กองทุน สํา รอง เลี้ยงชีพ กี่ ปี

ช่วงปี 2020 ถือว่าเป็นช่วงเวลาวิกฤตอีกครั้งหนึ่งของโลก จากการระบาดของ COVID-19 จนทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ถ้าหากเราย้อนดูตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจโดยเฉพาะของไทย ปี 2020 น่าจะเป็นอีกช่วงเวลาที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบสูงติดอันดับต้น ๆ อย่างแน่นอน

เมื่อเกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ สิ่งหนึ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ 'การจ้างงาน' ที่ลดลง ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีคนบางกลุ่มที่ตกงาน หรือมีการถูกหักโอที ปรับลดลงเงินเดือน ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือ การขาด 'สภาพคล่อง' ในการดำรงชีวิต เนื่องจากเมื่อรายได้หดหายไปแต่รายจ่ายไม่ได้ลดตามไปด้วย ทำให้บางคนมีกระแสเงินสดติดลบได้

เมื่อเวลาที่เราประสบกับเหตุการณ์ที่ขาดสภาพคล่องหลายคนมักจะมองหาแหล่งเงินทุนเพื่อเพิ่ม 'สภาพคล่อง' และ 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' ก็เป็นแหล่งที่ถูกหมายตามากที่สุดแหล่งหนึ่ง เนื่องจากมีจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับแหล่งเก็บเงินอื่น ๆ แต่รู้กันหรือไม่ว่าการถอนเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อนอายุเกษียณนั้นมี 'ค่าใช้จ่ายแฝง' ที่ตามมา

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าวัตถุประสงค์หลักที่นายจ้างจัดตั้ง 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' นั้น เพื่อให้สมาชิกมีเงินเก็บไว้ใช้เมื่อเกษียณอายุ โดยต้องเป็นสมาชิกอย่างน้อย 5 ปีและสามารถถอนได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เท่านั้น แต่ถ้าสมาชิกถอนเงินออกจากกองทุนก่อน 2 เงื่อนไขข้างต้น สมาชิกอาจไม่ได้รับเงินทั้งหมดที่เห็นในรายงาน เนื่องจากจะมีค่าใช้จ่ายเรื่องของภาษีเพิ่มเติม ซึ่งโดยทั่วไปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเรานั้นจะประกอบด้วยเงิน 4 ส่วน
1. เงินสะสม คือ เงินของสมาชิกที่ออม 2-15% ของรายได้เข้ากองทุนทุกเดือน
2. เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างออมเพิ่มเติมให้ลูกจ้างตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัท
3. ผลประโยชน์ของเงินสะสม คือ กำไรที่ได้จากการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของเงินสะสม 
4. ผลประโยชน์ของเงินสมทบ คือ กำไรที่ได้จากการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของเงินสมทบ

ซึ่งการถอนเงิน 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' แล้วจะต้องมีการคำนวณเพื่อเสียภาษีเพิ่มเติมจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี 

กรณีที่ 1: ถอนเงินจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานหรือออกจากงานโดยที่อายุงานน้อยกว่า 5 ปี สำหรับกรณีนี้จะต้องนำเงินส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 และ ส่วนที่ 4 ไปคิดรวมกับเงินได้ในปีที่เราถอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกตามอัตราของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรณีที่ 2: ออกจากงานที่อายุงาน 5 ปีขึ้นไป แต่อายุไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์ 
สำหรับกรณีนี้ จะต้องนำเงินส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 และ ส่วนที่ 4 มาบวกรวมกัน จากนั้นให้นำ "7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน" หักลบออกไป และให้หารด้วย 2 อีกครั้ง สุดท้ายให้เรานำเงินที่ได้จากคำนวณแล้วไปรวมกับเงินได้อื่น ๆ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือสามารถยื่นแยกกับภาษีเงินได้ประเภทอื่น ๆ ได้

สมมติว่าทำงานมา 15 ปี แต่อายุไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์ และเมื่อเรานำเงินส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 และ ส่วนที่ 4 มาบวกรวมกันได้ 300,000 บาท จากนั้นให้นำ 7,000 มาคูณกับ 15 ปีที่เป็นจำนวนปีที่ทำงานจะได้เท่ากับ 105,000 บาท และเมื่อนำไปลบกับ 300,000 บาทจะได้ 195,000 บาท สุดท้ายให้เราหารด้วย 2 อีกครั้งจะคิดเป็นเงินเท่ากับ 97,500 บาท เงินจำนวน 97,500 บาทนี้ คือจำนวนเงินที่ไปรวมกับเงินได้อื่น ๆ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือเราสามารถเลือกนำเงินจำนวนนี้ไปแยกยื่นเพื่อให้เสียภาษีเงินได้น้อยลงได้อีกด้วยนั่นเอง 

แต่สำหรับกรณีที่ลาออกจากงานเมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไปและเป็นสมาชิกมาไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินที่เรานำออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวน  ซึ่งนอกจากเรื่องของภาษีที่เราต้องคำนวณให้ดีก่อนถอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว ยังมีประเด็นเรื่องอัตรา 'เงินสมทบ' ที่เราอาจจะไม่ได้รับเต็มจำนวนสำหรับกรณีที่เราถอนออกก่อนด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท ซึ่งโดยทั่วไปจะมีเรื่องของ 'อายุงาน' เป็นตัวกำหนดว่าจะต้องทำงานอย่างน้อยกี่ปีถึงจะได้ 'เงินสมทบ' เต็มจำนวน ซึ่งถ้าถอนก่อนหน้าเวลาที่กำหนดจะได้อัตราเงินสมทบตามอายุงานตามที่แต่ละบริษัทกำหนด 

'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' คือ แหล่งเก็บเงินเพื่อการเกษียณที่ดีที่สุดตัวหนึ่งที่จะช่วยการันตีให้กับเราได้ว่าในยามที่เราเกษียณตัวเองแล้ว จะสามารถรักษามาตรฐานการดำรงชีวิตให้เหมือนกับตอนที่เรายังทำงานได้ ซึ่งการถอนเงิน 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' ออกก่อนกำหนด นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายแฝงต่าง ๆ ที่เราต้องจ่ายแล้ว ยังมีโอกาสที่เราจะนำเงินไปใช้จ่ายผิดประเภท เนื่องจากโดยปกติแล้วคนเรามักมีแนวโน้มจ่ายเงินมากขึ้นเมื่อมีเงินสดถืออยู่ในมือจำนวนมาก ทำให้เรามีความเสี่ยงที่อาจจะมีเงินไม่พอกับการเกษียณก็เป็นไปได้เช่นกัน

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ ผลตอบแทนในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ความหมายของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บออมเงินให้ลูกจ้างใช้จ่ายตอนเกษียณอายุแล้วและถือว่าเป็นสวัสดิการส่วนหนึ่งที่นายจ้างมีให้แก่ลูกจ้าง

เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมาจาก:

  1. เงินสะสม(ส่วนของสมาชิก) : เงินที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุนซึ่งจะถูกหักจากเงินค่าจ้าง ตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนของแต่ละนายจ้าง ในอัตราไม่ต่ำกว่า 2% แต่ไม่เกิน 15% ของเงินค่าจ้าง

  2. เงินสมทบ (ส่วนของนายจ้าง) : เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนเป็นประจำทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนของแต่ละนายจ้าง ในอัตราไม่ต่ำกว่า 2% แต่ไม่เกิน 15% ของเงินค่าจ้าง

เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการที่จะนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ เพื่อหาผลตอบแทนสูงสุดภายใต้ระดับความเสี่ยงที่รับได้หรือตามนโยบายการลงทุน โดยกองทุนมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากนายจ้างและบริษัทจัดการโดยเด็ดขาด และจะต้องนำไปจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ลูกจ้างหรือสมาชิกจึงสามารถมั่นใจได้ว่าแม้นายจ้างหรือบริษัทจัดการจะปิดกิจการลง เงินจำนวนนี้ก็ยังถือเป็นของลูกจ้างหรือสมาชิกทั้งหมดโดยไม่ผูกพันธ์กับภาระหนี้สินใดๆ ของบริษัทนายจ้าง

ส่วนประกอบของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ :

  1. เงินสะสม

  2. ผลประโยชน์เงินสะสม

  3. เงินสมทบ

  4. ผลประโยชน์เงินสมทบ

ประโยชน์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  1. ด้านการบริหารจัดการ

    • สร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่บริษัทนายจ้าง ว่าเป็นบริษัทที่มั่นคง และห่วงใยลูกจ้าง
    • ทำให้ลูกจ้างมีความศรัทธาต่อกิจการ ซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น
    • ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง และขจัดปัญหาการพิพาทแรงงาน
    • ลดอัตราการลาออกจากงานของลูกจ้าง และสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างนาน ๆ
  2. ด้านหลักประกันทางการเงิน

    • ช่วยสนับสนุนให้มีการวางแผนเพื่อการออมระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
    • เป็นหลักประกันให้แก่สมาชิกและครอบครัวว่าจะมีเงินก้อนไว้ใช้สอยในกรณีที่เกษียณอายุ หรือ ออกจากงานหรือเสียชีวิต
  3. ด้านผลประโยชน์จากการออม

    • จะได้รับเงินเพิ่มจากส่วนที่สมทบจากนายจ้างเป็นประจำทุกเดือน
    • ได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในรูป ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือ กำไรส่วนเกินทุน ซึ่งสมาชิกมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงินด้วยตนเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนหรือระดับความเสี่ยงของสมาชิก ซึ่งผ่านการบริหารโดยบริษัทจัดการที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการลงทุน
    • สามารถออมเงินผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการย้ายงานไปอยู่กับนายจ้างใหม่ก็ยังสามารถเก็บเงินไว้ที่กองทุนเดิม (คงเงิน) หรือจะโอนย้ายไปกองทุนใหม่ได้
    • เมื่อเกษียณอายุ สมาชิกยังสามารถที่จะขอลงทุนต่อเนื่องโดยการเก็บเงินไว้ในกองทุนต่อไป (คงเงิน) หรือจะขอทยอยเงินเป็นงวดๆ ก็ได้ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง
  4. ด้านภาษี

    • นายจ้างสามารถนำเงินที่จ่ายสมทบเข้ากองทุน มาหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท โดยถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้างของลูกจ้างแต่ละราย

รูปแบบการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  1. กองทุนเดี่ยว (Single Fund) หมายถึง กองทุนที่มีนายจ้างรายเดียวจัดตั้งขึ้น
    • สร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่บริษัทนายจ้าง ว่าเป็นบริษัทที่มั่นคง และห่วงใยลูกจ้าง
    • ทำให้ลูกจ้างมีความศรัทธาต่อกิจการ ซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น

  2. กองทุนร่วม (Pooled Fund) หมายถึง กองทุนที่มีนายจ้างตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปร่วมกันจัดตั้งกองทุน โดยอาจจะเป็นนายจ้างในเครือเดียวกันหรือไม่เกี่ยวข้องกันก็ได้
    • สร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่บริษัทนายจ้าง ว่าเป็นบริษัทที่มั่นคง และห่วงใยลูกจ้าง
    • ทำให้ลูกจ้างมีความศรัทธาต่อกิจการ ซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น

หมายเหตุ :

  1. นายจ้างที่อยู่ในกองทุนร่วมเดียวกัน จะมีนโยบายการลงทุนเดียวกัน
  2. แต่ละนายจ้างที่อยู่ในกองทุนร่วม สามารถกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสม เงินสมทบ และเงื่อนไขการจ่ายเงินออกจากกองทุนแตกต่างกันได้ 
  3. การร่วมทุนจะทำให้เงินกองทุนมีมากขึ้น สามารถเพิ่มโอกาสในการลงทุนเพื่อผลประโยชน์ที่ดีขึ้น และ/หรือสามารถกระจายความเสี่ยงได้มากขึ้น รวมทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการที่กองทุนแต่ละกองทุนแยกการลงทุนเอง (Economy of Scale)

อะไรคือ Employee’s Choice

นโยบายการลงทุน จะเป็นการกำหนดขอบเขตในการบริหารเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งจะต้องมีการตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการกองทุนและบริษัทจัดการ โดยปกตินโยบายการลงทุนจะต้องมีการระบุประเภทตราสารและสัดส่วนการลงทุนในตราสารแต่ละประเภท ที่กองทุนอนุญาตให้ผู้จัดการกองทุนลงทุนได้ ในการกำหนดนโยบายการลงทุน ควรเลือกนโยบายที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะ ความต้องการ และความเสี่ยงที่สมาชิกยอมรับได้

อย่างไรก็ตาม การมีนโยบายการลงทุนแบบเดียว อาจไม่เหมาะกับลูกจ้างทุกคนที่มีลักษณะแตกต่างกัน จึงมีการผลักดันให้ลูกจ้างสามารถเลือกนโยบายการลงทุนเองได้ตามความเหมาะสม หรือ ที่เรียกกันว่า Employee’s Choice นั่นเอง

Employee’s Choice หรือ ระบบ “ลูกจ้างเลือกลงทุน” คือ การเปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง ทั้งนี้ บลจ. ไทยพาณิชย์ ขอนำเสนอทางเลือกของ Employee’s Choice ตามนโยบายการลงทุน เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนแต่ละคนสามารถเลือกนโยบายการลงทุนที่สอดคล้องกับความต้องการของตนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ดังรูปแบบต่อไปนี้

1. เลือกนโยบายการลงทุนเดียว
กรณีนี้ แม้ว่านายจ้างจะมีหลายนโยบายให้เลือก แต่สมาชิกจะมีสิทธิ์เลือกได้เพียง 1 นโยบายและเงินของสมาชิกจะถูกนำไปลงทุนตามนโยบายที่สมาชิกแต่ละรายเลือกไว้เท่านั้น

2. เลือกแผนการลงทุนแผนใดแผนหนึ่ง
กรณีนี้ นายจ้างอาจกำหนดให้มีแผนการลงทุนได้หลายแบบ ซึ่งแต่ละแผนการลงทุนจะมีสัดส่วนการลงทุนในนโยบายต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ และสมาชิกจะสามารถเลือกแผนการลงทุนได้ตามความเหมาะสมตามระดับความเสี่ยงในการลงทุนที่ตนเองสามารถรับได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการกองทุนจะเป็นผู้กำหนด แผนนโยบายให้และสมาชิกสามารถเลือกได้คนละ 1 แผนการลงทุน

3. เลือกกำหนดสัดส่วนการลงทุนได้ตามต้องการ (DIY)
กรณีนี้ คณะกรรมการกองทุนอาจกำหนดให้มีนโยบายการลงทุนหลายนโยบาย โดยเปิดให้สมาชิกสามารถเลือกนโยบายการลงทุนและกำหนดสัดส่วนการลงทุนได้ตามความต้องการเพื่อช่วยกระจายความเสี่ยง โดยเงินสะสมและสมทบของสมาชิกจะถูกกระจายไปในแต่ละนโยบายการลงทุนตามสัดส่วนที่เลือก และผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับแต่ละนโยบายการลงทุน
สมาชิกสามารถเลือกกำหนดสัดส่วนการลงทุนได้ตามต้องการ (DIY)

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กี่%

เราสามารถเลือกออมได้ที่ 2% - 15% ของรายได้ โดยนายจ้างจะสมทบให้ในอัตรา 2% - 15% ของรายได้เช่นกัน ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขแต่ละบริษัท โดยหลายคน เมื่อฝ่ายบุคคลนำแผนการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาให้เลือกว่าจะแบ่งออมกี่ % ส่วนใหญ่มักจะเลือกออมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประมาณ 2% - 5% ของรายได้เท่านั้น ซึ่งเป็น ...

ลาออกได้เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไหม

จัดการเงินสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรเมื่อลาออกจากงาน? ตามขั้นตอนแล้วสมาชิกจะได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืน เมื่อสิ้นสมาชิกภาพ คือ ออกจากงาน เกษียณอายุ โอนย้ายกองทุน และเสียชีวิต โดยจะได้รับส่วนของเงินสะสมเต็มจำนวน พร้อมผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินสะสม

เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อใด

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บออมเงินให้ลูกจ้างใช้จ่ายตอนเกษียณอายุแล้วและถือว่าเป็นสวัสดิการส่วนหนึ่งที่นายจ้างมีให้แก่ลูกจ้าง

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพดียังไง

จุดเด่นของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund.
ได้เงินสมทบจากนายจ้าง.
สร้างวินัยการออมให้ลูกจ้าง โดยออมก่อนใช้จ่าย.
ช่วยให้ลูกจ้างมีเงินเก็บไว้ใช้หลังเกษียณ.
ลูกจ้างสามารถนำเงินที่สะสมไปหักลดหย่อนภาษีได้.
บริหารโดยมืออาชีพ มีนโยบายการลงทุนหลากหลายทั้งในและต่างประเทศ.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก