ค่าไฟหน่วยละ 10 บาท คิด ยัง ไง

วิธี คำนวณค่าไฟฟ้า ด้วยตนเองสามารถทำได้อย่างไร

เนื่องจากในปัจจุบันเป็นยุคที่เศรษฐกิจไม่สู้ดีเท่าไรนัก ส่งผลให้ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายหลาย ๆ อย่างภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าน้ำมันรถ และค่าใช้จ่ายส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเราจึงควรทราบวิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายว่าที่ผ่านมานั้น ใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วย จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินเท่าไร และมีวิธีการในการ ลดค่าไฟ อย่างไร

ค่าไฟฟ้าสามารถคำนวณได้โดยวิธีง่าย  ๆ ดังนี้

ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่าอัตราค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นใช้ไฟมากน้อยเพียงใด โดยจะต้องสังเกตว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละเครื่องมีกำลังไฟฟ้าที่มีหน่วยเป็นวัตต์เท่าไร ยิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีจำนวนวัตต์มาก ก็หมายความว่าจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้นไปด้วย  ดังนั้นก่อนที่จะทำการคำนวนค่าใช้ไฟฟ้า จะต้องสำรวจว่าภายในที่อยู่อาศัยนั้นมีเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทไหนบ้า ง และเปิดใช้งานประมาณเดือนละกี่ชั่วโมง จากนั้นนำมาคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าด้วยสูตรดังต่อไปนี้

กำลังไฟฟ้า (วัตต์ ) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷  1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)

ยกตัวอย่างการ คำนวณค่าไฟฟ้า ของบ้านพัก A ซึ่งมีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 9 ชนิดดังนี้

·         หลอดไฟขนาด 50 วัตต์จำนวน 10 ดวงเปิดใช้งานวันละประมาณ 6 ชั่วโมง

วิธีคำนวณ

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) ของหลอดไฟ คือ 50 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 10 ดวง ÷ 1000 x 6 ชม. = 3 หน่วย/วัน (เดือนละ 90 หน่วย)

·         ไมโครเวฟขนาด 600 วัตต์จำนวนหนึ่งเครื่อง เปิดใช้งานวันละ 30 นาที

วิธีคำนวณ

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 600 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1000 x 0.5 ชม. = 0.3 หน่วย/วัน (เดือนละ 9 หน่วย)

·         ตู้เย็นขนาด 125 วัตต์หนึ่งตู้เปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีคำนวณ

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 125 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 ตู้ ÷ 1000 x 24 ชม. = 3 หน่วย/วัน (เดือนละ 90 หน่วย)

·         แอร์ขนาด 2000 วัตต์จำนวน 2 เครื่องเปิดใช้งานวันละ 6 ชั่วโมง

วิธีคำนวณ

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 2000 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 2 เครื่อง ÷ 1000 x 6 ชม. = 24 หน่วย/วัน (เดือนละ 720 หน่วย)

·         เตาอบ ขนาด 850 วัตต์จํานวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 30 นาที

วิธีคำนวณ

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 850 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1000 x 0.5 ชม. = 0.425 หน่วย/วัน (เดือนละ 12.75 หน่วย)

·         เครื่องชงกาแฟขนาดเล็ก 100 วัตต์ จํานวน 1 เครื่อง เปิด 1 ชั่วโมง  

วิธีคำนวณ

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 100 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1000 x 1 ชม. = 0.1 หน่วย/วัน (เดือนละ 3 หน่วย)

·         ทีวี ขนาด 300 วัตต์ จํานวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 5  ชั่วโมง

วิธีคำนวณ

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 300 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1000 x 5 ชม. = 1.5 หน่วย/วัน (เดือนละ 45 หน่วย)

สรุปได้ว่าบ้านพัก A จะใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 969.75 หน่วยต่อเดือน

วิธีการคำนวณค่าไฟฟ้า

บ้านพัก A นั้นใช้ค่าไฟฟ้าไปประมาณ 969.75 หน่วยต่อเดือน ดังนั้นจะสามารถคำนวณค่าไฟฟ้า ที่อ้างอิงจาก การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ดังนี้

·         35 หน่วยแรก เหมารวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 85.21 บาท

·         115 หน่วยต่อไป หน่วยละ 1.1236 บาท = 115 x 1.1236 บาท รวมทั้งสิ้น 129.21 บาท

·         250 หน่วยต่อไป หน่วยละ 2.1329 บาท = 250 x 2.1329 บาท รวมทั้งสิ้น 533.23 บาท

·         ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย หน่วยละ 2.4226บาท = (969.75 – 400) = 569.75 x 2.4226บาท) 1,380.28 บาท

รวมเป็นเงิน (85.21 + 129.21 + 533.23  + 1,380.28) = 2,127.93 บาท

ทั้งนี้รายละเอียดข้างต้นเป็นวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้าในเบื้องต้น ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าใช้จ่ายที่การไฟฟ้านครหลวงเรียกเก็บ นอกจากนี้ราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยนั้น อาจมีเปลี่ยนแปลงได้ หากต้องการทราบค่าไฟฟ้าที่แม่นยำ สามารถตรวจสอบค่าใช้ไฟฟ้าได้ที่ //www.pea.co.th/Portals/0/demand_response/Electricity%20Reconsider.pdf?ver=2018-10-01-155123-370

เครดิต การไฟฟ้านครหลวง , การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ค่าไฟอพาร์ทเม้นท์หน่วยละกี่บาท

การเก็บค่าน้ำค่าไฟโดยคิดเป็นหน่วยตามที่ใช้จริง แต่ค่าใช้บริการต่อหน่วยเป็นราคาที่ทางหอพักกำหนดเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการเก็บค่าไฟอยู่ที่หน่วยละ 5 – 8 บาท และค่าน้ำอยู่ที่หน่วยละ 20 – 25 บาท การเรียกเก็บค่าน้ำค่าไฟแบบเหมาจ่ายต่อเดือน ซึ่งส่วนใหญ่จะเฉลี่ยจากการใช้น้ำ ใช้ไฟ ของผู้ใช้งานต่อเดือน

การคิดค่าไฟฟ้าหน่วยละกี่บาท

4. การคิดค่าไฟฟ้าอัตราปกติแบบก้าวหน้าคืออะไร 15 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-15) หน่วยละ 2.3488 บาท 10 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 16-25) หน่วยละ 2.9882 บาท 10 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 26-35) หน่วยละ 3.2405 บาท 65 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 36-100) หน่วยละ 3.6237 บาท

ค่าไฟเขาคิดยังไง

( (กำลังไฟฟ้า (วัตต์ ) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า) ÷ 1000) x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต) ยกตัวอย่างการ คำนวณค่าไฟฟ้า

ค่าไฟ100หน่วย กี่บาท

7.1 อัตราปกติ
อัตรารายเดือน
ค่าพลังงานไฟฟ้า(บาท/หน่วย)
100 หน่วย ( กิโลวัตต์ชั่วโมง ) แรก (หน่วยที่ 1-100)
2.0889
เกินกว่า 100 หน่วย (หน่วยที่ 101 เป็นต้นไป)
3.2405
อัตราค่าไฟฟ้า : การไฟฟ้านครหลวง - iEnergyGuruienergyguru.com › iknow › ข้อมูลพลังงาน › mea-electricity-tariffnull

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก