ทำเลที่ตั้งของอาณาจักรรัตนโกสินทร์มีผลทำให้อาณาจักรมีความมั่นคงอย่างไร

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง

การที่ประเทศไทยสมัยประชาธิปไตยมีความมั่นคงและมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้ามาเป็นสำคัญส่วนเกิดจากปัจจัยสำคัญหลายประการ

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อ

ความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทย

๑.พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อราษฎรและประเทศชาติ ทั้งในเรื่องของความดีของราษฎร การเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติในยามที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงครามและการรุกรานจากภายนอก ทำให้ประเทศไทยสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย

๒.การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในลักษณะที่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญโดยพยายามปรับเปลี่ยนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทำให้ประเทศไทยสามารถดำรงอธิปไตยของชาติไว้ได้ ดังเช่น ในสมัยสงครามโลกครั่งที่ ๒ และสมัยที่ไทยกำลังเผชิญกับการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์

๓. การมีทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเลสำหรับเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของคนไทยและความมั่นคงของประเทศ เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ แก็สธรรมชาติสัตว์น้ำในบริเวณอ่าวไทย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกข้าวสำหรับเลี้ยงชีพคนไทยทั่วทุกภาคของประเทศอีกด้วย

๔.การมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำให้การพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมดำเนินไปอย่างเป็นระบบตามหลักของการพัฒนา ดังนั้น สภาพความเป็นอยู่ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม และอื่น ๆ จึงขยายตัวออกไปทำให้ไทยมีความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง

สาระการเรียนรู้

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

          ภายหลังที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกแก้ไขวิกฤตการณ์ในกรุงธนบุรีจนสงบลงแล้ว บรรดาขุนนาง ข้าราชการ สมณะ พราหมณ์ และอาณาพระชาราษฎร์ได้พร้อมกันอันเชิญให้พระองค์เสด็จขึ้นครอง ราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบไป เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325  

            ในระยะแรกพระองค์ประทับในพระราชวังเดิมไปพลางก่อนเป็นการชั่วคราว หลังจากนั้นจึงได้ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีข้ามไปอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นที่ตั้งของพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างรั้วไม้แทนกำแพงและสร้างพลับพลาไม้ชั่วคราวเพื่อทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จบรมราชาธิราชรามาธิบดี(ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงถวายพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)

            ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างพระบรมราชวังและราชธานีแห่งใหม่แล้วเสร็จ ในปีพ.ศ. 2539 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชพระนครและกระทำพระบรมราชาภิเษกขึ้นอีกครั้ง และได้ทรงพระราชทานนามพระนครว่า “กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์มหินทรายุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์สถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”(ต่อมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนสร้อยที่ว่า บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ นอกนั้นคงไว้ตามเดิม)

            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีข้ามไปอยู่ยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา สืบเนื่องมาจากทรงมีพระราชดำริว่าบริเวณที่ตั้งกรุงธนบุรีถึงแม้จะเป็นที่ดอน แต่ก็เป็นที่ท้องคุ้ง น้ำเซาะตลิ่งพังอยู่เสมอ ส่วนที่ตั้งของพระราชวังก็มีวัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง) และวัดโมลีโลกยาราม(วัดท้ายตลาด)ตั้งขนาบอยู่ตั้งสองข้าง ทำให้ไม่สะดวกในการขยายพระราชวัง แต่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณทำเลที่ตั้งราชธานีแห่งใหม่มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นคูเมืองทั้งด้านตะวันตกและด้านใต้ ถ้าขุดคลองเฉพาะทางด้านเหนือและด้านตะวันออกเท่านั้น ก็สามารถป้องกันพระนครจากการโจมตีของข้าศึกได้ ประกอบกับพื้นที่นอกคูเมืองเดิมเป็นพื้นที่ลุ่มที่เกิดจากการตื้นเขินของทะเล ข้าศึกจะยกทัพมาด้านนี้คงกระทำได้ยาก จึงทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาดังกล่าว

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง

          ภายหลังการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้ว มีปัจจัยหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทยดังนี้

1.        ศูนย์กลางของอาณาจักรมีเส้นทางออกสู่ทะเล ทำให้สะดวกต่อการติดต่อค้าขายกับชาติต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกล

ออกไปและเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยได้ง่าย

2.        มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน ทำให้มีฝนตกชุก เหมาะแก่การเพาะปลูก

3.        มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านออกสู่ทะเลบริเวณอ่าวไทย ได้แก่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และ

แม่น้ำบางปะกง ทำให้เหมาะแก่การเพาะปลูกในพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและเป็นประโยชน์แก่การค้าขาย

4.        เป็นศูนย์รวมของการขยายตัวทางด้านวัฒนธรรม เพราะในสมัยโบราณอาณาจักรของไทยเป็นจุดพักเรือของ

พ่อค้าจากดินแดนต่าง ๆ ที่เดินทางเข้ามาค้าขายระหว่างดินแดนซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออก นับเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการของอาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของการสถาปนาและส่งผลดีมาจนถึงปัจจุบัน

5.        พระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมือง ทั้งในด้านการ

ป้องกันราชอาณาจักร การส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางด้านต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นกับบ้านเมืองและราษฎรของพระองค์

เหตุผลที่ทรงย้ายราชธานี

            เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ก็โปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกมาตั้งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยเหตุผลที่ทรงย้าย ดังนี้

1) พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ  มีวัดขนาบอยู่ทั้งสองด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง)และวัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง

2) ความไม่เหมาะสมด้านภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตกหรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้งน้ำ อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก(กรุงเทพ) เป็นแหลมพื้นดินจะงอกอยู่เรื่อยๆ

3) ความไม่เหมาะสมในการขยายเมืองในอนาคต พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้างขวาง สามารถขยายตัวเมืองไปทางเหนือและตะวันออกได้

4) กรุงธนบุรีไม่เหมาะทางด้านทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ กล่าวคือ มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลางเปรียบเสมือนเมืองอกแตก เมื่อใดข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำก็สามารถตีถึงใจกลางเมืองได้ง่าย

            ในการสร้างพระบรมมหาราชวังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระนคร เมื่อ พ.ศ. 2325 การก่อสร้างพระราชวังหลวง สร้างในบริเวณที่เคยเป็นที่อยู่ของชาวจีน ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปอยู่ที่แห่งใหม่คือที่สำเพ็ง เริ่มดำเนินการในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2325 หลังพระราชพิธียกหลักเมือง 1 วัน ภายในโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามในพระบรมมหาราชวัง คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต

            เมืองหลวงใหม่  เดิมเรียกว่า บางกอก หรือปัจจุบันคือ กรุงเทพมหานคร  เป็นราชธานีใหม่ของไทย  สร้างขึ้นโดยเลียนแบบอยุธยา  กำหนดพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนคือ

-บริเวณพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง    และรวมทั้งทุ่งพระสุเมรุท้องสนามหลวง

-บริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง  มีอาณาเขตกำแพงเมือง   ประตูเมือง และป้อมปราการสร้างขึ้นตามแนวคลองรอบกรุง  ได้แก่ คลองบางลำภู และคลองโอ่งอ่าง

-บริเวณที่อยู่อาศัยภายนอกกำแพงเมือง    เป็นพื้นที่เกษตรกรรม   มีบ้านเรือนราษฏรตั้งอยู่ด้านนอกของคลองรอบกรุง   มีคลองขุดในรัชกาลที่ 1 คือ คลองมหานาค

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก