ค่าจ้างและ เงินเดือน ต่างกันอย่างไร

�Թ�٧�     ��¨�ҧ��ŧ����੾�о�ѡ�ҹ�����ʹ���������ҷ��⨷���˹�     �ѹ�繡�è������ͨ٧���龹ѡ�ҹ��·��ʹ���������� ���Ш��¾�����Ѻ�Ҩ����Թ��͹   �������������͵ͺ᷹��÷ӧҹ�µç �����������͵ͺ᷹��÷ӧҹ����ҷӧҹ���Ԣͧ�ѹ�ӧҹ    �Թ�٧�   �֧������繤�Ҩ�ҧ

มีปัญหาว่านายจ้างจ่ายค่าครองชีพให้กับพนักงานทุกคน ตามข้อตกลงสภาพจ้างเพื่อสวัสดิการช่วยเหลือพนักงานในเรื่อง ค่าใช้จ่ายด้านอุปโภค บริโภค ค่าน้ำมันรถ ที่ปรับตัวสูงขึ้นและบรรเทาในการดำรงชีพ

แต่นายจ้างมักอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่ค่าจ้างที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน และเงินค่าครองชีพหากไม่ใช่ค่าจ้างก็จะไม่เป็นฐานในการคำนวณเงินต่างๆ เช่น ค่าทำงานในวันหยุด ค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โบนัส เงินประกันสังคมและการปรับค่าจ้าง

การต่อสู้ว่าเงินที่นายจ้างจ่ายแต่ละรายการเป็นค่าจ้างหรือไม่ จึงเป็นเรื่องหนึ่งที่มีการต่อสู้กันมาตลอด

ศาลเคยตัดสินว่านายจ้างจ่ายค่าครองชีพให้ลูกจ้างมีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนทุกเดือนตลอดมา โดยไม่ปรากฎชัดว่าเหตุที่นายจ้างจ่ายค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างเกี่ยวข้องกับภาระค่าครองชีพโดยเฉพาะ หรือเป็นเงินที่จ่ายเพื่อช่วยเหลืออื่นใด ค่าครองชีพดังกล่าวที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างจึงเป็นการจ่ายเพื่อการตอบแทนการทำงานเป็นเวลาทำงานปกติของวันทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือเป็นค่าจ้าง

ค่าตอบแทน (Compensation) คือ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่องค์การจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่ายนี้อาจจ่ายในรูปตัวเงินหรือมิใช่ตัวเงินก็ได้ เพื่อตอบแทนการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ จูงใจให้มีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพส่งเสริมขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน และเสริมสร้างฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้ปฏิบัติงานให้ดีขึ้นโดยการกำหนดค่าตอบแทนมีหลักการที่สำคัญหลายประการ ดังนี้

  1. หลักความพอเพียง (Adequacy) การกำหนดค่าตอบแทนถือเป็นความรับผิดชอบทางสังคมอย่างหนึ่งของนายจ้าง ดังนั้น นายจ้างควรกำหนดอัตราค่าจ้างให้ไม่น้อยกว่าระดับต่ำสุดที่ลูกจ้างควรได้รับในสังคมเป็นอย่างน้อย กล่าวคือพอเพียงแก่การดำรงชีวิตหรือสามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ การกำหนดค่าตอบแทนตามหลักความพอเพียงนี้เป็นเพียงมาตรฐานขั้นต่ำเท่านั้น นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างสูงกว่าระดับนี้ได้
  2. หลักความเป็นธรรม (Equity) การกำหนดค่าตอบแทนต้องเป็นธรรม กล่าวคือ จะต้องมีความเท่าเทียมกันสำหรับผู้ที่มีความรู้ความสามารถ วุฒิและประสบการณ์ที่เหมือนกัน และทำงานในระดับหน้าที่และความรับผิดชอบและความยากง่ายของงานที่เทียบเคียงกันได้ หลักความเป็นธรรมอาจจำแนกเป็น 3 ประการ คือ
    1. ความเป็นธรรมภายใน (Internal Equity) ภายในองค์การเดียวกันนั้น งานที่มีระดับหน้าที่และความรับผิดชอบและความยากง่ายของงานเทียบในระดับเดียวกันก็ควรได้รับค่าตอบแทนที่เท่ากันหรือที่เรียกว่า “เงินเท่ากันสำหรับงานที่มีมูลค่าเท่ากัน” (Equal Pay for Work of Equal Value)
    2. ความเป็นธรรมภายนอก (External Equity) การกำหนดค่าตอบแทนให้สามารถดึงดูดบุคลากรคุณภาพ จึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเป็นธรรมภายนอก กล่าวคือ ค่าตอบแทนที่กำหนดจะต้องสอดคล้องกับการจ้างงานในตลาดแรงงาน โดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดแรงงานมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดค่าจ้างแรงงานในตลาด ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่างานหลายงานที่ประเมินค่าของงานแล้วอยู่ในระดับเดียวกัน แต่หากต่างสาขากันการกำหนดอัตราค่าตอบแทนอาจแตกต่างกันได้ เพราะความต้องการแรงงานในสาขาต่าง ๆ นั้นแตกต่างกัน แรงงานในสาขาที่เป็นที่ต้องการมาก และมีการผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดค่าตอบแทนย่อมสูงกว่าสาขาอื่น เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์การ ในการที่จะสามารถสรรหาคนเก่งคนดีให้เข้ามาทำงานในองค์การ
    3. ความเป็นธรรมเฉพาะบุคคล (Individual Equity) การกำหนดค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ยังต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลด้วย เช่น ในระหว่างผู้มีวุฒิการศึกษา ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทำงานในระดับหน้าที่และความรับผิดชอบ และความยากง่ายของงานที่เทียบเคียงกันได้นั้น ผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดีกว่าควรจะได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่า นอกจากนี้ ความเป็นธรรมเฉพาะบุคคลยังอาจพิจารณาจากระยะเวลาในการทำงานด้วย หรือหากมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน หรือหน้าที่นั้นโดยตรงก็ควรที่จะได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่าผู้ที่บรรจุเข้าทำงานโดยไม่มีประสบการณ์ เป็นต้น
  3. หลักความสมดุล (Balance) การกำหนดค่าตอบแทนที่สมดุลอาจพิจารณาได้หลายประการ เช่น ความสมดุลระหว่างสัดส่วนของรายจ่ายด้านบุคคล กับรายจ่ายด้านอื่น ๆ เช่น รายจ่ายลงทุน รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ เป็นต้น นอกจากนี้ ความสมดุลยังอาจหมายถึง ความสมดุลในสัดส่วนของเงินเดือนกับสวัสดิการ และความสมดุลระหว่างเงินกับงาน
  4. หลักความมั่นคง (Security) การกำหนดค่าตอบแทนต้องคำนึงถึงความมั่นคงในการดำรงชีวิต ซึ่งรวมถึงสุขภาพและความปลอดภัย หรือความเสี่ยงในการทำงานของพนักงานด้วย เช่น การให้เงินเพิ่มสำหรับงานที่มีสถานการณ์เสี่ยงภัย ตลอดจนการให้สวัสดิการอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น การประกันสุขภาพ การประกันชีวิต การให้บำเหน็จบำนาญ เป็นต้น
  5. หลักการจูงใจ (Incentive) การกำหนดค่าตอบแทนต้องคำนึงถึงการจูงใจให้พนักงานทำงานให้ดีขึ้นทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และทำงานอย่างเต็มความรู้ ความสามารถของแต่ละบุคคลด้วย เช่น การกำหนดให้มีการเลื่อนเงินเดือนตามผลการปฏิบัติงานในแต่ละปี การให้เงินรางวัลประจำปี (Bonus) การให้ค่าตอบแทนในลักษณะเบี้ยขยัน (Commission) สำหรับบางลักษณะงาน เป็นต้น รวมทั้งการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนค่าจ้างที่จูงใจ เช่น การกำหนดให้เงินเดือนแต่ละระดับมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเพื่อจูงใจให้เกิดการพัฒนาตนเอง และแข่งขันกันเพื่อรับภาระหน้าที่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น เป็นต้น
  6. หลักการควบคุม (Control) การกำหนดค่าตอบแทน ต้องสามารถควบคุมให้อยู่ภายใต้งบประมาณที่กำหนด และเหมาะสมกับความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay) ในแต่ละปีด้วย เพื่อให้ต้นทุนของการดำเนินงานอยู่ในขอบเขต และยังสามารถขยายกิจการเพื่อความก้าวหน้าขององค์การได้

โครงสร้างค่าตอบแทนของข้าราชการพลเรือนสามัญ ในระบบค่าตอบแทนของข้าราชการพลเรือนสามัญสามารถจำแนกค่าตอบแทนออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

เงินใดถือเป็นเงินค่าจ้าง

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 บัญญัติว่า “ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินที่นายจ้าง และลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำ งานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวม ...

ค่าครองชีพ ถือเป็นเงินเดือนไหม

ค าพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๑๖ - ๕๑๘/๒๕๒๔ ค่าครองชีพที่นายจ้างจ่ายแก่ พนักงานคนงานเป็นประจ าทุกเดือน มีจ านวนแน่นอนท านองเดียวกับเงินเดือน จึงเป็นส่วนหนึ่งของ เงินเดือนที่นายจ้างจ่ายเป็นการตอบแทนการทางาน จึงเป็นค่าจ้างอันต้องนามาคานวณค่าชดเชยด้วย ๔

การจ่ายค่าตอบแทนแบบค่าจ้าง (Wage) และเงินเดือน (Salary) แตกต่างกันอย่างไร

บทที่8 ค่าตอบแทน การจ่ายให้กับการท างานในลักษณะของเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมถึงสวัสดิการต่างค่าจ้าง (Wage) หมายถึงเงินที่พนักงานได้รับจากการท างาน ค่าจ้างจะค านวณจากของเวลา หรือค านวณจากจ านวนชิ้นที่ผลิต ได้เงินเดือน (Salary) หมายถึงเงินที่พนักงานได้รับจากการทางานที่ใช้การเหมาจ่ายเป็นรายเดือน

เงินเดือนมีความหมายว่าอย่างไร

7) เงินเดือน หมายถึง เงินเดือนในปัจจุบันก่อนหักภาษี หรือหักค่าใช้จ่ายใด ๆ { เช่น ค่าประกันสังคม ค่าสมาชิก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (เงินสะสม) เป็นต้น } ซึ่งสถานประกอบการให้เป็นค่าตอบแทนการทำงานแก่พนักงานประจำ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก