ห้ามเปิดร้านเหล้าใกล้วัดกี่เมตร

พ.ร.บ.เหล้าไม่ห้ามขายเหล้าใกล้ร.ร.-วัด

//dmc.tv/a1724

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 30 เม.ย. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 17680 ]

เมื่อวันที่ 29 เม.ย. นายตวง อันทะไชย โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ในการประชุมกรรมาธิการครั้งที่ 2 ที่ประชุมได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 ประกอบด้วย ผู้แทนสมาคมโรงแรมไทย สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมภัตตาคารไทย ประเด็นหลักที่ทั้งสามสมาคมกังวลเหมือนกันคือ การโซนนิ่ง ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้วัดหรือโรงเรียนว่าอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ

และไม่สามารถปฏิบัติได้ เพราะในบางจังหวัด เช่น เชียงใหม่ หรืออยุธยา มีวัดอยู่ใกล้โรงแรมเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการได้ชี้แจงไปแล้วว่าเรื่องนี้เป็นความเข้าใจผิด โดยพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ได้ห้ามเช่นนั้น เพียงแต่ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณวัดและบริเวณสถานศึกษาเท่านั้น เมื่อได้ทราบข้อเท็จจริง ผู้แทนจากทั้งสามสมาคมจึงพอใจ โดยคณะกรรมาธิการยืนยันด้วยว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่มีเจตนาทำลายธุรกิจท่องเที่ยว กฎหมายต้องการจัดระเบียบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดผลกระทบทางสังคม และป้องกันเยาวชนในการเป็นนักดื่มหน้าใหม่เท่านั้น เราไม่ทุบหม้อข้าวคนไทยด้วยกันเอง

นายตวงกล่าวอีกว่า ทั้งสามสมาคมยังมีข้อท้วงติงเรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุม

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในอีก 2 ประเด็นคือ 1.ของใช้ที่มีตราสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิ แก้ว จานรองแก้ว ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันโดยมีมูลค่าโดยรวมประมาณ 5,000 ล้านบาท จะต้องปฏิบัติอย่างไร 2.การห้ามโฆษณาจะบั่นทอนศักยภาพการแข่งขันโดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประธานในที่ประชุม น.พ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข จึงรับปากจะนำประเด็นดังกล่าวไปหารือในที่ประชุมต่อเพื่อหาข้อสรุป ที่จะเน้นให้กระทบต่อการธุรกิจและท่องเที่ยวน้อยที่สุด ขณะที่ผู้แทนบริษัทดิมาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด แสดงความคิดเห็นว่า ไม่ควรห้ามโฆษณาแต่ให้ผู้ประกอบการควบคุมจริยธรรมกันเอง คณะกรรมาธิการระบุว่ายินดีที่ผู้ประกอบการมีความคิดเช่นนี้ แต่ได้ตั้งข้อสังเกตต่อว่า ที่ผ่านมาการศึกษาเรื่องการฝ่าฝืนการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(Media monitor) มีหลักฐานชัดเจนว่า มีการฝ่าฝืนโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อมในช่วงเวลาที่ห้ามโฆษณามาโดยตลอด

ที่มา-

 

 


//goo.gl/n4Qwj

พิมพ์บทความนี้



อยากเปิดร้านเหล้านั่งชิล ๆ ต้องรู้อะไรบ้าง ?

ธุรกิจร้านอาหาร หรือร้านเหล้าเล็ก ๆ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ แต่ธุรกิจที่ว่านี้ โดยเฉพาะ “ร้านเหล้า”นั้น ไม่ว่าจะเป็นร้านขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ไม่ใช่แค่มีเงินทุนก้อนโตก็สามารถเปิดร้านเหล้าได้ เพราะสถานที่พบปะสังสรรค์ และมีดนตรีสดให้เพลิดเพลินนั้น ยังมีสิ่งที่ต้องเตรียมและต้องรู้ก่อนเปิดร้านเหล้า

อยากเปิดร้านเหล้า ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง ?

สำหรับใครที่อยากเริ่มต้นธุรกิจร้านเหล้าเล็ก ๆ ร้านเหล้าปั่น หรือร้านเหล้าแบบนั่งชิล ๆ ลองมาดูกันว่า นอกจากเงินทุนก้อนใหญ่แล้ว คุณต้องเตรียมหรือรู้อะไรอีกบ้าง

จัดหาสถานที่

การเปิดร้านเหล้านั้น ทำเล คือ ปัจจัยสำคัญที่ควรให้ความสนใจเป็นอันดับต้น ๆ เพราะยิ่งได้ทำเลที่ดีโอกาสในการขายก็ยิ่งมีสูง แต่ต้องยอมรับว่า ทำเลที่ดี มักมาพร้อมค่าเช่าที่สูงตามไปด้วย เว้นแต่คุณจะเป็นเจ้าของทำเลนั้นเอง

การตกแต่งร้าน

ต้องยอมรับว่า การตกแต่งร้านนั้น ถือเป็นจุดดึงดูดให้ลูกค้าหรือคนที่สัญจรไปมา เรียกร้านของคุณเป็นที่พบปะสังสรรค์ เรียกว่า บรรยากาศดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

วงดนตรีสด

การเปิดเพลงคลอเบา ๆ ก็เป็นการสร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลายได้ไม่น้อย แต่หากมีวงดนตรีสดมาให้ความเพลิดเพลินกับลูกค้าไปด้วยน่าจะดีกว่า เพราะวงดนตรีสดสามารถเอนเตอร์เทนลูกได้ดีกว่า ทั้งยังช่วยสร้างบรรยากาศภายในร้านให้ดูครึกครื้นและสนุกสนานมากยิ่งขึ้น

อาหาร

ต่อให้ทำเลดี เครื่องดื่มดี ราคาไม่แพง แถมมีวงดนตรีสด ก็ไม่อาจช่วยเพิ่มยอดขายได้ หากร้านคุณมาตกม้าตายเรื่องของ “อาหาร” เพราะลูกค้าที่ต้องการฟังดนตรีสดและนั่งสัมผัสบรรยากาศภายในร้าน การมีอาหารเลิศรสให้ได้รับประทานด้วยจะดีมากเลย

การขอใบอนุญาตต่าง ๆ 

ถือว่าเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้เลย ซึ่งเปิดร้านขายเหล้าจำเป็นต้องขอใบอนุญาตการจำหน่ายให้ถูกต้อง ทั้งใบขออนุญาตจำหน่ายสุราไทยและสุราต่างประเทศ รวมถึงต้องศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายอีกด้วย

กฎหมายเกี่ยวกับการเปิดร้านเหล้า อ่านแล้วห้ามพลาดสักข้อ

เมื่อดูรายละเอียดสิ่งที่ว่าที่เจ้าของกิจการร้านเหล้า ต้องเตรียมและเรียนรู้ก่อนเปิดกิจกรรมอย่างเป็นทางการกันแล้ว จะพบว่า ส่วนที่น่าจะยุ่งยากที่สุด คือ การศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการเปิดร้านเหล้านั่นเอง และวันนี้ เรามีข้อมูลเกี่ยวกับการจดทะเบียน การขอใบอนุญาตต่าง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาฝากกัน

จดทะเบียนพาณิชย์

การเปิดร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มสุรา ถือเป็นการประกอบกิจการพาณิชย์อย่างหนึ่ง ฉะนั้น ผู้ประกอบการเช่นคุณ จำต้องไปดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ ประเภทร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มเสียก่อน โดยสามารถยื่นขออนุญาต “จดทะเบียนพาณิชย์” ได้ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำหนักงานเขตที่ร้านอาหารตั้งอยู่ (กรณีจดทะเบียนบริษัทไว้แล้ว และใช้บริษัทเป็นผู้ดำเนินกิจการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ซ้ำอีก)

ขอใบอนุญาตเปิดสถานที่บริการ

หลังจากที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์แล้ว ให้คุณนำใบจดทะเบียนพาณิชย์ไปติดต่อขอใบอนุญาตเปิดสถานบริการ โดยติดต่อที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอทุกจังหวัด

ขึ้นทะเบียนภาษีป้าย

แน่นอนเพื่อให้ร้านของคุณเป็นที่รู้จัก หรือให้ลูกค้ารู้ว่า ร้านของคุณอยู่ตรงไหนนั้น จำต้องมีการติดตั้งป้ายบอกชื่อร้าน โดยป้ายบอกชื่อร้านที่ว่านี้ จำต้องขึ้นทะเบียนภาษีป้าย เพื่อการเสียภาษีป้ายประจำปี หากเป็นในพื้นที่กรุงเทพฯ ต้องยื่นที่สำนักงานเขต แต่ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็ที่ยื่นที่องค์การบริการส่วนตำบล (อบต.) หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือที่ว่าการอำเภอแล้วแต่กรณี ว่าร้านของคุณอยู่ในพื้นที่การดูแลของหน่วยงานใด

ขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรา

สำหรับ “สุรา” ถือเป็นเครื่องดื่มประเภทที่อยู่ในข่ายต้อง “ขออนุญาตในการจำหน่าย” โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลและออกใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มสุรา คือ “กรมสรรพสามิต” ทั้งนี้ ในท้องที่กรุงเทพฯ สามารถขออนุญาตได้ที่กรมสรรพสามิต ขณะที่ต่างจังหวัดให้ไปขออนุญาตที่สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด หรือยื่นขออนุญาตผ่านระบบออนไลน์ของเว็บไซต์กรมสรรพสามิต >> //www.excise.go.th นอกจากนี้ ใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มสุรา แบ่งออกเป็น ใบอนุญาตผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีก

พ.ร.บ. สถานบริการ 

ในการเปิดร้านจำหน่ายอาหารและสุรา และเปิดให้มีการแสดงดนตรีด้วย จำต้องรู้เรื่องกฎหมายสถานบริการ ที่ระบุถึงเวลาเปิด-ปิดสถานบริการ ตลอดจนช่วงอายุของผู้ที่เข้ามาทำงานในสถานบริการ ไว้ดังนี้

พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ. 2509

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

“สถานบริการ” หมายความว่า สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในทางการค้า ดังต่อไปนี้

(4) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายหรือให้บริการ โดยมีรูปแบบอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

ก. มีดนตรี การแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงและยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้นักร้อง นักแสดง หรือพนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้า

ข. มีการจัดอุปกรณ์การร้องเพลงประกอบดนตรีให้แก่ลูกค้า โดยจัดให้มีผู้บริการขับร้องเพลงกับลูกค้า หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้พนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้า

ค. มีการเต้นหรือยินยอมให้มีการเต้น หรือจัดให้มีการแสดงเต้น เช่น การเต้นบนเวทีหรือการเต้นบริเวณโต๊ะอาหารหรือเครื่องดื่ม

ง. มีลักษณะของสถานที่ การจัดแสงหรือเสียง หรืออุปกรณ์อื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(5) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง ซึ่งปิดทำการหลังเวลา 24.00 นาฬิกา

พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ. 2547

ข้อ 4 สถานบริการตามมาตรา 3 (4) ให้เปิดทำการได้ ดังนี้

(1) ระหว่างเวลา 18.00 นาฬิกา ถึง 01.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น สำหรับสถานบริการที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

(2) ระหว่างเวลา 18.00 นาฬิกา ถึง 24.00 นาฬิกา ของวันเดียวกัน สำหรับสถานบริการทีตั้งอยู่นอกเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ หรือสถานบริการที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่งดอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามที่พระราชกฤษฎีกา กำหนดท้องที่เพื่อการอนุญาตหรืองดอนุญาตให้ตั้งสถานบริการได้ผ่อนผันให้

ข้อ 5 สถานบริการตามมาตรา 3 (5) ให้เปิดทำการได้ระหว่างเวลา 18.00 นาฬิกา ถึง 01.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น

พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551

มาตรา 27 ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้

(1) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา

(2) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา

(3) สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร

(4) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก

(5) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

(6) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

(7) สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป

(8) สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

มาตรา 28 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัน หรือเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวจะกำหนดเงื่อนไขหรือข้อยกเว้นใด ๆ เท่าที่จำเป็นไว้ด้วยก็ได้

บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับการขายของผู้ผลิตผู้นำเข้าหรือตัวแทนของผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าไปยังผู้ขายซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสุรา

มาตรา 29 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลดังต่อไปนี้

(1) บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์

(2) บุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้

และนี่คือ เรื่องที่ว่าที่เจ้าของธุรกิจร้านเหล้า ควรต้องรู้และเตรียมพร้อมทั้งในเรื่องทั่วไป และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนเริ่มเปิดกิจการ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องมานั่งตามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในภายหลัง ส่วนใครที่อยากเริ่มต้นธุรกิจแต่ขาดแคลนเงินทุน สามารถยื่นขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME ซึ่งมีทั้งแบบสินเชื่อที่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และแบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน มาเป็นทุนทำธุรกิจก่อนได้

ข้อมูลจาก พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509, พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551,

READ MORE :

  • สินเชื่อบุคคล Digital ผ่านออนไลน์ อนาคตใหม่ของการกู้ยืมเงินในไทย
  • สินเชื่อคนตัวเล็ก 2020 สำหรับว่าที่เจ้าของธุรกิจ
  • สินเชื่อเพื่อปิดบัตรเครดิต 3 สถาบันการเงินที่มีคนยื่นเรื่องขอมากที่สุด อาทิ Citi, UOB, และ CIMB
  • 13 เหตุผลส่วนใหญ่ กู้เงินสินเชื่อส่วนบุคคล เอาไปทำอะไรกันนะ?
  • เป็นไปได้แค่ไหน – ซิตี้แบงค์อาจมีสินเชื่อเพื่อธุรกิจในเร็ววันนี้?
  • 6 ข้อดีจาก rabbit finace ของสินเชื่อที่คุณคาดไม่ถึง!

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก