ภาษีเครื่องดื่ม สรรพสามิต 2565

กรมสรรพสามิตครบรอบ 90 ปี มุ่งมั่นเป็นผู้นำในการจัดเก็บภาษีเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อมและพลังงาน

นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต เป็นประธานจัดงานวันสถาปนากรมสรรพสามิต ครบรอบปีที่ 90 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ณ อาคารสโมสรข้าราชการกรมสรรพสามิต (ชั่วคราว) โดยมีคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมในงานดังกล่าว

อธิบดีกรมสรรพสามิตกล่าวว่า กรมสรรพสามิตได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2474 ซึ่งตลอดระยะเวลา 90 ปีที่ผ่านมา กรมสรรพสามิตได้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศโดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีเสถียรภาพ ทันสมัย รองรับการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ สำหรับผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ต.ค. 2564 – ม.ค. 2565) กรมสรรพสามิตสามารถจัดเก็บรายได้ จำนวนทั้งสิ้น 186,553.40 ล้านบาท ซึ่งรายได้ภาษีสรรพสามิตทุกประเภท โดยเฉพาะภาษีน้ำมัน รถยนต์ และเบียร์ มีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน

อธิบดีกรมสรรพสามิตกล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง กรมสรรพสามิตได้ชะลอการปรับปรุงโครงสร้างภาษีใหม่ แต่มุ่งเน้นออกมาตรการภาษีเพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนและผู้ประกอบอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น ได้แก่
1. มาตรการขยายระยะเวลาสำหรับสินค้าสุราสามทับที่นำไปทำการแปลงสภาพเพื่อเพิ่มปริมาณเจลแอลกอฮอล์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือในราคาที่เหมาะสมและมีปริมาณเพียงพอ
2. มาตรการขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีสินค้าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่น เพื่อช่วยเหลือสายการบินภายในประเทศให้มีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น ลดการเลิกจ้างในอุตสาหกรรมการบินและสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวในประเทศ
3. มาตรการขยายระยะเวลาการขึ้นอัตราภาษีเครื่องดื่มตามปริมาณน้ำตาลระยะที่ 3 เพื่อเป็นการเยียวยา ฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและชะลอการปรับราคาสินค้าต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อย
4. มาตรการอนุมัติฉลากสินค้าสุราผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประสงค์จะนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักรในการยื่นคำขอใช้ฉลากปิดภาชนะบรรจุสุราที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรและเพื่อให้การอนุมัติฉลากเป็นไปด้วยความรวดเร็วสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
5. มาตรการภาษีสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน ประเภทน้ำมันชีวภาพสังเคราะห์ (Renewable Diesel : RD) เพื่อช่วยเหลือรายได้เกษตรกร นำผลผลิตทางการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนมากขึ้น
6. มาตรการปรับโครงสร้างภาษียาสูบ เพื่อบรรเทาผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยาสูบและเกษตรกรผู้เพาะปลูกยาสูบโดยให้มีระยะเวลาในการปรับตัวเพื่อรองรับกับโครงสร้างภาษีบุหรี่ซิกาแรตตามมูลค่าแบบอัตราเดียวในอนาคต
7. มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการขอใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่สำหรับผู้ประกอบการรายเดิม ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง วัน 31 ธันวาคม 2565 ซึ่งได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ไม่อาจประกอบกิจการได้ตามปกติอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

อธิบดีกรมสรรพสามิตกล่าวทิ้งท้ายว่า กรมสรรพสามิตยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการจัดเก็บภาษีเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อมและพลังงาน โดยจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิต เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางการคลังอย่างยั่งยืน อาทิ การพัฒนาระบบ Direct Coding และ E-stamp ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีสินค้าสุรา เบียร์ และยาสูบ รวมถึงการนำระบบ e – Lock เพื่อควบคุมและตรวจสอบการส่งออกน้ำมัน มาตรการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและส่งเสริมการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนภายในประเทศ เป็นต้น ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูเยียวยาภาคประชาชนและภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกจากนี้ จะดำเนินการยกระดับการให้บริการที่ทันสมัย สะดวก และรวดเร็ว มุ่งพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรต้นแบบโดยยึดหลักธรรมาภิบาล สร้างความน่าเชื่อถือให้กับประชาชน ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน

ฝ่ายประชาสัมพันธ์  สำนักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต   
โทร/โทรสาร 0 2241 4778

การคำนวณภาษีสินค้าสรรพสามิต

การคำนวณภาษีสินค้าสรรพสามิต ในกรณีสินค้าทั่วไป (ยกเว้นสินค้าในหมวด สุรา ยาสูบ และเครื่องดื่ม) เมื่อกำหนดพิกัดสรรพสามิตและบันทึกข้อมูลตามปกติ โปรแกรมจะคำนวณภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยให้โดยอัตโนมัติ

กรณีเป็นสินค้าในหมวด สุรา ยาสูบ และเครื่องดื่ม เมื่อผู้ใช้งานกำหนดพิกัดสรรพสามิตถูกต้อง ต้องเข้าไปบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติม ตามรายละเอียดของแต่ละหมวดสินค้ามีรายละเอียดดังนี้

สุรา

ยาสูบ

เครื่องดื่ม

เครื่องดื่มชนิดผง เกล็ด

  1. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต สำหรับสินค้าเครื่องดื่มชนิดผง เกล็ด หรือเครื่องดื่มเข้มข้น ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดประเภทสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 คือ
    16.90(1) ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องดื่มที่มีลักษณะผง เกล็ด หรือเครื่องดื่มเข้มข้นที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและสามารถละลายน้ำได้ แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์นมที่อยู่ในรูปแบบผงตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร

  2. ในช่อง “ปริมาณตามข้อแนะนำ” ให้ใส่ข้อมูล “ปริมาตรหรือน้ำหนักของผงหรือเกล็ดเครื่องดื่มที่ใช้ในการชงแต่ละครั้งตามข้อแนะนำ” ที่ระบุไว้ข้างภาชนะบรรจุภัณฑ์
  3. ในกรณีที่เครื่องดื่มผงหรือเกล็ดบรรจุอยู่ในซองแบบชงเครื่องดื่มหนึ่งแก้วต่อหนึ่งซอง น้ำหนัก (ปริมาณ) ผงหรือเกล็ดตามข้อแนะนำ เท่ากับ น้ำหนักสุทธิ เช่น 1 ซอง (17.5 กรัม)
  4. ในช่อง “ปริมาตรหลังผสม” ให้ใส่ข้อมูล “ปริมาตรของน้ำหรือของเหลวที่ใช้ผสมกับเครื่องดื่มผงหรือเกล็ดตามคำแนะนำหรือวิธีการชง” ที่ระบุไว้ที่ข้างภาชนะบรรจุภัณฑ์ เช่น 130 มล./แก้ว
  5. ในช่อง “น้ำหนัก/ภาชนะ(กรัม)” ให้ใส่ข้อมูล “น้ำหนัก (ปริมาณ) ของผงหรือเกล็ดเครื่องดื่มสุทธิต่อภาชนะ” ที่ระบุไว้ที่ภาชนะบรรจุภัณฑ์
  6. ในช่อง “จำนวนภาชนะ” ให้ใส่ข้อมูล “จำนวนภาชนะทั้งหมด”
  7. หากข้างขวดหรือที่ฉลากไม่ได้แจ้งข้อมูลใด ๆ ก็ตามข้างต้น ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมเป็นผู้แจ้งสำแดงข้อมูลของตนเองให้ครบถ้วน เพื่อประกอบการพิจารณาคำนวณภาษีสรรพสามิต
  8. ภาษีสรรพสามิตต่อภาชนะบรรจุดังกล่าวที่ตารางคำนวณออกมาได้นั้น เป็นภาษีสรรพสามิตแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังไม่ได้รวมภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อราชการส่วนท้องถิ่น
  9. หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณดังกล่าวข้างต้นเป็นไปตามหนังสือสำนักแผนภาษี ด่วนที่สุดที่ กค 0619/1288 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560

เครื่องดื่มเข้มข้น

  1. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต สำหรับสินค้าเครื่องดื่มชนิดผง เกล็ด หรือเครื่องดื่มเข้มข้น ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดประเภทสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 คือ
    16.90(1) ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องดื่มที่มีลักษณะผง เกล็ด หรือเครื่องดื่มเข้มข้นที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและสามารถละลายน้ำได้ แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์นมที่อยู่ในรูปแบบผงตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร

  2. ในช่อง “ปริมาณตามข้อแนะนำ” ให้ใส่ข้อมูล “ปริมาตรหรือน้ำหนักของผงหรือเกล็ดเครื่องดื่มที่ใช้ในการชงแต่ละครั้งตามข้อแนะนำ” ที่ระบุไว้ข้างภาชนะบรรจุภัณฑ์
  3. ในกรณีที่เครื่องดื่มผงหรือเกล็ดบรรจุอยู่ในซองแบบชงเครื่องดื่มหนึ่งแก้วต่อหนึ่งซอง น้ำหนัก (ปริมาณ) ผงหรือเกล็ดตามข้อแนะนำ เท่ากับ น้ำหนักสุทธิ เช่น 1 ซอง (17.5 กรัม)
  4. ในช่อง “ปริมาตรหลังผสม” ให้ใส่ข้อมูล “ปริมาตรของน้ำหรือของเหลวที่ใช้ผสมกับเครื่องดื่มผงหรือเกล็ดตามคำแนะนำหรือวิธีการชง” ที่ระบุไว้ที่ข้างภาชนะบรรจุภัณฑ์ เช่น 130 มล./แก้ว
  5. ในช่อง “น้ำหนัก/ภาชนะ(กรัม)” ให้ใส่ข้อมูล “น้ำหนัก (ปริมาณ) ของผงหรือเกล็ดเครื่องดื่มสุทธิต่อภาชนะ” ที่ระบุไว้ที่ภาชนะบรรจุภัณฑ์
  6. ในช่อง “จำนวนภาชนะ” ให้ใส่ข้อมูล “จำนวนภาชนะทั้งหมด”
  7. หากข้างขวดหรือที่ฉลากไม่ได้แจ้งข้อมูลใด ๆ ก็ตามข้างต้น ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมเป็นผู้แจ้งสำแดงข้อมูลของตนเองให้ครบถ้วน เพื่อประกอบการพิจารณาคำนวณภาษีสรรพสามิต
  8. ภาษีสรรพสามิตต่อภาชนะบรรจุดังกล่าวที่ตารางคำนวณออกมาได้นั้น เป็นภาษีสรรพสามิตแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังไม่ได้รวมภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อราชการส่วนท้องถิ่น
  9. หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณดังกล่าวข้างต้นเป็นไปตามหนังสือสำนักแผนภาษี ด่วนที่สุดที่ กค 0619/1288 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560

รถยนต์ รถจักรยานยนต์ แบตเตอรี่

การคำนวณภาษีรถยนต์ รถจักรยานยนต์ แบตเตอรี่ และผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง เครื่องใช้ไฟฟ้า (โคมระย้า) แก้วและเครื่องแก้ว พรมและสื่งทอปูพื้นอื่น ๆ

น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน

การคำนวณภาษีสินค้าที่จัดเก็บภาษีตามปริมาณเพียงอย่างเดียว ได้แก่ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันทุกพิกัด และไพ่

การระบุ EXEMPT

การระบุ EXEMPT กรณีของที่นำเข้าคลังทัณฑ์บน เขตปลอดอากร เขตประกอบการเสรี และของที่ได้รับยกเว้นอากรตามภาค 4 รวมทั้งของที่โอนย้ายระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บน เขตปลอดอากร เขตประกอบการเสรี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก