บริษัทบริหารสินทรัพย์ มี กี่ แห่ง

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

พิมพ์เมื่อ 08 ตุลาคม 2565 15:31

Company Profile บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

กรุณาระบุเงื่อนไขในการค้นหา

ค้นหาบริษัท

 ล้างเงื่อนไข

บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ข้อมูล Sustainability Development

CG Score 1/

คะแนน CG

AGM Level 2/

คะแนน AGM

Thai-CAC 3/

Thai CAC 3/
ได้รับการรับรอง

Thailand Sustainability Investment 4/

Thailand Sustainability Investment
n/a

Ranking หมวดอุตสาหกรรม

ลักษณะธุรกิจ 5/

ข้อมูลเบื้องต้น 5/

รายการรายละเอียด
ที่อยู่ 99 ถนนสุรศักดิ์ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม.10500
เบอร์โทรศัพท์ 0-2267-1900
เบอร์โทรสาร 0-2266-3377
URL www.bam.co.th

ข้อมูลผู้ติดต่อ

ผู้ติดต่อชื่อผู้ติดต่อ
ฝ่ายผู้ลงทุนสัมพันธ์ นายรฐนนท์  ฟูเกียรติ  
เลขานุการบริษัท นายพงศธร  มณีพิมพ์

ข่าวเกี่ยวกับบริษัท

  • การเปิดเผยข่าวธุรกรรมที่สำคัญและรายการที่เกี่ยวโยง 5/
  • ข่าวของสำนักงาน

การเปิดเผยข้อมูลของบริษัท

  • รายงานการเปิดเผยข้อมูลล่าสุด (แบบ 56-1 / แบบ 56-2)
  • บริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (Opportunity day) 5/

ข้อมูลผลิตภัณฑ์

  • หนังสือชี้ชวน/แบบFiling

ข้อมูลอื่นๆ ของบริษัท

  • ประวัติการถูกทำคำเสนอซื้อกิจการของบริษัท
  • รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหาร (59-2)
  • รายงานการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ของกิจการ (246-2)

งบการเงินฉบับย่อ และข้อมูลทางการเงิน 5/

งบการเงินฉบับเต็ม

1 ข้อมูล CG Score ประจำปี 2564 จาก สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
2 ข้อมูล AGM ประจำปี 2564 จาก สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
3 ข้อมูลบริษัทที่เข้าร่วมโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (Thai CAC) ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2565) 2 กลุ่ม คือ

  • ได้ประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วม CAC
  • ได้รับการรับรอง CAC
4 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : ข้อมูลรายชื่อบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน Thailand Sustainability Investment ประจำปี 2564 ประกอบด้วย
  • บริษัทจดทะเบียนที่ผ่านการประเมินโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย Thailand Sustainability Investment: THSI (SET) และ THSI (mai)
  • บริษัทจดทะเบียนที่ผ่านการประเมินโดย Dow Jones Sustainability Indices (DJSI)
5 ข้อมูลทางการเงิน / ลักษณะธุรกิจ / ที่อยู่ / ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ / กรรมการ / ข่าวการเปิดเผยธุรกรรมที่สำคัญและรายการที่เกี่ยวโยง / Opportunity day เป็นของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ผู้ใช้งานเว็บไซต์ตกลงและรับทราบว่าลิขสิทธิ์ข้อมูลดังกล่าวเป็นของตลาดหลักทรัพย์ฯ และสามารถใช้งานเพื่อการศึกษา หรือการลงทุนส่วนตัวเท่านั้น ในกรณีที่ใช้งานข้อมูลในเชิงพาณิชย์ กรุณาติดต่อฝ่ายธุรกิจข้อมูล ตลาดหลักทรัพย์ฯ e-mail:

ปรับปรุงล่าสุด 07 ตุลาคม 2565

ช่วงนี้นักลงทุนคงปวดหัวไปกับความผันผวนของตลาดหุ้นไทย ที่ถูกเล่นงานจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ซบเซา ทั้งจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และนานาประเทศ, Brexit, หรือแม้แต่เศรษฐกิจในประเทศไทยเอง

ล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไอเอ็มเอฟ ออกมา ปรับลดประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2562 เหลือเพียง 3% มาอยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี หรือต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงเกิดวิกฤตการเงินโลกเสียอย่างนั้น ส่วนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเองก็ก้ำกึ่ง เพราะไม่รู้ว่าปีนี้จะโตเกิน 3% ได้หรือไม่

ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูงเช่นนี้ จะดีแค่ไหน? หากได้เป็นเจ้าของธุรกิจที่สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ในทุกภาวะเศรษฐกิจ ทั้งในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ และกลับมาเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัว รวมทั้งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมาอย่างยาวนาน อย่าง บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM และเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "บสก."

*** BAM คือใคร ทำไมปรับตัวได้ในทุกสภาพเศรษฐกิจ?

BAM คือผู้นำ "ธุรกิจบริหารสินทรัพย์" (AMC: Asset Management Company) ที่เกิดขึ้นมาจากผลพวงของวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการแก้ปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPLs) ที่เป็นเรื่องหนักหนาสาหัสของประเทศไทยในขณะนั้น เพราะมีสัดส่วนถึง 42% ของสินเชื่อรวมจากธนาคารทั้งหมดในประเทศไทย

นับแต่นั้น "ธุรกิจบริหารสินทรัพย์" จึงกลายเป็นกลไกสำคัญในการสร้างเสถียรภาพระบบสถาบันการเงินของประเทศไทย ผ่านบทบาทการซื้อและบริหาร NPLs จากสถาบันการเงิน ทำให้สถาบันการเงินไม่ต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้น และสามารถปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคธุรกิจได้อย่างราบรื่น ส่งผลดีต่อการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจในประเทศเป็นลำดับ

ปัจจุบัน BAM ดำเนินธุรกิจหลัก คือ

1.เข้าร่วมประมูลซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (Non-Performing Loans “NPLs”) เข้ามาบริหารจัดการโดยแนว ทางการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่เป็นที่พอใจกับทุกฝ่าย

2.บริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย (Non-Performing Assets “NPAs”) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วยกลยุทธ์การพัฒนาปรับปรุงทรัพย์ให้มีสภาพดีพร้อมใช้ประโยชน์ และให้เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น เพื่อให้สามารถจำหน่ายให้กับบุคคลภายนอกได้ต่อไป

ด้วยลักษณะธุรกิจของ BAM ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวจะทำให้ NPLs และ NPAs ออกสู่ตลาดมากขึ้น และเป็นโอกาสให้ BAM สามารถเข้าซื้อ NPLs และ NPAs ที่หลากหลายในราคาที่ได้ผลตอบแทนดีที่สุดและเมื่อเศรษฐกิจขาขึ้น ลูกหนี้ก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้มากขึ้น ลูกค้ามีกำลังซื้อ NPAs เพิ่มขึ้น

*** โอกาสเติบโตของธุรกิจยังอีกยาวไกล

แม้ BAM จะทำหน้าที่กลไกสำคัญให้กับเศรษฐกิจไทย ผ่านธุรกิจบริหารสินทรัพย์มายาวนานกว่า 20 ปีแล้ว

แต่อนาคตของธุรกิจบริหารสินทรัพย์ก็ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะธนาคารพาณิชย์ยังนำ NPLs และ NPAsออกมาขายอยู่เรื่อยๆ ซึ่งในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา NPLs ในระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยสูงถึง 12.8% ต่อปี

และที่ผ่านมา BAM สามารถปิดบัญชีลูกหนี้ NPLs ที่รับซื้อจากสถาบันการเงินต่างๆ ได้แล้วกว่า 90,000 ล้านบาท

ด้านธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สินรอขาย (NPAs) มีโอกาสเติบโตต่อเนื่องเช่นกัน โดย BAM ได้รับทรัพย์สินซึ่งส่วนใหญ่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดินเปล่า โรงแรม อาคารเพื่อการพาณิชย์ ที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และอาคารชุด รวมทั้งสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์อื่นๆ เข้ามาจากช่องทางดังนี้

1.การเจรจากับลูกหนี้เพื่อโอนหลักประกันหรือโอนทรัพย์ชำระหนี้

2.การบังคับทรัพย์หลักประกันเพื่อชำระหนี้

3.ซื้อทรัพย์สินรอขายมาจากสถาบันการเงินอื่นโดยตรง

ดังนั้นนอกจาก ธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สินรอขาย จะเป็นการนำอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกทิ้งร้างหรือสร้างค้างไว้

มาซ่อมแซมและเพิ่มมูลค่าแล้ว ยังทำให้ประชนชนสามารถครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ราคาจับต้องได้ด้วย โดยสามารถเข้าไปดูทรัพย์สินของ BAM ได้ที่นี่ www.bam.co.th

*** ธุรกิจดีๆ ย่อมมีคู่แข่ง แต่ไม่ใช่ปัญหา

ปัจจุบัน BAM มีคู่แข่งทางธุรกิจอยู่เช่นกัน แต่ BAM เป็นบริษัทที่มีจุดแข็งแข่งขันกับผู้เล่นอื่นได้ โดยเฉพาะการเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (ตามข้อมูลในรายงานภาวะอุตสาหกรรมซึ่งจัดทำโดยบริษัท อิปซอสส์ จำกัด) มีประสบการณ์บริหารจัดการสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากว่า 20 ปี และยังมีเครือข่ายสำนักงานใหญ่และสาขามากที่สุดรวม 26 สาขาครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

นอกจากนี้ BAM ยังมีแหล่งเงินทุนที่หลากหลายและยั่งยืน ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของธุรกิจบริหารสินทรัพย์ เช่น


1.การออกตั๋วเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาว


2.การกู้ยืมทั้งระยะสั้นและระยะยาวจากสถาบันการเงินกว่า 11 แห่ง


3.การออกหุ้นกู้

*** ตอกย้ำความสามารถในการแข่งขันด้วยผลงานในอดีต

BAM มีผลการดำเนินงานเติบโตต่อเนื่องหลายมิติ ทั้งในแง่ เงินสดรับ (Cash Collection) ที่ปี 61 ทำไปได้ถึง 16,569 ล้านบาทภาย เติบโตถึง 22.6% จากปี 60 ที่ทำได้ 13,516 ล้านบาท ส่วนในด้านกำไรสุทธิก็เติบโตในทิศทางเดียวกัน โดยปี 61 ทำไปได้ถึง 5,202 ล้านบาท เติบโตถึง 15.6% จากปี 60 ที่ทำได้ 4,501 ล้านบาท

ขณะที่สินทรัพย์รวมในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (59-61 ) เติบโตต่อเนื่องที่ 93,637 ล้านบาท 99,933 ล้านบาท และ 107,653 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 7% ต่อปี

แม้สินทรัพย์จะเติบโตสูง แต่ในแง่คุณภาพก็ทำได้ดีเช่นกัน โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 ราคาประเมินหลักทรัพย์ค้ำประกันของลูกหนี้ NPLs ของ BAM ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าทางบัญชีของลูกหนี้ถึง 2.5 เท่าตัว (ราคาประเมิน 190,408 ล้านบาท / มูลค่าทางบัญชี 76,749 ล้านบาท) ขณะที่ราคาประเมิน NPAs ก็สูงกว่ามูลค่าทางบัญชี 2.4 เท่าตัวเช่นกัน (ราคาประเมิน = 53,414 ล้านบาท / มูลค่าทางบัญชี 22,506 ล้านบาท)

*** เตรียมเดินหน้าธุรกิจไปอีกขั้นด้วย 3ยุทธศาสตร์หลัก

นอกจากผลการดำเนินงานในอดีตแข็งแกร่งแล้ว วิสัยทัศน์และปณิธานของทีมผู้บริหาร ก็สำคัญไม่แพ้กัน

BAM "มุ่งสู่การเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ดีที่สุดของประเทศ" โดยการบริหารงานที่เป็นเลิศ และมุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกหนี้และลูกค้า ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ” โดยจะเดินหน้าธุรกิจไปอีกขั้นผ่าน 3 ยุทธศาสตร์หลัก คือ

ยุทธศาสตร์ที่ 1: การขยายฐานทรัพย์สิน ด้วยการติดตามการขาย NPLs และ NPAs อย่างใกล้ชิด เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายสินทรัพย์ และ คัดเลือกสินทรัพย์ ที่มีศักยภาพสูง ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ สามารถบริหารต้นทุนการได้มาซึ่งสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การที่บริษัทฯ มีสาขาทั่วประเทศ มีพนักงานที่มีประสบการณ์สูงและมีความเข้าใจในตลาดอย่างดี ทำให้บริษัทฯ สามารถประเมินศักยภาพและราคาทรัพย์ได้แม่นยำ

ยุทธศาสตร์ที่ 2: ลดระยะเวลาการดำเนินงานเพื่อสร้างรายได้ให้เร็วขึ้น ด้วยการปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และการให้ลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้ตามกำลังที่สามารถ BAM ให้ความสำคัญกับการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่เป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่ายเท่าที่เป็นไปได้ พร้อมกันนี้ BAM ยังทำการตลาดเชิงรุกโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น เว็บไซต์ และช่องทาง Social Media ขององค์กร ฯลฯ

ยุทธศาสตร์ที่ 3: การพัฒนาคนเพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กร เพราะบริษัทฯเชื่อว่าพนักงานที่มีความสามารถและความเชี่ยวชาญเป็นปัจจัยหลักของความสำเร็จทางธุรกิจ จึงได้จัดการฝึกอบรมพนักงานทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อพัฒนาความสามารถของพนักงาน รวมทั้งมีการเตรียมแผนการสืบทอดตำแหน่งที่ชัดเจน

*** ขึ้นแท่น บริษัทบริหารสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ฯ

นับเป็นข่าวดีของผู้ที่ต้องการลงทุนในบริษัทบริหารสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของไทย เพราะ BAM กำลังจะเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เร็วๆนี้ นับเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ขนาดใหญ่ที่สุดที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

หมายเหตุ “ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

Refresh


เราใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากยิ่งขึ้น คุณสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก