ไปฟิวเจอร์พาร์ครังสิต bts 2565

สถานีกลางบางซื่อ มีการจัดระบบการเดินรถ และจุดจอดรับ - ส่งผู้โดยสารอย่างชัดเจนเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารที่เดินทางด้วยรถสาธารณะและรถส่วนบุคคล รวมทั้งได้จัดพื้นที่จอดรถชั้นใต้ดินให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถจอดรถได้ถึง 1,700 คัน

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน เป็นวันที่รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ประกาศว่าจะเป็นการเปิดบริการอย่างเป็นทางการ หลังจากที่เปิดให้ใช้บริการฟรีมาตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมาครับ ในทางปฏิบัติแล้วสิ่งที่แตกต่างจากการเปิดทดลองในช่วงก่อนหน้า ก็คือ “ช่วงเวลาการบริการที่มากขึ้น เริ่มตั้งแต่ตีห้าครึ่งจนถึงเที่ยงคืน” “ความถี่รถไฟที่มากขึ้น = เวลารอรถไฟน้อยลง” และที่สำคัญคือ “การเริ่มเก็บเงินค่าโดยสารตามราคาจริง 12-42 บาท” นั่นเองครับ

ดังนั้นในเมื่อ LivingPop เคยทำ “คู่มือการใช้บริการ” ของรถไฟฟ้าสายสีแดงเอาไว้แล้วตอนช่วงเปิดทดลอง ก็แน่นอนว่าเราจะต้องขอมา UPDATE ข้อมูลให้สดใหม่ตามตารางรถไฟล่าสุดกันหน่อย และรอบนี้เราได้เพิ่มเติมข้อมูลเรื่องราคาค่าโดยสารเข้าไปด้วย บอกเลยว่าดูง่ายเข้าใจง่ายแน่นอนฮะ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ PDF เลือกสถานีที่ใช้บริการบ่อย แล้วสั่ง Print ออกมาแปะฝาบ้านได้เลย ชัดกริ๊บแน่นอน

LivingPop

รู้จักกับรถไฟฟ้าสายสีแดง

🚂 มี 2 สาย คือสายสีแดงเข้ม และสายสีแดงอ่อน

การให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีแดง จะแบ่งออกเป็น 2 สาย คือ

  • สายสีแดงเข้ม – จากสถานีกลางบางซื่อ ถึงสถานีรังสิต
  • สายสีแดงอ่อน – จากสถานีกลางบางซื่อ ถึงสถานีตลิ่งชัน

โดยจะมีสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีที่ใช้ร่วมกัน สามารถซื้อตั๋วและเปลี่ยนขบวนข้ามสายได้โดยไม่ต้องออกจากระบบครับ (คล้ายๆ BTS สายสีขุมวิทกับสีลม / MRT ม่วงกับน้ำเงิน)

🚇 การเชื่อมต่อระหว่างสายสีแดงกับ MRT สายสีน้ำเงินที่สถานีกลางบางซื่อ

สถานีกลางบางซื่อ เชื่อมต่อกับ MRT สายสีน้ำเงิน สถานีบางซื่อ แบบเดินใกล้นิดเดียว!!

สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างสายสีแดงและสายสีน้ำเงิน หลายคนอาจจะคิดว่าเดินไกล จริงๆ คือสถานี MRT ก็อยู่ใต้สถานีกลางบางซื่อนั่นแหละครับ พอเราแตะบัตรออกจากระบบของสายสีแดงปุ๊บ ก็จะเจอกับบันไดเลื่อน/ลิฟต์ เพื่อลงไปชั้นใต้ดินที่เป็นทางเชื่อมได้เลย เดินประมาณ 100 เมตรก็ถึงแล้วฮะเอาจริงๆ เดินใกล้กว่าการออกจากสถานี MRT บางซื่อแล้วเดินไปทางออกฝั่ง SCG เยอะเลยนะ

🕑 วิ่งด้วยความเร็วสูงกว่า BTS/MRT เข้าออกนอกเมืองใช้เวลาน้อยลง

ด้วยความที่เป็นระบบรถไฟชานเมือง ซึ่งจะมีสถานีไม่เยอะ และใช้ความเร็วสูงกว่ารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเมืองอย่าง BTS หรือ MRT ทำให้เราสามารถเดินทางเข้าออกย่านชานเมืองได้เร็วขึ้นครับ จากภาพเราได้ใส่ระยะเวลาการเดินทางจากสถานีกลางบางซื่อไปยังสถานีรายทางต่างๆ จะเห็นได้เลยว่าใช้เวลาน้อยจริงๆ

  • ใครที่อยู่หลักสี่ สามารถเข้าเมืองมาต่อ MRT ได้ด้วยเวลาแค่ 12 นาที
  • ใครที่อยู่บางบำหรุ สามารถเข้าเมืองมาต่อ MRT ได้ด้วยเวลาแค่ 10 นาที
  • ใครจะไปสนามบินดอนเมือง ก็แค่นั่ง MRT มาบางซื่อ แล้วต่อสายสีแดงแค่ 16 นาที!

⚠️ ข้อควรระวังและการเตรียมตัว

แน่นอนครับว่าข้อเสียก็มีเหมือนกัน ด้วยความที่เป็นรถไฟชานเมือง (อีกแล้ว) ทำให้ความถี่ของขบวนรถไฟไม่ได้เยอะเท่ารถไฟฟ้าในเมือง โดยในสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) รถจะออกทุก 12-20 นาที และสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) จะออกทุก 20-30 นาที ใครที่จะมาใช้บริการจะต้องวางแผนการเดินทางให้ดีในระดับนึง

นี่ยังไม่รวมถึง “การเข้าถึงสถานี” ที่อาจจะไม่ได้สะดวกสบายเหมือน BTS/MRT ครับ เพราะสถานีทั้งหมดอยู่ในเขตทางรถไฟเดิมของ รฟท. ทำให้การเข้าออกหลักๆ จะอยู่บนถนนเลียบทางรถไฟ จะมีบางสถานีที่อยู่เลียบกับถนนวิภาวดีรังสิต ที่จะมีทางข้ามไปลงฝั่งถนนวิภาวดีมาให้ ซึ่งบอกเลยว่า “เดินไกลทุกสถานี” และต้องดูแผนที่ทางเข้าออกให้ดี เพราะไม่ได้มีบันไดเลื่อน-ลิฟต์ ทุกทางเข้าออกนะครับ ⛔️

เรียกว่าใครที่เดินช้า ก็เผื่อเวลาเดินเข้าสถานีไปเลย 15 นาทีจ้า

💰 ค่าโดยสารแพงไหม?

ค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีแดงจะอยู่ที่ 12-42 บาท โดยคิดค่าโดยสารตามระยะทางครับ สถานีที่มีระยะห่างกันเยอะค่าโดยสารก็จะแพงกว่าสถานีที่อยู่ติดๆ กันนะ ด้านล่างนี้จะเป็นตัวอย่างค่าโดยสารจากสถานีกลางบางซื่อครับ

สถานีแต่ละสถานี อยู่ตรงไหนบ้าง?

หลังจากดูภาพรวมกันมาแล้ว เราขอพาไปรู้จักกับทั้ง 13 สถานีกันต่อครับ ^^ ไปดูกันเลยยย

สถานีกลางบางซื่อ

สถานีจตุจักร

สถานีวัดเสมียนนารี

สถานีบางเขน

ในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีน้ำตาล

สถานีทุ่งสองห้อง

สถานีหลักสี่

ในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู (ใช้ทางออกที่ 7)

สถานีการเคหะ

สถานีดอนเมือง

เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมือง (ใช้ทางออกทิศเหนือข้ามถนนวิภาวดีรังสิต) และในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือ-อีสาน และรถไฟฟ้าเชื่อม 3 ท่าอากาศยาน

สถานีหลักหก (ม.รังสิต)

สถานีหลักหกอยู่ลึกจากพหลโยธินและอยู่ไกลจากมหาวิทยาลัยรังสิตแค่ไหน?

จากภาพที่เราทำมาให้ดูเพิ่มเติม จะเห็นว่าอยู่ห่างจากปากทางพหลโยธินประมาณ 1.5 กิโลเมตร ซึ่งใครที่จะออกไปปากซอย จะต้องใช้ทางออกที่ 5 เพื่อเชื่อมกับสะพานเอกทักษิณ ไปลงที่เชิงสะพานแล้วเรียกรถสองแถวหรือวินมอเตอร์ไซค์ครับ (ถ้าเรียกจากถนนหน้าสถานีจะอ้อมค่อนข้างไกล) ส่วนใครที่จะไป ม.รังสิตก็ห่างประมาณ 2 กิโลเมตรครับ

สถานีรังสิต

สถานีรังสิตอยู่ห่างจากฟิวเจอร์พาร์ครังสิตแค่ไหน?

จากภาพที่เราทำมาให้ดูเพิ่มเติม จะเห็นว่าอยู่ห่างออกไปประมาณ 2 กิโลเมตรครับ จากสถานีสามารถนั่งรถเมล์สาย 522 เสริม หรือรถสองแถวไปลงฝั่งตรงข้ามฟิวเจอร์ได้นะ ส่วนขากลับอาจจะต้องเดินไกลหน่อย เพราะป้ายรถเมล์อยู่ฝั่งหน้าตลาดรังสิตเลยครับ

สถานีบางซ่อน

สถานีบางบำหรุ

สถานีตลิ่งชัน

สถานีตลิ่งชัน อยู่ลึกจากถนนสายหลักๆ แค่ไหน?

จากภาพด้านล่าง จะเห็นว่าทางเข้าหลักของสถานีจะสามารถเชื่อมกับถนนบรมราชชนนีได้ผ่านทางถนนฉิมพลีครับ ซึ่งเป็นถนนแนวเฉียงระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ใครที่เดินก็จะอ้อมไกลหน่อยครับ ส่วนจากราชพฤกษ์จะขับรถเข้ามาไม่ไกลมาก และมีสะพานกลับรถอยู่หัวท้ายสถานี สามารถให้คนวนรถมารับได้ แต่ถ้าจะเดินทางออกไปเองก็จะไม่ค่อยสะดวกครับ

รู้หรือไม่?

เพื่อนๆ สามารถตรวจสอบเส้นทางรถเมล์ ดูว่าป้ายรถเมล์นี้มีสายไหนผ่าน ไปไหนได้บ้าง รวมถึงดูตำแหน่งรถเมล์ที่กำลังจะมาถึงแบบ Realtime ได้ที่แอปพลิเคชัน ViaBus สามารถอ่านรีวิวและดาวน์โหลดได้ที่นี่เลยฮะ

ตารางเวลารถไฟแบบละเอียดจากบริษัท SRTET

เชื่อมต่อสายสีแดงสู่สถานีศาลายา-โรงพยาบาลศิริราช ด้วยรถไฟดีเซลราง รฟท.

😊ล่าสุดการรถไฟฯ เปิดเดินรถไฟดีเซลรางขบวนใหม่รวดเดียว 10 รอบ ตั้งแต่เช้ามืดยันหัวค่ำไปเลย โดยเป็นขบวน Feeder เชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ทำให้เราเดินทางต่อจากสายสีแดงไปศาลายา-นครปฐมง่ายขึ้น ด้วยรถไฟ Feeder “ธนบุรี-นครปฐม” เชื่อมต่อสายสีแดงอ่อนตลิ่งชัน และ MRT สายสีน้ำเงินที่บางขุนนนท์ เริ่ม 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไปครับ

🥵 ทั้งนี้รถไฟที่จะนำมาให้บริการ จะเป็นรถพัดลม เปิดรับลมธรรมชาตินะฮะ ☀️

โดยขบวนรถไฟจะวิ่งจากสถานีต้นทาง “ธนบุรี” (อยู่แถวๆ บางกอกน้อย เข้าถึงยาก ไม่ต้องสนใจตรงนี้ก็ได้ฮะ) ผ่านป้ายหยุดรถไฟจรัลสนิทวงศ์ ตรงนี้จะเชื่อมต่อกับ MRT สายสีน้ำเงิน #สถานีบางขุนนนท์ ได้ครับ (ใช้ทางออกที่ 2) จากนั้นเมื่อออกจากป้ายหยุดรถไฟจรัลสนิทวงศ์ ก็จะไปจอดที่ #สถานีตลิ่งชัน ซึ่งเป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน สามารถนั่งมาจากรังสิต-บางซื่อ มาลงสถานีนี้แล้วขึ้นรถไฟดีเซลรางไปนครปฐมได้เลยฮะ

โดยจะใช้ระยะเวลาเดินทางจากตลิ่งชันไปนครปฐมประมาณ 1 ชั่วโมง หรือถ้าจะลงแค่ศาลายาก็ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีครับ // ถ้าขึ้นจากป้ายจรัลสนิทวงศ์ (MRT บางขุนนนท์) ก็บวกเพิ่มไปอีก 7 นาทีนะ 😜

สำหรับค่าโดยสารจะมี 2 ระดับราคาครับ ใกล้หน่อยก็ 20 บาท ถ้าไกลหน่อยก็ 40 บาท ทาง รฟท. มีตารางราคาแนบมาให้ด้วย

นอกจากนี้ การรถไฟฯ ได้กำหนดอัตราค่าโดยสารพิเศษสำหรับคนที่ขึ้น-ลงที่สถานีตลิ่งชันเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง ลดราคาค่าตั๋วโดยสารจากอัตราค่าโดยสารปกติ 50% ด้วยครับ

📌 เดินทางจากสถานีนครปฐม-ตลิ่งชัน ปกติ 40 บาท ลดเหลือ 20 บาท
📌 เดินทางจากสถานีธนบุรี-ตลิ่งชัน ปกติ 20 บาท ลดเหลือ 10 บาท

การรถไฟฯ ไม่ได้บอกรายละเอียดมาว่าถ้าจะใช้โปรลด 50% แบบนี้จะต้องทำอย่างไรบ้าง ยังไงลองถามเคาน์เตอร์ขายตั๋วที่สถานีตลิ่งชันเพิ่มเติมดูนะครับ 😅

นอกจากนี้สำหรับขบวนรถไฟธรรมดาสายใต้ที่วิ่งอยู่เดิม ก็มีปรับตารางเวลาด้วยนิดหน่อยเพื่อให้เข้ากับตารางรถ Feeder ของใหม่ รายละเอียดตามตารางที่แนบมาด้านล่างนี้ครับ

มีใครรอใช้บริการรถไฟฟ้าสายนี้กันอยู่บ้าง ลองบอกเราหน่อยฮะว่าเดินทางจากแถวไหน ปกติเดินทางเข้าเมืองกันยังไง และใช้เวลากี่นาที และถ้าเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงจะสะดวกและเร็วขึ้นหรือเปล่าฮะ? 😛 เข้าไปพูดคุยกันในเพจ LivingPop ได้เลยครับ ^^

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก