การ เสริม สร้าง และการ ดำรงประสิทธิภาพการ ทำงาน ของระบบ สืบพันธุ์

เรื่องที่ 4 การทํางานของระบบสืบพันธุ์

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย

          กระบวนการผลิตตัวอสุจิ และน้ำอสุจิจะเริ่มจากในลูกอัณฑะ (Testis) มีหลอดเล็กๆ มากมาย เรียกว่า ท่อสร้างเชื้ออสุจิ (Seminiferous Tubules) ทำหน้าที่ผลิตตัวอสุจิแล้วเก็บไว้ชั่วคราวที่หลอดเก็บตัวอสุจิ (Epididymis) ซึ่งอยู่ด้านหลังของลูกอัณฑะ ท่อนำตัวอสุจิ (Vas Deferens) เป็นท่อต่อจากลูกอัณฑะไปยังถุงเก็บน้ำอสุจิ (Seminal Vesicle) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตและเก็บน้ำอสุจิ ตัวอสุจิจะเคลื่อนมาตามท่อนำอสุจิมาพักอยู่ในถุงเก็บน้ำอสุจิรวมกับน้ำอสุจิ ทำให้ตัวอสุจิแหวกว่ายได้สะดวกขึ้น เมื่อผู้ชายถึงจุดสุดยอดก็จะหลั่งน้ำอสุจิออกมาทางท่อปัสสาวะซึ่งเชื่อมต่ออยู่กับถุงเก็บน้ำอสุจิและกระเพาะปัสสาวะ การหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งจะมีประมาณ 3-5 ซีซี มีตัวอสุจอออกมาประมาณ 300-500 ล้านตัว

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

          กระบวนการผลิตเซลล์ไข่และการเดินทางของเซลล์ไข่จะเริ่มจากเมื่อเซลล์ไข่สุก ก็จะเคลื่อนที่มาตามท่อนำไข่หรือปีกมดลูก (Uterine Tube) การที่เซลล์ไข่หลุดออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่นี้ เรียกว่า การตกไข่ (Ovulation) ถ้าเซลล์ไข่ได้รับการผสมพันธุ์ คือมีตัวอสุจิเข้าผสม เรียกว่า เซลล์ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้ว (Fertilized Ovum) การที่ตัวอสุจิผสมกับเซลล์ไข่นี้จะทำโดยตัวอสุจิตัวหนึ่งเอาส่วนหัวเจาะเข้าไปในการที่ตัวอสุจิผสมกับเซลล์ไข่นี้จะทำโดยตัวอสุจิตัวหนึ่งเอาส่วนหัวเจาะเข้าไปในเซลล์ไข่ ส่วนหางของตัวอสุจิจะหลุดออก เยื่อหุ้มเซลล์ไข่จะแข็งขึ้น จึงทำให้ตัวอสุจิตัวอื่นๆ เจาะเข้าไปไม่ได้อีกแล้ว กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า การปฏิสนธิ (Fertilization) เซลล์ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้ว ก็จะเคลื่อนที่มาอยู่ที่มดลูก (Uterus) มีการแบ่งเซลล์จนกระทั่งเจริญเติบโตเป็นทารกในครรภ์ ถ้าเซลล์ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ไข่จะฝ่อ ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (Progesterone) จะลดลง เป็นผลให้เยื่อบุที่ผนังมดลูกซึ่งสร้างมาเพื่อรอรับการฝังตัวของเซลล์ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วเกิดการสลายตัว มีเลือดผสมกับผนังมดลูกที่หลุดออกมามีลักษณะเป็นสีคล้ำ เรียกว่า ประจำเดือน หรือเมนส์ (Menstruation) หรือระดู โดยปกติประจำเดือนจะมาเดือนละ 1 ครั้ง (ช่วงห่างครั้งละ 28 วัน) แต่บางคนอาจคลาดเคลื่อนไปบ้าง (ประมาณ 4-5 วัน) แต่ถ้ามีการตั้งครรภ์จะไม่มีประจำเดือน เพราะไข่ฝังตัวในมดลูกแล้ว ในช่วงตั้งครรภ์เซลล์ไข่จะไม่ตกและจะเริ่มตกใหม่หลังจากคลอดบุตรแล้ว ผู้หญิงอายุประมาณ 46-50 ปี จะเริ่มหมดประจำเดือน เรียกว่า วัยหมดประจำเดือน (Menopause) ซึ่งผู้หญิงในวัยนี้ไม่สามารถมีบุตรได้

          เมื่อผู้ชายและผู้หญิงมีการร่วมเพศกัน ตัวอสุจิของผู้ชายจะออกมากับน้ำอสุจิ ถ้าผู้หญิงอยู่ในช่วงที่เซลล์ไข่ตกมาอยู่ที่ท่อนำไข่ ตัวอสุจิก็จะเคลื่อนที่เข้าทางช่องคลอด (Vagina) ไปผสมกับเซลล์ไข่ ก็จะทำให้เกิดการตั้งครรภ์ แต่ถ้าเป็นช่วงที่เซลล์ไข่ยังไม่ตกก็จะไม่เกิดการตั้งครรภ์

ประจำเดือน (Menstruation) 
           คือเนื้อเยื่อผนังมดลูกด้านในและหลอดเลือดที่สลายตัวไหลออกมาทางช่องคลอด ประจำเดือนจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ไม่ได้รับการผสมกับอสุจิเพศหญิงจะมีประจำเดือนตั้งแต่อายุประมาณ 12 ปีขึ้นไป ซึ่งจะมีรอบของการมีประจำเดือนทุก 21-35 วัน เฉลี่ยประมาณ 28 วัน จนอายุประมาณ 50 ปี จึงจะหมดประจำเดือน

ผู้หญิงจะมีช่วงระยะเวลาการมีประจำเดือนประมาณ 3-6 วัน ซึ่งจะเสียเลือดทางประจำเดือนแต่ละเดือนประมาณ 60-90 ลูกบาศก์เซนติเมตร ดังนั้นผู้หญิงจึงควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กและโปรตีน เพื่อสร้างเลือดชดเชยส่วนที่เสียไปการที่ผู้หญิงบางคนมีประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจเนื่องมาจากอารมณ์และความวิตกกังวลทำให้การหลั่งฮอร์โมนของสมองผิดปกติ ซึ่งจะมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้ไข่สุก คือ ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) และฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) เซลล์ไข่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์อสุจิประมาณ 50,000-90,000 เท่า ขนาดของเซลล์ไข่ประมาณ    0.2 มิลลิเมตร เราสามารถมองเห็นเซลล์ไข่ได้ด้วยตาเปล่า
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบสืบพันธุ์

ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ที่สำคัญคือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีสาเหตุใหญ่ๆมาจากเชื่อแบคทีเรียและไวรัส กลุ่มโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ได้แก่ โกโนเรีย (Gonorrhea) และซิฟิลิส (Syphilis) ส่วนกลุ่มที่เกิดจากไวรัส ได้แก่ เอดส์ (AID: acquired immunodeficiency syndromes) และเริม (Herpes Simplex Type II) โกโนเรีย (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดแรกๆ ที่พบ เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อาศัยอยู่ในน้ำคัดหลั่งและน้ำหล่อเลี้ยง ทั้งในช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และทวารหนัก ผู้หญิงจะติดเชื้อนี้ได้ง่ายกว่าผู้ชาย 80% ของผู้หญิงที่ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่เมื่อเป็นมากตกขาวจะมีกลิ่นเหม็น และปัสสาวะขัด ทำให้การรักษาลำบากมาก ผู้ชายที่ติดเชื้อนี้จะแสดงอาการภายใน 2-10 วัน โดยมักมีของเหลวสีเหลืองข้น กลิ่นเหม็นขับออกมาจากท่อปัสสาวะซึ่งเป็นที่มาของชื่อโรค หนองใน” มีอาการปัสสาวะขัดและแสบ เอดส์ เกิดจากเชื้อไวรัส HIV (Human Immunodeficiency Virus) เชื้อไวรัสชนิดนี้จะอาศัยเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน (T-Iymphocyte) เป็นสถานที่ขยายพันธุ์และเพิ่มจำนวน ผลที่เกิดขึ้นก็คือระบบภูมิคุ้มถูกทำลาย และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic infection) ซึ่งได้แก่ โรคติดเชื้อธรรมดาที่ปกติไม่ได้มีพิษอะไรนัก เช่น ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม วัณโรค และที่เกิดมากที่สุด คือ การเป็นมะเร็งผิวหนัง เริม เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes Simples Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งมีอาการพุพอง แต่เกิดได้ทั้งที่อวัยวะสืบพันธุ์และในปาก มีการขยายตัวแพร่กระจายไปได้หลายแห่ง อาการปวดแสบนี้รุนแรงกว่าแผลในปากมาก และจะไม่หายขาด

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบสืบพันธุ์

1. ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายให้ดี การอาบน้ำควรทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยการฟอกสบู่ หลังอาบน้ำเสร็จก็ควรเช็คอวัยวะสืบพันธุ์ให้แห้ง

2. ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน

3. ควรใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะผู้หญิงควรคำนึงถึงเรื่องนี้ให้มาก

4. สวมเสื้อผ้าที่สะอาด โดยเฉพาะชุดชั้นใน เช่น เสื้อยกทรง และกางเกงชั้นในทั้งของผู้หญิงและผู้ชายควรอยู่ในสภาพที่สะอาดเสมอ ถ้าใช้แล้วไม่นำมาใช้อีกโดยไม่ทำความสะอาด

5. ไม่สำส่อนทางเพศ ควรซื่อสัตย์ต่อคู่สมรส และไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย

6. ควรใช้ถุงยางอนามัยในการร่วมเพศทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

7. ไม่ควรใช้ยา หรือสารต่าง ๆ เพื่อการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ

8. ผู้หญิงไม่ควรผ่าตัดเพื่อเสริมเต้านมหรือฉีดสิ่งแปลกปลอมเข้าไป เพราะอาจได้รับอันตรายได้

9. ผู้ชายไม่ควรฉีดยาหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปที่อวัยวะเพศเพื่อให้ใหญ่ขึ้น หรือฝังสิ่งแปลกปลอมที่หนังขององคชาตหรือที่เรียกว่า การฝังมุก เพราะจะเป็นอันตราย

10. ระวังอย่าให้บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ถูกกระทบกระแทก

11. ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง

12. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

13. ออกกำลังกายเป็นประจำ

14. ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป เพราะอาจทำให้ปริมาณของตัวอสุจิมีน้อยเกินไป ทำให้มีบุตรยาก

15. ถ้ามีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์หรือสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควรรีบปรึกษาแพทย์

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบสืบพันธุ์มีอะไรบ้าง

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบสืบพันธุ์ 1.การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาและดุแลสุขอนามัยทางเพศ 2.ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ 3.พบแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์

การดูแลรักษาและดำรงประสิทธิภาพระบบสืบพันธุ์ควรทำอย่างไร

10 วิธี ดูแลสุขภาพ “น้องชาย”.
1. ตรวจฮอร์โมน ... .
2. เลือกรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ... .
3. นอนหลับสนิทในช่วงเวลาที่เหมาะสม ... .
4. งดการดื่มแอลกอฮอล์และลดการสูบบุหรี่ ... .
5. ออกกำลังกาย ... .
6. อาหารเสริมและสมุนไพรบำรุงเพศ ... .
7. การกระตุ้นอวัยวะเพศหรือที่เรียกว่าการนวดบริหาร ... .
หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้อวัยวะเพศบาดเจ็บ.

ความสําคัญของระบบสืบพันธุ์คืออะไร

ระบบสืบพันธุ์ (อังกฤษ: reproductive system) เป็นระบบของอวัยวะในร่างกายสิ่งมีชีวิตซึ่งทำงานร่วมกันโดยมีจุดประสงค์เพื่อการสืบพันธุ์เพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้น ในระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยสารต่าง ๆ อาทิ ของเหลว ฮอร์โมน และฟีโรโมนหลายชนิดเพื่อช่วยเหลือในการทำงาน ระบบสืบพันธุ์เป็นระบบซึ่งแตกต่างจากระบบอวัยวะอื่น ๆ กล่าวคือ ...

จะทำอย่างไรให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ปกติ

1. ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายให้ดีโดยในการอาบน้ำควรทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยสบู่ หลังอาบน้ำควรเช็ดให้แห้ง 2. ไม่ควรกลั้นปัสสาวะนาน ๆ 3.ควรใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะผู้หญิง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก