กิน น้ํา เย็น ตอนเป็น ประจำเดือน ปวดท้อง

ผู้หญิงส่วนใหญ่ต่างเคยมีอาการปวดประจำเดือนและมักคิดว่าอาการปวดประจำเดือนเป็นเรื่องธรรมชาติโดยเฉพาะหากมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม อาการปวดประจำเดือนเล็กน้อยแต่ปวดมาเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกของโรคร้ายได้เช่นเดียวกับอาการปวดประจำเดือนที่รุนแรงจนส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดประจำเดือนนั้น

  • อาการปวดประจำเดือนคืออะไร
  • สาเหตุของการปวดประจำเดือน
  • ประเภทของอาการปวดประจำเดือน
  • การป้องกันและบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
  • เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
 

อาการปวดประจำเดือนคืออะไร

ผู้หญิงจำนวนมากมีอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน และระหว่างมีประจำเดือนในช่วงวันแรกๆ อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea) มีตั้งแต่อาการปวดหน่วงหรือปวดเกร็งเล็กน้อย ไปจนถึงอาการปวดขั้นรุนแรงบริเวณท้องน้อยและอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดหลังด้านล่าง คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก ท้องเสียหรือท้องผูก ท้องอืด เวียนศีรษะและปวดศีรษะ เป็นต้น

สาเหตุของการปวดประจำเดือน

โดยเฉลี่ยทุกๆ 28 วัน หากไข่ไม่มีอสุจิมาผสม เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน อาการปวดประจำเดือนเกิดจากสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน ชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน (prostaglandin) ซึ่งก่อตัวขึ้นที่เยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างมีประจำเดือน โพรสตาแกลนดินทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวและหดเกร็งคล้ายกับอาการเจ็บปวดขณะคลอดบุตร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย หากร่างกายหลั่งสารนี้ในปริมาณมากจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงของอาการบีบรัด ทำให้รู้สึกปวดประจำเดือนยิ่งขึ้น

ประเภทของอาการปวดประจำเดือน

อาการปวดประจำเดือนแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน

  • ปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) เป็นอาการปวดประจำเดือนที่พบบ่อยที่สุด สาเหตุมักเกิดจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสตาแกลนดินมากเกินไป
  • ปวดประจำเดือนประเภททุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) เกิดจากภาวะผิดปกติของมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ เช่น
    • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก ซึ่งเมื่อเจริญผิดที่แต่ยังทำหน้าที่สร้างประจำเดือนเหมือนเดิม ทำให้อาจมีเลือดประจำเดือนในอุ้งเชิงกรานบริเวณที่มีเยื่อบุโพรวมดลูกไปเกาะในแต่ละรอบเดือน ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงและอาจเป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก
    • เยื่อบุมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis)  ผู้ป่วยจะมีอาการปวดประจำเดือนอย่างมาก และ/หรือ เลือดประจำเดือนมากและยาวนานกว่าปกติ 
    • เนื้องอกมดลูก (uterine fibroids)  มักไม่ใช่เนื้อร้าย ขนาดมีตั้งแต่เล็กมากไปจนถึงขนาดใหญ่ หากมีขนาดใหญ่ มักทำให้มีเลือดประจำเดือนออกมามากหรือประจำเดือนกระปริบกระปรอยนานเป็นสัปดาห์ พร้อมกับอาการปวดประจำเดือนหรือปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง 
    • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease) เป็นการติดเชื้อบริเวณระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง ส่วนใหญ่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากไม่รักษาให้หายขาด ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน  และอาจเป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก
    • ภาวะปากมดลูกตีบ (Cervical stenosis) เกิดจากปากมดลูกแคบเกินไป ทำให้เลือดประจำเดือนไหลได้ช้าแต่หากรูปิดสนิท จะทำให้ของเหลวคั่งค้างภายในโพรงมดลูก ทำให้เกิดอาการปวดท้องมากและเรื้อรัง
 

การป้องกันและบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

หากมีอาการปวดประจำเดือน ผู้ป่วยสามารถดูแลรักษาตัวเองได้โดย

  • ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบท้องน้อยและหลัง
  • อาบน้ำอุ่น
  • ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น โยคะหรือนั่งสมาธิ
  • รับประทานยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) ควรรับประทานเมื่อเริ่มมีอาการปวดหรือก่อนมีอาการปวด การรับประทานยาแก้ปวดอาจมีผลข้างเคียง ดังนั้นควรใช้เมื่อมีอาการปวดอย่างรุนแรงเท่านั้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานผักและผลไม้ ลดปริมาณอาหารที่มีไขมัน เกลือ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และขนมหวาน
 

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

สำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่อาการปวดประจำเดือนเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคภัยที่ร้ายแรงกว่าอาการปวดประจำเดือนทั่วไป

  • รับประทานยาแล้วแต่ยังไม่หายปวด
  • อาการปวดประจำเดือนเป็นมากขึ้น
  • มีอายุมากกว่า 25 ปีและรู้สึกปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงเป็นครั้งแรก
  • มีไข้พร้อมปวดประจำเดือน
  • เลือดประจำเดือนไหลออกมามากว่าปกติ โดยต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง
  • รู้สึกปวดท้องน้อยถึงแม้ไม่มีประจำเดือนก็ตาม
  • มีอาการติดเชื้อ เช่น ตกขาวมีกลิ่น อาการคันบริเวณปากช่องคลอด เลือดประจำเดือนมีสีแปลกไปจากปกติ
  • มีบุตรยาก

เรียบเรียงโดย นพ. วิสิทธิ์ สุภัครพงษ์กุล ศูนย์สูติ-นรีเวช  โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

  • ศูนย์สูติ-นรีเวช
    8.00-20.00  (BKK Time)
    Hot line tel. +66 63 189 3406

    20.00-8.00 (BKK Time)
    เบอร์ Contact center +662 066 8888 และ 1378


น้ำดื่มที่ดีที่สุด คือน้ำดื่มในอุณหภูมิห้องเท่านั้น และพยายามหลีกเลี่ยงน้ำเย็นมาโดยตลอดไม่ว่าจะอากาศร้อยแค่ไหนก็ตาม จริงๆ แล้วน้ำเย็นส่งผลร้ายอะไรต่อร่างกายหรือไม่

น้ำเย็น เสี่ยงนิ่วในไต?
โรคนิ่วในไต เป็นโณคที่เกิดจากการตกผลึกของแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียมออกซาเลตในไต แคลเซียมฟอสเฟต ยูริก หรือสารอื่นๆ กลายเป็นก้อนนิ่วไปอุดตันในบางส่วนของไต จนทำให้เกิดอากาปวดท้องได้ โดยสาเหตุของการตกผลึกเป็นก้อนนิ่วในไต มีตั้งแต่การดื่มน้ำน้อย รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม โปรตีน กรดยูริกสูงเกินไป เป็นต้น

สรุปคือ โรคนิ่วในไต ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการดื่มน้ำเย็นแต่อย่างใด

น้ำเย็น เสี่ยงอาหารไม่ย่อย?
การดื่มน้ำเย็นอาจทำให้เกิดอาการเย็นวาบตามหลอดอาหารไปชั่วขณะ แต่ไม่ได้เย็นลึกลงไปถึงกระเพาะอาหารเป็นเวลานานมากพอที่จะทำให้อาหารที่กำลังย่อยอยู่ได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะร่างกายจะพยายามปรับอุณหภูมิของน้ำที่ดื่มลงไปให้อยู่ในระดับเดียวกันกับร่างกาย นอกจากนี้ การที่ร่างกายพยายามปรับอุณหภูมิของน้ำเย็นที่ดื่มลงท้องไป ก็อาศัยการเผาผลาญพลังงานภายในร่างกาย ซึ่งการดื่มน้ำเย็นใส่น้ำแข็ง 2 ลิตรต่อวัน จะช่วยเผาพลาญได้ถึง 70 กิโลแคลอรี่

ดังนั้น การดื่มน้ำเย็น ก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไรต่อการย่อยอาหารแต่อย่างใด

น้ำเย็น เสี่ยงปวดท้อง ประจำเดือนเป็นลิ่มเลือด หรือออกไม่หมด?
วารสารทางการแพทย์หลายฉบับระบุว่า ภูมิคุ้มกันโรคของผู้หญิงจะลดต่ำลงระหว่างมีรอบเดือน จึงเป็นที่มาของคำแนะนำที่ว่า ผู้หญิงมีประจำเดือน ห้ามดื่มน้ำเย็น ห้ามทานไอศกรีม หรือแม้กระทั่งห้ามอาบน้ำเย็น เพราะในขณะที่ร่างกายเราอ่อนแอ แล้วอยู่ดีๆ เราทำให้อุณหภูมิในร่างกายของเราเย็นลงกว่าปกติ เมื่อนั้นเชื้อโรคที่มีอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว หรือมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว จะฉวยโอกาสในตอนนี้เข้ามาทำร้ายสุขภาพของคุณ จนเจ็บป่วยได้ง่ายๆ

อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่า การดื่มน้ำเย็น จะทำให้เกิดสิ่งผิดปกติกับการมีประจำเดือน เช่น ประจำเดือนจะออกไม่หมด ประจำเดือดจะออกมาเป็นลิ่มเลือด จะปวดท้องประจำเดือนหนักกว่าเดิม หรือประจำเดือนจะมาไม่ปกติ ฯลฯ แต่เหตุผลที่แนะนำไม่ให้ดื่มน้ำเย็น เพียงเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้แข็งแรงในช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยไข้มากกว่า

>> จริงหรือไม่? ผู้หญิงมีประจำเดือน ห้ามดื่มน้ำเย็น?

น้ำเย็น เสี่ยงไม่สบาย เป็นหวัด มีไข้?
เรื่องนี้อาจจะเกิดขึ้นได้จริงในคนที่อยู่ในภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ อย่างในกรณีที่ผู้หญิงมีประจำเดือนแล้วฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง จนอาจทำให้เราป่วยได้ง่ายขึ้น หรือคนที่กำลังอยู่ในระหว่างการรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อรักษาอาการของโรคใดโรคหนึ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นการดื่มน้ำเย็นก็ยังไม่ใช่สาเหตุหลักของการเกิดโรคใดๆ อย่างชัดเจน เป็นเพียงความเชื่อที่ไม่มีรายงานวิจัยทางการแพทย์ชิ้นใดมายืนยันอย่างชัดเจน

หากมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงดีอยู่แล้ว สามารถดื่มน้ำเย็นได้โดยไม่ต้องมีความกังวลอะไร ที่ควรต้องกังวลคือน้ำเย็นที่ใส่น้ำแข็งที่อาจไม่สะอาดมากพอต่างหาก ที่อาจก่อให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วง ติดเชื้อได้ แต่หากอยู่่ในระหว่างอาการไม่สบาย เป็นหวัด เจ็บคอ ควรเลือกดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำดื่มในอุณหภูมิห้องจะดีที่สุด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก