การจดทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

  • ธุรกิจนำเที่ยวคืออะไร ?
  • ประเภทของใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
  • ข้อควรรู้
  • บทลงโทษกรณีไม่ขอใบอนุญาต
  • อัตราค่าบริการ

          ธุรกิจนำเที่ยว คือ ธุรกิจเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวทั้งภายในและจากต่างประเทศเดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ หรือเพื่อจุดประสงค์อื่น โดยจัดให้มีการอำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น บริการอาหาร สถานที่พัก มัคคุเทศก์ เป็นต้น โดยการจะประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องได้รับใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ระบุไว้ในใบอนุญาต

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีทั้งหมด 4 ประเภท

  1. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทเฉพาะพื้นที่ สามารถประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้เฉพาะในจังหวัดที่จดทะเบียน และจังหวัดที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดนั้น ให้บริการได้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้น เหมาะสำหรับธุรกิจนำเที่ยวขนาดเล็ก
  2. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทนำเที่ยวภายในประเทศ (Domestic) สามารถประกอบธุรกิจได้ทุกที่ในประเทศไทย ไม่อนุญาตให้นำเที่ยวต่างประเทศ ให้บริการได้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้น เหมาะสำหรับธุรกิจนำเที่ยวขนาดเล็กที่ต้องการเน้นนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นหลัก
  3. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทนำเที่ยวจากต่างประเทศ (Inbound) สามารถประกอบธุรกิจได้ทุกที่ในประเทศไทย ไม่อนุญาตให้นำเที่ยวต่างประเทศ และสามารถให้บริการได้เฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเท่านั้น เหมาะกับธุรกิจนำเที่ยวขนาดเล็ก เน้นให้บริการชาวต่างชาติเป็นหลัก
  4. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภททั่วไป (Outbound) สามารถประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้บริการได้ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติ เหมาะกับธุรกิจนำเที่ยวขนาดใหญ่ ให้บริการแบบครบทุกความต้องการ

  1. ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภท 1-3 สามารถประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้เฉพาะตามที่ขอเท่านั้น แต่ผู้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภททั่วไป สามารถประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทอื่นได้อีกโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตเพิ่ม
  2. กรณีต้องการขายทัวร์ทางอินเทอร์เน็ตจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทที่ 3 (Domestic) ขึ้นไปเท่านั้น
  3. การต่อใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะต้องทำการต่อทุกๆ 2 ปี เพื่อรักษาสถานภาพใบประกอบการไว้อยู่เสมอ ผู้ประกอบธุรกิจจึงควรต่อใบอนุญาตตามกำหนดเสมอ เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่อง และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

กรณีประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่มีใบอนุญาต จะมีบทลงโทษตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 คือ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท

            ในรายที่มีการกระทำผิดพ.ร.บ.บางมาตรา เช่น มาตรา 30 ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะเรียกเก็บค่าบริการอื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ตามคำโฆษณาหรือที่ตกลงกันล่วงหน้าไม่ได้ หากฝ่าฝืนมีโทษถึงขั้นพักใบอนุญาต หรืออาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้ ส่วนกรณีที่กระทำการเป็นมัคคุเทศก์ โดยที่ไม่มีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ จะมีบทลงโทษตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท

“ติดต่อสอบถามได้ที่ 02-117-4128 ฝ่ายกฎหมาย”

ติดต่อเรา

  

เบอร์โทรศัพท์

ฝ่ายกฎหมาย 02-117-4128
ฝ่ายบัญชี  02-117-4129


สายด่วนอาจารย์เชาว์วัจน์

085-159-3888


อีเมล

contact@italthailawfirm.com

italthailawfirm@gmail.com

สถานที่ตั้ง

สำนักงานกฎหมายอิตตัลไทย 270/6 ทีซี-กรีน คอนโดมิเนียม อาคาร เอ ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

สำหรับขั้นตอนการจัดตั้งบริษัทนำเที่ยว (ตอนที่ 5 ) เป็นขั้นตอนสุดท้ายแล้วค่ะ สำหรับการจัดตั้งบริษัทนำเที่ยวให้สมบูรณ์ ขั้นตอนนี้เป็นการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทนิติบุคคล ซึ่งต้องนำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไปยื่นกับการท่องเที่ยวฯ  โดยให้ผู้ประกอบการ ดาวน์โหลด แบบ  สธก 2 จากเว็บไซต์การท่องเที่ยวฯ มาค่ะ ในเอกสาร สธก2 เป็นแบบคำขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทนิติบุคคลและในเอกสารนี้จะมีคำอธิบายรายลเอียดและเอกสารต่าง ๆ เพื่อนำไปยื่นค่ะ โดยรายละเอียดคร่าว ๆ ตามนี้คะ

เอกสารที่ต้องเตรียมไปยื่นขอใบอนุญาต มีดังนี้

1.แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวนิติบุคคล (สธก.2) กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท
2.หนังสือรับรองว่าบริษัทได้จดทะเบียนพร้อมวัตถุประสงค์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่เกิน 1 เดือน (กรรมการไทยเกินกึ่งหนึ่ง และกรรมการไทยเป็นผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัทตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551) และที่อยู่สำนักงานสาขา

3.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ฉบับประชุมผู้ถือหุ้นปีปัจจุบัน รับรองโดยกระทรวงพาณิชย์

4.หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2) รับรองโดยกระทรวงพาณิชย์

5.ข้อบังคับของบริษัทหรือรายงานการประชุมตั้งบริษัท (ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นข้อบังคับของบริษัท) รับรองโดยกระทรวงพาณิชย์

6.รายการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด รับรองโดยกระทรวงพาณิชย์(หส.2)

7.สําเนาบัตรประชาชนของผู้มีอํานาจจัดการแทนและกรรมการทุกท่านพร้อมรับรองสําเนาถูกต้อง กรณีมีกรรมการต่างชาติ แนบสําเนาพาสปอร์ตและสําเนาใบอนุญาตทํางานในประเทศไทย (Work Permit) พร้อมรับรองสําเนาถูกต้อง

8.สําเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล หรือเอกสารสําคัญการเปลี่ยนชื่อ – สกุล ของกรรมการ/ผู้มีอํานาจจัดการแทนพร้อมรับรองสําเนาถูกต้อง(ถ้ามี)

9.สําเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอํานาจจัดการแทนและกรรมการทุกท่านพร้อมรับรองสําเนาถูกต้อง

10.รูปถ่ายด้านหน้าและด้านในสํานักงาน กรรมการ/ผู้มีอํานาจจัดการแทนลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท

  • รูปถ่ายด้านหน้าสำนักงาน  เห็นตัวอาคารทั้งหลัง โดยแสดงเลขที่ตั้งและป้ายชื่อสำนักงานชัดเจน จำนวน 2 รูป
  •   (ป้ายชื่อต้องเป็นภาษาไทยและมีลักษณะคงทนถาวร และรูปถ่ายแบบล้างอัดภาพสี ขนาด 4 X 6 นิ้ว )
  • รูปถ่ายด้านในสํานักงาน จํานวน 2 รูป (รูปถ่ายแบบล้างอัดภาพสี ขนาด 4 X 6 นิ้ว)

11. แผนที่ตั้งสำนักงาน กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท
12. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองสถานที่ที่ใช้เป็นสำนักงาน
13. สําเนากรมธรรมประกันภัย ประกันอุบัติเหตุให้กับนักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ และผู้นําเที่ยวในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว โดยมีจํานวนเงินเอาประกันภัยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพไมต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทต่อคน และกรณีบาดเจ็บ ไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทต่อคน และต้องมีอายุกรมธรรมไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว

14.หนังสือมอบอํานาจ สําเนาบัตรประชาชนของกรรมการ/ผู้มีอํานาจจัดการแทนลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสําเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอํานาจ
15. เงินหลักประกันการประกอบธุรกิจนําเที่ยว (เลือก ๑ แบบ)

–  กรณีเป็นหนังสือค้ำประกันธนาคาร (ตามแบบที่กําหนด)

–  กรณีเป็นเงินสด/แคชเชียรเช็ค สั่งจ่ายกรมการทองเที่ยว

อัตราค่าธรรมเนียมหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยว 

ทั่วไป รหัส 11/XXXX  หลักประกัน 200,000 บาท

นำเที่ยวจากต่างประเทศ   รหัส 14/XXXX  หลักประกัน 100,000 บาท

ในประเทศ   รหัส 12/XXXX  หลักประกัน   50,000 บาท
เฉพาะพื้นที่  รหัส 13/XXXX  หลักประกัน   10,000 บาท

16.ใบนําส่งหลักประกัน จํานวน ๒ แผ่น กรรมการ/ผู้มีอํานาจจัดการแทนลงลายมือชื่อและประทับตราสําคัญ

17.ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว ฉบับละ  2,000 บาท                                                18.ค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจนําเที่ยวรายสองปี   ครั้งละ 1,000 บาท

เอกสารใดบ้างที่ใช้ในการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

ใบอนุญาตธุรกิจนำเที่ยว (นิติบุคคล).
แบบคำขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทนิติบุคคล (สธก.2).
บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5).
หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2).
รายการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (หส.2).
ข้อบังคับของบริษัท.

หลักประกันในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว ประเภททั่วไป (นำเที่ยวภายในราชอาณาจักรและภายนอกราชอาณาจักร) มีอัตราเท่าไร

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ (Domestic) ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 15,000 บาท โดยสามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ทุกจังหวัด แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเที่ยวไปยังต่างประเทศ โดยสามารถให้บริการได้ทั้งนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ แต่ไม่สามารถขายนำเที่ยวออนไลน์ได้

ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเที่ยวต้องมีคุณสมบัติอะไร

(ก) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว (ข) มีสัญชาติไทย (ค) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย (๒) ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

จดทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวที่หน่วยงานใด

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เชิญชวนผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ www.tourism.go.th ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก