จดทะเบียนสมรสต้องมีพยานกี่คน

ในอดีตชีวิตคู่คือการครองรักและครองเรือนที่เริ่มต้นสร้างฐานะไปด้วยกัน ฝ่ายสามีภรรยาจึงต้อง “จดทะเบียนสมรส” ประโยชน์ของการจดทะเบียนสมรสนอกจากจะบ่งบอกสถานะคู่ชีวิตแล้ว ตามกฎหมายเพื่อเป็นข้อผูกพันเกี่ยวกับสินสมรส มรดก และการรักษาพยาบาลต่างๆ

ประวัติของการจดทะเบียนสมรสในไทย

การจดทะเบียนสมรสไม่ใช่ขนบธรรมเนียมของไทยตั้งแต่ต้น การจดทะเบียนสมรสครั้งแรกในบ้านเราเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เป็นการแต่งงานแบบตะวันตก โดยมีการถามความสมัครใจของคู่บ่าวสาว และต้องมีพยานลงชื่อในเอกสาร “ทะเบียนแต่งงาน” ด้วย

ปัจจุบันการจดทะเบียนสมรสมีผลครอบคลุมทรัพย์สินของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย และให้สิทธิ์แก่คู่สมรสที่จดทะเบียนกันก่อน หากฝ่ายใดจดทะเบียนสมรสซ้อน ใบทะเบียนสมรสนั้นจะเป็นโมฆะ นอกจากนี้ยังรวมถึงสิทธิ์ในการเบิกค่ารักษาสวัสดิการต่างๆ และเกี่ยวข้องกับสิทธิ์ในตัวบุตร

คุณสมบัติของผู้ขอจดทะเบียนสมรส

ผู้ที่จะขอจดทะเบียนสมรสได้ ต้องมีคุณสมบัติ 7 อย่าง ดังนี้

- ชายหรือหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ กรณีมีเหตุอันควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนที่ชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
- ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
- ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
- ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
- หญิงม่ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
* คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
* สมรสกับคู่สมรสเดิม
* มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
* ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
* มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
- ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอมได้ตามกฎหมาย


จดทะเบียนสมรสใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารประกอบการจดทะเบียนสมรส มีทั้งหมด 4 อย่างด้วยกัน ดังนี้

1. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
2. ชาวต่างชาติใช้สำเนาหนังสือเดินทางประกอบด้วย
3. ชาวต่างชาติต้องใช้หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้นมอบหมาย พร้อมแปล
4. สำเนาทะเบียนบ้าน

6 ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส 

1. เตรียมเอกสารทั้งหมดให้พร้อม ไปยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนใกล้บ้าน จดทะเบียนสมรสที่ไหน โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส โดยลงชื่อในคำร้องตามแบบคร.1 ที่นายทะเบียนเป็นผู้บันทึกข้อความ และจัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานของผู้ขอจดทะเบียนสมรส พร้อมพยานอย่างน้อย 2 คน
3. นายทะเบียนพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอจดทะเบียนสมรส
4. นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้ผู้ขอจดทะเบียนสมรส
5. นายทะเบียนลงรายการพิมพ์ข้อความในทะเบียนสมรส และใบสำคัญสมรส เรื่องทรัพย์สินและเรื่องอื่นๆ ก่อนลงลายมือชื่อในทะเบียนสมรส และมอบทะเบียนสมรสให้กับคู่สามีภรรยาคนละฉบับ
6. นายทะเบียนเก็บรักษาทะเบียนสมรส (คร.2) ไว้

จดทะเบียนสมรสไม่เปลี่ยนนามสกุล

การใช้นามสกุลของคู่สมรส เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างคู่สมรสให้ทางทะเบียนท้องที่บันทึกข้อตกลงของคู่สมรสว่าจะใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใด โดยให้บันทึกต่อท้ายในแบบ คร.2

จดทะเบียนสมรสออนไลน์

การจดทะเบียนสมรสออนไลน์นั้น หลายท่านเข้าใจผิดว่าเป็นการทำนิติกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ของทางกรมการปกครอง แต่เป็นเพียงการจองคิวเพื่อจดทะเบียนสมรสผ่านช่องทางออนไลน์ โดยว่าที่คู่สามีภรรยาต้องเข้าไปที่เว็บไซต์กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (คลิกที่นี่ //q-online.bora.dopa.go.th/) เพื่อลงทะเบียนขอรับบริการล่วงหน้า โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน, วันเดือนปีเกิด และ เบอร์โทรศัพท์ 10 หลักเพื่อทำการจอง.

จะจดทะเบียนสมรสต้องใช้พยานด้วยหรอคะ?

วันนี้เนื่องจากเป็นวันดีของ จขกท. เลยชวนแฟนไปจดทะเบียนด้วยกันที่เขตบางกะปิคะ ด้วยเราทั้งคู่ก็อายุเกิน20แล้ว เรียนจบมีงานทำแล้ว แต่พอไปถึงตรงจุดรับบัตรคิว ก็สอบถามว่ามายื่นเรื่องอะไร เราก็ตอบไปว่ามาจดทะเบียนสมรสคะ เค้าก็บอกว่าต้องมีพยานมาด้วย2คน เรากับแฟนก็เงิบเลยคะทีนี้ เพราะสอบถามเพื่อนที่เคยจดมาก่อนเค้าก็ไม่เห็นต้องมีพยาน แค่เตรียมใจ เตรียมสำเนา ก็พอแล้ว เลยพูดขำๆกะแฟนไปว่าสงสัยเราจะหน้าเด็กมั้ง เค้าเลยให้หาพยานมา เสียดายคะอุส่านั่งแท็กซี่มา ตั้งใจมาก มาเจอแบบนี้ แถมพนักงานสาวสองคนที่จุดรับคิวก็ทำมารยาทสีหน้าให้เรารู้สึกแย่มากเลย ไว้จะไปจดเขตอื่นแล้วกันคะ
อ้อ.. อยากจะถามคะ ว่าต้องใช้พยานสองคนจริงๆหรอคะ?

สรุปให้ครบ จบทุกขั้นตอน เตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปจดทะเบียนสมรส

สิ่งที่จะบ่งบอกว่าคุณทั้งสองได้เป็นคู่ครองกันอย่างสมบูรณ์แบบ นั้นคือ การจดทะเบียนสมรส เชื่อว่าหลายคน หรือ คู่แต่งงานหลายคู่ที่กำลังจะจัดพิธีแต่งงาน หรือ จัดงานแต่งงานเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว จะต้องมีคิดเรื่องของการจดทะเบียนสมรสอย่างแน่นอน ซึ่งแน่นอนว่าก็มีหลายคู่แต่งงานคิดว่าควรที่จะจดทะเบียนสมรสดีหรือไม่ การจดทะเบียนสมรสจะมีความยุ่งยากแค่ไหน Happy Wedding.Life ขอบอกเลยว่าการจดทะเบียนสมรสนั้นเป็นเรื่องที่่ง่ายมากๆ เพียงเตรียมเอกสารให้พร้อม ก็สามารถที่จะจูงมือคู่รักของคุณไปจดทะเบียนได้แล้วค่ะ และไม่ต้องกังวลไปเพราะนับจากนี้ไปคุณจะไม่ต้องมานั่งปวดหัวอีกต่อไป เพราะเรามีกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสมาให้คุณได้เตรียมตัวกันให้พร้อม ไปดูกันเลย

จดทะเบียนนอกสถานที่

คลิกดูรายละเอียดได้ที่ W Bangkok

ก่อนจะจูงมือคู่แต่งงานของสาวๆ ไปจดทะเบียนสมรสไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนสมรสก่อนพิธีแต่งงาน  หลังพิธีแต่งงาน หรือระหว่างพิธีแต่งงานต้องมาดูเรื่องของคุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรสกันก่อน

1. จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไปสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง

2. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ

3. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา

4. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น

5. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้

6. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่ คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น , สมรสกับคู่สมรสเดิม , มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ , ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้ และชายหญิง ที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้

เมื่อสาวๆ กับคู่แต่งงานมีคุณสมบัติตรงตามข้างต้นแล้ว จากนั้นคู่แต่งงานที่จะมาจดทะเบียนสมรสจะต้องเตรียมเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส ซะก่อน ซึ่งก็มี

1. บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

2. สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ

3. หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล (กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)

4. สำเนาทะเบียนบ้าน

5. พยาน 2 คน (พร้อมบัตรประชาชน)

6. สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีมีบุตร เกิดก่อนหน้าที่จะมาจดทะเบียนสมรส)

7. หลักฐานการจดทะเบียนหย่า กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเคยจดทะเบียนสมรส และ หย่ามาก่อน

8. กรณียังไม่บรรลุนิติภาวะ (20 ปีบริบูรณ์) บิดา และ มารดา ต้องมาให้ความยินยอม ต่อหน้าเจ้าหน้าที่

9. แบบฟอร์ม คร.1 หรือ คำร้องขอจดทะเบียนและบันทึกทะเบียนครอบครัว  (จริงๆ แบบฟอร์ม คร.1 ไปเอาที่เขต และเขียนตรงนั้นเลยก็ได้)

wedding.mynavi.jp

มาถึงขั้นตอนของการจดทะเบียนสมรส โดยสถานที่ที่ใช้จดทะเบียนสมรสนั้นคู่แต่งงานสามารถจดได้ที่ สำนักงานเขตทุกเขต (เขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล) หรือ ที่ว่าการอำเภอ (ต่างจังหวัด) ได้ทั่วประเทศไทยเลยค่ะ แต่หลายคู่ก็เลือกที่จะมาจดกันที่เขตบางรัก ด้วยชื่อเขตอันเป็นมงคลนั่นเอง ยิ่งเป็นวันวาเลนไทน์เขตนี้จะฮอตมาก โดยขั้นตอนมีดังนี้

1. การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของ คู่สมรส

2. คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส

3. คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม

4. พยานบุคคลจำนวน 2 คน

5. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคล  จากสถานทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด  โดยหนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง การแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต

โดยในระหว่างการจดทะเบียนสมรสนั้นทางนายทะเบียนจะมีการสอบถามข้อมูลทั่วๆ ไป อาทิ ฝ่ายหญิงต้องการจะเปลี่ยนนามสกุล เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อหรือไม่ยินยอมแต่งงานทั้งสองฝ่าย ไม่ได้ถูกใครบังคับมาใช่หรือไม่  ข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วใช้ไหม ถ้าเรียบร้อยทั้งหมดแล้วก็ตอบไปตามลำดับก็เท่านั้นค่ะ จากนั้นก็เซ็นต์ในใบทะเบียนสมรส และให้พยาน 2 คนเซ็นต์รับทราบใบทะเบียนสมรสเพียงเท่านี้ โดยคุณจะได้เอกสารสำคัญทางราชการ มาเพิ่มเติมอีก 2 ใบ นั่นก็คือ

- แบบฟอร์ม คร.2 : แบบฟอร์มนี้เรียกว่า ทะเบียนสมรส อย่างเป็นทางการ เป็นลักษณะใบที่มีเซ็นต์ยินยอมของทั้งสองฝ่าย พร้อมข้อกำหนด การใช้คำนำหน้าชื่อ การใช้นามสกุลของฝ่ายชาย นายทะเบียนจะระบุชัดเจนลงในแบบฟอร์มฉบับนี้)

- แบบฟอร์ม คร.3 : แบบฟอร์มนี้เรียกว่า ใบสำคัญการสมรส ซึ่งจะ เป็นใบรับรองมีลายดอกไม้สวยงาม ซึ่งเขาจะพิมพ์มาให้ 2 ฉบับ สำหรับฝ่ายชาย และ ฝ่ายหญิง เพื่อเก็บเอาไว้

พอได้รับเอกสาร 2 ฉบับนี้มาแล้วก็ถือว่าจบขั้นตอนของการจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฏหมายอย่างเป็นทางการแล้ว เห็นไหมค่ะไม่ได้ยากเลย หากคู่แต่งงานเตรียมเอกสาร และเตรียมตัวมาดีๆ ก็ใช้เวลาเพียงแป๊บเดียวจริงๆ ค่ะ

หนุ่ม - เมย์

sugar-daily.com

การจดทะเบียนสมรสที่ว่าการอำเภอบ่าวสาวจะไม่มีค่าค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นเสียแต่ว่าในกรณีที่ไม่สามารถหาพยานมารับรองให้ได้ นายทะเบียนจะจัดหาพยานมาให้แต่จะต้องเสียค่าป่วยการพยานที่นายทะเบียนหามาให้คนละ 2.50 บาท ส่วนคู่ที่แจ้งความประสงค์ขอจดทะเบียนสมรสนอกที่ว่าการอำเภอ จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 200 บาท รวมถึงจะต้องจัดหารถสำหรับรับ-ส่งนายทะเบียนอีกด้วย ซึ่งก็มีหลายคู่แต่งงานที่จัดจดทะเบียนสมรสกันระหว่างพิธีแต่งงาน

ด้านการจดทะเบียนสมรสโดยไม่เปลี่ยนคำนำหน้าและชื่อสกุล ของฝ่ายหญิง

ปัจจุบันมีผลบังคับใช้ให้ฝ่ายหญิงเปลี่ยน “นาง” เป็น “นางสาว” และใช้ชื่อสกุลเดิมได้ตามความสมัครใจ ส่วนสาวๆ ที่กำลังจะจดทะเบียนสมรส เจ้าหน้าที่จะสอบถามก่อนว่าจะใช้นามสกุลของใคร และใช้คำนำหน้านามแบบไหนเพื่อระบุลงไปในทะเบียนสมรสซึ่งจะทำให้สตรีมีทางเลือกในการใช้คำนำหน้านาม และชื่อสกุลได้ตามความสมัครใจ ทั้งนี้ สำหรับหญิงที่จดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ตามความสมัครใจ โดยจะต้องนำหลักฐาน ประกอบด้วยทะเบียนสมรส ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ไปยื่นคำร้องขอเปลี่ยนที่สำนักงานเขตตามที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

สำหรับหญิงที่การสมรสสิ้นสุดลงจะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ตามความสมัครใจเช่นเดียวกัน โดยจะต้องนำใบสำคัญการจดทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ไปยื่นคำร้องขอเปลี่ยนที่สำนักงานเขตตามที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเช่นเดียวกัน ส่วนหญิงที่จดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ตามที่ตกลงกัน หรือต่างฝ่ายต่างใช้ชื่อสกุลเดิมของตนก็ได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ยื่นคำร้องไปแล้วทางเจ้าหน้าที่จะทำหนังสือรับรองให้ จากนั้นจะต้องไปยื่นคำร้องที่ฝ่ายทะเบียนราษฎรเพื่อแก้ไขในทะเบียนบ้าน รวมทั้งเพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ บัตรพาสปอร์ต ใบขับขี่ และเอกสารสำคัญอื่นๆ ต่อไป

ใบทะเบียนสมรส

News Siam

การจดทะเบียนสมรสไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากเตรียมเอกสาร และเตรียมตัวให้พร้อม เพียงแค่เสียเวลานิดหน่อยแค่เท่านั้น และที่สำคัญควรที่จะถ่ายสำเนาเอกสารต่างๆ ที่ต้องใช้เพื่อไปหลายๆ ชุด จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปถ่ายเอกสารหลายๆ รอบ รวมทั้งเมื่อนายทะเบียนพิมพ์ข้อความลงในทะเบียนสมรสแล้ว หากมีข้อผิดพลาด ให้รีบแก้ไขในทันทีก่อนการสั่งพิมพ์ เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่มีการแก้ไขได้หลังจากสั่งพิมพ์แล้ว ตรงส่วนนี้อยากให้ตรวจสอบให้รอบคอบค่ะ

ค้นหาเวดดิ้งแพลนเนอร์ได้ที่นี่

ไอเดียพิธีการหมั้นหมายที่น่าสนใจ : 

วิธีจัดขันหมากหมั้นหมายตามประเพณีไทยที่บ่าวสาวควรรู้

พิธีการหมั้นหมายและสวมแหวนหมั้นแบบเรียบง่าย สำหรับคู่บ่าวสาวรุ่นใหม่ที่ถือฤกษ์สะดวก

รวมฤกษ์งามยามดี ฤกษ์วันหมั้นหมาย ฤกษ์แต่งงานปี 2561

20 ไอเดียทำเซอร์ไพรส์ สวมแหวนหมั้นอย่างไรให้แฟนประทับใจจนน้ำตาไหล

20 ไอเดียพานแหวนหมั้นหมายสุดปัง ที่เหมาะกับพิธีไทย

การจดทะเบียนสมรสใช้พยานกี่คน

- คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส - คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม - พยานบุคคลจำนวน 2 คน

จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง พยาน

ในวันนัดหมาย คู่สมรสต้องไปปรากฎตัวต่อหน้านายทะเบียนทั้งสองคน คู่สมรสควรนำพยานบุคคล 2 คน ไปด้วย คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมายมาให้ความยินยอมด้วย

จดทะเบียนสมรสเขตไหนไม่ต้องใช้พยาน

การจดทะเบียนสมรสที่ว่าการอำเภอบ่าวสาวจะไม่มีค่าค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นเสียแต่ว่าในกรณีที่ไม่สามารถหาพยานมารับรองให้ได้ นายทะเบียนจะจัดหาพยานมาให้แต่จะต้องเสียค่าป่วยการพยานที่นายทะเบียนหามาให้คนละ 2.50 บาท ส่วนคู่ที่แจ้งความประสงค์ขอจดทะเบียนสมรสนอกที่ว่าการอำเภอ จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 200 บาท รวมถึงจะต้องจัดหา ...

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรสได้มีอะไรบ้าง

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส - จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง - ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก