รายได้ส่งผลต่อการออมอย่างไร

เป้าหมายในการออม

       1. เพื่อประโยชน์ระยะสั้น เช่น เป็นค่ารักษาพยาบาล ให้การศึกษาแก่บุตรหลานจัดหา ที่อยู่อาศัยหรือเพื่อการพักผ่อน เป็นต้น

      2. เพื่อประโยชน์ระยะยาว เช่น เพื่อความมั่นคงของชีวิต ไว้ใช้จ่ายเมื่อออกจากงาน หรือ เป็นค่าใช้จ่ายยามชรา เป็นต้น

วิดีโอ YouTube

 ปัจจัยในการออม

         1. รายได้สุทธิส่วนบุคคล  ที่ได้หักภาษีเงินได้ส่วนบุคคลออกแล้วผู้มีรายได้สุทธิส่วนบุคคลสูง ย่อมมี โอกาสในการออมเงินสูงกว่าผู้มีรายได้สุทธิส่วนบุคคลน้อย 

        2. ผลตอบแทนที่ผู้ออมได้รับจากการออม  ถ้าผลตอบแทนที่ได้รับอยู่ในอัตราสูง ก็จะเป็นแรงจูงใจให้มีการออมทรัพย์ เพิ่มมากขึ้น 

        3. ค่าของเงิน  ผู้ออมจะตัดสินใจทาการออมมากขึ้น ภายหลังพิจารณาถึงอำนาจซื้อของเงินที่มีอยู่

        4. การใช้จ่ายในสิ่งที่จาเป็นตามลักษณะนิสัยส่วนบุคคล  นิสัยการใช้เงินที่แตกต่างกันมีผลต่อการออมคนที่ฟุ่มเฟือยจะมีเงินออมน้อยกว่า คนที่มัธยัสถ์

     

 

     

         5. การคาดคะเนเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ในอนาคต  การเลือกที่จะเก็บออมหรือใช้จ่ายเงิน จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจว่ามีแนวโน้ม ว่าจะขยายตัวมากหรือน้อย 

        6. เทคโนโลยีของการให้บริการทางการเงิน  เช่น บริการเบิกถอนเงินอัตโนมัติ บริการบัตรเครดิต ทาให้มีความคล่องตัวใน การใช้เงินมากขึ้น ทาให้การออมน้อยลง 

        7. ระบบการให้สวัสดิการหลังการเกษียณอายุ  ประเทศที่มีระบบสวัสดิการหลังเกษียณดี ประชาชนจะมีเงินออมไว้ใช้ยามชรา ไม่สูงนัก เพราะคาดว่าเงินส่วนหนึ่งจะได้จากรัฐ ประเทศที่ระบบสวัสดิการไม่ดี ประชาชนจะเพิ่มการออมในช่วงวัยทางานมากขึ้น 

อัตราเงินเฟ้อเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ "ค่าของเงิน" เช่น เมื่อก่อนซื้อข้าวราดแกงจานละ 15 บาท แต่ปัจจุบันราคาเพิ่มขึ้นเป็น 30 - 50 บาท ราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือ "เงินเฟ้อ" ทำให้เงินมีมูลค่า หรือ "อำนาจซื้อ" ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับนั้นจึงยังไม่ใช่ผลตอบแทนที่แท้จริง ต้องมีการหักผลกระทบจากเงินเฟ้อออกก่อน ดังนี้​

 

ทั้งนี้ สามารถดูข้อมูลอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ได้จาก website ของธนาคารแห่งประเทศไทย​ 

ยกตัวอย่างเช่น หากนำเงินไปฝากประจำที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี หากอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3 ต่อปี ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเท่ากับร้อยละ 1 เท่านั้น และในบางครั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอาจน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เงินที่งอกเงยขึ้นไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในกรณีนี้ผู้ฝากอาจนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยสามารถศึกษาเรื่องการลงทุนเพิ่มเติมที่ การลงทุน 

​​​​​

3. ระยะเวลาในการออม

เพราะการออมมีผลตอบแทน ดังนั้นยิ่งเริ่มต้นออมเร็วเท่าไหร่ เงินก็จะยิ่งงอกเงยมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่นำเงินไปฝากแบบมีการคิดดอกเบี้ยทบต้น ดอกเบี้ยที่ได้จะถูกทบเข้ากับเงินต้นเดิม และกลายเป็นเงินต้นของงวดถัดไปเรื่อย ๆ ทำให้เงินงอกเงยได้เร็วยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ หากเรามีการตั้งเป้าหมายทางการเงินไว้ ยิ่งเราเริ่มออมเร็วเท่าไหร่ ภาระในการเก็บออมก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เราตั้งเป้าหมายออมเงินให้ได้ 1 ล้านบาทเพื่อการเกษียณ โดยได้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี หากเริ่มออมตั้งแต่อายุ 31 ปี จะต้องออมเพียงปีละ 15,000 บาทเท่านั้น แต่หากเริ่มออมเมื่ออายุ 51 ปี จะต้องออมถึงปีละ 76,000 บาท ดังตารางด้านล่าง

 

และหากตั้งเป้าหมายการออมเงินให้งอกเงยเป็นเท่าตัว ก็สามารถคำนวณระยะเวลาในการออมง่าย ๆ ได้ดังนี้​

 

จากสมการ จะเห็นได้ว่ายิ่งอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนสูง ระยะเวลาการออมเงินให้งอกเงยเป็นเท่าตัวก็ยิ่งสั้นลง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราออมโดยได้ดอกเบี้ยร้อยละ 4 จะต้องใช้เวลา 18 ปีเงินจึงจะงอกเงยเป็นเท่าตัว แต่ถ้าเราออมที่ดอกเบี้ยร้อยละ 6 เงินจะงอกเงยเป็นเท่าตัวในเวลาเพียง 12 ปี

​ ​​​​

4. สภาพคล่องทางการเงินของผลิตภัณฑ์

สภาพคล่องทางการเงิน คือ ความยากง่ายในการเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีเป็นเงินสด สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง จะสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว เช่น เงินฝากธนาคาร ส่วนสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ จะต้องใช้เวลานานในการขายหรือเปลี่ยนให้เป็นเงินสด เช่น รถ ที่ดิน หรือ สิ่งของสะสม 

ผลิตภัณฑ์เพื่อการออมแต่ละประเภทก็มีสภาพคล่องที่ต่างกัน เช่น การฝากออมทรัพย์จะมีสภาพคล่องสูง สามารถฝาก-ถอนเงินสดได้ตลอดเวลา แต่ก็ได้รับผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำ ในขณะที่การฝากประจำแม้จะมีผลตอบแทนสูงกว่า แต่ก็อาจเรียกได้ว่ามีสภาพคล่องต่ำกว่า เนื่องจากหากถอนเงินออกจากบัญชีก่อนครบกำหนดเวลา ก็มักจะได้รับดอกเบี้ยต่ำกว่าที่ประกาศไว้

ดังนั้น เราจึงควรจัดสรรเงินออมให้สอดรับกับรูปแบบการใช้จ่ายและความจำเป็นทางการเงินของตนเอง เพื่อป้องกันปัญหาขาดสภาพคล่องหรือ "หมุนเงินไม่ทัน" จนต้องถอนเงินก่อนกำหนด หรือต้องกู้ยืมเงินมาใช้โดยไม่จำเป็น โดยสิ่งที่จะช่วยเราได้ก็คือการวางแผนการเงินและการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งนอกจากจะทำให้เรารู้ว่าเราจะต้องมีเงินที่มีสภาพคล่องสูง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายประจำแต่ละเดือน และเงินที่สำรองไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินเป็นจำนวนเท่าใดเพื่อฝากเงิน 2 ส่วนนี้ไว้ในบัญชีออมทรัพย์ (แต่ควรแยกบัญชีกันเนื่องจากมีวัตถุประสงค์ต่างกัน) แล้ว เรายังสามารถนำเงินส่วนที่เหลือมาออมด้วยการฝากประจำหรือนำไปลงทุนซึ่งได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเพื่อให้เงินงอกเงยมากขึ้นด้วย

​​​​​​​​

5. ​อัตราค่าธรรมเนียมและข้อกำหนดต่าง ๆ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก