      2. ระวังป้ายหรือกระถางที่อาจตกลงมาจากที่สูง
      3. ควรออกห่างจากอาคารที่กำลังก่อสร้าง เสาไฟฟ้า กำแพง หรือตู้จำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้ติดตั้งอย่างแน่นหนา
      4. หากอยู่บนสะพานลอยหรือทางเดินใต้ดิน ควรรีบเดินออกมาอย่างมีสติ
      5. หากอยู่ในระหว่างขับขี่รถ ห้ามหยุดรถกะทันหัน ควรลดความเร็วและจอดข้างทาง และรีบหลบขึ้นฟุตบาทที่ใกล้ที่สุด
      6. หากอยู่ในระหว่างการขับขี่รถบนทางด่วน ควรรีบขับออกจากทางด่วนอย่างระมัดระวังโดยเร็ว
      7. หากอยู่ชานเมือง ควรไปอยู่ในที่โล่งแจ้ง และเดินออกห่างริมหน้าผา ริมทะเล ริมแม่น้ำ

โรงเรียน

      1. หลบเข้าใต้โต๊ะ หันหลังเข้ากำแพง ใช้กระเป๋าหนังสือป้องกันศีรษะ
      2. ห้ามวิ่งออกนอกห้องเรียนอย่างตื่นตระหนก และห้ามวิ่งขึ้นหรือลงบันได
      3. หากอยู่ในสนาม ต้องออกห่างตัวอาคาร
      4. หากอยู่ในรถโรงเรียนที่กำลังแล่น ให้นั่งอยู่กับที่จนกว่ารถจอดสนิทแล้ว

ห้องทำงานและแหล่งสาธารณะ

      1. ระวังสิ่งของที่อาจตกลงมาจากที่สูง (เช่นโคมไฟ)
      2. ขณะอยู่ในห้องทำงาน ควรหลบใต้โต๊ะหรือใต้เฟอร์นิเจอร์ที่แข็งแรงหรือยืนข้างเสา แต่ต้องออกห่างหน้าต่าง
      3. ขณะอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ควรหาทางออกที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงแหล่งที่มีผู้คนแออัด
      4. ห้ามวิ่งออกไปด้านนอกอย่างตื่นตระหนก ห้ามใช้ลิฟต์

หลังแผ่นดินไหว

      1. ตรวจสอบคนรอบข้างว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ควรให้การปฐมพยาบาลในกรณีที่เห็นว่ามีความจำเป็น
      2. ตรวจเช็คท่อน้ำ สายไฟ และสายแก๊สว่ามีการชำรุดเสียหายหรือไม่ หากพบว่าสายแก๊สชำรุดเสียหาย ควรค่อย ๆ เปิดประตูหน้าต่าง และออกจากพื้นที่พร้อมแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
      3. เปิดวิทยุรับฟังข่าวสารข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับภัยพิบัติ
      4. ตรวจสอบสภาพความชำรุดเสียหายของโครงสร้างอาคารบ้านเรือน ควรออกห่างอาคารบ้านเรือนที่ชำรุดเสียหายและควรใช้บันได
      5. ควรใส่รองเท้าหนังเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกเศษกระจกบาด
      6. รักษาช่องทางกู้ภัยให้มีความคล่องตัว ควรหนีภัยด้วยการเดิน
      7. ทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานในการหนีภัย
      8. ออกห่างจากริมทะเล ท่าเรือ เพื่อป้องกันกรณีเกิดสึนามิ
      9. ห้ามเข้าในเขตประสบภัยแผ่นดินไหวโดยมิได้รับอนุญาต และควรระมัดระวังการลักขโมยทรัพย์สินด้วย
      10. ระวังการเกิดแผ่นดินไหวซ้ำ (After shock)

*************************************************

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา

13 พฤษภาคม 2559

      การระวังภัยจากแผ่นดินไหว
การเกิดแผ่นดินไหวไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ แต่บริเวณใดที่เป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวจึงเป็นเพียงการลดความสูญเสียเท่านั้น ข้อปฏิบัติในการป้องกันตนเองจากภัยแผ่นดินไหว มีดังนี้
1. บุคคลที่อยู่บริเวณจุดเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว ควรจัดเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภค ยารักษาโรคไว้ให้พร้อม
2. ขณะเกิดเหตุห้ามใช้ลิฟต์เพราะไฟฟ้าอาจดับได้ และควรมุดลงใต้โต๊ะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันสิ่งของร่วงหล่นทับ
3. หากอยู่ภาคนอกอาคารให้หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้เสาไฟฟ้า กำแพง และอาคารสูง หายอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลให้รีบขึ้นที่สูงที่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นสึนามิได้
4. ควรออกแบบอาคารและสิ่งก่อสร้างให้สามารถรับแรงแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้
5. ควรมีการฝึกซ้อมการหลบภัยแผ่นดินไหวแต่ละชุมชนหรือหน่วงงานที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว

       การระวังภัยที่เกิดจากภูเขาไฟปะทุ
1. ต้องมีการพยากรณ์ว่าภูเขาไฟจะเกิดปะทุขึ้น และอาจเป็นอันตรายกับประชาชนหรือไม่ โดยการประชาสัมพันธ์ การพยากรณ์และเตือนภัยภูเขาไฟปะทุทางวิทยุโทรทัศน์ให้ประชาชนรับรู้อย่างทั่วถึง ให้ชัดเจนจะเกิดขึ้นเมื่อไร จะต้องมีการอพยพหรือไม่ เพราะอาจมีบางคนไม่อยากอพยพจนกว่าจะมีการปะทุ และผู้คนจะกลับมาอยู่บ้านของตนได้เร็วที่สุดเมื่อใด
2. การพยากรณ์ควรเริ่มต้นด้วยการสังเกต เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยนักภูเขาไฟวิทยาที่มีประสบการณ์อย่าจริงจัง เพราะภูเขาไฟไม่ปะทุบ่อยนัก ประชาชน 2-3 พันล้านคนของโลกอาจไม่รู้ว่าได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บนเชิงภูเขาไฟที่ดับหรือไม่ดับก็ตาม ดังนั้นการเตือนภัยล่วงหน้าจะช่วยลดจำนวนคนที่ตกเป็นเหยื่อของภูเขาไฟก็ได้ ดังนั้น จึงควรให้ความรู้ว่าภูเขาไฟอยู่ที่ไหน จะปะทุเมื่อไร จะคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างไรเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น
3. การให้ความรู้แก่ประชาชน ทำได้ตลอดเวลาทั้งก่อน ระหว่าง และหลังประสบภัยพิบัติ เมื่อประชาชนรู้เรื่องภัยพิบัติจากการปะทุของภูเขาไฟ นับว่าการเตือนภัยจากภูเขาไฟปะทุมีความสำเร็จไปครึ่งทางแล้ว ดีกว่าให้ประชาชนตกอยู่ในความมืดเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น

      การระวังภัยจากสึนามิ
วิธีสังเกตและป้องกันตนจากคลื่นสึนามิ มีดังนี้
1. เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขณะที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดติดชายฝั่งทะเลย ต้องระลึกเสมอว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมา เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อมทุกเมื่อ
2. สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่ง เช่น มีการลดระดับน้ำทะเล ให้รีบอพยพครอบครัวและสัตว์เลี้ยงขึ้นที่สูง เป็นต้น
3. ถ้าอยู่ในเรือจอดใกล้กับชายฝั่งให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล
4. หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง หากจำเป็นต้องมีการก่อสร้าง ควรมีโครงสร้างแข็งแรงต้านแรงสึนามิได้

       ระวังภัยตนเองจากอุทกภัย
1) การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ควรกำหนดผังเมืองเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตัวเมือง ไม่ให้กีดขวางทางไหลของน้ำ กำหนดการใช้ที่ดินบริเวณพื้นที่น้ำท่วมให้เป็นพื้นที่ราบลุ่มรับน้ำ เพื่อเป็นการหน่วงหรือชะลอการเกิดน้ำท่วม
2) ไม่บุกรุกทำลายป่าไม้ และไม่ปลูกพืชไร่บนพื้นที่ภูเขาสูงชัน เพราะจะขาดพื้นที่ดูดซับและชะลอการไหลของน้ำ ทำให้น้ำไหลลงสู่แม่น้ำ ลำห้วยได้อย่างรวดเร็ว
3) การเคลื่อนย้ายวัสดุจากที่ที่จะได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากน้ำท่วมให้ไปอยู่ในที่ปลอดภัยหรือที่สูง
4) การนำถุงทรายมาทำเขื่อน เพื่อป้องกันน้ำท่วม
5) การพยากรณ์และการเตือนภัยน้ำท่วมให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมป้องกัน
6) การสร้างเขื่อน ฝาย ทำนบ และถนน เพื่อเป็นการกักเก็บน้ำหรือเป็นการกั้นทางเดินของน้ำ เป็นต้น

       การระวังภัยจากวาตภัย
1.ติดตามข่าวและคำเตือนลักษณะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา
2.เตรียมวิทยุและอุปกรณ์สื่อสาร ชนิดใช้ถ่านแบตเตอรี่ เพื่อติดตามข่าวในกรณีที่ไฟฟ้าขัดข้อง
3. ตัดหรือรึกิ่งไม้ที่อาจหักได้จากลมพายุ โดยเฉพาะกิ่งที่หักมาทับบ้าน สายไฟฟ้า ต้นไม้ที่ยืนต้นตายควรจัดการโค่นลงเสีย
4. ตรวจเสาและสายไฟฟ้าทั้งในและนอกบริเวณนอกบ้านให้เรียบร้อย ถ้าไม่แข็งแรงให้ยึดเหนี่ยวเสาไฟให้มันคง
5.พักในอาคารที่มั่นคงตลอดเวลาขณะเกิดวาตภัย อย่าออกมาในที่โล่งแจ้งเพราะกิ่งไม้อาจหักโค่นลงมาทับได้รวมทั้งหลังคาสังกะสีและกระเบื้องจะปลิวตามลมมาทำอันตรายได้
6. ปิดประตู หน้าต่างทุกบาน รวมทั้งยึดประตูและหน้าต่างให้มั่นคงแข็งแรง ถ้าประตูหน้าต่างไม่แข็งแรง ให้ใช้ไม้ทาบตีตะปูตรึงปิดประตู หน้าต่างไว้จะปลอดภัยยิ่งขึ้น
7. ปิดกั้นช่องทางลมและช่องทางต่าง ๆ ที่ลมจะเข้าไปทำให้เกิดความเสียหาย
8. เตรียมตะเกียง ไฟฉาย และไม้ขีดไฟไว้ให้พร้อม ให้อยู่ใกล้มือ เมื่อเกิดไฟฟ้าดับจะได้หยิบใช้ได้อย่างทันท่วงที และน้ำสะอาด พร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องหุ้มตุ้ม
9. เตรียมอาหารสำรอง อาหารกระป๋องไว้บ้างสำหรับการยังชีพในระยะเวลา 2-3 วัน
10. ดับเตาไฟให้เรียบร้อยและควรจะมีอุปกรณ์สำหรับดับเพลิงไว้
11. เตรียมเครื่องเวชภัณฑ์
12. สิ่งของควรไว้ในที่ต่ำ เพราะอาจจะตกหล่น แตกหักเสียหายได้

13. บรรดาเรือ แพ ให้ลงสมอยึดตรึงให้มั่นคงแข็งแรง
14. ถ้ามีรถยนต์ หรือพาหนะ ควรเตรียมไว้ให้พร้อมภายหลังพายุสงบอาจต้องนำผู้ป่วยไปส่ง โรงพยาบาล น้ำมันควรจะเติมให้เต็มถังอยู่ตลอดเวลา
15. เมื่อลมสงบแล้วต้องรออย่างน้อย 3 ชั่วโมง ถ้าพ้นระยะนี้แล้วไม่มีลมแรงเกิดขึ้นอีก จึงจะวางใจว่าพายุได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทั้งนี้เพราะ เมื่อศูนย์กลางพายุผ่านไปแล้วจะต้องมีลมแรงและฝนตกหนักผ่านมาอีก ประมาณ 2 ชั่วโมง

       การระวังภัยจากไฟป่า
1.เมื่อทำการเผ่าไร่ในพื้นที่ควบคุมดูแลไฟไม่ให้ลุกลามเข้าไปในป่า และควรทำแนวป้องกันไฟป่าก่อนเผาทุกครั้ง
2. ไม่จุดไฟเผาป่าเพื่อล่าสัตว์ และไม่จุดไฟเล่นด้วยความสนุกหรือคึกคะนอง
3. ระมัดระวังการใช้ไฟ เมื่ออยู่ในป่าหรือพักแรมในป่า หากมีความจำเป็นต้องใช้ไฟ ควรดับไฟให้หมดก่อนออกจากป่า
4. เมื่อพบเห็นไฟไหม้ป่าหรือสวนป่า ให้ช่วยกันดับไฟป่าหรือแจ้งหน่วยราชการที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
5. มีส่วนร่วมด้านการประชาสัมพันธ์ ชี้ให้เห็นความสำคัญของป่าไม้และความเสียหายที่เกิดจากไฟป่าและโทษที่จะได้รับ หรือเป็นอาสาสมัครป้องกันไฟป่า
6. ช่วยเป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่ในการส่องดูแลไม่ให้เกิดไฟไหม้ป่ารวมทั้งช่วยจับกุมผู้ฝ่าฝืนมาลงโทษตามกฎหมาย เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลอื่นต่อไป

หากนักเรียนอาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิดภูเขาไฟปะทุควรปฏิบัติตนอย่างไร

วิธีเอาตัวรอดเมื่อภูเขาไฟระเบิด ถ้าเกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟปะทุ มีประกาศอพยพ ควรฟังเจ้าหน้าที่และศูนย์แจ้งเตือนภัย ควรอยู่ภายในอาคาร ปิดประตูและหน้าต่างทั้งหมด เถ้าที่เกิดจากภูเขาไฟเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ

ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับบริเวณที่เกิดภูเขาไฟปะทุควรปฏิบัติตนอย่างไร

เมื่อมีประกาศให้อพยพหลบภัย ควรรีบอพยพโดยด่วน จัดของใช้เฉพาะที่จําเป็น เอาติดตัวไปด้วยตอนอพยพ เช่น ยาสำหรับโรคประจำตัว อาหารยามฉุกเฉิน น้ำดื่ม เป็นต้น ขับรถด้วยความระมัดระวัง เปิดไฟเพื่อเพิ่มทัศนวิสัย เถ้าภูเขาไฟที่ปกคลุมอาจทำให้ผิวถนนลื่น ควรปฏิบัติตามมาตรการและคำแนะนำด้านการจราจรอย่างเคร่งครัด

หากเกิดแผ่นดินไหวขณะอยู่ในบ้านควรปฏิบัติอย่างไร

ข้อปฏิบัติเมื่อขณะเกิดแผ่นดินไหว… อย่าตกใจ..มีสติ ในอาคาร มุดใต้โต๊ะ เก้าอี้พิงผนังด้านใน แล้วอยู่นิ่งๆ ถ้าไม่มีโต๊ะ ใช้แขนปิดหน้า ปิด ศรีษะ หมอบตรงมุมห้อง อยู่ให้ห่าง กระจก หน้าต่าง และเลี่ยงบริเวณที่ สิ่งของหล่นใส่หรือล้มทับ เช่น โคมไฟ ตู้

เพราะเหตุใดเมื่อเกิดแผ่นดินไหวจึงห้ามใช้ลิฟท์

๏ เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด เพราะ หากไฟฟ้าดับ อาจติดอยู่ในลิฟต์ ๏ ให้ระวังชิ้นส่วนของอาคารหล่นใส่ อย่าอยู่ใต้คานที่ชำรุด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก