Hot air oven หลักการ ทํา งาน

จำหน่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เช่น ตู้อบแห้ง Hot air oven,ตู้บ่มเชื้อ Incubator,อ่างควบคุมอุณหภูมิ waterbath,หม้อนึ่ง Autoclave,ตู้เขี่ยเชื้อ Laminar flow,เครื่องวัดกรดด่าง,เครื่องวัดค่าพีเอช pH meter,เครื่องวัดความขุ่นน้ำ Turbiditymeter,เครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ DO meter,เครื่องวัดแสง luxmeter,เครื่องวัดเสียง Soundmeter,เครื่องวัดอุณหภูมิ thermometer,เครื่องความนำไฟฟ้าConcudctivity meter,ความขุ่น,ความเค็ม Salt meter,ความชื้น,คลอรีน Chlorine meter,เครื่องวัดความเค็ม,เครื่องมือวิทยาศาสตร์,หวัด2009,เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้,เครื่องวัดคลอรีน,เครื่องวัดความหวาน Brix,เครื่องวัดความชื้นข้าว,บีโอดี,เครื่องวัดซีโอดี COD meter,sound level meter,light meter,hot air oven,drying oven,force oven,incubator,waterbath,furnace,ตู้อบแห้ง,ตู้อบความร้อน Oven,เตาเผา furnace,เครื่องชั่ง Balance,กล้องจุลทรรศน์,สารเคมี,ตู้บ่มเชื้อ incubator,เครื่องกวนสารละลาย Hotplate,เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อ Autoclave,หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ,เครื่องผลิตน้ำกลั่น waterstill,เครื่องกรองน้ำWater filter,ความกระด้างน้ำม,เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ spectrophotometer,hotplate,stirrer,autoclave,bod incubator,heating,เครื่องวัดค่าสีADMI,เตาหลุมHeating mantle,เครื่องกวนตะกอนน้ำ jartest,jartest,เครื่องจาร์เทส,extraction,waterstill,balance,memmert,binder,labtech,buchi,hanna,eutech,jenco,lovibond,atago,kett pm410,all american,redline,jartest,un55,un110,un260,un450,un750,uf55,uf110,uf260,uf450,in55,in110,in260,if55,if110,if750,if260,ed56,ed115,ed260,FD56,FED56,FD115,FED115,FED400,FD400,FED720,FD720,KB56,BD56,BD115,KB15,BD115,BD400,BD720,Merck Prove100

ชื่อเครื่องภาษาไทย : ตู้อบลมร้อน

ชื่อเครื่องภาษาอังกฤษ : Hot Air Oven

รุ่น : FD 260

ผู้ดูแลเครื่องมือ : นางสาวชญานี ฉิมพาลี

ตำแหน่ง : นักวิทยาศาสตร์

รายละเอียดเครื่องมือวิทยาศาสตร์

ตู้อบลมร้อนเป็นเครื่องมือใช้สาหรับการอบวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ให้แห้ง ใช้รักษาอุณหภูมิของ
ปฎิกิริยาในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการบางชนิดให้คงที่ ใช้อบฆ่าทาลายเชื้อโรค ใช้อบเพาะเชื้อ
จุลชีพ ใช้หาความชื้นในตัวอย่าง มีความจุ 259 ลิตร และสามารถปรับอุณหภูมิสูงสุด 300 องศาเซลเซียส
พร้อมชั้นวางของ 2 ชั้น วางได้สูงสุด 8 ชั้นมีพัดลมภายในตู้

ขั้นตอนการใช้งาน : ตามลิ้งคู่มือการใช้งาน

Previous post

อ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ

5 สิงหาคม 2020

Next post

ตู้ควบคุมอุณหภูมิแบบเขย่า

5 สิงหาคม 2020

การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อนแห้ง Sterilization by dry heat

การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อนแห้ง เป็นวิธีการที่ใช้ในการทำให้อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่ไม่สามารถทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบไอน้ำ หรือด้วยการอบแก๊ส Ethylene Oxide ได้ปราศจากเชื้อ โดยการทำลายเชื้อจุลชีพทุกชนิด ทุกรูปแบบรวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย ความร้อนแห้งไม่ทำให้อุปกรณ์บางประเภท เช่น เครื่องแก้ว และเครื่องมือมีคมเสื่อมสภาพ ความร้อนแห้งสามารถแทรกซึมผ่านสารบางชนิดซึ่งไอน้ำและแก๊สไม่สามารถแทรกซึมผ่านได้ วิธีการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อนแห้ง ได้แก่ การอบความร้อน (Hot air) การใช้รังสีอินฟราเรด (infrared radiation) การใช้ไมโครเวฟ (microwave radiation) และการเผา (incineration)

การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบความร้อน (Hot air)

การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีนี้ความร้อนจะค่อยๆ แทรกซึมสู่อุปกรณ์อย่างช้าๆ ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานาน การอบความร้อนเหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่มีลักษณะแหลม มีคม เข็มและกระบอกฉีดยา วุ้นและแป้ง ความร้อนแห้งไม่ทำให้อุปกรณ์เป็นสนิม ไม่มีผลเสียต่ออุปกรณ์ที่มีคม การอบความร้อนเป็นวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อที่ใช้อุณหภูมิสูงและใช้ระยะเวลายาวนาน

เครื่องอบความร้อนที่ใช้ในโรงพยาบาลเรียกว่า Hot air oven เครื่องอบความร้อนทำงานโดยใช้หลักการนำความร้อน โดยความร้อนจากเครื่องจะสัมผัสพื้นผิวด้านนอกของอุปกรณ์หรือเครื่องมือก่อน แล้วความร้อนจะค่อยๆ ถูกนำผ่านเข้าสู่เนื้อวัสดุ ดังนั้นขณะที่ความร้อนค่อยๆ ผ่านเข้าสู่เครื่องมือหรือวัสดุ เชื้อจุลชีพที่มีอยู่ที่เครื่องมือหรือวัสดุที่ต้องการทำให้ปราศจากเชื้อจะถูกทำลาย สิ่งสำคัญที่สุดคือ การที่ความร้อนผ่านเข้าสู่อุปกรณ์อย่างทั่วถึง ไม่ใช่เพียงความร้อนสัมผัสกับพื้นผิวนอกของอุปกรณ์เท่านั้น

Dry heat sterilizer เครื่องอบฆ่าเชื้อด้วยความร้อนแห้ง

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการอบความร้อน

การอบความร้อนจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ


  1. -อุณหภูมิหรือความร้อนที่สัมผัสอุปกรณ์ อุณหภูมิที่กำหนดไว้สำหรับการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบความร้อนคือ 160 องศาเซลเซียสหรือ 320 องศาฟาเรนไฮท์
  2. -ระยะเวลาที่ความร้อนสัมผัสอุปกรณ์ ระยะเวลาที่ใช้จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนด หากใช้เวลาสั้นไป การทำให้ปราศจากเชื้อจะไม่มีประสิทธิภาพ ระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อโดยการอบความร้อน แบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงคือ

    1. .Penetration time เป็นระยะเวลาที่ต้องการใช้ในการทำให้วัสดุมีอุณหภูมิสุงเท่าที่ต้องการ
    2. .Holding time หรือ Exposure period เป็นระยะเวลาที่วัสดุอุปกรณ์ต้องสัมผัสความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงตามที่กำหนด 

ระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อ
กราฟ ระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อ

ที่มาGardner, J.F & Peel, M.M.(1991). Introduction to sterilization,Disinfection and Infection Control. (2nd ed.).  Melbourne: Churchill Livingstone. Page 64.

วัสดุอุปกรณ์ที่ควรทำให้ปราศจากเชื้อ ด้วยการอบความร้อน ได้แก่

  • -เครื่องแก้ว
  • -เครื่องมือมีคม
  • -กระบอกฉีดยา (Syringe)
  • -เข็ม (Hollow needles)
  • -หลอดทดลอง (Test tube)
  • -ปีเป็ต (Pipette)
  • -Heat-stable powders เช่น therapeutic drugs
  • -ขี้ผึ้ง (Ointment)
  • -Non-aqueous liquids ได้แก่ Vaseline (petrolatum), paraffin, Vaseline or paraffin gauze, ขี้ผึ้งป้ายตา, silicone lubricant, pure glycerol ซึ่งจุดเดือดของสารเหล่านี้จะต้องสูงกว่าอุณหภูมิที่ใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อ glycerol ที่ผสมน้ำไม่ควรใช้วิธีการทำให้ปราศจากเชื้อ เพราะอาจทำให้เกิดการระเบิดได้ 

การเตรียมวัสดุอุปกรณ์นำไปทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบความร้อน ควรดำเนินการดังนี้

เครื่องมือมีคม

  • -ทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบความร้อนที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ควรวางเครื่องมือลงในภาชนะที่ทำด้วยอลูมิเนียม ซึ่งมีลักษณะตื้นเพื่อให้เกิดการนำความร้อนได้ดี ควรระวังไม่ให้อุณหภูมิสูงกว่า 160 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้เครื่องมือเสียความคม

    เข็มเย็บ (Suture needles) 

    • -นำเข็มกลัดไว้ในผ้าก๊อซ แล้วห่อด้วยผ้า การทำให้ปราศจากเชื้อใช้อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 1ชั่วโมง

      แป้ง (Powders)

      • -ระยะเวลาในการทำให้แป้งซึ่งบรรจุอยู่ในขวดขนาด 4 ออนซ์ปราศจากเชื้อ ต้องใช้เวลาในการทำให้อุณหภูมิของแป้งสูถึง 160 องศาเซลเซียสในเครื่องอบความร้อน 115 นาที หลังจากนั้นต้องใช้เวลาอีก 55 นาทีในการทำให้แป้งปราศจากเชื้อ แป้ง 1 ออนซ์ ควรบรรจุในภาชนะโดยมีความหนาของชั้นแป้งไม่เกิน ¼ นิ้วฟุต (6.25 มิลลิเมตร)

        น้ำมัน (Oils)

        • -น้ำมันที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ petrolatum, paraffin, olive oil และ peanut oil ทำให้ปราศจากเชื้อโดยการอบความร้อนที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ภาชนะที่ใช้บรรจุควรใช้ขวดแก้วมีฝาเกลียว ปริมาณน้ำมันที่จะนำไปอบความร้อนไม่ควรเกิน 30 มิลลิเมตร (1ออนซ์) เมื่อบรรจุในภาชนะความหนาของน้ำมันไม่ควรเกิน ¼ นิ้วฟุต (6.25 มิลลิลิตร)

          Glycerin

          • -หากต้องทำให้กลีเซอรีนปราศจากเชื้อโดยกาอบไอน้ำภายใต้ความดัน กลีเซอรีนจะต้องมีน้ำผสมอยู่อย่างน้อย 10 – 20% หากมีน้ำผสมอยุ่น้อย 
          • -สามารถทำให้ปราศจากเชื้อโดยการอบความร้อนแห้งได้ โดยพิจารณาตามเกณฑ์ต่อไปนี้
          • Glycerin, 80%ใช้อุณหภูมิ 265 Fใช้เวลา 2 ชั่วโมง
          • Glycerin, 90% ใช้อุณหภูมิ 285 Fใช้เวลา 2 ชั่วโมง
          • Glycerin, 95%ใช้อุณหภูมิ 300 Fใช้เวลา 1 ชั่วโมง

          ข้อควรระวัง

          ในการทำให้สารละลายกลีเซอรีนและน้ำปราศจากเชื้อ โดยใช้วิธีการอบความร้อนคือ ปริมาณน้ำที่ผสมอยู่และจุดเดือดของสารละลาย เพราะอาจเกิดการระเบิดขึ้นได้ กลีเซอรีนมีจุดเดือดที่ 290 องศาเซลเซียส (554 องศาฟาเรนไฮท์) ในขณะที่กลีเซอรีนที่มีน้ำผสมอยู่ 13% จะเดือดที่อุณหภูมิ 130.5 องศาเซลเซียส (267 องศาฟาเรนไฮท์)

            Petroleum Gauze

            • -ทำได้โดยเตรียม Bandage gauze ที่มีขนาดกว้าง 2 นิ้วฟุต ยาว 6 – 8 นิ้วฟุตจำนวน 20 ชิ้น วางลงในภาชนะสแตนเลสที่กว้าง 2 ½ นิ้วฟุต ยาว 8 ฟุตและลึก 1 ¼ นิ้วฟุต เท Petroleum เหลวปริมาณไม่เกิน 4 ออนซ์ ลงบน gauze นำไปทำให้ปราศจากเชื้อที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ½ ชั่วโมง
            • -หากรักษาอุณหภูมิไว้ให้อยู่ระหว่าง 160 – 165 องศาเซลเซียส จะไม่ทำให้ gauze ที่เคลือบด้วย petrolatum เปลี่ยนสีหรือดำ หากอุณหภูมิสูง 170 องศาเซลเซียสจะทำให้สีของ gauze เปลี่ยนไป การทำให้ Petroleum gauze ปราศจากเชื้อโดยวิธีการนึ่งไอน้ำไม่สามารถทำลายสปอร์ของเชื้อ Bacillus ได้

              การนำอุปกรณ์เข้าเครื่อง (Loading)

              การจัดเรียงอุปกรณ์เข้าเครื่อง ควรให้มีช่องว่างระหว่างอุปกรณ์และ บริเวณผนังของเครื่อง ทั้งนี้เพื่อให้ความร้อนสามารถไหลเวียนได้อย่างทั่วถึง ไม่ควรบรรจุอุปกรณ์จนแน่นช่องอบ

              • -ขั้นตอนการทำ ให้ปราศจากเชื้อจะเริ่มต้นเมื่ออุณหภูมิภายในช่องอบสูงระหว่าง 160 – 180 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อเป็นผลรวมระหว่างเวลาที่ใช้ในการที่ความร้อนจะแทรกซึมเข้าสู่อุปกรณ์ (heat penetration time) และระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อ (holding time) ที่อุณหภูมิต่างๆ กัน เช่นที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียสใช้เวลา 1 ชั่วโมง เป็นต้น

                • -ระยะเวลา ในการทำให้อุปกรณ์แต่ละชนิดปราศจากเชื้อโดยการอบความร้อนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะอุปกรณ์ ความหนาของวัสดุเมื่อบรรจุในภาชนะและอุณหภูมิที่ใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อของเครื่อง หากบรรจุวัสดุในภาชนะโดยให้มีความหนาของชั้นวัสดุน้อยที่สุด  และบรรจุอุปกรณ์หรือภาชนะบรรจุวัสดุเข้าเครื่องตามข้อกำหนดของบริษัทผู้ผลิตเครื่อง  ระยะเวลาสั้นที่สุดที่ใช้ในการทำให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของเครื่อง

                  • -การประเมิน ประสิทธิภาพของการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบความร้อน ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่ใช้สำหรับเครื่องอบความร้อนใช้สปอร์ของเชื้อ B.subtilis มีจำหน่ายในรูปของแผ่นกระดาษมีสปอร์อยู่บรรจุในหลอดแก้ว ควรทดสอบโดยใช้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพทุกครั้งที่นำอุปกรณ์เข้าเครื่องอบความร้อน หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการควรรอผลการทดสอบโดยตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเป็นเวลา 48 ชั่วโมงก่อนที่จะนำอุปกรณ์ไปใช้ 

                  โพสต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

                  การทำให้ปราศจากเชื้อ Sterilization

                  การทำให้ปราศจากเชื้อเป็นกระบวนการในการทำลายหรือขจัดเชื้อจุลชีพทุกชนิด รวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียจากเครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องมือที่จะต้องผ่านเข้าสู่ส่วนของร่างกายที่ปราศจากเชื้อ ได้แก่ กระแสโลหิต หรือเนื้อเยื่อ เช่น เครื่องมือผ่าตัด เข็มฉีดยา รวมทั้งสารน้ำที่ใช้ฉีดเข้าเส้น อุปกรณ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคซึ่งต้องสัมผัสกับเยื่อบุของร่างกายในระบบทางเดินปัสสาวะหรือช่องท้องจะต้องได้รับการทำให้ปราศจากเชื้อ นอกจากนี้อาหารเลี้ยงเชื้อ อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการซึ่งใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อรวมทั้งการวิจัยจะต้องผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อภายหลังใช้แล้ว ก่อนนำไปทิ้งหรือล้างทำความสะอาด วิธีการทำให้ปราศจากเชื้อ การทำให้ปราศจากเชื้อจะมีประสิทธิภาพต่อเมื่อทุกพื้นผิวของอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่ต้องการทำให้ปราศจากเชื้อสัมผัสกับสารที่ทำให้ปราศจากเชื้อ (Sterilizing agent) การเลือกวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของอุปกรณ์ที่ต้องการทำให้ปราศจากเชื้อและระยะเวลาที่ใช้ในการทำลายสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย วิธีการทำให้ปราศจากเชื้อ แบ่งออกได้เป็น 2 วิธีใหญ่

                  การเก็บห่ออุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ

                  การเก็บห่ออุปกรณ์ ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ Shelf Life หมายถึง ระยะเวลาที่ห่ออุปกรณ์ยังคงสภาพปราศจากเชื้อ หลังจากผ้านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว   ห่ออุปกรณ์จะคงสภาพปราศจากเชื้อหรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมที่ห่ออุปกรณ์ถูกจัดวางไว้ และการหยิบจับหรือเคลื่อนย้ายห่ออุปกรณ์ วันหมดอายุที่ระบุไว้บนห่ออุปกรณ์เป็นระยะเวลาที่ห่ออุปกรณ์คงสภาพปราศจากเชื้อเมื่อเก็บไว้ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม (ideal conditions) คือ อุณหภูมิ 18 – 22 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 35 – 70% แต่ในสภาพที่เป็นจริง สิ่งแวดล้อมอาจไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ดังนั้นระยะเวลาในการเก็บห่ออุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว จะพิจารณาจากสิ่งแวดล้อมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับห่ออุปกรณ์ (event-related) และวัสดุที่ใช้ในการห่ออุปกรณ์เป็นสำคัญ การหยิบจับหรือเคลื่อนย้ายห่ออุปกรณ์  Sterile storage  ระยะเวลาที่ห่ออุปกรณ์จะยังคงสภาพปราศจากเชื้อขึ้นอยู่กับ ชนิดและความหนาของวัสดุที่ใช้ห่ออุปกรณ์ ซองใส่อุปกรณ์ที่ทำด้ยพลาสติกและปิดผนึกโดยใช้ความร้อน และของที่ด้านหนึ่งเป็นกระดาษด้านหนึ่งเป็นพลาสติก เป็นวัสดุท

                  การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบแก๊ส Ethylene Oxide (Eto)

                  แก๊ส EO ใช้ในการทำให้อุปกรณ์ ปราศจากเชื้อ  หรือเครื่องมือที่ทนความร้อนและความชื้นไม่ได้, EO เป็นสารเคมีที่สามารถทำลายเชื้อจุลชีพ และสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย คุณสมบัติของแก๊ส EO แก๊ส EO มีพิษ ไม่มีสี ที่ความเข้มข้นต่ำจะไม่มีกลิ่น แต่ที่ความเข้มข้นสูงกว่า 700 ppm. จะมีกลิ่นคล้ายอีเธอร์  หากมีความเข้มข้นสูงกว่า 3% อาจเกิดการระเบิดได้ EO สามารถทำลายเชื้อจุลชีพทุกชนิดรวมทั้งสปอร์ของเชื้อ Bacillus subtilis ซึ่งมีความคงทนมากกว่าเชื้ออื่นๆ ในการประเมินประสิทธิภาพการทำให้ปราศจากเชื้อด้วย EO จึงใช้เชื้อ B.subtilis เป็นตัวบ่งชี้ แก๊ส EO ไม่กัดกร่อนและไม่ทำให้พลาสติกหรือยางเสื่อมคุณภาพ แก๊สนี้สามารถแทรกซึมเข้าสู่ห่ออุปกรณ์และแพร่กระจายไปสัมผัสอุปกรณ์ได้รวดเร็ว EtO Sterilizer EtO Sterilizer EtO Sterilizer ระบบเครื่องอบแก๊ส EO เครื่องอบแก๊ส EO แบ่งออกตามลักษณะของแก๊ส EO ที่ใช้ได้เป็น 2 ระบบคือ

                  การห่ออุปกรณ์ เพื่อการทำให้ปราศจากเชื้อ

                  การเตรียมและการห่ออุปกรณ์เพื่อนำไปทำให้ปราศจากเชื้อโดยวิธีนึ่งด้วยไอน้ำ Preparation and Packaging การห่ออุปกรณ์ก่อนนำเข้าเครื่องนึ่งด้วยไอน้ำ  ช่วยป้องกันมิให้อุปกรณ์เกิดการปนเปื้อนเชื้อหลังจากที่อุปกรณ์ได้ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว ทั้งในขณะเก็บและนำส่งอุปกรณ์ไปยังหน่วยงานต่างๆ  การห่ออุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้มั่นว่าอุปกรณ์ที่อยู่ภายในห่อจะคงสภาพปราศจากเชื้อจนกว่าจะถูกนำออกจากห่อไปใช้งาน คุณสมบัติที่ดีของวัสดุที่ใช้ห่ออุปกรณ์เพื่อนำไปทำให้ปราศจากเชื้อแต่ละวิธี 1.เป็นวัสดุที่เหมาะสมกับวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อแต่ละวิธี 2.ทนความร้อน 3.สามารถป้องกันการซึมของน้ำและของเหลวได้ 4.สามารถทนต่อกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อได้ เช่น ทนต่ออุณหภูมิสูง ความชื้น ความดัน 5.ยอมให้สารที่ทำให้ปราศจากเชื้อ เช่น ไอน้ำ แก๊สผ่านเข้าออกได้สะดวก 6.ยอมให้อากาศผ่านออกได้ 7.มีความคงทนไม่ฉีกขาดหรือมีรูทะลุได้ง่าย เมื่อมีการฉีกขาด หรือมีรูเกิดขึ้น สามารถมองเห็นได้ชัดเจน 8.สามารถป้องกันมิให้อุปกรณ์ที่อยู่ภายในเสียหาย 9.ไม่มีสารพิษตกค้าง 10.ไม่มีเศษผงหรือเส้นใ

                  การทำความสะอาด Cleaning

                  การทำความสะอาด Cleaning การล้างทำความสะอาดเครื่องมือทางการแพทย์ การทำความสะอาด (Cleaning) หมายถึง การขจัดอินทรียสาร สิ่งสกปรก ฝุ่นละอองและสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ออกจากอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์และสิ่งแวดล้อม การล้างเป็นขั้นตอนแรกในกระบวนการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อในอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่จะต้องนำกลับมาใช้กับผู้ป่วยอีก การล้างอุปกรณ์ควรทำในบริเวณที่จัดไว้สำหรับล้างอุปกรณ์โดยเฉพาะ และผู้ปฏิบัติจะต้องสวมเครื่องป้องกัน ได้แก่ ถุงมือยางอย่างหนา แว่นตา ผ้าปิดปากและจมูก ผ้ากันเปื้อนพลาสติก รวมทั้งรองเท้าบู๊ท อุปกรณ์ทุกชิ้นที่จะนำไปล้างทำความสะอาด ควรได้รับการตรวจสอบความสึกหรอหรือชำรุด ขณะล้างควรแยกชิ้นของอุปกรณ์ต่างๆ ออกจากกัน เพื่อให้ผิวของอุปกรณ์สัมผัสน้ำที่ผสมสารขัดล้างอย่างทั่วถึง สำหรับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กและมีรอยแยก ควรล้างด้วยเครื่องอุลตร้าโซนิค การล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์อาจทำได้โดยการล้างด้วยมือ (manual washing) หรือล้างด้วยเครื่องล้าง (automatic washers) หลังจากเสร็จสิ้นการล้างทำความสะอาดด้วยสบู่หรือสารขัดล้างแล้ว ควรล้างอุปกรณ์ด้วยน้ำ

                  Toplist

                  โพสต์ล่าสุด

                  แท็ก