กระเบื้อง 30*30 ปูได้กี่ตารางเมตร

คำนวณตารางเมตร ไม่เป็น ? เชื่อว่าหลายคนที่เข้ามาอ่านจะต้องประสบปัญหาเดียวกันนี้แน่ ๆ อยากตกแต่งต่อเติมพื้นห้อง แต่ติดที่ไม่รู้ วิธี คำนวณตารางเมตร ไม่รู้ว่าจะต้องซื้อกระเบื้องจำนวนเท่าไหร่ถึงจะใช้ได้พอดีกับพื้นที่ห้อง บางคนไปซื้อเองโดยไม่มีความรู้หรือสอบถามช่างก่อน ซื้อกระเบื้องขาดไม่พอกับการใช้งานก็ต้องกลับไปซื้อใหม่ เผลอ ๆ ซวยหนัก แบบลายกระเบื้องที่ซื้อไปก่อนหน้านี้ของหมดก็ต้องรอเวลาร้านเอามาลงใหม่อีก แต่ก็ยังไม่แย่เท่ากับการซื้อเกิน นอกจากสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุแล้ว ยังต้องหาที่เก็บให้รกบ้านอีก สำหรับวันนี้เราจึงมีวิธีคำนวณตารางเมตร สำหรับปูพื้นกระเบื้องและการหาค่าใช้จ่ายมาฝากกันครับ เพื่อให้คุณซื้อกระเบื้องได้พอดิบพอดีไม่เหลือไม่ขาด รับรู้ต้นทุนและประมาณค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ก่อนการตกแต่งต่อเติม

หลักการ
( พื้นที่ทั้งหมด = ด้านกว้าง X ด้านยาว )

คำนวณตารางเมตร หน่วยของพื้นที่ คือ ตารางเมตร

ก่อนที่จะไปเลือกซื้อกระเบื้อง ลำดับแรกที่เราจำเป็นต้องทราบคือ หน่วยของพื้นที่ใช้สอย ซึ่งหน่วยนี้เรียกว่า ตารางเมตร โดยปกติที่อยู่อาศัยจะมีการแจ้งว่ามีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดกี่ตารางเมตร ซึ่งหน่วยตารางเมตรเกิดจากด้านกว้างและด้านยาวของพื้นที่นำมาคูณกันก็จะได้พื้นที่ทั้งหมด (ตารางเมตร) เมื่อทราบตารางเมตรของพื้นที่ที่ต้องการแล้ว จึงจะสามารถคำนวณการซื้อกระเบื้องได้อย่างถูกต้อง

ยกตัวอย่าง เช่น ห้องนั่งเล่นกว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร คำนวณพื้นที่เป็นตารางเมตร เท่ากับ กว้าง (W) 10 x ยาว (H) 10 = ห้องนั่งเล่นมีพื้นที่ 100 ตารางเมตร (m2) ต้องการปูพื้นใหม่ทั้งหมด โดยสนใจกระเบื้องยางลายไม้ MC-M ซึ่ง 1 กล่อง สามารถปูได้ 5 ตารางเมตร (m2) สามารถหาปริมาณกระเบื้องที่ต้องซื้อได้โดยเอาพื้นที่ที่ต้องการปู (100) ÷ จำนวน ตารางเมตรต่อกล่อง (5) = 20 ซึ่งปริมาณกล่องที่จำเป็นต้องซื้อ แต่โดยปกติแล้วห้องส่วนใหญ่จะมีพื้นที่กว้าง  x  ยาวไม่เท่ากัน  ดังนั้น พื้นที่ทั้งหมดเลขจะไม่กลมเหมือนตัวอย่าง หากพื้นที่ที่ต้องการปู ÷ จำนวน ตารางเมตรต่อกล่องแล้วเหลือเศษให้ปัดขึ้นทันที นอกจากนี้การเลือกซื้อกระเบื้องควรเลือกซื้อเผื่อ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใช้งาน สำหรับใช้ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดหรือตกแต่งเพิ่มเติม

ใครก็ตามที่วางแผนจะ ปูกระเบื้อง ห้องใหม่ เพื่อตกแต่งรีโนเวทบ้านให้สวยงามน่าอยู่มากขึ้น การคำนวณพื้นที่ปูกระเบื้องเป็นเรื่องแรกสุดที่จะต้องทำ เพื่อให้เราทราบว่าจะต้องซื้อกระเบื้องจำนวนเท่าไร จึงเพียงพอ ไม่มากไปจนสิ้นเปลืองงบประมาณ และไม่น้อยไปจนกระเบื้องไม่พอ ต้องเสียเวลาไปซื้อเพิ่มแถมอาจได้กระเบื้องคนละล็อตที่ทำให้สีเพี้ยนด้วย

ซึ่งหลาย ๆ คนที่อาจกำลังรู้สึกว่าการคำนวณพื้นที่ ปูกระเบื้อง เป็นเรื่องยากนั้น จริง ๆ แล้วมันง่ายกว่าที่คิด โดยมีเทคนนิคแนวทางสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้

1.กว้าง x ยาว สูตรหาพื้นที่ปูกระเบื้องที่เป็นสี่เหลี่ยม

ไม่ว่าจะพื้น หรือ ผนัง วิธีการในการคำนวณพื้นที่ ปูกระเบื้อง ก็คือสูตร ความกว้าง คูณกับ ความยาวนั่นเอง เป็นสูตรที่เราคุ้นเคยกันตั้งแต่เด็ก ๆ ยกตัวอย่างเช่น ห้องกว้าง 10 เมตร ยาว 5 เมตร พื้นที่ห้องนี้จะเท่ากับ 10 x 5 คือ 50 ตารางเมตรนั่นเอง

2.ถ้าพื้นที่เป็นวงกลม ให้ใช้สูตรหาพื้นที่วงกลมได้เลย

สำหรับใครที่พื้นที่ต้องการปูกระเบื้องเป็นวงกลมนั้น ก็อาจสงสัยว่า แล้วจะคำนวณเป็นตารางเมตรอย่างไร คำตอบก็ไม่ได้ยากเกินไปหรือไกลเกินตัว เพราะสมัยเด็ก ๆ เราก็เคยเรียนกันถึงสูตรการหาพื้นที่วงกลมนั่นก็คือ พายอาร์ยกกำลัง 2 โดยค่าพายนั้นจะเท่ากับ 3.14 ส่วนค่าอาร์ ก็คือรัศมี เท่ากับว่าเราก็วัดเส้นผ่านศูนย์กลางพื้นที่วงกลมที่เราต้องการจะปูกระเบื้อง แล้วคูณ 2 ก็ได้ เพราะ เส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 2R นั่นเอง

ดังนั้น ถ้าพื้นที่ห้องที่เป็นวงกลมของเรา มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 10 เมตร รัศมีของพื้นที่ห้องวงกลมนี้ก็จะเท่ากับ 5 เมตร เมื่อต้องการคำนวณพื้นที่วงกลมห้องนี้ก็จะได้เท่ากับ 3.14 x 5 x 5 = 78.50 ตารางเมตรนั่นเอง

3.เมื่อได้พื้นที่แล้ว ก็นำพื้นที่กระเบื้องไปหารหาจำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้

หลังจากคำนวณพื้นที่แล้ว เราจะทราบได้ว่าต้องใช้กระเบื้องจำนวนกี่แผ่น และคิดเป็นเงินเท่าไร ก็ต้องหาพื้นที่กระเบื้องที่ต้องการปูให้ได้ก่อน ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ได้ต้องคำนวณเลย เพราะที่กล่องกระเบื้องแต่ละชนิด แต่ละขนาดจะบอกเราเอาไว้อยู่แล้วว่าใช้ปูพื้นที่ได้กี่ตารางเมตร เช่น ถ้ากระเบื้องกล่องที่เราอยากซื้อไม่ว่าจะมีกี่แผ่นก็ตาม แต่ระบุว่า ปูได้ 1 ตารางเมตร แล้วพื้นที่เรามีขนาด 10 ตารางเมตร ก็เท่ากับเราต้องใช้กระเบื้อง 10 กล่อง

แต่ถ้าอยากคำนวณแบบเป็นแผ่น ก็นำความกว้างของกระเบื้อง คูณกับความยาว จะได้พื้นที่กระเบื้อง แต่อย่าลืมแปลงหน่วยเป็นเมตรก่อน เช่น กระเบื้องกว้าง 40 ซม. ยาว 40 ซม. แปลงเป็นเมตรก็จะได้กว้างยาวเท่ากับ 0.4 เมตร ขนาดพื้นที่กระเบื้องจะเท่ากับ 0.4 x 0.4 = 0.16 ตารางเมตรต่อแผ่น แล้วถ้าพื้นที่ที่ต้องการปูคือ 120 ตารางเมตร จำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้จะได้เท่ากับ 120 หาร 0.16 คือ 750 แผ่นนั่นเอง

4.ไม่ว่าจะคำนวณได้เท่าไร ก็ควรซื้อเผื่อไว้ด้วยเสมอ

แม้เราจะสามารถคำนวณพื้นที่และจำนวนกระเบื้องได้อย่างแม่นยำแค่ไหน แต่เวลาจะตัดสินใจซื้อจริง ถ้าซื้อตามจำนวนที่คำนวณได้เป๊ะ ๆ นั้น ถือว่าพลาดอย่างแรง เพราะแม้แต่ช่างผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ ก็ยังไม่กล้ามั่นใจว่าจะไม่ปูเสีย จะไม่เกิดกรณีกระเบื้องแตกหักชำรุดเลยในระหว่างการปู

ดังนั้น เวลาจะซื้อกระเบื้องจึงควรซื้อเผื่อมากกว่าที่คำนวณได้เสมอประมาณ 3-5% เพื่อหากเกิดความเสียหายจะได้มีกระเบื้องพร้อมปูเลย ไม่ต้องเสียเวลาไปซื้อใหม่ และไม่ต้องเสี่ยงได้กระเบื้องคนละรุ่น คนละล็อต คนละสี จนทำให้ความสวยงามในการปูนั้นลดน้อยลง

หลาย ๆ คนมักรู้สึกว่า ไหน ๆ ก็ต้องจ้างช่างปูกระเบื้องอยู่แล้ว ก็ให้ช่างทำหน้าที่คำนวณพื้นที่และคำนวณปริมาณจำนวนกระเบื้องที่ใช้ไปเลยทีเดียวจะได้จบ ๆ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่เพียงเราจำเป็นต้องตระหนักไว้ด้วยนิดหนึ่งว่าถ้าเจอช่างที่ไม่ซื่อสัตย์ ก็อาจถูกโกงในการคำนวณแล้วเบิกงบประมาณในการปูกระเบื้องซื้อกระเบื้องเกินได้

การที่เราคำนวณพื้นที่กระเบื้อง พื้นที่ห้องที่ต้องการปูกระเบื้องเป็น ก็จะทำให้เราสามารถตรวจสอบความถูกต้องในการจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือไม้ก็อาจจัดการทุกอย่างเองตั้งแต่คำนวณซื้อ ปูติดตั้งเองได้ โดยไม่ต้องง้อช่างเลยก็ได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากขึ้น แต่เราก็ต้องมั่นใจพอสมควรว่า จะปูกระเบื้องได้อย่างถูกต้องและไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง

กระเบื้องขนาด 30 * 30 ปูได้กี่ตารางเมตร

กระเบื้องขนาด 30×30 ซม. กระเบื้อง 30×30 1กล่อง บรรจุ 11 แผ่น กระเบื้อง 1 กล่องสามารถนำไปปูได้พื้นที่ 1 ตารางเมตร

กระเบื้อง1ตารางเมตรมีกี่แผ่น

ขนาด 40×40 : 1 กล่อง มี 6 แผ่น สามารถปูพื้นได้ 1 ตารางเมตร จะมีพื้นที่แผ่นละ 0.16 ตารางเมตร 6แผ่น จึงรวมเป็น 0.96 ตารางเมตร แต่โดยทั่วไปร้านค้ามักจะปัดขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ 1 กล่องจึงเท่ากับ 1 ตารางเมตร ขนาด 60×60 : 1 กล่อง มี 4 แผ่น สามารถปูพื้นได้ 1.44 ตารางเมตร จะมีพื้นที่แผ่นละ 0.36 ตารางเมตร

กระเบื้องปูพื้น กี่ตารางเมตร

ตัวอย่างเช่น เราจะปูพื้นกระเบื้องในห้องขนาดกว้าง 5 เมตร และยาว 10 เมตร เมื่อนำสูตรมาใช้ก็จะคำนวณพื้นที่ได้ 50 ตารางเมตร (5X10 = 50) และโดยส่วนใหญ่แล้วกระเบื้อง 1 กล่อง ปกติจะปูได้ 1 ตารางเมตร ดังนั้นเท่ากับว่าเราต้องใช้กระเบื้องตามพื้นที่จริงจำนวน 50 ตารางเมตรหรือ 50 กล่อง แต่อย่างไรก็ดีควรจะซื้อเผื่อไว้ใช้แก้ไขงานอีก ...

กระเบื้อง 1 กล่องปูได้กี่เมตร

ห้องกว้าง 4 เมตร ยาว 5 เมตร จะใช้กระเบื้องกี่กล่องดี ? ใช้สูตรกว้างxยาว = พื้นที่ห้องที่ใช้ปูกระเบื้อง (ตร.ม.) ในกรณีนี้ 4x5 = พื้นที่ 20 ตารางเมตร กระเบื้อง 1 กล่องปูได้ 1 ตารางเมตร ดังนั้น ห้องขนาด 4x5 เมตร ต้องซื้อกระเบื้อง 20 กล่องนั่นเอง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก