เวลาจีนกับไทยต่างกันกี่ชั่วโมง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เวลามาตรฐานจีน หรือ เวลาปักกิ่ง เป็นเขตเวลาซึ่งใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัดอยู่ 8 ชั่วโมง (UTC+8) [1] ในขณะที่ประเทศอื่นในเอเชียตะวันออก รวมไปถึงมาเลเซียและฟิลิปปินส์ ได้ใช้เขตเวลาเดียวกันนี้ เพียงแต่ใช้ชื่อเรียกแตกต่างกันเท่านั้น

ประเทศจีนเคยใช้เวลาออมแสงระหว่างปี ค.ศ. 1986-1991 แต่ปัจจุบันได้ถูกยกเลิกแล้ว[2]

เขตเวลาอื่นในจีนแผ่นดินใหญ่[แก้]

ถึงแม้ว่าเขตเวลาอย่างเป็นทางการของจีนจะเป็นเวลาปักกิ่งเพียงอย่างเดียว รัฐสภาประชาชนแห่งเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศ จึงได้ประกาศเขตเวลาอุรุมชี (UTC+6) ช้ากว่าเวลาปักกิ่งไปสองชั่วโมง และถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ แต่พลเมืองในท้องถิ่นก็ใช้กันอย่างกว้างขวาง[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Time Zone". Official Website. Foreign Affairs Office of the People's Government of Yunnan Province. 2007-08-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-26. สืบค้นเมื่อ 2008-07-26. Beijing Time or China standard time is 8 hours ahead of GMT.
  2. "Chinese political advisors make suggestions on resource saving". Chinese Government's Official Web Portal. People's Republic of China. 2007-07-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-15. สืบค้นเมื่อ 2008-07-26. China tried out summer time from 1986 to 1991.
  3. "The Working-Calendar for The Xinjiang Uygur Autonomous Region Government". The Government of the Xinjiang Uygur Autonomous Region Region of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-09. สืบค้นเมื่อ 2008-07-26. Urumqi Time (GMT+6) is 2 hours behind Beijing Time

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกับเกร็ดความรู้ภาษาจีนกันอีกแล้วนะคะ เกร็ดความรู้ในครั้งนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเวลาค่ะ จริงๆแล้วเรื่องเวลา ตั้งใจจะใส่ไว้ในเกร็ดความรู้ของครั้งที่แล้ว แต่พอลองอ่านไปอ่านมาชักจะแปลกๆ ก็เลยเปลี่ยนมาเขียนเป็นในครั้งนี้ดีกว่า เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้ไม่สับสนกัน

สาเหตุที่เอาเรื่องเวลามาเขียนเป็นเกร็ดความรู้ด้วยนั้น เพราะเป็นสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน โดยปกติแล้ว คนเรามักจะถามกันว่า ตอนนี้กี่โมงแล้ว ถ้าเป็นช่วงวัยเรียนก็จะถามว่า อีกกี่นาทีจะถึงเวลาเลิกเรียนนะ เรามาดูกันเลยดีกว่านะคะว่าการบอกเวลา และการถามตอบเกี่ยวกับเวลาในภาษาจีนใช้อย่างไร และมีคำศัพท์ใดบ้าง

การบอกเวลาในภาษาจีนจะแบ่งเป็นสองช่วงเวลาคือ ช่วง 12 เช้า (01:00-12:00) และช่วง 12 บ่าย (13:00-24:00) กล่าวคือ การบอกเวลาในภาษาจีนจะใช้แค่เลข 1-12 เพื่อบอกเวลา ดังนั้นมาดูกันนะคะว่ามีอะไรบ้าง

การบอกช่วงเวลา

凌晨 língchén (หลิง เฉิน) ก่อนฟ้าสาง,ก่อนรุ่งสาง
早晨 zǎochén (จ่าว เฉิน) รุ่งอรุณ,รุ่งสาง
早上 zǎoshang (จ่าว ชัง) ตอนเช้า
上午 shàngwǔ (ชั่ง อู่ว) ตอนสาย,ยามสาย
中午 zhōngwǔ (จง อู่ว) ตอนเที่ยง
下午 xiàwǔ (เซี่ย อู่ว) ตอนบ่าย
晚上 wǎnshàng (หว่าน ชั่ง) ตอนเย็น,ยามเย็น
傍晚 bàngwǎn (ป้าง หว่าน) พลบค่ำ,โพล้เพล้
夜晚 yèwǎn (เย่ หว่าน) กลางคืน
半夜 bànyè (ป้าน เย่) เที่ยงคืน
零点 língdiǎn (หลิง เตี่ยน) เที่ยงคืน

ก็ได้ทราบคำศัพท์ที่ใช้แบ่งช่วงเวลากันไปแล้วนะคะ และหลักการใช้คำศัพท์เหล่านี้ก็ไม่ยากเลยค่ะ ดังนั้นเราไปดูการอธิบายและยกตัวอย่างการบอกเวลาเป็นการส่งท้ายของตอนที่ 1 กันดีกว่านะคะแล้วกลับมาพบกันใหม่ในตอนที่ 2 ค่ะ ^^

การบอกเวลาโดยมีคำศัพท์บอกช่วงเวลา คือ นำคำศัพท์บอกช่วงเวลาไว้ด้านหน้าตัวเลข เพื่อบ่งบอกว่า เวลาที่กล่าวถึงนั้นเป็นหรืออยู่ในช่วงเวลาใด ดังนี้

07 : 15 น. 

早上七点十五分 / 早上七点一刻 / 早上 07:15 点。

zǎoshang qī diǎn shíwǔ fēn/ zǎoshang qī diǎn yī kè

(จ่าว ชั่ง ชี เตี่ยน สือ อู่ว เฟิน) / (จ่าว ชั่ง ชี เตี่ยน อี๋ เค้อ)

9 โมงเช้า (หรือในภาษาพูดส่วนใหญ่ คือ 3 โมงเช้า)

上午九点 / 上午 9 点。

          shàngwǔ jiǔ diǎn

(ชั่ง อู่ว จิ๋ว เตี่ยน)

14: 00 น. 

下午两点 / 下午 2 点。

  xiàwǔ liǎng diǎn

(เซี่ย อู่ว เหลียง เตี่ยน)

19 : 00 น. 

晚上七点 / 晚上 7 点。

 wǎnshàng qī diǎn

         (หว่าน ชั่ง ชี เตี่ยน)

03 : 30 น.

凌晨三点半 / 凌晨三点三十分 / 凌晨 03:30点。

     língchén sān diǎn bàn/ língchén sān diǎn sānshí fēn

(หลิง เฉิน ซาน เตี่ยน ปั้น) / (หลิง เฉิน ซาน เตี่ยน ซาน สือ เฟิน)

*หลักการอ่านเวลาแบบมีตัวเลขประกอบจะอ่านได้ตามคำอ่านที่มีให้ไว้

                 สำหรับลูกค้าที่ต้องการแปล Text, Pdf ไฟล์เอกสารที่มีความยาวสามารถสั่งแปลได้โดยตรงที่
www.รับแปลภาษาจีน.com หรือที่เมล์
ได้ตลอด 24 ชั่วโมง สอบถามโทร 093-397-4214 หรือที่ไลน์ @pawano

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก