การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวมีกี่ขั้นตอน

{"ad_unit_id":"App_Resource_Sidebar_Upper","resource":{"id":6288451,"author_id":1720395,"title":"การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว","created_at":"2016-09-09T10:47:48Z","updated_at":"2018-09-14T15:04:29Z","sample":false,"description":"ผลงานของ นางสาวปลายฟ้า แสงสุข ชั้น ม.5/1 รายวิชา สุขศึกษา เสนอ คุณครู กนกพร นันแก้ว","alerts_enabled":true,"cached_tag_list":"www.google.com, www.yahoo.com, www.mathbyme.com","deleted_at":null,"hidden":false,"average_rating":"5.0","demote":false,"private":false,"copyable":true,"score":236,"artificial_base_score":0,"recalculate_score":false,"profane":false,"hide_summary":false,"tag_list":["www.google.com","www.yahoo.com","www.mathbyme.com"],"admin_tag_list":[],"study_aid_type":"MindMap","show_path":"/mind_maps/6288451","folder_id":2548353,"public_author":{"id":1720395,"profile":{"name":"plaipa","about":"","avatar_service":"examtime","locale":"en","google_author_link":null,"user_type_id":1,"escaped_name":"plaifa sangsooK","full_name":"plaifa sangsooK","badge_classes":""}}},"width":300,"height":250,"rtype":"MindMap","rmode":"canonical","sizes":"[[[0, 0], [[300, 250]]]]","custom":[{"key":"rsubject","value":"มายด์แม็บปิ้ง"},{"key":"env","value":"production"},{"key":"rtype","value":"MindMap"},{"key":"rmode","value":"canonical"},{"key":"sequence","value":1},{"key":"uauth","value":"f"},{"key":"uadmin","value":"f"},{"key":"ulang","value":"en"},{"key":"ucurrency","value":"usd"}]}

{"ad_unit_id":"App_Resource_Sidebar_Lower","resource":{"id":6288451,"author_id":1720395,"title":"การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว","created_at":"2016-09-09T10:47:48Z","updated_at":"2018-09-14T15:04:29Z","sample":false,"description":"ผลงานของ นางสาวปลายฟ้า แสงสุข ชั้น ม.5/1 รายวิชา สุขศึกษา เสนอ คุณครู กนกพร นันแก้ว","alerts_enabled":true,"cached_tag_list":"www.google.com, www.yahoo.com, www.mathbyme.com","deleted_at":null,"hidden":false,"average_rating":"5.0","demote":false,"private":false,"copyable":true,"score":236,"artificial_base_score":0,"recalculate_score":false,"profane":false,"hide_summary":false,"tag_list":["www.google.com","www.yahoo.com","www.mathbyme.com"],"admin_tag_list":[],"study_aid_type":"MindMap","show_path":"/mind_maps/6288451","folder_id":2548353,"public_author":{"id":1720395,"profile":{"name":"plaipa","about":"","avatar_service":"examtime","locale":"en","google_author_link":null,"user_type_id":1,"escaped_name":"plaifa sangsooK","full_name":"plaifa sangsooK","badge_classes":""}}},"width":300,"height":250,"rtype":"MindMap","rmode":"canonical","sizes":"[[[0, 0], [[300, 250]]]]","custom":[{"key":"rsubject","value":"มายด์แม็บปิ้ง"},{"key":"env","value":"production"},{"key":"rtype","value":"MindMap"},{"key":"rmode","value":"canonical"},{"key":"sequence","value":1},{"key":"uauth","value":"f"},{"key":"uadmin","value":"f"},{"key":"ulang","value":"en"},{"key":"ucurrency","value":"usd"}]}

การวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเอง เป็นกระบวนการ เพื่อให้สุขภาพของตนเองมีคุณภาพ องค์การอนามัยโลก (WorldHealth Organization : WHO) ได้ให้ความหมายของสุขภาพไว้ว่า สุขภาพ (Health) หมายถึง ภาวะแห่งความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ และปัญญา รวมถึงการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข และไม่ได้หมายความเฉพาะเพียงแต่ความปราศจากโรคหรือความพิการทุพพลภาพเท่านั้น

การวางแผนพัฒนาสุขภาพ หมายถึง การกำหนดแนวทาง วิธีการในการสร้างสุขภาพดูแลส่งเสริมสุขภาพล่วงหน้า โดยมีการประเมินภาวะสุขภาพและวิเคราะห์ผลการประเมินภาวะสุขภาพ แล้วนำข้อมูลมาวางแผนพัฒนาสุขภาพและกำหนดแนวทางการพัฒนาสุขภาพ และการประเมินผลเพื่อให้มีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงในทั้ง 4 มิติ

1. การวางแผนพัฒนาสุขภาพกาย

กินอาหารให้ครบ 5 หมู่

กินข้าวเป็นอาหารหลักสลับกับอาหารประเภทแป้ง

ดื่มนมวันละ 2-3 แก้วต่อวัน

หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด เค็มจัด ของทอด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นํ้าอัดลม

งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ กาแฟหรือ เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน

เลือกกินผักและผลไม้ในปริมาณที่มากขึ้น

กินอาหารอย่างหลากหลาย แต่ลดปริมาณให้น้อยลง

ดื่มนํ้า 8-10 แก้ว/วัน

กินอาหารสะอาด ปราศจากการปนเปื้อน

2. การประเมินภาวะสุขภาพทางจิตใจ

รู้จักและทำความเข้าใจตนเองให้ดีที่สุด

ฝึกจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส

ฝึกรับฟังความเห็นของผู้อื่น

มีกิจกรรมผ่อนคลาย

มีมนุษยสัมพันธ์ดี

เมื่อมีปัญหาหรือมีความเครียดทางจิตใจ

บริหารจิตใจ

3. การวางแผนพัฒนาสุขภาพด้านสังคม

การสร้างจิตสำนึกในการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ของคนทุกคน

เข้าร่วมกิจกรรมตามวัฒนธรรมและประเพณีในท้องถิ่น

เข้าร่วมเป็นสมาชิกของชมรมหรือสมาคมต่าง ๆ

การสร้างเสริมสุขภาพด้านสังคม

4. การวางแผนพัฒนาสุขภาพทางปัญญา

รู้จักการคิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง

ไม่ควรพักพิงความสุขทางวัตถุเพียงอย่างเดียว

รู้จักการเชื่อมั่นในความเพียรของตน

รู้จักการคิดอย่างมีเหตุผล

การวางแผนพัฒนาสุขภาพ เป็นสิ่งที่ดี อย่าลืมนำไปปฏิบัติกันนะ เพื่อให้มีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง

บุคคลในครอบครัวรวมถึงตัวเราเอง มักจะประกอบไปด้วยบุคคลที่มีความแตกต่างทั้งบทบาท หน้าที่ และช่วงวัย ดังนั้น การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเอง และบุคคลในครอบครัวจึงต้องมีความแตกต่างกันออกไป เช่น ในวัยเด็กเป็นวัยที่ยังไม่สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ พ่อแม่จึงมีส่วนสำคัญในการวางแผนดูแลสุขภาพให้กับเด็ก ในขณะที่ วัยผู้ใหญ่ สามารถที่จะวางแผนดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ อย่างไรก็ตามหากการวางแผนดังกล่าวขาดความสมบูรณ์และถูกต้องเหมาะสม อาจจะส่งผลให้ภาวะทางสุขภาพไม่บรรลุประสิทธิผลที่ตั้งไว้ ดังนั้น ผู้ที่จะวางแผนดูแลสุขภาพของตนเอง และบุคคลในครอบครัวควรให้ความสำคัญต่อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนปฏิบัติดังกล่าว

การวางแผนดูแลสุขภาพโดยทั่วไป ควรให้ความสำคัญกับเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้

3.1โภชนาการ
       ตามหลักโภชนาการ อาหารถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต หากเรารับประทานอาหารที่มีคุณค่าและมีปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตแต่หากเรารับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรือรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายไม่ว่าจะมากหรือน้อยเกินไป อาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น การเกิดโรคขาดสารอาหารเนื่องจากร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือการเกิดโรคอ้วนจากการ รับประทานอาหารมากเกิดความต้องการของร่างกาย ดังนั้น การรู้จักที่จะวางแผนดูแลในเรื่องของการรับประทานเพื่อให้ร่างกายเกิดความสมบูรณ์แข็งแรง จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ควรนำมาปฏิบัติในการเสริมสร้างดูแลสุขภาพของบุคคลให้มีภาวะที่เป็นปกติและมีสุขภาพดี
   การวางแผนการรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการมีหลักการและแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ดังนี้

        1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสมกับบุคคลวัยต่าง ๆ ในครอบครัว เช่น อาหารที่เหมาะกับวัยเด็ก ควรจะเป็นอาหารในกลุ่มที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและครบทั้งอาหาร 5หมู่เพราะวัยเด็กเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต ส่วนในวัยผู้ใหญ่จะเน้นการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานและครบทั้ง 5 หมู่ และในวัยนี้แต่ละคนจะมีความต้องการอาหารแตกต่างกัน แล้วแต่ลักษณะการทำงานหรือกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวัน ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณของอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวันด้วย สำหรับในวัยผู้สูงอายุนอกจากการคำนึงในเรื่องการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่แล้ว ควรตะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารให้เหมาะสมต่อการรับประทานอาหาร เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์ควรเป็นเนื้อสัตว์แบบย่อยง่าย โดยเฉพาะเนื้อปลา นอกจากนี้ ควรลดอาหารประเภทแป้งและไขมันลง เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วนในผู้สูงอายุได้
          2. ควรส่งเสริมสุขนิสัยในการรับประทานอาหารให้เกิดขึ้นกับบุคคลในครอบครัว เช่น รับประทานอาหารให้เป็นเวลา เลือกรับประทานอาหารที่ใหม่ สะอาด ไม่รับประทานอาหารที่สุก ๆ ดิบ ๆ รับประทานแต่พออิ่ม ไม่ควรรับประทานมากเกิดไปเพราะอาจก่อให้เกิดโรคอ้วน เป็นต้น

3. หากบุคคลในครอบครัวมีโรคประจำตัว ผู้ที่มีหน้าที่ในการจักเตรียมอาหารควรต้องมีความระมัดระวังในการจัดเตรียม และตัวผู้ที่เป็นโรคเองก็ควรจะต้องระมัดระวังในการบริโภคอาหารที่มีผลกระทบต่อโรคด้วย เช่น ผู้ที่เป็นโรคไต ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม หรือผู้ที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูง ควรลดอาหารหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง เป็นต้น

3.2การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย หากปฏิบัติอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะส่งผลให้อวัยวะทุกส่วนของ
ร่างกายแข็งแรงและทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งถือว่าส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังช่วยให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้มีสุขภาพจิตดีขึ้น ดังนั้น บุคลทุกกลุ่มอายุที่อยู่ในครอบครัวจึงควรออกกำลังกาย โดยอาจปฏิบัติร่วมกันหรือตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคลก็ได้
      หลักการวางแผนการออกกำลังกายโดยทั่วไปที่ผู้วางแผน ตลอดจนสมาชิกในครอบครัว ควรนำมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ มีดังนี้
       1. ศึกษารูปแบบของกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย และเพศ รวมทั้งสภาพร่างกายของแต่ละคน เช่น การออกกำลังกายในวัยเด็กส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบของการเล่น ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการฝึกทักษะทางกาย พัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้แก่เด็ก ส่วนผู้ใหญ่เป็นวัยที่ร่างกายมีการพัฒนาเต็มที่แล้ว การออกกำลังกายมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพของร่างกาย และประสิทธิภาพในการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย กิจกรรมในออกกำลังกายอาจเลือกได้ตามความสนใจ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องเพศ วัย และสภาพร่างกายของตนเองด้วย ส่วนผู้ใหญ่สูงอายุควรเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่ไม่หนักจนเกินไป ไม่เคลื่อนไหวร่างกายที่รวดเร็วมากนัก ซึ่งกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ การรำมวยจีน การเดินเร็ว การวิ่งเหยาะ การทำท่ากายบริหารง่าย ๆ เป็นต้น
        2. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องใช้ในการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับชนิดของการออกกำลังกาย
        3. กำหนดโปรแกรมในการออกกำลังกายให้เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดควรออกกำลังกายครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที และสัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 3 วัน
        4. ในกรณีที่มีโรคประจำตัว หรือมีปัญหาทางด้านสุขภาพอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการออกกำลังกาย

2.3 การพักผ่อน

การพักผ่อน นับเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์และมีความสำคัญต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและ ทางจิตใจ การพักผ่อนเป็นการช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลายจากความเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า และช่วยเสริมเสร้างให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงขึ้น และช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้รู้สึกสดชื่นอีกด้วย ลักษณะที่จัดว่าเป็นการพักผ่อน ได้แก่
      1.การหลับนอน เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด เนื่องจากในขณะที่คนเรานอนหลับอวัยวะทุกระบบในร่างกายได้พักผ่อน ขณะเดียวกันร่างกายของคนเราก็จะทำการซ่อมแซมปรับปรุงเซลล์ต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะปฏิบัติงานต่อไป หากนอนหลับอย่างเพียงพอเมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า พร้อมที่จะปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ คนในแต่ละวัยมีความต้องการใช้เวลาในการนอนหลับแตกต่างกัน เช่น ทารกแรกเกิดต้องการเวลานอนวันละประมาณ 18-20 ชั่วโมง เด็กอายุ 1-4 ปี วันละประมาณ 11-12 ชั่วโมง เด็กอายุ 5-12 ปี วันละประมาณ 8-9 ชั่วโมง และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป วันละประมาณ 9-10 ชั่วโมง นอกจากนี้ในช่วงวัยเด็กเริ่มเรียน 3-5 ปี ควรนอนหลับในเวลากลางวันเพิ่ม 2-3 ชั่วโมงด้วย
       2.กิจกรรมนันทนาการ   เป็นกิจกรรมที่ทำในยามว่างนอกเหนือจากงานประจำ และเป็นกิจกรรมที่ทำด้วยความสมัครใจ เพื่อผ่อนคลายความตึงงเครียด สร้างความสนุกสนาน กิจกรรมนันทนาการมีมากมายหลายลักษณะ ซึ่งในการวางแผนเลือกกิจกรรมนันทนาการ ควรยึดหลักที่ว่า กิจกรรมเหล่านั้นต้องมีความเหมาะสมกับสุขภาพร่างกาย เพศ วัย ความสนใจ ความถนัด และความสามารถของตนเอง ไม่ขัดต่อศีลธรรมประเพณี วัฒนธรรมของสังคม และกฎหมาย นอกจากนี้ ควรเป็นกิจกรรมที่ไม่สร้างความรบกวนหรือก่อความรำคาญให้แก่บุคคลอื่น กิจกรรมที่จัดเป็นกิจกรรมนันทนาการ ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวกับงานฝีมือ งานประดิษฐ์ งานศิลปะต่างๆ การเล่นดนตรี ร้องเพลง หรือการเต้นรำในสถานที่มีความเหมาะสม เป็นต้น


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก